สืบค้นงานวิจัย
วิธีการผลิตและปัญหาการผลิตเบญจมาศของเกษตรกรตำบลไทยสามัคคี อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
อนุสร จันทร์แดง - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: วิธีการผลิตและปัญหาการผลิตเบญจมาศของเกษตรกรตำบลไทยสามัคคี อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อนุสร จันทร์แดง
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาวิธีการผลิตและปัญหาการผลิตเบญจมาศของเกษตรกรตำบลไทยสามัคคี อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานบางประการของเกษตรกรผู้ปลูกเบญจมาศ 2) วิธีการปลูกเบญจมาศของเกษตรกร และ 3) ศึกษาปัญหาการผลิตเบญจมาศของเกษตรกร ประชากรเป็นเกษตรกรผู้ปลูกเบญจมาศ จำนวน 23 ราย โดยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรร้อยละ 56.52 เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 41.70 ปี ร้อยละ 65.22 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 65.22 เป็นโสด สมาชิกครัวเรือนเฉลี่ย 4.3 คน แรงงานเฉลี่ย 2.6 คน ร้อยละ 56.52 มีแรงงานเฉลี่ย 2.15 คน ร้อยละ 78.26 ประกอบอาชีพปลูกเบญจมาศเป็นสมาชิกสหกรณ์การเกษตรและกลุ่มผู้ปลูกเบญจมาศ เป็นสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน กู้ยืมเงินจำนวนเงินกู้เฉลี่ย 35,176.47 บาท เป็นหนี้เงินกู้เฉลี่ย 16,375.00 บาท มีพื้นที่ถือครองทั้งหมดเฉลี่ย 12.9 ไร่ ใช้พื้นที่ปลูกเบญจมาศเฉลี่ย 4.63 ไร่ ใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ มีน้ำใช้ตลอดปี ได้รับความรู้จากเจ้าหน้าที่เกษตรตำบล เคยผ่านการอบรมการปลูกเบญจมาศ ประสบการณ์เฉลี่ย 3.91 ปี นิยมปลูกพันธุ์พลาลิส จำนวนโรงเรือนเฉลี่ย 37.83 โรง ใช้โรงเรือนตลอดทั้งปี ร้อยละ 34.78 ใช้หลังคาเป็นรูปโค้งครึ่งวงกลม ร้อยละ 56.52 มีโรงเรือนขนาด 2.50 x 22 เมตร ร้อยละ 86.96 ใช้ตาข่ายพรางแสง ร้อยละ 78.26 ใช้แปลงปลูกเบญจมาศขนาด 1 x 20 เมตร เตรียมดินจำนวน 2 ครั้ง ใช้แกลบปุ๋ยคอกและโดโลไมท์เป็นวัสดุปรับปรุงดิน ดินเป็นดินร่วน ใช้ปุ๋ยรองพื้นสูตร 15-15-15 ใช้ตาข่ายขนาด 12.50 x 12.50 เซนติเมตร ใช้ต้นกล้าจำนวน 2,500 ต้น/แปลง ให้แสงเบญจมาศ 30 วัน ใช้หลอดนีออนในการให้แสงเบญจมาศ ใช้หลอดขนาด 40 วัตต์ ใช้ความสูงหลอดไฟ 1.50 เมตร เปิดไฟให้แสงเวลา 18.00-22.00 น. เปิดไฟให้แสงเบญจมาศ 30 วัน ร้อยละ 56.52 หยุดให้ไฟเมื่อเบญจมาศสูง 30 ซม. ร้อยละ 86.96 กำจัดวัชพืชด้วยวิธีกล ร้อยละ 56.52 กำจัดวัชพืชจำนวน 2 ครั้ง ร้อยละ 73.91 ลิคใบล่างเมื่ออายุ 3-4 สัปดาห์ ให้น้ำโดยใช้สายยาง ให้น้ำจำนวน 1 ครั้ง ใส่ปุ๋ยจำนวน 3 ครั้ง ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ร้อยละ 60.87 ใช้ฮอร์โมนในการปลูกเบญจมาศ พบเพลี้ยไฟระบาดในแปลง ป้องกันกำจัดศัตรูเบญจมาศโดยใช้สารเคมี ร้อยละ 95.65 ตัดเบญจมาศแล้วห่อด้วยกระดาษ ราคาจำหน่ายเกรด A เฉลี่ย 56.74 บาท/กก. เกรด B เฉลี่ย 43.81 บาท/กก. เกรด C เฉลี่ย 26.67 บาท/กก. จำหน่ายในลักษณะขายส่งและขายปลีกให้กับแม่ค้าที่มารับถึงที่โดยวิธีชั่งน้ำหนัก มีปัญหาด้านยอดพันธุ์ไม่แข็งแรง การป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรู ปัจจัยการผลิตราคาแพง ความไม่เป็นธรรมด้านราคา แรงงานขาดแคลนและด้อยคุณภาพ ดินเสื่อมคุณภาพ ขาดเงินทุน ความรู้ไม่เพียงพอ ข้อเสนอแนะสนับสนุนให้ให้มีการรวมกลุ่มของเกษตรกรและสนับสนุนความรู้ทางวิชาการ สนับสนุนเงินทุนในรูปเงินทุนหมุนเวียน ปัจจัยการผลิตราคาถูก แหล่งพันธุ์ดีและมีปริมาณเพียงพอ ให้มีการจัดตั้งตลาดกลางไม้ดอก จัดให้มีการสัมมนาและแลกเปลี่ยนความรู้ ข่าวสารการผลิตและการตลาดผลผลิตเบญจมาศ การศึกษาครั้งต่อไป ควรศึกษาลักษณะการตลาดของเกษตร และการทดสอบสานพันธุ์เบญจมาศที่เหมาะสมกับพื้นที่
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2549
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
วิธีการผลิตและปัญหาการผลิตเบญจมาศของเกษตรกรตำบลไทยสามัคคี อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
กรมส่งเสริมการเกษตร
2549
สภาพการผลิตและการตลาดเบญจมาศของเกษตรกรอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา ความต้องการของเกษตรกรต่อการผลิตและการตลาดเบญจมาศในจังหวัดนครราชสีมา การผลิตดอกเบญจมาศของเกษตรกร สภาพการผลิตเบญจมาศของเกษตรกรอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกร ตำบลโนนเต็ง อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา การวิเคราะห์เปรียบเทียบปัจจัยส่งเสริมความสำเร็จด้านการผลิตและการตลาดในการผลิตผักปลอดสารพิษระหว่างสมาชิกกลุ่มเกษตรกรและเกษตรกรทั่วไป ในอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกร ตำบลหินดาด อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกร ตำบลหนองบัวน้อย อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรในตำบลพญาเย็น อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรในตำบลกุดน้อย อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก