สืบค้นงานวิจัย
สารออกฤทธิ์ชีวภาพของสารสกัดจากพืชสมุนไพรป่าชายเลนที่มีต่อการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides (Penz.)
สุธัญญา พรหมสมบูรณ์ - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
ชื่อเรื่อง: สารออกฤทธิ์ชีวภาพของสารสกัดจากพืชสมุนไพรป่าชายเลนที่มีต่อการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides (Penz.)
ชื่อเรื่อง (EN): Bioactive Compounds from Medicinal Plants in Mangrove Forest on Growth Inhibition of Colletotrichum gloeosporioides (Penz.)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุธัญญา พรหมสมบูรณ์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ศึกษาฤทธิ์ด้านเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides สาเหตุโรคแอนแทรคโนสมะม่วง ของพืชป่าชายเลน 9 ชนิด คือ โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก แสมขาว ลำแพน ตะบูน พังกาหัวสุม สำมะงา จิกทะเล และลำพูทะเล ในรูปน้ำคั้น และสารสกัดหยาบจากใบพืช พบว่าการใช้ในรูปสาร สกัดหยาบให้ผลยับยั้งเชื้อราดีกว่าการใช้ในรูปน้ำคั้น โดยเมื่อใช้ในรูปน้ำคั้นจากใบพืชพังกาหัวสุมมี ฤทธิ์ยับยั้งเชื้อรา C. gloeosporioides ได้ดีที่สุด มีเปอร์เซ็นต์ยับยั้งเท่ากับ 68.52% เมื่อใช้ในรูปสาร สกัดหยาบโดยสกัดด้วยวิธีแช่ยุ่ย ( maceration) ใช้ตัวทำละลาย 4 ชนิด คือ เฮกเซน เอทิลอะซิเตต เมทิลแอลกอฮอล์ และเอทิลแอลกอฮอล์ พบว่าสำมะงามีฤทธิ์ยับยั้งสปอร์เชื้อราได้ดีที่สุด เมื่อใช้ เอทิลอะซิเตตเป็นตัวทำละลายในการสกัด ได้ %yield สารสกัด 0.34% โดยน้ำหนักแห้ง มีเปอร์เซ็นต์ สัมพัทธ์การยับยั้งสปอร์เชื้อรา 100% มีค่า minimum inhibitory concentration (MIC) และ 50% inhibiory concentration (IC50) ในการยับยั้งสปอร์เชื้อราท่ากับ 156.25 และ 122.48 mg/l ตามลำคับ ในขณะที่จิกทะเลยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อราได้ดีที่สุดโดยใช้เอทิลแอลกอฮอล์เป็นตัวทำละลาย ในการสกัด ได้ %yield สารสกัดเท่ากับ 5.5% โดยน้ำหนักแห้ง มีเปอร์เซ็นต์ยับยั้งเส้นใย 94.9% มีค่า MIC และ IC50 ในการยับยั้งเส้นใยเชื้อราเท่ากับ 130.20 และ 112.94 mg/l ตามลำดับ และเมื่อนำสาร สกัดสำมะงาและจิกทะเลมาแยกต่อด้วยโครมาโทกราฟีแบบดูดซับ ได้สารสกัดบริสุทธิ์ที่มีค่า Rf เท่ากับ 0.5 และ 0.7 โดยสารสกัดที่ได้มีฤทธิ์ในการขับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อราเท่ากับ 75%และ 87.5% ตามลำดับ ซึ่งให้ผลการยับยั้งต่ำกว่าการใช้ในรูปสารสกัดหยาบแบบองค์รามซึ่งมี องค์ประกอบทางเคมีของสารหลายชนิดเสริมฤทธิ์กันในการควบคุมเชื้อราดังกล่าวได้
บทคัดย่อ (EN): This study investigated the antifungal activity to Colletotrichum gloeosporioides as the cause of anthracnose of mango of 9 species mangrove plants including Rhizophora mucronata, Rhizophora apiculata, Avicennia alba, Sonneratia ovata, Xylocarpus granatum, Bruguiera gymnorrhiza, Clerodendrum inerme (Linn.), Barringtonia asiatica, and Sonneratia alba, in the forms of water extract and crude extract from plant leaves. It was found that crude extracts of the plants provided better fungal inhibition than water extracts. As water extract, Bruguiera gymnorrhiza best inhibited C. gloeosporioides with 68.52% of inhibition. As crude extract by means of maceration using 4 types of solvents, i.e. hexane, ethyl acetate, methyl alcohol, and ethyl alcohol, results suggest that Clerodendrum inerme (Linn.) offered highest suppression of fungal spores. Using ethyl acetate as solvent for extraction, 0.34% yields of extract by dry weight was obtained, an the 100% relative inhibition of fungal, minimum inhibitory concentration (MIC) and 50% inhibitory concentration (ICs) of 156.25 and 122.48 mg/1 respectively. Whereas Barringtonia asiatica highest inhibited fungal hypha with ethyl alcohol as solvent for extraction and gave 5.5% yields by dry weight, 94.9% of inhibition, MIC and ICs, of 130.20 and 112.94 mgl respectively. When further separation of the extracts of Clerodendrum inerme (Linn.) and Barringtonia asiatica were performed by absorption chromatography, pure extracts were achieved with Rf of 0.5 and 0.7, and vegetative growth of fungal hypha inhibition of 75% and 87.5% respectively. This suggests lower inhibitory activity than using as the whole crude extract of multiple chemical compounds with enhanced activity of fungal control.
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สารออกฤทธิ์ชีวภาพของสารสกัดจากพืชสมุนไพรป่าชายเลนที่มีต่อการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides (Penz.)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
30 กันยายน 2555
สารสกัดอย่างหยาบของพืชสมุนไพรบางชนิดที่มีฤทธิ์ต้านการเจริญของเชื้อรา ผลของสารสกัดบริสุทธิ์จากสมุนไพรต่อการยับยั้นการเจริญของเชื้อ Pythium insidiosum (คปก. ต่อยอด) ผลของสารสกัดสมุนไพรไทยต่อการยับยั้งเจริญเติบโตของเชื้อ Aromonas hydrophila ผลยับยั้งของสารสกัดจากผลดีปลีต่อเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides สาเหตุโรคแอนแทรคโนสของผลมะม่วง การศึกษาสารสำคัญ Shikimic acid ในพืชสมุนไพรไทย การผลิตน้ำเชื่อมจากข้าวเหนียวด้วยรา การศึกษาฤทธิ์ของน้ำมันหอมระเหยและสารสกัดจาก Zanthozylum limonella Alston และ Zanthoxylum rhetsa (Roxb.) DC ในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียก่อโรคจากอาหาร สภาวะการเจริญที่เหมาะสมต่อการผลิตสารโพลิแซคคาไรด์ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และความเป็นพิษของสารสกัดหยาบโพลิแซคคาไรด์จาก เชื้อรา Cordyceps sp. ที่แยกจากเชื้อราทำลายแมลงในจักจั่น การใช้ประโยชน์ของสารสมุนไพรในการกำจัดศัตรูพืชผัก ผลของสารสกัดหยาบจากหนอนตายหยากต่อการยับยั้งการเจริญของเชื้อราโรคพืชบางชนิด

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก