สืบค้นงานวิจัย
ผลของความสูงของการตัดเก็บเกี่ยวเมล็ดที่มีต่อผลผลิตเมล็ดถั่วท่าพระสไตโลในปีที่ 2
สรายุทธ์ ไทยเกื้อ - กรมปศุสัตว์
ชื่อเรื่อง: ผลของความสูงของการตัดเก็บเกี่ยวเมล็ดที่มีต่อผลผลิตเมล็ดถั่วท่าพระสไตโลในปีที่ 2
ชื่อเรื่อง (EN): ORIGINAL
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สรายุทธ์ ไทยเกื้อ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: บทคัดย่อ ทำการทดลองที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ขอนแก่น ระหว่างปี 2553 – 2555 เพื่อศึกษาความสามารถในการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วท่าพระสไตโล (Stylosanthes guianensis CIAT 184) จากต้นถั่วในปีที่ 2 โดยใช้แผนการทดลองแบบ RCBD มี 4 ซ้ำ สิ่งทดลองได้แก่การจัดการแปลงหลังการเก็บเกี่ยวเมล็ดในปีแรก 4 วิธี คือ (1) ตัดต้นถั่วสูง 15 ซม. (2) ตัดต้นถั่วสูง 30 ซม. (3) ไม่ตัด และ (4) ตัดชิดดินแล้วไถปลูกใหม่ โดยทุกแปลง (ยกเว้นแปลงที่ปลูกใหม่) จะมีการตัดปรับต้นถั่วอีกครั้งที่ความสูง 30 ซม. ในช่วงฤดูฝนเดือนมิถุนายน การปลูกถั่วทำโดยใช้ต้นกล้าอายุ 40 วัน ระยะปลูก 1.2 x 1.2 เมตร และเก็บเกี่ยวเมล็ดโดยใช้ผืนตาข่ายไนล่อนปูระหว่างแถวในช่วงก่อนต้นถั่วออกดอก เพื่อรองรับเมล็ด และในช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ ทำการเก็บเมล็ดโดยเคาะต้นให้เมล็ดร่วงลงบนผืนตาข่าย แล้วนำผืนตาข่ายออกเพื่อเก็บรวบรวมเมล็ด ผลการทดลองพบว่า การจัดการโดยการตัดต้นถั่วสูง 15 ซม. (วิธีที่ 1) หลังตัดจะมีต้นที่รอดตายน้อยสุดคือเพียง 21.6 เปอร์เซ็นต์ ส่วนการตัดต้นถั่วสูง 30 ซม. (วิธีที่ 2) จะมีต้นที่รอดตาย 43.3 เปอร์เซ็นต์ ส่วนแปลงที่ไม่ตัด (วิธีที่ 3) แม้หลังเก็บเกี่ยวจะมีต้นที่รอดตายมาก (82.2 เปอร์เซ็นต์) แต่หลังจากตัดปรับเพื่อให้สามารถปูผืนตาข่ายได้พบว่ามีต้นที่รอดตายเพียง 39.4 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งส่งผลให้ผลผลิตเมล็ดที่เก็บเกี่ยวได้ในปีที่ 2 ของแปลงที่มีการจัดการโดยตัดสูง 30 ซม. (วิธีที่ 2) และไม่ตัด (วิธีที่ 3) ได้ผลผลิตเมล็ดพันธุ์บริสุทธิ์ที่ไม่แตกต่างกันคือ 55.5 และ 60.4 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ และ ต่ำกว่า แปลงที่ปลูกใหม่ (วิธีที่ 4) ที่ได้ผลผลิตเมล็ดพันธุ์บริสุทธิ์ 79.5 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนแปลงที่ตัดต่ำ (วิธีที่ 1) ไม่มีการเก็บผลผลิตเนื่องจากมีต้นถั่วรอดตายน้อยมาก ผลผลิตเมล็ดที่ได้ในปีที่ 2 นี้ต่ำกว่าผลผลิตที่ได้ในปีแรก (ซึ่งได้ผลผลิตเมล็ดพันธุ์บริสุทธิ์เฉลี่ยสูงถึง 168.5 กิโลกรัมต่อไร่) มากแม้จะเป็นแปลงที่มีการปลูกใหม่ก็ตาม ในด้านคุณภาพเมล็ดพันธุ์พบว่าเมล็ดที่เก็บเกี่ยวได้จากปีที่ 1 และ 2 มีคุณภาพที่สูงไม่แตกต่างกัน คือมีความบริสุทธิ์อยู่ในช่วง 91.8 – 98.5 เปอร์เซ็นต์ ไม่พบมีเมล็ดวัชพืชปน และมีความงอกสูง 98 - 100 เปอร์เซ็นต์ แต่เมล็ดที่เก็บเกี่ยวจากแปลงที่ปลูกใหม่มีน้ำหนักเมล็ดมากกว่าเมล็ดที่เก็บจากแปลงที่ไม่ได้ปลูกใหม่ คำสำคัญ : ถั่วท่าพระสไตโล ผลผลิตเมล็ด ความสูงการตัด * เลขทะเบียนวิจัย 53 (1) – 0214 – 023 1/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ขอนแก่น ต. ท่าพระ อ. เมือง จ. ขอนแก่น 40260
บทคัดย่อ (EN): An experiment was carried out at Khon Kaen Animal Nutrition Research and Development Center from 2009 to 2011, in order to determine a capability of seed production attained from the second year plant of Thapra stylo (Stylosanthes guianensis CIAT 184) forage legume. A Randomized Complete Block Design (RCBD) was used with 4 replications. Treatments consisted of four methods of field management i.e. cutting the first year plant after seed harvest at the heights of 15 (T1) and 30 cm (T2) above ground level, no cutting of the first year plant (T3) and, replant by seedling in the second year (T4, control). All treatments were cut at the height of 30 cm above ground level to adjust the plant height in late June rainy season except T4. A forty days old seedling was transplanted and was sown on plot with a plant spacing of 1.2 m x 1.2 m. Before plant flowering, nylon net sheets were laid on the ground between plant rows for seed collection. From January to February, seeds were harvested by shaking the plant to allow them dropping on nylon net sheet. The results showed that survival plants after seed harvest were 21.6 and 43.3% for T1 and T2, respectively. Although 82.2% survival plants in T3 was obtained after seed harvest but only survived for 39.4% after cutting adjustment to lay nylon net sheet in June. This led to pure seed yield attained from the second year plants of T2 (55.6 kg/rai) was not significantly different from T3 (60.4 kg/rai) and both of them were lower than those of produced from T4 (79.5 kg/rai). No harvested seed in T1 because only few survived. Seed yield in the second year was much lower than those in the first year (168.5 kg/rai) even in the second year replant (T4). Seed quality obtained from the first and second year was high with 91.5 – 98.1 % purity, 98 - 100 % germination and, no weed seed contamination. However, thousand seed weight from the second year plants of T2 and T3 were lower than T4. Key words : Stylosanthes guianensis, seed yield, cutting height * Research project Number : 53 (1) – 0214 – 023 1/ Khon Kaen Animal Nutrition Research and Development Center, Thapra, Khon Kaen 40260.
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-05-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-04-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมปศุสัตว์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของความสูงของการตัดเก็บเกี่ยวเมล็ดที่มีต่อผลผลิตเมล็ดถั่วท่าพระสไตโลในปีที่ 2
กรมปศุสัตว์
30 เมษายน 2555
กรมปศุสัตว์
ผลของความสูงของการตัดเก็บเกี่ยวเมล็ดในปีแรกที่มีต่อผลผลิตเมล็ดถั่วท่าพระสไตโลในปีที่ 2 ถั่วท่าพระสไตโล การผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วท่าพระสไตโล อิทธิพลของระยะเวลาตัดปิดแปลงถั่วที่มีต่อผลผลิตและคุณภาพของเมล็ดถั่วท่าพระสไตโล การทดสอบเทคโนโลยีการเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ถั่วท่าพระสไตโลในพื้นที่ของเกษตรกรจังหวัดขอนแก่น อิทธิพลของอายุและความสูงในการตัดที่มีต่อผลผลิตและส่วนประกอบทางเคมีของถั่วท่าพระสไตโลในชุดดินบ้านทอน ผลการทดสอบผลผลิตหญ้าและถั่ว สถานีพืชอาหารสัตว์ลำปาง การศึกษาหาปริมาณการใช้น้ำของถั่วท่าพระสไตโล ปีที่ 1 การเปรียบเทียบศักยภาพของผลผลิตเมล็ดพันธุ์และคุณภาพในการเก็บรักษาของถั่วเหลืองฝักสดกลิ่นหอม การใช้ถั่วท่าพระสไตโลเลี้ยงแพะเนื้อ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก