สืบค้นงานวิจัย
สถานการณ์การผลิตส้มโอเพื่อการส่งออกของเกษตรกรจังหวัดนครปฐม
เชาวลิต นาคสุวรรณ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สถานการณ์การผลิตส้มโอเพื่อการส่งออกของเกษตรกรจังหวัดนครปฐม
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เชาวลิต นาคสุวรรณ
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: รายงานการวิจัยเรื่องสถานการณ์การผลิตและการตลาดส้มโอของเกษตรกรจังหวัดนครปฐม มีวัตถุประสงค์การของการวิจัย เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจสังคมของเกษตรกรผู้ส้มโอ สภาพการผลิตส้มโอ ข้อมูลเกี่ยวกับการตลาดส้มโอของเกษตรกรและข้อเสนอแนะในการผลิตและการตลาดส้มโอ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ เกษตรกรผู้ปลูกส้มโอในจังหวัดนครปฐมได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอสามพราน อำเภอนครชัยศรี และอำเภอบางเลน โดยการวางแผน โดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simplc Random Sampling) และเก็บตัวอย่างร้อยละ 50 ของประชากรทั้งหมดจำนวน 150 ราย รวมทั้งสิ้น 250 ราย ผลการศึกษาพบว่าเพศของเกษตรกร ส่วนใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 76.6 เป็นเพศชาย และเพศหญิงร้อยละ 23.4 อายุของเกษตรกรโดยเฉลี่ยเท่ากับ 45 ปี โดยมีเกษตรกรที่มีอายุระหว่าง 41-50 ปี คิดเป็นร้อยละ 37.3 ระดับการศึกษาของเกษตรกร ได้รับการศึกษาระดับมัธยมศึกษามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 49.3 ระดับการศึกษาของเกษตรกรมีการศึกษาอยู่ในเกณฑ์ดี เกษตรกรมีขนาดของครัวเรือนที่มีสมาชิกในครัวเรือนช่วยประกอบอาชีพเกษตรจำนวนสมาชิก 3-4 คน มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 40 เกษตรกรผู้ปลูกส้มโอสามารถที่จะบริหารการใช้แรงงานในสวนได้ดีพอสมควรเกษตรกรผู้ปลูกส้มโอ เป็นสมาชิกภาพกลุ่มส้มโอระหว่าง 11-20 ปี คิดเป็นร้อยละ 61 เกษตรกรได้เข้าเป็นสมาชิกมีระยะเวลานานพอสมควรคือ มีระยะเวลาการเป็นสมาชิกเฉลี่ย 12 ปี พันธุ์ส้มโอที่เกษตรกรนิยมปลูกมากที่สุด คือ พันธุ์ขาวทองดี จำนวน 5,003 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 52.54 เกษตรกร มีประสบการณ์สวนส้มโอ ได้แก่ การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือการใช้เทคโนโลยีการผลิตของเกษตรกรสวนส้มโอด้วยตนเอง เช่น การใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยเคมี และสารปรับปรุงบำรุงดิน โดยใช้ปุ๋ยคอกในอัตราเฉลี่ย 30 กก./ต้น โดยใช้หว่านรอบโคนต้น และใส่ปุ๋ยเคมีบำรุงต้นอัตรา 1:1:1ในช่วงหลังเก็บเกี่ยวผลและตัดแต่งกิ่ง เกษตรกรร้อยละ 50 ใช้ ปุ๋ยเคมีได้อย่างถูกต้อง รองลงมาใช้ปุ๋ยคอกถูกต้องคิดเป็นร้อยละ กด22 การดูแลรักษาสวนส้มโอของเกษตรกร ใช้วิธีอื่น ๆ อันดับแรง คิดเป็นร้อยละ 35.4 ไม่มีการใช้เครื่องมือจักรกลการเกษตร แต่มีการจ้างแรงงานจากที่อื่น ๆ แทนการใช้แรงงานในครอบครัว การให้น้ำแก่ส้มโอมีหลายวิธี ซึ่งเกษตรกรจะเลือกใช้วิธีใดขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ ประการ ประกอบกันโดยเกษตรกรส่วนใหญ่ให้น้ำโดยอาศัยการยกร่อง คิดเป็นร้อยละ 83.3 เกษตรกรส่วนใหญ่มีการปรับปรุงบำรุงดินในช่วงหลังการเก็บเกี่ยวผลโดยใช้ปุ๋ยคอกและสารเร่งการเจริญเติบโตในช่วงการติดดอก ออกผลคิดเป็นร้อยละ 76.6 รวมทั้งวิธีปฏิบัติเพื่อรักษาคุณภาพ การทำความสะอาดสวน การคัดเลือกคุณภาพ การคัดขนาด การเคลือบผิวส้ม การใช้สารเคมีในรอบปี ชนิดของสารเคมีที่นิยมใช้กันมาก พบว่าได้แก่ ไดเมทโทเอต คิดเป็นร้อยละ 94 ใช้ป้องกันกำจัด เพลี้ยไฟ เมทาฟิตาฟอส เกษตรกรใช้สารเคมีเพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงโรคต่อไปนี้ ในส่วนของยาป้องกันกำจัดโรค ได้แก่ ไดเทมเอ็ม 45 และแคบแทน เป็นต้น โรคของ ส้มโอที่เกษตรกรส่วนใหญ่ตอบคำถามมาก โรครากเน่าและโคนเน่า พบว่ามีหรือคิดเป็นร้อยละ 19.5 มากที่สุด จากการรวบรวมข้อมูลการผลิตส้มโอตามแบบสอบถามที่สำรวจได้ในจังหวัด ต้นทุนรวมโดยเฉลี่ยที่ทำการสำรวจเท่ากับ 13,075 บาท/ไร่ เมื่อพิจารณาองค์ประกอบต้นทุนรวม ซึ่งประกอบด้วยต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร พบว่า ต้นทุนคงที่ จากการวิเคราะห์พบว่า ต้นทุนคงที่เฉลี่ยในการทำสวนส้มโอเท่ากับ 1,207 บาท/ไร่ ต้นทุนผันแปร จากการวิเคราะห์พบว่า ต้นทุนผันแปรเฉลี่ยในการทำสวนส้มโอเท่ากับ 11,862 บาท/ไร่ ต้นทุนของการปลูกส้มโอ ต่ำสุด 10,000 บาท ต้นทุนของการปลูกส้มโอ สูงสุด 34,000 บาท ต้นทุนของการปลูกส้มโอเฉลี่ย 13,075 บาท ผลผลิตส้มโอเฉลี่ยต่อไร่ 857 บาท/กิโลกรัม/ไร่ ราคาซื้อขายส้มโอ เฉลี่ยเท่ากับ 25.01 บาท/กิโลกรัม ซึ่งมีปัจจัยหลายประการที่ทำให้ราคาส้มโอแตกต่างกัน เช่น ระยะเวลาที่ผลผลิตออกสู่ตลาด ชนิดพันธุ์ คุณภาพและผลผลิต เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผลผลิตมีคุณภาพ มีผลขนาดใหญ่ ตลาดส่วนใหญ่จะส่งขายต่างประเทศ ทำให้มีราคาค่อนข้างสูงกว่าจังหวัดใกล้เคียงที่ปลูกส้มโอ รายได้เฉลี่ย จากปริมาณการผลิตและราคาผลผลิตเฉลี่ยดังกล่าว ทำให้เกษตรกรมีรายได้เฉลี่ยเท่ากับ 20,050 บาท/ไร่/ปี รายได้สุทธิ จากการสำรวจพบว่าเกษตรกรมีรายได้สุทธิจากการปลูกส้มโอเฉลี่ยเท่ากับ 6,985 บาท/ไร่ สถานภาพ การใช้เทคโนโลยี การผลิต/การตลาดส้มโอ สภาพการตลาด เกษตรกรที่ทำการสำรวจ ได้ตอบแบบสอบถาม สภาพการซื้อขายภายในจังหวัดนครปฐม จะมีการขายส้มโอทั้งตลาดภายในประเทศและส่งออก มีจำนวน 93 ราย ที่ส่งขายให้กับพ่อค้าภูมิภาค หรือผู้บริโภค โดยพบว่าหรือคิดเป็นร้อยละ 62.5 ขายให้กับพ่อค้ารวบรวมท้องถิ่นเพื่อส่งขายส้มโอส่งออกต่างประเทศ บริษัทส่งออกส้มโอมีมากมายหลายบริษัท แต่บริษัทที่ส่งออกที่เกษตรกรนิยมขายคือ บริษัทฟ้าเจริญพร บริษัทกลุ่มส้มโอทรงคนอง ข้อคิดเห็นของกลุ่มผู้ปลูกส้มโอ ผลปรากฏระดับมาก ได้แก่ 1. การสร้างสวนสร้างรายได้แก่เกษตรกรทำให้จังหวัดมีชื่อเสียงรักษาสิ่งแวดล้อม 2. การทำสวนส้มโอ ช่วยให้เกษตรกรมีความกระตือรือร้นในการทำงาน 3. การทำสวนส้มโอทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ ๆ 4. การทำสวนส้มโอทำให้ทราบข้อบกพร่องขององค์กร (กลุ่มส้มโอ) 5. การเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มส้มโอช่วยแก้ปัญหาการทำสวนส้มโอ 6. การเข้าร่วมทำงานกลุ่มส้มโอช่วยพัฒนาองค์กรให้ดีขึ้น ความต้องการและข้อเสนอแนะในการผลิตส้มโอ ผลปรากฏระดับมาก ได้แก่ 1. ควรจัดตั้งกองทุนหมุนเวียนสำหรับกลุ่มผู้ผลิตส้มโอส่งออก 2. ควรกำหนดให้มีกฎหมายคุ้มครอง ผู้ผลิต/ผู้บริโภค 3. ควรมีการจัดหาตลาดกลางนครปฐม 4. ควรมีการจัดสัมมนาผู้ผลิตพบผู้บริโภค 5. ขาดแคลนแรงงาน, แหล่งน้ำสะอาด ปุ๋ย,ยาเคมีราคาแพง และ 6. ควรมีตารางปฏิบัติดูแลรักษา ปัญหาสำคัญในด้านการผลิตส้มโอ ได้แก่ ต้นทุนการผลิตสูง เกษตรกรได้ให้ข้อเสนอแนะว่า ภาครัฐฯ ควรหาแนวทางลดปัจจัยการผลิต ให้ความสำคัญต่อการจัดการธุรกิจการผลิตส้มโอ โดยมุ่งประเด็นสารสนเทศข้อมูลการผลิต การตลาด การบริการการผลิต ลดต้นทุนการผลิต จะช่วยให้การค้าได้เปรียบคู่ค้าตามเส้นทางต่อทางเลือก (Supply chain Managemcnt)
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2546
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สถานการณ์การผลิตส้มโอเพื่อการส่งออกของเกษตรกรจังหวัดนครปฐม
กรมส่งเสริมการเกษตร
2547
สภาพการผลิตส้มโอของเกษตรกรในอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา เปรียบเทียบเกษตรดีที่เหมาะสม(ส้มโอ)กับการผลิตส้มโอของเกษตรกรในภาคตะวันตก ความต้องการเทคโนโลยีการผลิตส้มโอเพื่อการส่งออกของสมาชิกชมรมผู้พัฒนาคุณภาพส้มโอในจังหวัดนครปฐม การศึกษาไวรอยด์ในส้มโอเพื่อการส่งออกส้มโอ โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตส้มโอคุณภาพเพื่อการส่งออกในแหล่งปลูกจังหวัดเชียงราย การศึกษาต้นทุนการผลิต กำไรเบื้องต้นจากการขาย และความรู้-ทัศนคติ การปฏิบัติของเกษตรกรผู้ปลูกส้มโอจังหวัดชัยนาทและนครปฐมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ สารเคมีกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน 2534 สถานการณ์การผลิตและการจัดการผลผลิตข้าวนาปี ของเกษตรกรจังหวัดเพชรบูรณ์ การวิจัยแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาผลผลิตส้มโอพันธุ์ทับทิมสยามให้มีคุณภาพของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกส้มโอในเขตลุ่มน้ำปากพนัง การศึกษาสถานการณ์การผลิตและการตลาดไม้ผลกึ่งเมืองร้อน (ส้มโอ ส้มเขียวหวาน และองุ่น) ของประเทศไทย ศึกษาการใช้เทคโนโลยีการผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออกของเกษตรกรภาคตะวันออก

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก