สืบค้นงานวิจัย
สภาพการปลูกยางพาราของเกษตรกรในตำบลน้ำสวย อำเภอเมือง จังหวัดเลย
ชญาศักดิ์ ธรรมจินโณ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการปลูกยางพาราของเกษตรกรในตำบลน้ำสวย อำเภอเมือง จังหวัดเลย
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ชญาศักดิ์ ธรรมจินโณ
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การวิจัยสภาพการปลูกยางพาราครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการปลูกยางพาราของเกษตรกรในตำบลน้ำสวย อำเภอเมือง จังหวัดเลย กลุ่มตัวอย่างจำนวน 191 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ค่าวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS for Windows ด้วยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยภาพรวม เกษตรกรมีการปฏิบัติในการปลูกยางพาราอยู่ในระดับปานกลาง ( =3.27) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ได้แก่ การวางแนวปลูกยางพาราในพื้นที่ราบ การวางแนวปลูกยางพาราในพื้นที่ลาดเท การเตรียมหลุมปลูกยางพารา การทำแนวระดับและขั้นบันได วิธีการปลูกยางพารา พันธุ์ยางพาราที่ใช้ปลูก การเลือกพันธุ์ยางพารา การเสริมรายได้จากสวนยาง การปลูกพืชแซมยางหรือพืชที่ปลูกระหว่างแถวยางยางพารา การปลูกพืชร่วมยางหรือพืชที่ปลูกควบคู่กับการปลูกยางพารา การปลูกไม้กันลมเพื่อป้องกันภัย จากลมพายุ วิธีการใส่ปุ๋ยยางพาราก่อนเปิดกรีด การกำจัดวัชพืชในสวนยางพารา การใช้สารเคมีในการกำจัดวัชพืชในสวนยาง การปลูกพืชคลุมดินในสวนยางพารา พันธุ์พืชคลุมดินที่เหมาะสมกับการปลูกในสวนยางพารา การป้องกันไฟไหม้สวนยางพาราในหน้าแล้ง การแก้ไขสวนยางพาราที่ถูกไฟไหม้ ความคิดเห็นในระดับปานกลาง ได้แก่ การเตรียมพื้นที่สำหรับปลูกสร้างสวนยางพารา ระยะปลูกยางพาราที่ถูกต้องและเหมาะสม วัสดุที่ใช้ในการปลูกยางพารา การใช้ปุ๋ยในสวนยางพารา วิธีการใส่ปุ๋ยยางพาราหลังเปิดกรีด การตัดแต่งกิ่งยางพาราที่ถูกวิธี โรคราแป้งในสวนยางพารา ลักษณะและการทำลายยางพาราของปลวก การป้องกันและกำจัดปลวก ลักษณะและการทำลายยางพาราของหนอนทราย ความคิดเห็นในระดับน้อย ได้แก่ การเลือกสภาพพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับปลูกยางพารา การผสมปุ๋ยเคมีใช้เองในสวนยาง การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีในสวนยางวิธีการทำปุ๋ยหมักไว้ใช้ในสวนยาง โรคตายยอดในสวนยางพารา โรคใบร่วงและฝักเน่าในสวนยางพารา ความคิดเห็นในระดับน้อยที่สุด คือ การป้องกันและกำจัดหนอนทราย ข้อเสนอแนะ คือ นักวิชาการเกษตรและผู้เกี่ยวข้องควรให้ความรู้แก่เกษตรกร ในเรื่อง การป้องกันกำจัดหนอนทราย การเลือกพื้นที่ที่เหมาะสม การตัดแต่งกิ่ง การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ร่วมกับปุ๋ยเคมี โรคตายยอดและโรคใบร่วง ในยางพารา
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2546
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการปลูกยางพาราของเกษตรกรในตำบลน้ำสวย อำเภอเมือง จังหวัดเลย
กรมส่งเสริมการเกษตร
2547
สภาพการปลูกยางพาราของเกษตรกรในจังหวัดกาฬสินธุ์ สภาพการปลูกยางพารา ของเกษตรกร อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู การศึกษาการปลูกยางพาราภายใต้การเกษตรแบบผสมผสานตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในจังหวัดเลย สภาพการผลิตเบญจมาศของเกษตรกรอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย การประเมินผลโครงการปลูกยางพารา เพื่อยกระดับรายได้และความมั่นคงให้แก่เกษตรกร ในแหล่งปลูกยางใหม่ ระยะที่ 1 [พ.ศ.2547-พ.ศ.2549] : ศึกษากรณี จังหวัดเลย ปัจจัยบางประการที่มีผลต่อการส่งเสริมการปลูกยางพาราในจังหวัดภาคตะวันออก สภาพการปลูกและดูแลรักษายางพาราของเกษตรกรที่เปิดกรีดยางแล้วในจังหวัดอุบลราชธานี การรับรู้วิธีการปลูกยางพาราของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการปลูกยางพารา ในอำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา สภาพการผลิตพริกแบบผสมผสานของเกษตรกรตำบลนาดินดำ อำเภอเมือง จังหวัดเลย สภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกร ในตำบลเทนมีย์ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก