สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยพัฒนาพันธุ์และเทคโนโลยีการผลิตกล้วยเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตคุณภาพเพื่อการส่งออก
กรมวิชาการเกษตร - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยพัฒนาพันธุ์และเทคโนโลยีการผลิตกล้วยเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตคุณภาพเพื่อการส่งออก
ชื่อเรื่อง (EN): Research and development of banana production for improvement of quality production for export
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กรมวิชาการเกษตร
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การปรับปรุงพันธุ์กล้วยไข่โดยการชักนำเนื้อเยื่อกล้วยไข่ในสภาพปลอกเชื้อจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อให้เกิดการกลายพันธุ์โดยการฉายรังสีแกมมา อัตรา 0, 10, 20, 30, 40 และ 50 เกรย์ พบค่า LD50 ของต้นอ่อนกล้วยไข่ในสภาพปลอดเชื้อที่ผ่านการฉายรังสีแกมมาอยู่ที่ 34 เกรย์ ปริมาณรังสีที่เพิ่มขึ้นจาก 0- 30 เกรย์ ส่งผลให้ปริมาณกล้วยไข่ต้นเตี้ยเพิ่มขึ้น อัตราการหักล้มลดลง การคัดเลือกเบื้องต้นได้กล้วยไข่จำนวน 9 สายต้น คือ KM 1-11, KM 2-30, KM 32.20, KM 2-20, KM 3-6, KM 25-6, KM 22-27, KM 9-20, และ KM 30-11 โดยมีความสูงต้น อยู่ระหว่าง 170-210 เซนติเมตร เส้นรอบวงโคนลำต้นเทียม อยู่ระหว่าง 47-55 เซนติเมตร น้ำหนักเครือกล้วย อยู่ระหว่าง 4.6-8.8 กิโลกรัม จำนวนหวีต่อเครือ อยู่ระหว่าง 4-6 หวี น้ำหนักหวี อยู่ระหว่าง 1.01-1.41 กิโลกรัม เพื่อนำไปใช้ไปปลูกเปรียบเทียบและทดสอบตามขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์เพื่อการขอรับรองพันธุ์ต่อไป การจัดการเทคโนโลยีการผลิตกล้วยไข่คุณภาพในช่วงฤดูแล้ง จังหวัดสุโขทัย และจันทบุรี เพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตคุณภาพส่งออก ระหว่างตุลาคม 2554-กันยายน 2557 โดยศึกษาการปลูก 2 ระบบ คือปลูกเป็นพืชเดี่ยวและปลูกแซมในระหว่างแถวมะม่วง (สุโขทัย) และขนุน (จันทบุรี) มีการให้น้ำแบบ Mini sprinkle และ Mini sprinkle ร่วมกับ Mist spray รวมทั้งการจัดการหวีสุดท้าย โดยการตัดหวีตีนเต่า และไม่ตัดหวีตีนเต่า ทำ 4 ซ้ำ ซ้ำละ 25 ต้น ผลการทดลองจังหวัดสุโขทัยพบว่า กล้วยไข่ที่ปลูกแซมในสวนมะม่วงให้น้ำหนักเครือรุ่นแม่ระหว่าง 6.95-7.44 กิโลกรัม รุ่นหน่อ 4.77-4.87 กิโลกรัม ผลผลิตกล้วยไข่ที่ได้ให้น้ำหนักเครือ จำนวนหวีต่อเครือเปอร์เซ็นต์หวีที่ได้มาตรฐานต่อเครือและน้ำหนักหวีที่ได้มาตรฐานส่งออกมากกว่าการปลูกเป็นพืชเดี่ยวทั้งรุ่นแม่และรุ่นหน่อ ส่วนการจัดการน้ำทั้ง 2 แบบ ไม่มีผลต่อผลผลิตและคุณภาพ แต่การให้น้ำแบบมินิสปริงค์เกอร์ร่วมกับการพ่นฝอย (mist spray) ให้ความกว้างผลและน้ำหนักผลมากกว่าการให้น้ำแบบมินิสปริงค์เกอร์ ส่วนการตัดหวีสุดท้าย(ตีนเต่า)ก่อนการห่อเครือจะช่วยเพิ่มเปอร์เซ็นต์หวีที่ได้มาตรฐานต่อเครือและน้ำหนักหวีมาตรฐานมากกว่าการไม่ตัดหวีสุดท้าย การปลูกในสภาพแปลงเดี่ยวรุ่นแม่และรุ่นหน่อมีต้นหักล้ม 2.5 เปอร์เซ็นต์ ส่วนการปลูกเป็นพืชแซมรุ่นแม่ไม่มีการหักล้ม ส่วนรุ่นหน่อหักล้ม 2.5 เปอร์เซ็นต์เช่นกัน ด้านผลตอบแทนพบว่าการปลูกกล้วยไข่เป็นพืชเดี่ยวในปีแรกมีต้นทุนค่อนข้างสูงโดยมีค่าระบบน้ำ และเมื่อคิดต้นทุนและผลตอบแทนแล้วทำให้ขาดทุน 3,280 บาทต่อไร่ ส่วนในรุ่นหน่อจะประหยัดต้นทุนในเรื่องของต้นพันธุ์ ระบบน้ำ และถุงห่อทำให้มีกำไรสุทธิ 11,000 บาทต่อไร่ ส่วนการปลูกแซมในรุ่นแม่มีกำไรสุทธิ 4,410 บาทต่อไร่ ส่วนในรุ่นหน่อมีกำไรสุทธิ 18,540 บาทต่อไร่ จังหวัดจันทบุรี พบว่า กล้วยไข่ที่ปลูกแซมในสวนขนุนให้น้ำหนักเครือเฉลี่ย 5.3 กิโลกรัม จำนวนหวีต่อเครือ 5.2 หวี เปอร์เซ็นต์หวีที่ได้มาตรฐานต่อเครือ และน้ำหนักหวีที่ได้มาตรฐานส่งออก 76.76% และ1116.6กรัมตามลำดับ ส่วนการปลูกเป็นพืชเดี่ยวให้น้ำหนักเครือเฉลี่ย 5.97 กิโลกรัม จำนวนหวีต่อเครือ 4.73 หวี เปอร์เซ็นต์หวีที่ได้มาตรฐานต่อเครือ และน้ำหนักหวีที่ได้มาตรฐานส่งออก 84.49% และ1,291.5 กรัมตามลำดับ ส่วนการจัดการน้ำทั้ง 2 แบบ ให้ผลผลิตและคุณภาพใกล้เคียงกัน ส่วนการตัดหวีสุดท้าย(ตีนเต่า)ก่อนการห่อเครือ จะช่วยเพิ่มเปอร์เซ็นต์หวีที่ได้มาตรฐานต่อเครือและน้ำหนักหวีมาตรฐานมากกว่าการไม่ตัดหวีสุดท้ายประมาณ 2 เปอร์เซ็นต์ ด้านการหักล้มพบว่าการปลูกในสภาพแปลงเดี่ยวมีการหักล้ม 11.1 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่การปลูกเป็นพืชแซมไม่มีการหักล้ม ด้านผลตอบแทนเมื่อรวมรายได้และหักต้นทุนต่างๆแล้วพบว่าการปลูกกล้วยไข่เป็นพืชเดี่ยวให้ผลตอบแทน 21,614 บาทต่อไร่ ส่วนการปลูกเป็นพืชแซมจะมีรายได้ทั้งจากพืชหลักและพืชแซมทำให้มีรายได้สุทธิสูงถึง 40,130 บาทต่อไร่ อย่างไรก็ตามรายได้สุทธิจะมากหรือน้อยจะขึ้นกับปริมาณผลผลิตที่ได้คุณภาพเป็นสำคัญเพราะจะส่งผลต่อราคาค่อนข้างมากโดยเฉพาะกล้วยไข่ที่ได้มาตรฐานราคาจะต่างกับกล้วยไข่ที่ไม่ได้มาตรฐาน 8-10 เท่า การศึกษาผลของช่วงเวลาและระดับความสูงในการตัดลำต้นที่มีต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และคุณภาพกล้วยไข่เพื่อการส่งออก ดำเนินการในพื้นที่จังหวัดตาก เพื่อให้ได้ช่วงเวลาและระดับความสูงในการตัดลำต้นกล้วยไข่ที่เหมาะสม ลดปัญหาการหักล้มจากแรงลมในช่วงฤดูแล้ง ดำเนินการ 2 ปี พบว่า การไม่ตัดต้นกล้วยไข่เป็นวิธีการที่ให้ผลผลิตดีที่สุด มีรายได้มากกว่าร่ายจ่าย ในปี 2555/56 การไม่ตัดต้นกล้วยไข่มีผลผลิต 4,406 กิโลกรัมต่อไร่ มีรายได้ 30,842 บาทต่อไร่ ต้นทุนการผลิต 20,875 บาทต่อไร่ กำไร 9,967 บาทต่อไร่ ค่า BCR 1.50 และ ปี 2556/57 การไม่ตัดต้นกล้วยไข่ มีผลผลิต 3,813 กิโลกรัมต่อไร่ มีรายได้ 26,693 บาทต่อไร่ ต้นทุนการผลิต 17,675 บาทต่อไร่ กำไร 9,018 บาทต่อไร่ ค่า BCR 1.48 การตัดต้นกล้วยเมื่ออายุ 3 เดือน ที่ระดับความสูง 60 เซนติเมตร และการตัดต้นกล้วยเมื่ออายุ 4 เดือน ที่ระดับความสูง 60 เซนติเมตรมีกล้วยไข่หักล้มมากสุด 17 ต้น ต่อพื้นที่ปลูกกล้วยไข่ 1 ไร่ ขณะที่การไม่ตัดต้นกล้วยไข่ ไม่มีการหักล้มของต้นกล้วยไข่ ดังนั้นการตัดลำต้น สามารถลดความสูงของต้นกล้วยได้ แต่ขณะเดียวกันอายุการเก็บเกี่ยวกล้วยไข่เพิ่มมากขึ้น ผลผลิตกล้วยไข่ลดลง ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้ช้าลง กำไรลดลงจาก ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากรายจ่ายค่าแรงตัดต้นกล้วย การไม่ตัดต้นกล้วยไข่มีค่า BCR 1.5 คือการลงทุนที่มีกำไรสามารถปฏิบัติได้ การตัดต้นกล้วยไข่ทุกกรรมวิธี เป็นวิธีการที่ไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน ศึกษาศักยภาพการการผลิตกล้วยไข่เชิงการค้าจังหวัดหนองคาย ตั้งแต่ ปี 2557 ถึง ปี 2558 พบว่า การให้น้ำมีผลทำให้กล้วยไข่ทั้งสองพันธุ์เจริญเติบโตดีกว่าได้รับน้ำตามธรรมชาติเพียงอย่างเดียว มีแนวโน้มว่าการให้น้ำ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ทำให้กล้วยไข่พันธุ์เกษตรศาสตร์มีความสูงที่สุด 180.2 เซนติเมตร แต่พันธุ์กำแพงเพชรมีแนวโน้มว่าการให้น้ำ 1 ครั้งต่อสัปดาห์ มีความสูงของลำต้นเทียมสูงที่สุด 171.9 เซนติเมตร กล้วยไข่ทั้ง 2 พันธุ์ มีขนาดเส้นรอบวงลำต้นเทียมไม่แตกต่างกัน และการให้น้ำ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ มีแนวโน้มทำให้เส้นรอบวงของลำต้นเทียมมากที่สุด จำนวนใบไม่แตกต่างกัน เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น โดยกล้วยพันธุ์เกษตรศาสตร์ 2 มีจำนวนใบระหว่าง 10.7-11.8 ใบ ส่วนกล้วยพันธุ์กำแพงเพชรมีจำนวนใบเท่ากันในทุกกรรมวิธีมีค่าเท่ากับ 11.3 ใบ เมื่อเปรียบเทียบจำนวนหน่อของกล้วยไข่ทั้งสองพันธุ์ พบว่า พันธุ์กำแพงเพชรมีแนวโน้มให้จำนวนหน่อมากกว่ากล้วยพันธุ์เกษตรศาสตร์ในทุกกรรมวิธี การออกดอกติดผลกล้วยไข่พันธุ์กำแพงเพชรให้ผลผลิตเร็วกว่าพันธุ์เกษตรศาสตร์ 2 การให้น้ำมีแนวโน้มส่งผลต่อน้ำหนักเครือ น้ำหนักหวี จำนวนผลต่อหวีของกล้วยไข่ทั้งสองพันธุ์ องค์ประกอบผลผลิตกล้วยไข่ทั้งสองพันธุ์ใกล้เคียงกันและมีความหวานใกล้เคียงกันทั้งการให้น้ำและไม่ให้น้ำ มีค่า 7.7 - 8.5 ?Brix การศึกษาศักยภาพการผลิตกล้วยไข่เชิงการค้าในจังหวัดนครพนม กล้วยไข่เป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง มีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ จังหวัดนครพนมเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีความเป็นไปได้ที่จะปลูกเพื่อการค้า จึงได้ศึกษาศักยภาพการการผลิตกล้วยไข่เชิงการค้าขึ้นในจังหวัดนครพนม ดำเนินการในแปลงทดลองของศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครพนม ในปี 2557 ถึง ปี 2558 วางแผนการทดลองแบบ split plot 4 ซ้ำ 2 ปัจจัย ปัจจัยหลัก ประกอบด้วยเป็นพันธุ์กล้วยไข่ จำนวน 2พันธุ์ได้แก่ 1) พันธุ์กำแพงเพชร และ 2) พันธุ์เกษตรศาสตร์ 2 ปัจจัยรองประกอบด้วยการให้น้ำ 3 ระดับ ได้แก่ 1) ไม่ให้น้ำ คือได้รับน้ำตามธรรมชาติเพียงอย่างเดียว 2) ให้น้ำช่วงฤดูแล้ง ตามค่าการระเหย 2 ครั้งต่อสัปดาห์ และ 3) ให้น้ำช่วงฤดูแล้ง ตามค่าการระเหย 1 ครั้งต่อสัปดาห์ ให้น้ำโดยใช้ระบบมินิสปริงเกลอร์ ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า การให้น้ำมีผลทำให้กล้วยไข่ทั้งสองพันธุ์เจริญเติบโตดีกว่าได้รับน้ำตามธรรมชาติเพียงอย่างเดียว เมื่อกล้วยไข่อายุ 10 เดือน หลังปลูก (เมษายน 2558) ซึ่งเป็นระยะที่กล้วยไข่ให้ผลผลิต พบว่า การให้น้ำมีผลทำให้กล้วยไข่ทั้งสองพันธุ์การเจริญเติบโตดีกว่าที่ได้รับน้ำตามธรรมชาติเพียงอย่างเดียวอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง โดยการได้รับน้ำตามธรรมชาติเพียงอย่างเดียวกล้วยไข่ทั้งสองพันธุ์ให้ความสูง ขนาดลำต้น เฉลี่ย 85.7 และ 26 เซนติเมตร จำนวนใบ 6 ใบต่อต้น แต่ความถี่ในการให้น้ำ 1 ครั้งต่อสัปดาห์ และ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ทำให้กล้วยไข่ทั้งสองสายพันธุ์เจริญเติบโตดีขึ้นแต่ไม่แตกต่างกันในทางสถิติ โดย เมื่อได้รับน้ำต่อสัปดาห์ 1 ครั้ง และ 2 ครั้ง ให้ความสูงของลำต้นเทียมของกล้วยไข่ทั้งสองพันธุ์เฉลี่ย 164 และ 174 เซนติเมตร ขนาดเส้นรอบโคนต้น เฉลี่ย 43 และ 45 เซนติเมตร จำนวนใบเฉลี่ย 7 และ 11 ใบต่อต้น การให้ผลผลิต พบว่า การให้น้ำมีผลต่อปริมาณผลผลิตในรุ่นแรกของกล้วยไข่ทั้งสองพันธุ์ โดยกรรมวิธีที่ให้น้ำให้ผลผลิตสูงแตกต่างจากกรรมวิธีที่ไม่ให้น้ำเสริมอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง โดยกล้วยไข่ที่ได้รับน้ำธรรมชาติเพียงอย่างเดียวให้ผลผลิตเพียง 0.38 กิโลกรัมต่อเครือ หรือ 151 กิโลกรัมต่อ ในขณะที่การให้น้ำเสริมน้ำ 1 และ 2 ครั้งต่อสัปดาห์กล้วยไข่ทั้งสองพันธุ์ให้ผลผลิตสูงแต่ไม่แตกต่างกันในทางสถิติ โดยการให้น้ำ 1 ครั้งต่อสัปดาห์ พันธุ์กำแพงเพชรและเกษตรศาสตร์ 2 ให้น้ำหนักเครือ 4,150 และ 4,670 กรัมต่อเครือ หรือให้ผลผลิตรวมเท่ากับ 1,867 และ 1,658 กิโลกรัมต่อไร่ และเมื่อให้น้ำ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ พันธุ์กำแพงเพชรและเกษตรศาสตร์ ให้น้ำหนักเครือ 4,440 และ 4,730 กรัมต่อเครือ หรือคิดเป็นผลผลิตรวมเท่ากับ 1,890 และ 1,777 กิโลกรัมต่อไร่ การศึกษาศักยภาพการผลิตกล้วยไข่เชิงการค้าในจังหวัดชัยภูมิ ดำเนินงานทดลองที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรชัยภูมิ ระหว่างปี 2557-2558 วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพการการผลิตกล้วยไข่เชิงการค้าภายใต้ระบบจัดการคุณภาพ :GAP กล้วยไข่ ของกรมวิชาการเกษตร ในสภาพพื้นที่จังหวัดชัยภูมิเพื่อการผลิตกล้วยไข่ให้มีปริมาณและคุณภาพผลผลิตตรงตามมาตรฐานคุณภาพสำหรับเป็นแหล่งเรียนรู้แก่เกษตรกรและผู้สนใจวางแผนการทดลองแบบ split plot จำนวน 4 ซ้ำ 2 ปัจจัย ปัจจัยหลัก คือ พันธุ์กล้วยไข่ จำนวน 2 พันธุ์ ได้แก่พันธุ์กำแพงเพชรและพันธุ์เกษตรศาสตร์ 2 ปัจจัยรอง คือ การให้น้ำ 3 ระดับ ได้แก่ 1) ไม่ให้น้ำ (ได้รับน้ำตามธรรมชาติเพียงอย่างเดียว) 2) ให้น้ำช่วงฤดูแล้ง ตามค่าการระเหยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง 3) ให้น้ำช่วงฤดูแล้ง ตามค่าการระเหยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง พบว่าการเจริญเติบโตของกล้วยไข่ทั้งสองพันธุ์เมื่ออายุ 9 เดือน ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ โดยที่พันธุ์กำแพงเพชรและพันธุ์เกษตรศาสตร์ 2 มีความสูงต้น 187.5 และ 181.9 ซม. เส้นรอบวงโคนต้น 42 และ 45 ซม. จำนวนหน่อต่อต้น 6.4 และ 7.37 หน่อ ตามลำดับ แต่จำนวนใบทั้งสองพันธุ์มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ พบว่าพันธุ์กำแพงเพชรและพันธุ์เกษตรศาสตร์มีจำนวนใบ 9.88 และ 13.1 ใบต่อต้น ผลผลิตของกล้วยทั้ง 2 พันธุ์ไม่มีความแตกต่างกันในลักษณะน้ำหนักของเครือ จำนวนหวีต่อเครือ น้ำหนักผลและจำนวนผลต่อหวีแต่จะมีความแตกต่างกันในลักษณะความยาวเครือโดยพบว่าพันธุ์กำแพงเพชรมีความยาวเครือ 44 ซม.มากกว่าพันธุ์เกษตรศาสตร์ 2 ที่มีความยาวเครือ 35.2 ซม. สำหรับการให้น้ำ 1 และ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ทำให้กล้วยมีความยาวเครือมากกว่าการได้รับน้ำตามธรรมชาติ ผลผลิตของกล้วยไข่ทั้งสองพันธุ์มีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญระหว่างกรรมวิธีการให้น้ำ 1 และ 2 ครั้งต่อสัปดาห์กับกรรมวิธีได้รับน้ำตามธรรมชาติ พบว่า การให้น้ำ 1 และ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ให้ผลผลิตสูงกว่าการได้รับน้ำตามธรรมชาติและผลผลิตกล้วยไข่ทั้งสองพันธุ์ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติเมื่อได้รับน้ำ 1 หรือ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ การให้น้ำ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ มีต้นทุนการผลิตสูงสุด จำนวน 30,401 บาทต่อไร่ ทำให้กล้วยไข่พันธุ์กำแพงเพชรและเกษตรศาสตร์ 2 ได้รับผลผลิตสูงสุด 3,125 และ 2,579 กก.ต่อไร่ ผลตอบแทน 16,474 และ 8,284 บาทต่อไร่ และอัตราส่วนรายได้ต่อการลงทุน 1.54 และ 1.27 ตามลำดับ การให้น้ำจำนวน 1 ครั้งต่อสัปดาห์ ต้นทุนการผลิต 29.401 บาทต่อไร่ ผลตอบแทน 3,524 และ 5,174 บาทต่อไร่ และอัตราส่วนรายได้ต่อการลงทุน 1.11 และ 1.17 ตามลำดับ และการได้รับน้ำตามธรรมชาติต้นทุนการผลิต 16,716 บาทต่อไร่ ผลผลิตกล้วยไข่พันธุ์กำแพงเพชรและเกษตรศาสตร์ 2 908 และ 297 กก.ต่อไร่ ผลตอบแทนขาดทุน 3,096 และ 12,261 บาทต่อไร่ และอัตราส่วนรายได้ต่อการลงทุน 0.81 และ 0.26 ตามลำดับ ดังนั้นในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิในสภาพดินทราย ช่วงฤดูแล้งระหว่างเดือนธันวาคมถึงเมษายน ควรมีการให้น้ำกล้วยไข่พันธุ์กำแพงเพชรและเกษตรศาสตร์ 2 อย่างน้อยจำนวน 1 ครั้งต่อสัปดาห์และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตควรแบ่งการให้น้ำเป็นจำนวน 2 ครั้งต่อสัปดาห์ การได้รับน้ำตามธรรมชาติเพียงอย่างเดียวทำให้ปริมาณและคุณภาพของผลผลิตลดลงอย่างชัดเจน ไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน การทดลองการศึกษาศักยภาพการผลิตกล้วยไข่เชิงการค้าในจังหวัดมุกดาหาร เริ่มดำเนินการทดลองในเดือนกันยายนปี 2557 สิ้นสุดเดือนกันยายนปี 2558 ในพื้นที่แปลงทดลองศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรมุกดาหาร ดำเนินการทดลองในพื้นที่ 1 ไร่ จำนวน 400 ต้นต่อไร่ โดยวางแผนการทดลองแบบ Split plot design มีจำนวน 4 ซ้ำ ประกอบด้วย ปัจจัยหลัก 1) ไม่ให้น้ำ 2) ให้น้ำ 1 ครั้งต่อสัปดาห์ 3) ให้น้ำ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ปัจจัยรองคือ 1) กล้วยไข่พันธุ์กำแพงเพชร 2) กล้วยไข่พันธุ์เกษตรศาสตร์ 2 วิธีการให้น้ำจะให้แบบหัวน้ำสปริงเกลอร์แบบปีกนก ซึ่งการทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพการผลิตกล้วยไข่เชิงการค้าภายใต้ระบบจัดการคุณภาพ GAP กล้วยไข่ของกรมวิชาการเกษตร ในสภาพพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การผลิตกล้วยไข่ให้มีปริมาณและคุณภาพผลผลิตตรงตามมาตรฐานคุณภาพ สำหรับแหล่งเรียนรู้แก่เกษตรกรและผู้สนใจ ผลการดำเนินการทดลองพบว่าการทดลองในครั้งนี้ได้ให้น้ำหัวสปริงเกอร์แบบปีกผีเสื้อ และวิธีการที่ให้ 1 ครั้งต่อสัปดาห์ จะให้จำนวน 33 ครั้ง รวมประมาณน้ำที่ให้ตลอดฤดูปลูก 1,606 มิลลิลิตร และวิธีการให้น้ำ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ รวมจำนวนครั้งที่ให้ 56 ครั้ง ทั้งสองวิธีการให้น้ำจะให้นานครั้งละ 1 ชั่วโมง รวมปริมาณน้ำที่ให้ตลอดฤดูปลูก 2,606 มิลลิลิตรวิธีการให้น้ำกล้วยไข่ 2 ครั้งต่อสัปดาห์มีผลต่อการเจริญเติบโตของกล้วยทั้งสองพันธุ์ด้านความสูง มีจำนวนหน่อมาก เมื่อให้น้ำ 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ มีผลต่อจำนวนวันเก็บเกี่ยวหลังตัดปลี เฉลี่ยจำนวน 43-45 วัน และการให้น้ำ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ทำให้กล้วยไข่มีน้ำหนักทั้งเครือ 5.8 กิโลกรัมต่อไร่ และน้ำหนักหวีสูงสุด 1.23 กิโลกรัมต่อหวี นอกจากนั้นเส้นผ่านศูนย์กลางผลของกล้วยไข่ขนาด 3.24 เซนติเมตร และมีความยาวผล 8 เซนติเมตร ในขณะที่วิธีการให้น้ำ 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ ทำให้กล้วยไข่มีจำนวนผล 16-17 ผลต่อหวี และมีจำนวนหวี 5 หวีต่อเครือ มีค่าความหวานบริกซ์ 20.89 - 21.7 และมีน้ำหนักผลสูงสุด 77 กรัมต่อผล ในวิธีการให้น้ำ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ซึ่งให้ผลผลิตสูงสุด 2,313 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งวิธีการให้น้ำ 1 ครั้งต่อสัปดาห์ให้ผลผลิต 1,721 กิโลกรัมต่อไร่ การศึกษาผลของภาชนะบรรจุและวิธีการจัดการต่างๆ เพื่อยืดอายุการเก็บรักษากล้วยไข่ การยืดอายุการเก็บรักษากล้วยไข่ นับเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มศักยภาพการส่งออก งานวิจัยนี้จึงต้องการศึกษาผลของภาชนะบรรจุและวิธีการจัดการต่างๆ เพื่อยืดอายุการเก็บรักษากล้วยไข่ โดยดำเนินการทดลองในปี 2555-2556 ในปี 2555 ดำเนินการทดลองที่สถาบันวิจัยพืชสวน วางแผนการทดลองแบบ 2?2?2 Factorial in CRD ทดสอบ 3 ปัจจัย ได้แก่ ชนิดถุงบรรจุ (polyethylene (PE) และ low density polyethylene (LDPE))การควบคุมโรคที่ขั้วหวี (จุ่มสารกันรา และจุ่มน้ำร้อน) และการใส่สารดูดซับเอทิลีน (ใส่ และไม่ใส่) รวม 8 กรรมวิธี ทำการซื้อผลผลิตกล้วยไข่เกรดส่งออกมาทำการทดลองตามกรรมวิธีดังกล่าว โดยเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 13?2 ?C และตรวจสอบอายุการเก็บรักษาและคุณภาพด้านต่างๆทุก 2 สัปดาห์ พบว่า กรรมวิธีที่ใช้ถุง PE สามารถเก็บรักษากล้วยไข่ได้นานกว่าการใช้ถุง LDPE โดยพบว่า กรรมวิธีที่ดีที่สุดของการใช้ถุง LDPE คือใช้ร่วมกับการจุ่มสารกันราและใส่สารดูดซับเอทิลีน ซึ่งสามารถเก็บรักษาผลผลิตได้นาน 4 สัปดาห์ ในขณะที่กรรมวิธีใช้ถุง PE ทุกกรรมวิธีสามารถเก็บรักษาได้ 6 สัปดาห์ และการใช้ถุง PE ร่วมกับสารกันรา มีเปอร์เซ็นต์หวีที่เก็บรักษาได้สูงกว่าการจุ่มน้ำร้อน การใส่สารดูดซับเอทิลีนช่วยให้เก็บรักษาได้มากกว่าไม่ใส่สาร ดังนั้นในการทดลองครั้งที่ 2 ปี 2556 จึงปรับกรรมวิธีโดยตัดกรรมวิธีใช้ถุง LDPE ออก เพิ่มกรรมวิธีควบคุมโรค คือ จุ่มน้ำร้อนร่วมกับสารกันราที่ความเข้มข้นลดลงครึ่งหนึ่ง (125 ppm) และทำการทดลองในสเกลที่ใหญ่ขึ้นโดยทำการบรรจุผลผลิตในกล่องลักษณะเดียวกับการส่งออก และเก็บรักษาในห้องเย็นอุณหภูมิ 13?2 ?C โดยดำเนินการทดลองที่ศูนย์วิจัยพืชสวน จันทบุรี วางแผนการทดลอง 3?2+1 Factorial in CRD ทดสอบ 2 ปัจจัย คือ การควบคุมโรคที่ขั้วหวี และการใส่สารดูดซับเอทิลีน และกรรมวิธีควบคุมซึ่งใช้ถุง PE เจาะรู รวม 7 กรรมวิธี ผลการทดลองพบว่า กรรมวิธีใช้ถุง PE ร่วมกับสารกันราทั้งมีสารดูดซับและไม่มีสารดูดซับเอทิลีนสามารถเก็บรักษากล้วยไข่ได้นานที่สุด 8 สัปดาห์ ในขณะที่กรรมวิธีจุ่มน้ำร้อนเก็บรักษาได้ 6 สัปดาห์ กรรมวิธีจุ่มน้ำร้อนร่วมกับสารกันราเก็บรักษาได้ 4- 6 สัปดาห์ และกรรมวิธีควบคุมเก็บได้เพียง 2 สัปดาห์ นอกจากนี้ยังพบว่ากรรมวิธีที่ใส่สารดูดซับเอทิลีนมีเปอร์เซ็นต์จำนวนหวีที่เก็บรักษาได้สูงกว่าและมีค่าคะแนนการเกิดโรคน้อยกว่ากรรมวิธีที่ไม่ใส่สารดูดซับ และการใช้สารกันรามีประสิทธิภาพควบคุมเกิดโรคได้ดีที่สุด ในขณะที่การจุ่มน้ำร้อนและการจุ่มน้ำร้อนร่วมกับสารกันรามีประสิทธิภาพต่ำกว่าและไม่แตกต่างกัน ดังนั้นในการทดลองครั้งที่ 3 ปี 2556 จึงปรับกรรมวิธีอีกครั้งโดยตัดกรรมวิธีไม่ใส่สารดูดซับเอทิลีนออกแต่คงกรรมวิธีจุ่มสารกันราไม่ใส่สารดูดซับเอทิลีนไว้เป็นกรรมวิธีควบคุม และปรับลดเวลาที่ใช้ในการจุ่มน้ำร้อนลงครึ่งหนึ่งเนื่องจากพบสีผิวไม่สม่ำเสมอเมื่อสุก วางแผนการทดลองแบบ CRD มี 4 กรรมวิธี ผลปรากฏว่า กรรมวิธีใช้ถุง PE ร่วมกับสารกันราทั้งใส่สารดูดซับหรือไม่ใส่สารดูดซับเอทิลีนสามารถเก็บรักษากล้วยไข่ได้นานที่สุด 8 สัปดาห์ โดยกรรมวิธีที่ใส่สารดูดซับมีคะแนนการเกิดโรคต่ำที่สุด ในขณะที่กรรมวิธีจุ่มน้ำร้อนเก็บรักษาได้ 6 สัปดาห์และมีคะแนนการเกิดโรคสูงสุด ส่วนกรรมวิธีจุ่มน้ำร้อนร่วมกับสารกันราเก็บรักษาได้ 4 สัปดาห์และมีคะแนนการเกิดโรครองลงมา และทุกกรรมวิธีไม่พบความผิดปกติในสี กลิ่น และรสชาติ ดังนั้นจากการทดลองทั้ง 3 ครั้งจึงสรุปได้ว่ากรรมวิธีที่ดีที่สุดในการยืดอายุการเก็บรักษากล้วยไข่ คือ การใช้ถุง PE ร่วมกับการใช้สารกันราอิมาซาลิล 250 ppm และใส่สารดูดซับเอทิลีน การ ศึกษาอายุการเก็บเกี่ยวที่ระดับต่างๆ ต่อภาชนะบรรจุ LDPE เพื่อยืดอายุการเก็บรักษากล้วยไข่ อายุการเก็บเกี่ยวเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่ออายุการเก็บรักษาของกล้วยไข่ รวมทั้งการเก็บรักษาในภาชนะบรรจุที่เหมาะสมเป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยยืดอายุการเก็บรักษาได้นานขึ้น ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงดำเนินการศึกษาผลของอายุการเก็บเกี่ยวระดับต่างๆเมื่อเก็บรักษาในถุง polyethylene (PE) ต่ออายุการเก็บรักษากล้วยไข่ โดยดำเนินการการทดลองในปี 2555-2556 ในปี 2555 ดำเนินการทดลองที่สถาบันวิจัยพืชสวน ช่วงฤดูฝน (กรกฎาคม-กันยายน) วางแผนการทดลองแบบ CRD 3 ซ้ำ ซ้ำละ 2 หวี 6 กรรมวิธี คือ อายุการเก็บเกี่ยวกล้วยไข่หลังกาบปลีเปิดเต็มที่ต่างๆกัน ได้แก่ 30, 33, 35, 37, 40 และ 45 วัน พบว่า ที่อายุ 30 และ 33 วัน ผลกล้วยส่วนใหญ่แก่ 60% ที่อายุ 35, 37 และ 40 วัน ผลกล้วยส่วนใหญ่แก่ 70% และที่อายุ 45 วัน ผลกล้วยแก่ 100% เมื่อนำกล้วยในแต่ละกรรมวิธีบรรจุในถุง PE เก็บรักษาที่ 13? 2 ?C และตรวจสอบอายุการเก็บรักษารวมถึงคุณภาพหลังการบ่มสุกทุก 2 สัปดาห์ พบว่า อายุ 30 วันหลังกาบปลีเปิด สามารถเก็บรักษาได้นานที่สุด 8 สัปดาห์ มีอัตราการผลิตก๊าซเอทิลีนและคาร์บอนด์ออกไซด์ต่ำ แต่พบว่ามีเปอร์เซ็นต์ TSS ต่ำสุดและแตกต่างทางสถิติกับกรรมวิธีอื่นๆ ส่วนที่อายุเก็บเกี่ยว 33, 35, 37, 40 และ 45 วันเก็บรักษาได้ 6, 6, 4, 4 และ 2 สัปดาห์ ตามลำดับ โดยมีแนวโน้มการผลิตก๊าซเอทิลีนสูงขึ้นเมื่อเก็บเกี่ยวที่อายุวันหลังกาบปลีเปิดยาวกว่า โดยเฉพาะที่ 40 และ 45 วัน สำหรับคุณภาพหลังการบ่มสุก พบปริมาณ TSS ของอายุ 35-45 วันหลังตัดปลี มีปริมาณสูงกว่าที่ 30 และ 33 วัน และไม่แตกต่างกันทางสถิติ รวมถึงไม่พบกลิ่นและรสชาติผิดปกติใดๆในทุกกรรมวิธี ดังนั้น อายุเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมที่สุดคือ 35 วันหลังกาบปลีเปิดเต็มที่ หรืออาจเก็บเกี่ยวในช่วง 35-37 วัน หากส่งออกในระยะใกล้ สำหรับปี 2556 ดำเนินการทดลองต่อยอดจากปี 2555 โดยเก็บเกี่ยวผลผลิตที่อายุ 35 วันหลังกาบปลีเปิด ทดสอบกรรมวิธีลดหรือชะลอการเกิดจุดกระและการเกิดโรคที่ขั้วหวี ทำการทดลองที่ศูนย์วิจัยพืชสวน จันทบุรี ช่วงเดือนกันยายน วางแผนการทดลองแบบ CRD กรรมวิธีทดสอบ 5 กรรมวิธี ได้แก่ จุ่มสารกันรา 250 ppm, จุ่มน้ำร้อน 50 ?C 3 นาที, จุ่มไคโตซาน 0.5%, จุ่มน้ำร้อนร่วมกับไคโตซานและจุ่มสารกันราร่วมกับไคโตซาน แบ่งการตรวจสอบผล 2 ระยะ คือ หลังการปฏิบัติตามกรรมวิธี บ่มสุกแล้วตรวจสอบผล ซึ่งทำ 3 ซ้ำ ซ้ำละ 2 หวี และหลังการปฏิบัติตามกรรมวิธีแล้วเก็บรักษาในถุง PE ที่ 13? 2 ?C เป็นเวลา 4 สัปดาห์ บ่มสุกแล้วตรวจสอบผล ซึ่งทำ 3 ซ้ำ ซ้ำละ 1 กล่อง (12 หวี) โดยมีกรรมวิธีจุ่มสารกันราแล้วเก็บรักษาในถุง PE เจาะรู เป็นกรรมวิธีควบคุม สำหรับบ่มสุกทันทีหลังปฏิบัติตามกรรมวิธี ผลปรากฏ กรรมวิธีจุ่มสารกันราให้ผลในการชะลอการเกิดจุดกระและควบคุมโรคที่ขั้วหวีได้ดีที่สุด และสำหรับบ่มสุกหลังการเก็บรักษา 4 สัปดาห์ พบว่า กรรมวิธีจุ่มสารกันราแล้วเก็บรักษาในถุง PE เจาะรู (ควบคุม)สุกก่อนถึง 4 สัปดาห์ และกรรมวิธีที่ดีที่สุดคือ จุ่มสารกันราร่วมกับไคโตซาน
บทคัดย่อ (EN): No information found from agency.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยพัฒนาพันธุ์และเทคโนโลยีการผลิตกล้วยเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตคุณภาพเพื่อการส่งออก
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2558
เทคโนโลยีการผลิตและการแปรรูปกล้วยเพื่อการค้า โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อย การชักนำให้เกิดแคลลัสในกล้วย ชุดโครงการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตกล้วยเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตคุณภาพ คุณภาพผลผลิต และเพิ่มมูลค่าทางการตลาด โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตกล้วยไข่คุณภาพเพื่อการส่งออก การวิจัยและพัฒนากั้งตั๊กแตนเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตมะพร้าวน้ำหอม เทคโนโลยีการผลิตพืชแห่งศตวรรษที่ 21 การศึกษาลักษณะทางกายภาพ การเจริญเติบโต ผลผลิตและคุณภาพของกล้วยน้ำว้า โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและการเพิ่มมูลค่าผลผลิตงา

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก