สืบค้นงานวิจัย
ความสดและวิธีการละลายที่มีผลต่อปริมาณน้ำที่สูญเสียในผลิตภัณฑ์หมึกกระดองและหมึกกล้วยแช่เยือกแข็งแบบก้อน
เบญจวรรณ รักษ์ทอง - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: ความสดและวิธีการละลายที่มีผลต่อปริมาณน้ำที่สูญเสียในผลิตภัณฑ์หมึกกระดองและหมึกกล้วยแช่เยือกแข็งแบบก้อน
ชื่อเรื่อง (EN): Comparison of the different thawing methods and freshness on the net weight change in frozen cuttlefish and squid
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: เบญจวรรณ รักษ์ทอง
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ เพื่อศึกษาผลของระดับความสดร่วมกับวิธีการละลายของหมึก กระดองและหมึกกล้วย ต่อปริมาณน้ำที่สูญเสีย (thaw drip) และคุณภาพทางด้านประสาทสัมผัสของหมึก กระดองและหมึกกล้วยแช่เยือกแข็งแบบก้อน โดยสำรวจวิธีการละลายหมึกทั้ง 2 ชนิด ของโรงงานในพื้นที่ จังหวัดสงขลา ตรัง ปัตตานี และสตูล จำนวน 12 โรงงาน พบว่ามีวิธีการละลาย 6 วิธี ดังนี้ วิธีที่ 1 นำหมึกใส่ ตะกร้าแช่นน้ำอุณหภูมิประมาณ 20 ๐C วิธีที่ 2 นำหมึกใส่ถุงพลาสติกปิดปากถุงเจาะรู และแช่น้ำเกลือ 1 เปอร์เซ็นต์ อุณหภูมิประมาณ 20 ๐C วิธีที่ 3 นำหมึกใส่ถุงพลาสติกปิดปากถุงเจาะรู แช่ในน้ำอุณหภูมิประมาณ 20 ๐C วิธีที่ 4 นำหมึกใส่ตะแกรงสแตนเลสแล้วใช้ฝักบัวพ่นฝอยน้ำ วิธีที่ 5 นำหมึกใส่ถุงพลาสติกปิดปากถุง วางบนตะแกรงมาตรฐานแล้วแช่น้ำอุณหภูมิประมาณ 25 ๐C และวิธีที่ 6 นำหมึกใส่ถุงพลาสติกปิดปากถุง แช่ในน้ำที่อุณหภูมิเริ่มต้นไม่สูงกว่า 27 ๐C ส่วนการทดลองแช่แข็งหมึกกล้วยและหมึกกระดองที่มีความสดมากและ สดปานกลางแบบก้อน แล้วนำมาละลายเปรียบเทียบทั้ง 6 วิธี ซึ่งวิธีที่เหมาะสมในการละลายหมึกกระดองแช่ เยือกแข็งทั้ง 2 ระดับความสด คือวิธีการละลายวิธีที่ 2 และ 6 ส่วนวิธีที่เหมาะสมกับการละลายหมึกกล้วยแช่ เยือกแข็งทั้ง 2 ระดับความสด คือวิธีที่ 1, 2 และ 6 โดยให้เปอร์เซ็นต์ปริมาณน้ำที่สูญเสียต่ำสุด และมีคะแนน การทดสอบด้านประสาทสัมผัสดีที่สุด และเมื่อเปรียบเทียบระดับความสดของหมึกกระดองและหมึกกล้วยแช่ เยือกแข็งแบบก้อนที่ละลายด้วยวิธีเดียวกัน พบว่าหมึกที่มีความสดสูงจะมีค่าเปอร์เซ็นต์ปริมาณน้ำที่สูญเสียต่ำ และมีคุณลักษณะทางด้านประสาทสัมผัสดีกว่า
บทคัดย่อ (EN): The objective of this experiment was to study the effect of freshness and thawing method on thaw drip and sensory evaluation of block frozen cuttlefish and squid. The survey of thawing method was carried out. It was found that there were 6 different thawing methods in 12 frozen establishments located in Songkla, Trang, Pattani and Satun provinces. Method 1, put the product on plastic sieve and put in water at temperature 200C. Method 2, put the product in a plastic bag which made several holes and put in 1% brine at temperature 200C. Method 3, put the product in a plastic bag which made several holes and soaked in water at temperature 200C. Method 4, put the product on a stainless steel sieve and sprayed water to the product. Method 5, put the product in a plastic bag and put on a standard sieve and soaked in water at temperature 250C. And method 6, put the product in a plastic bag and soaked in water at temperature 270C. According to low percentage of thaw drip and the best sensory score, the method 2 and 6 for block frozen cuttlefish and the method 1, 2 and 6 for block frozen squid were the effective thawing methods. In addition, the freshness comparison of block frozen squid and cuttlefish for each thawing method was carried out. The results showed that fresher squid and cuttlefish had lower percentage of thaw drip and better sensory characteristics.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-06-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความสดและวิธีการละลายที่มีผลต่อปริมาณน้ำที่สูญเสียในผลิตภัณฑ์หมึกกระดองและหมึกกล้วยแช่เยือกแข็งแบบก้อน
กรมประมง
30 มิถุนายน 2556
กรมประมง
การประมงหมึกกระดองจากเครื่องมืออวนลากพาณิชย์ในอ่าวไทย การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสถานภาพสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร หมึกกล้วย การสร้างและพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงจากเส้นใยไหมป่า แหล่งผสมพันธุ์และวางไข่ของหมึกกล้วยเศรษฐกิจบริเวณเกาะเสม็ด จังหวัดระยอง ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของหมึกกระดองชนิด Sepia aculeata และ S. recurvirostra บริเวณอ่าวไทย การประเมินสภาวะทรัพยากรหมึกกระดอง ชนิด Sepia aculeta และ Sepia recurvirosta ในอ่าวไทย การพัฒนาการเก็บรักษาคุณภาพความสดของปลายี่สกเทศ การพัฒนาวิธีตรวจสอบคุณภาพความสดและปริมาณสารฟอสเฟตของผลิตภัณฑ์กุ้งแช่เยือกแข็งแบบรวดเร็วด้วยเทคนิคเนียร์อินฟราเรด การพัฒนาผลิตภัณฑ์สนับสนุนการเกษตรด้วยเทคโนโลยีทางเคมี ระยะที่ 1การพัฒนาปุ๋ยยูเรียควบคุมการละลายและปรับปรุงดินเพื่อนาข้าว Stixfresh คงความสดใหม่กว่าที่คิด ประหยัดกว่าที่เคย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก