สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาวิจัยและคัดเลือกพันธุ์ข้าวบนพื้นที่สูงที่ทนทานต่อแมลงบั่วไม่ไวต่อช่วงแสงและมีคุณภาพพิเศษทางโภชนาการ
ศันสนีย์ จำจด, จันทร์จิรา รุ่งเจริญ - สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
ชื่อเรื่อง: การศึกษาวิจัยและคัดเลือกพันธุ์ข้าวบนพื้นที่สูงที่ทนทานต่อแมลงบั่วไม่ไวต่อช่วงแสงและมีคุณภาพพิเศษทางโภชนาการ
ชื่อเรื่อง (EN): Research on highland rice and selection for tolerant to gall midge, photoperiod insensitivity and special quality
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินและคัดเลือกพันธุ์ข้าวท้องถิ่นที่ทนทานต่อแมลงบั่วและไม่ไวต่อช่วงแสงในพื้นที่ศึกษาและเพื่อคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์ข้าวบนพื้นที่สูงที่มีองค์ประกอบทางโภชนาการพิเศษแบ่งงานทดลองออกเป็น 2 ฤดูปลูกคือนาปรัง พ.ศ. 2559 และนาปี พ.ศ. 2559 ในฤดูนาปรัง พ.ศ. 2559 ดำเนินการทดลองที่คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ปลูกขยายพันธุ์ลูกผสมชั่วที่ 3 ระหว่างพันธุ์ข้าวท้องถิ่นจากพื้นที่สูงจังหวัดน่าน พันธุ์เบล้อะและพันธุ์เจ้าเปลือกดำ กับพันธุ์ทนทานต่อแมลงบั่วไม่ไวต่อช่วงแสง 2 สายพันธุ์ และเพิ่มพันธุ์ข้าวหอมไม่ไวต่อช่วงแสงคือ พันธุ์ปทุมธานี 1 เป็นพันธุ์พ่อสำหรับพันธุ์เจ้าเปลือกดำ รวมลูกผสมจำนวน 5 ชุด บันทึกลักษณะทางสัณฐานและการเจริญเติบโต พบว่าลูกผสมทุกคู่มีการกระจายตัวของลักษณะทางสัณฐานและทางพืชไร่ ส่วนใหญ่ติดเมล็ดน้อยเนื่องจากได้รับอุณหภูมิสูงมากในช่วงออกดอก อย่างไรก็ตามสามารถคัดเลือกต้นที่ออกดอกในฤดูนาปรังเก็บเมล็ดพันธุ์สำหรับปลูกคัดเลือกในแปลงเกษตรกรได้ทุกคู่ แบ่งเมล็ดส่วนหนึ่งไปวัดปริมาณธาตุเหล็กและสังกะสีในเมล็ดข้าวของลูกผสมชั่วที่ 3 พบว่ามีค่าระหว่างพันธุ์พ่อแม่ ลูกผสมที่ประยุกต์จากพันธุ์พื้นเมืองเบล้อะมีค่าเหล็กและสังกะสีสูงกว่าลูกผสมที่ประยุกต์จากพันธุ์พื้นเมืองเจ้าเปลือกดำ ตรวจพบสารหอมในคู่ผสมระหว่างเจ้าเปลือกดำและปทุมธานี 1 เก็บเมล็ดพันธุ์จากลูกผสมชั่วที่ 3 ในแต่ละชุดนำมารวมกันเพื่อสร้างลูกผสมรวมหมู่ชั่วที่ 4 ได้ 5 คู่ผสม และได้ปลูกลูกผสมชั่วที่ 4 จำนวน 5 ชุดในฤดูนาปี พ.ศ. 2559 ในสภาพไร่และสภาพนาในแปลงเกษตรกร ในฤดูนาปี พ.ศ. 2559 ปลูกทดลองในแปลงเกษตรกรในพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวงน้ำแขว่ง จ.น่าน จำนวน 2 แปลง โดยแบ่งเป็นสภาพไร่ 1 แปลงและสภาพนา 1 แปลง แต่ละแปลงปลูกลูกผสมรวมหมู่ชั่วที่ 4 และพันธุ์พ่อแม่ชุดที่ 1 จากฤดูนาปรัง จำนวน 5 คู่ ตรวจเช็คการเข้าทำลายของแมลงบั่วที่ระยะ 40 และ 80 วันหลังปลูกหรือย้ายกล้า เมื่อปลูกในสภาพข้าวไร่ ข้าวมีการแตกกอมากกว่าและพบการเข้าทำลายของแมลงบั่วมากกว่าปลูกสภาพข้าวนา พบการเข้าทำลายตั้งแต่ 0-20.6% พันธุ์พ่อแม่พบมากที่สุดในพันธุ์เบล้อะกับปทุมธานี 1 ลูกผสมเกือบทุกคู่มีการเข้าทำลายน้อยกว่า 1% เมื่อปลูกในสภาพข้าวนาพบการเข้าทำลายน้อย มีค่าระหว่าง 0-5.3% พันธุ์แม่พื้นเมืองและพันธุ์เกษตรกรมีการเข้าทำลายสูงกว่าพันธุ์พ่อไม่ไวต่อช่วงแสง ไม่พบการเข้าทำลายเลยในสายพันธุ์ CMU-B2 ทั้งในสภาพไร่และสภาพนา ไม่พบหรือพบการเข้าทำลายน้อยมากในคู่ผสมที่ใช้ CMU-B2 เป็นพันธุ์พ่อ ในสภาพข้าวไร่ลูกผสมเกือบทุกคู่กระจายตัวให้ลูกผสมที่มีผลผลิตเฉลี่ยสูงใกล้เคียงกับพันธุ์พ่อ ยกเว้นคู่ผสมระหว่างเบล้อะกับ CMU-L2 ที่มีการเข้าทำลายของแมลงบั่วสูงถึง 20% มีค่าผลผลิตเฉลี่ยไม่ต่างจากพันธุ์แม่ ในสภาพข้าวนาคู่ผสมที่ได้จากพันธุ์ข้าวไร่เบล้อะทั้งสองคู่ผสมมีค่าเฉลี่ยผลผลิตน้อยใกล้เคียงพันธุ์แม่ขณะที่คู่ผสมที่ได้จากพันธุ์ข้าวไร่เจ้าเปลือกดำมีค่าเฉลี่ยระหว่างพันธุ์พ่อแม่โดยคู่ผสมระหว่างเจ้าเปลือกดำกับปทุมธานี 1 ให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงสุด การปลูกทั้งในสภาพไร่และสภาพนา ปริมาณธาตุเหล็กในเมล็ดข้าวของลูกผสมรวมหมู่ชั่วที่ 4 มีค่าใกล้เคียงพันธุ์พ่อแม่ ปริมาณสังกะสีพ่อแม่พื้นเมืองเบล้อะและเจ้าเปลือกดำมีค่าสูงกว่าพ่อแม่สายพันธุ์ไม่ไวต่อช่วงแสงทั้งสามพันธุ์ คู่ผสมระหว่างเจ้าเปลือกดำกับปทุมธานี 1 ปลูกในสภาพนามีค่าสูงที่สุด ตรวจพบสารหอมในคู่ผสมระหว่างเจ้าเปลือกดำและปทุมธานี 1 โดยการปลูกในสภาพนาให้ค่าสูงกว่าสภาพไร่ โดยมีค่าประมาณครึ่งของปทุมธานี 1
บทคัดย่อ (EN): Gall midge infestation in rice fields of highland have been reported in the past few years. Rice yield in both dry land and wet land were affected by this insect. Selection and breeding local rice for tolerant to gall midge may help prevent yield reduction in local areas. In addition, highland rice germplasm are diverse genetically. This provides genetic resource for special quality, for example Fe and Zn in rice grain. Local rice varieties are photoperiod-sensitive and can be grown only once a year during wet season. Unfavorable conditions such as late rainfall will lead to late sowing. This will affect rice yield by shortening growing season. Incorporation of photoperiod-insensitive trait into local rice will enable these varieties to adapt to late growing season or grow more than once a year in areas where irrigation available. Therefore, incorporating photoperiod-insensitivity into local varieties from highland with special quality will offer better income for farmers and health benefit for consumers.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาวิจัยและคัดเลือกพันธุ์ข้าวบนพื้นที่สูงที่ทนทานต่อแมลงบั่วไม่ไวต่อช่วงแสงและมีคุณภาพพิเศษทางโภชนาการ
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
30 กันยายน 2559
การปลูกข้าวต้นเดียวและใช้น้ำน้อยบนพื้นที่สูง คุณภาพข้าวสุกจากการผสมข้าว กข 23 และ ชัยนาท 1 ในขาวดอกมะลิ 105 การพัฒนากระบวนการต้นแบบในการทดสอบพันธุ์ข้าวลูกผสม แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การพัฒนาและคัดเลือกพันธุ์ข้าวที่สูงที่มีคุณภาพและคุณค่าทางโภชนาการสูง การรวบรวมและคัดเลือกพันธุ์ข้าวที่สูงที่มีคุณภาพและคุณค่าทางโภชนาการสูง : การใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอในการคัดเลือกพันธุ์ข้าวที่สูงที่มีคุณภาพและทนทานต่อความเครียดจากสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ดัชนีความไวของข้าวบางพันธุ์ที่มีต่อช่วงแสงตามธรรมชาติ การประเมินและคัดเลือกพันธุ์ข้าวไร่พื้นเมืองประจำเผ่าบนพื้นที่สูง โครงการวิจัยปรับปรุงพันธุ์ข้าวบนพื้นที่สูงที่ทนทานต่อแมลงบั่ว และมีคุณภาพพิเศษทางโภชนาการ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก