สืบค้นงานวิจัย
ศึกษาการเลี้ยงและใช้ประโยชน์ไรน้ำนางฟ้าไทย เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เกษตรกรในจังหวัดสกลนคร
ร่วมฤดี พานจันทร์, โฆษิต ศรีภูธร, สมพิศ ตามสั่ง, นัยนา เสนาศรี, จารุวัฒน์ เครือศรี - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
ชื่อเรื่อง: ศึกษาการเลี้ยงและใช้ประโยชน์ไรน้ำนางฟ้าไทย เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เกษตรกรในจังหวัดสกลนคร
ชื่อเรื่อง (EN): Culture and Utilization of Thai fairy shrimp, Branchinella thailandensis Sanoamuang, Saengphan & Mururan for Technology Transfer to Farmers in Sakon Nakhon Province
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของการทดลองครั้งนี้เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไทยโดยใช้อาหารผงสำหรับเป็นอาหารร่วมกับสาหร่ายคลอเรลลา และถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้ประโยชน์จากไรน้ำนางฟ้าไทยระยะแรกฟักสำหรับอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน ทำการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เกษตรกรในตำบลแร่ อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร จำนวน 60 คน เลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไทยอายุ 5 วัน เลี้ยงด้วยสาหร่ายคลอเรลลา 2x106 เซลล์ต่อมิลลิลิตร ร่วมกับอาหารเสริมสำเร็จรูปเป็นเวลา 15-25 วัน ในถังพลาสติกบรรจุน้ำประปาปราศจากคลอรีน 20 ลิตร ที่ระดับความหนาแน่นของไรน้ำนางฟ้า 30 ตัวต่อลิตร และใช้ลูกไรน้ำนางฟ้าไทยอนุบาลลูกปลาและลูกกุ้งก้ามกราม ผลของการถ่ายทอดเทคโนโลยีพบว่าเกษตรกรสามารถผลิตไรน้ำนางฟ้าไทยตัวเต็มวัยขนาดความยาวลำตัวประมาณ 2.52-3.55 เซนติเมตร มีน้ำหนัก 0.082-0.15 กรัม อัตรารอดร้อยละ 66.0-75.0 และสามารถผลผลิตไข่แห้งได้ประมาณ 350,000-500,000 ฟองต่อกะละมังขนาด 20 ลิตร บรรจุไข่แห้งพร้อมฟักในถุงพลาสติก ถุงแบบสูญากาศ และถุงอลูมิเนียมฟรอยด์ ตั้งแต่ 10,000 50,000 100,000 และ 1,000,000 ฟอง ไรน้ำนางฟ้าไทยตัวเต็มวัยสามารถนำมาแช่แข็งเป็นอาหารสำหรับปลาสวยงามและสัตว์น้ำเศรษฐกิจ หรือเลี้ยงเป็นสัตว์สวยงามได้ และยังสามารถเลี้ยงเพื่อเก็บไข่ ส่วนตัวอ่อนของไรน้ำนางฟ้าไทยพบว่ามีสารอาหารที่เพียงพอสำหรับเป็นอาหารอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อนได้
บทคัดย่อ (EN): The objective of this study was to culture of Thai fairy shrimp (Branchinella thailandensis Sanoamuang, Saengphan and Murugan) by using dry fairy shrimp diet mixed with Chlorella sp. and technology transfer utilization of B. thailandensis nauplii for nursing of aquatic animal larvae. The technology transfer to farmers in Sakon Nakhon Province total 60 persons. The cultures of Thai fairy shrimp 5-days-old fairy shrimp larvae by using dry fairy shrimp diet mixed with Chlorella sp. at a concentration of 2?106 cells mL-1 . Experiments were conducted for 15-25 days in circular black plastic containers containing 20 L of dechlorinated tap water. Each stocking density of fairy shrimp was 30 individuals L-1. The technology transfer utilization of B. thailandensis nauplii for nursing of fish larvae and shrimp larvae. The results of technology transfer showed that the farmers can be production average length of B. thailandensis adult was 2.52-3.55 cm, the average weight was 0.082-0.15 g, and the survival percentages was 66.0-75.0 %. The production of dry cyst were 350,000-500,000 eggs in circular black plastic containers containing 20 L. The packaging of dry cyst in plastic bags, vacuum bags and aluminum bags containers containing 10,000, 50,000, 100,000 and 1,000,000 eggs containers.-1 The B. thailandensis adult can be used as frozen food for ornamental fishes and commercial aquatic animal or cultured as an aquarium animal and the cultured for cyst production. The B. thailandensis nauplii can be used as a nutritionally adequate food as feed for nursing of aquatic animal larvae.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ศึกษาการเลี้ยงและใช้ประโยชน์ไรน้ำนางฟ้าไทย เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เกษตรกรในจังหวัดสกลนคร
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
30 กันยายน 2555
การพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงโคนมโดยเกษตรกรมีส่วนร่วม การใช้ไรน้ำนางฟ้าเพื่อเป็นอาหารสัตว์น้ำเศรษฐกิจในจังหวัดตรัง การเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวโพดข้าวเหนียวพันธุ์ดีและถ่ายทอดงานวิจัยสู่เกษตรกรจังหวัดสระบุรี การใช้ยีสต์มีชีวิตร่วมกับจุลินทรีย์ EM (Effective Microorganisms) ในการผลิตไรน้ำนางฟ้าไทยคุณภาพ การศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของไรน้ำนางฟ้าสิรินธรและไรน้ำนางฟ้าไทย ความต้องการรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีองค์ความรู้ด้านการเลี้ยงไก่พื้นเมืองของเกษตรกรในพื้นที่รอบโครงการพัฒนาปลวกแดงตามพระราชดำริจังหวัดระยอง-ชลบุรี การใช้แบคทีเรียโพรไบโอติกเพื่อควบคุมโรค black disease ในไรน้ำนางฟ้าไทย, Branchinella thailandensis Sanoamuang, Saengphan & Murugan, 2002 การทดลองเลี้ยงหอยสังข์กระโดด Strombus canarium ควบคู่กับการเลี้ยงกุ้งขาววานาไม ผลของการเก็บรักษาไรน้ำนางฟ้าไทยต่อคุณค่าทางโภชนาการและปริมาณแคโรทีนอยด์ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีแบบไม่ทำลายโครงสร้างโดยใช้ เทคนิคเนียร์อินฟราเรดเพื่อตรวจสอบคุณภาพรำข้าว และการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อนำไปสู่การนำไปใช้ประโยชน์

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก