สืบค้นงานวิจัย
การฟื้นฟูดินที่ผ่านการเลี้ยงกุ้งกุลาดำเพื่อปลูกปาล์มน้ำมัน
พิมล อ่อนแก้ว, สมศักดิ์ สระแก้ว, วิมล สะกวี - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: การฟื้นฟูดินที่ผ่านการเลี้ยงกุ้งกุลาดำเพื่อปลูกปาล์มน้ำมัน
ชื่อเรื่อง (EN): Reclamation of abandoned shrimp pond soils for oil palm
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การเพิ่มผลิตภาพของดินในพื้นที่นากุ้งร้างและมีปัญหาเรื่องดินเปรี้ยวจัด เพื่อการเจริญเติบโต เพิ่มผลผลิตและคุณภาพปาล์มน้ำมัน ได้ดำเนินการในกลุ่มชุดดินที่ 10 ชุดดินมูโนะ หมู่ที่ 6 ตำบลห้วยลึก อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา ระหว่างปี พ.ศ. 2556 – 2558 เพื่อศึกษาผลของจุลินทรีย์เพิ่มความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัสในดินเปรี้ยวและปุ๋ยชีวภาพ พด. 12 และอัตราปุ๋ยเคมีที่เหมาะสมร่วมกับวัสดุปรับปรุงดิน(โดโลไมท์) ต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของดิน การเจริญเติบโต และการเพิ่มผลผลิตปาล์มน้ำมัน วางแผนการทดลองแบบ RCBD ประกอบด้วย 8 ตำรับการทดลอง คือ 1. แบบเกษตรกร 2. ปุ๋ยเคมี(N P K)อัตราแนะนำ 3. ปุ๋ยเคมี(N P K)อัตราแนะนำ +จุลินทรีย์เพิ่มความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัสในดินเปรี้ยว 4. 1/2ปุ๋ยเคมี(N P K)อัตราแนะนำ +จุลินทรีย์เพิ่มความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัสในดินเปรี้ยว 5. 3/4 ปุ๋ยเคมี(N P K)อัตราแนะนำ+จุลินทรีย์เพิ่มความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัสในดินเปรี้ยว 6. ? ปุ๋ยเคมี(N P K)อัตราแนะนำ + ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 ที่ขยายเชื้อแล้ว 7. 3/4ปุ๋ยเคมี(N P K)อัตราแนะนำ + ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 ที่ขยายเชื้อแล้ว 8. ปุ๋ยเคมี(N P K)อัตราแนะนำ + ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 ที่ขยายเชื้อแล้ว ปลูกปาล์มน้ำมันพันธุ์สุราษฎร์ธานี 2 ลูกผสมเทเนอร่า ผลการศึกษาเป็นเวลา 3 ปี พบว่า การปรับปรุงดินโดยใส่ปุ๋ยเคมี(N P K) อัตราแนะนำ(ตำรับที่ 2) ปาล์มน้ำมันให้ผลผลิตเฉลี่ยและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงสุด เท่ากับ 3,002.40 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี และ 7,311.28 บาทต่อไร่ต่อปีตามลำดับ รองลงมาคือ ตำรับที่ 5 3/4 ปุ๋ยเคมี(N P K)อัตราแนะนำ+จุลินทรีย์เพิ่มความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัสในดินเปรี้ยว ปาล์มน้ำมันให้ผลผลิตเฉลี่ย 2,911.20 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี และให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ 5,505.64 บาทต่อไร่ต่อปี ส่วนวิธีการที่ 1 แบบวิธีเกษตรกร ปาล์มน้ำมันให้ผลผลิตเฉลี่ยต่ำสุด เท่ากับ 1,992.00 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี แต่ทุกวิธีการไม่มีความแตกต่างทางสถิติ และตำรับที่ 8 ปุ๋ยเคมี(N P K)อัตราแนะนำ + ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 ที่ขยายเชื้อแล้ว ปาล์มน้ำมันให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจต่ำสุด เท่ากับ 2,353.88 บาทต่อไร่ต่อปี การปรับปรุงบำรุงดินนากุ้งร้างที่เป็นดินเปรี้ยวจัดด้วยปูนโดโลไมท์ ทำให้ธาตุอาหารหลักถูกปลดปล่อยออกมามากขึ้น และใช้ปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำ ทำให้สมบัติทางเคมีดินมีการเปลี่ยนแปลง โดยค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน อินทรียวัตถุ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม มีค่าเพิ่มขึ้นในทุกตำรับการทดลอง ซึ่งมีผลต่อระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ส่วนค่าแคลเซียม และแมกนีเซียม มีทั้งเพิ่มขึ้นและลดลง ส่วนการใช้จุลินทรีย์เพิ่มความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัสในดินเปรี้ยว และการใส่ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 ที่ขยายเชื้อแล้ว มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีดินน้อยมาก
บทคัดย่อ (EN): Increasing the productivity of soils in abandoned shrimp pond areas and problem of acidity for the growth, productivity and quality of oil palm. Study on soil series group number 10, Munoh series, at Moo 6, Huayluck subdistrict, Kuanniang district, Songkhla province, during 2013 to 2015. To learn the effect of microbes increase the usefulness of phosphorus in acid soils(LDD 9) and biofertilizer LDD 12 and the appropriate rate of chemical fertilizer with Dolomitic lime to change in soil chemical properties, the growth and increase production of oil palm. Experimental in RCBD of 8 methods 1. To farmers 2. chemical fertilizers(N P K) by department of agricalture 3. chemical fertilizers(N P K) by department of agricalture + microbes increase the usefulness of phosphorus in acid soils(LDD 9) 4. 1 in 2 of chemical fertilizers(N P K) by department of agricalture + microbes increase the usefulness of phosphorus in acid soils(LDD 9) 5. 3 in 4 of chemical fertilizers(N P K) by department of agricalture + microbes increase the usefulness of phosphorus in acid soils(LDD 9) 6. 1 in 2 of chemical fertilizers(N P K) by department of agricalture + biofertilizer LDD 12 7. 3 in 4 of chemical fertilizers(N P K) by department of agricalture + biofertilizer LDD 12 8. chemical fertilizers(N P K) by department of agricalture + biofertilizer LDD 12 and use oil palm Surattani 2 (hybrid Tenera). The result of study for 3 years has shown, chemical fertilizers(N P K) by department of agricalture (tr.2) palm oil gave the highest yields and economic returns are 3,002.40 kilogram per rai per year and 7,311.28 baht per rai per year. The secondary is 3 in 4 of chemical fertilizers(N P K) by department of agricalture + microbes increase the usefulness of phosphorus in acid soils(LDD 9) (tr.5), oil palm gave the average yields 2,911.20 kilogram per rai per year and gave economic returns 5,505.64 baht per rai per year. The first method (To farmers) gave the lowest yield 1,992.00 kilogram per rai per year. However all the methods did not differ statistically and the eighth method (chemical fertilizers(N P K) by department of agricalture + biofertilizer LDD 12) gave the lowest economic returns 2,353.88 baht per rai per year. Improvement for abandoned shrimp pond soil with Dolomitic lime and chemical fertilizers(N P K) by department of agricalture leads to increase trace element and chemical properties of soil. But microbes increase the usefulness of phosphorus in acid soils(LDD 9) and biofertilizer LDD 12 not effect to chemical properties of soil.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การฟื้นฟูดินที่ผ่านการเลี้ยงกุ้งกุลาดำเพื่อปลูกปาล์มน้ำมัน
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2558
การทดลองเลี้ยงกุ้งกุลาดำ (Penaeus monodon Fabricius, 1798) ร่วมกับกุ้งแชบ๊วย (Penaeus merguiensis De Man, 1888) และกุ้งขาวแปซิฟิค (Litopenaeus vannamei Boone, 1931) ในบ่อดิน ด้วยระบบน้ำหมุนเวียน การวิจัยรูปแบบโครงการฟาร์มเลี้ยงกุ้งแชบ๊วยแบบพัฒนาโดยใช้ระบบรีไซเคิลผสมผสานกับระบบมีนเกษตร การทดลองเลี้ยงกุ้งกุลาดำ (Penaeus monodon Fabricius, 1978) ตามมาตรฐานการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลระบบอินทรีย์ การพัฒนาเทคโนโลยีหลังการจับกุ้งกุลาดำ ศึกษาการใช้ปุ๋ยชีวภาพ (พด.11 )ในการปรับปรุงดินสำหรับการผลิตปาล์มน้ำมัน ในพื้นที่ที่ผ่านการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ จ. สุราษฎร์ธานี การศึกษาลักษณะสมบัติและการแสดงออกของยีน asialoglycoprotein receptor จากกุ้งกุลาดำPenaeus monodon การปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมเทเนอรา (D x P) และการถ่ายทอดเทคโนโลยี การผลิตปาล์มน้ำมันที่เหมาะสมแก่เกษตรกร การทดลองเลี้ยงหอยสังข์กระโดด Strombus canarium ควบคู่กับการเลี้ยงกุ้งขาววานาไม การเปลี่ยนแปลงของดินจากการจัดการดินต่อผลผลิตปาล์มน้ำมันในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังที่ผ่านการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ การแทนที่ปลาป่นด้วยวัตถุดิบโปรตีนจากพืชที่มีศักยภาพในอาหารสำหรับกุ้งกุลาดำ Penaeus monodon (Fabricius, 1798)

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก