สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาวัสดุดูดซับสำหรับการประยุกต์ใช้งานสำหรับกำจัดสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ตกค้างในลำไย
สุพัตรา วงศ์แสนใหม่ - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การศึกษาวัสดุดูดซับสำหรับการประยุกต์ใช้งานสำหรับกำจัดสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ตกค้างในลำไย
ชื่อเรื่อง (EN): Study of Adsorbent Materials for Removal Sulfur Dioxide Residue in Fresh Longan Application
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุพัตรา วงศ์แสนใหม่
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Supattra Wongsaenmai
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การรมผลลำไยด้วยซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) เป็นวิธีการเก็บรักษาผลลำไยที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย ซึ่งมีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันโรคหลังการเก็บเกี่ยวและฟอกสีผิวผล ซึ่งสามารถควบคุมการเน่าเสียของผลลำไยจากเชื้อรา และป้องกันการเกิดสีน้ำตาลบนผิวลำไย อย่างไรก็ตามซัลเฟอร์ไดออกไซด์ตกค้างจากกระบวนการรมผลลำไยยังคงเป็นปัญหาหลักในการส่งออกผลผลิตลำไยไปต่างประเทศ ในงานวิจัยนี้ได้ใช้ถ่านกัมมันต์ที่ผ่านเคลือบผิวเพื่อกำจัดซัลเฟอร์ไดออกไซด์ตกค้างในผลลำไยสด โดยทำการแช่ในสารเคมีกลุ่มเบสโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH) ที่มีความเข้มข้นระหว่าง 0-8 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก แล้วนำสารตัวอย่างไปหาพื้นที่ผิวด้วยเทคนิค BET ศึกษาพฤติกรรมการเกิดเฟส ลักษณะสัณฐาณและกลุ่มฟังก์ชันที่ผิวของตัวอย่างด้วยเทคนิค XRD SEM และFTIR ตามลำดับ ซึ่งพบว่าสารตัวอย่างถ่านกัมมันต์ที่ไม่เคลือบผิวมีพื้นที่ผิว 773 ตารางเมตรต่อกรัม และมีแนวโน้มลดลงเมื่อมีการเคลือบด้วย KOH ที่มีความเข้มข้นเพิ่มขึ้น จากลักษณะสัณฐานถ่านกัมมันต์เกิดการเกาะกลุ่มกัน ในขณะที่กลุ่มฟังก์ชันแสดงให้เห็นองค์ประกอบของถ่านกัมมันต์และมีพีคกลุ่มฟังก์ชันของ KOH และลำดับสุดท้ายได้ทำการทดลองประสิทธิภาพการกำจัด SO2 ของถ่านกัมมันต์ที่แช่และไม่แช่โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ พบว่าถ่านกัมมันต์ที่ไม่แช่โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์สามารถกำจัด SO2 ได้อย่างมีประสิทธิภาพดีที่สุด
บทคัดย่อ (EN): Fumigating fresh longan with sulfur dioxide (SO2) is commonly used in Thailand as an effective postharvest method to control saprophytic surface fungi and prevent skin browning. However, SO2 residues is a problem for exportation. In this work, the impregnated activated carbon was used to remove sulfur dioxide residue in fresh longan. The commercial activated carbon (AC) was impregnated with alkaline compound as potassium hydroxide (KOH) at verious concentration in the range of 0-8 wt%. The surface area of activated carbons and impregnated activated carbon were characterized by BET. The phase formation, morphology and functional groups on the surface of activated carbon samples were investigated by x-ray diffraction (XRD), scanning electron microscopy (SEM) and Fourier transform infrared spectroscopy (FTIR), respectively. The surface area analysis of activated carbons and impregnated activated carbon was 773 m2/g and it was continuously decreased when the concentration of KOH increased. SEM micrographs showed the agglomeration of activated carbon powders. The functional groups of activated carbon were found in FTIR spectrum which were there composition. The results indicated that the activated carbons and impregnated activated carbon showed usability to be used as sulfur dioxide sorbent. In additionally, the activated carbons without impregnation show the maximum ability absorption SO2 residues in the fumigation fresh longan.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะวิทยาศาสตร์
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-61-022
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 288,600
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2561
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2561
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2561
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาวัสดุดูดซับสำหรับการประยุกต์ใช้งานสำหรับกำจัดสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ตกค้างในลำไย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2561
การศึกษาวิธีการควบคุมการออกดอกของลำไย การศึกษาวิธีการแก้ไขปัญหาการออกดอกเว้นปีของลำไย การพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการควบคุมศัตรูลำไยโดยไม่ใช้สารเคมี การพัฒนาวิธีการลดปริมาณสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์(SO3) ตกค้าง ในผลลำไยสด ผลกระทบของการให้น้ำต่อการออกดอกและติดผลของลำไย การศึกษาและจัดทำระบบฐานข้อมูลการจัดการธุรกิจลำไยอินทรีย์ในภาคเหนือตอนบน การศึกษาสมรรถนะการจัดการซัพพลายเชนของลำไยเพื่อการส่งออกของประเทศไทย ศูนย์เครือข่ายวิจัยและพัฒนาลำไยแม่โจ้-สกว. ศึกษาและพัฒนาการปลูกลำไยในระบบชิดและการติดผลนอกฤดู แบบจำลองการเจริญเติบโตเพื่อพยากรณ์ปริมาณผลผลิตลำไยจังหวัดเชียงใหม่

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก