สืบค้นงานวิจัย
การประเมินผลกระทบและการติดตามการปนเปื้ออนของจุลินทรีย์ก่อโรคทางเดินอาหารที่มากับการใช้ปุ๋ยมูลสัตว์ทางการเกษตรเพื่อการควบคุมคุณภาพและความมั่นคงปลอดภัยทางอาหารของเกษตรอินทรีย์
ประดับ เรียนประยูร - มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
ชื่อเรื่อง: การประเมินผลกระทบและการติดตามการปนเปื้ออนของจุลินทรีย์ก่อโรคทางเดินอาหารที่มากับการใช้ปุ๋ยมูลสัตว์ทางการเกษตรเพื่อการควบคุมคุณภาพและความมั่นคงปลอดภัยทางอาหารของเกษตรอินทรีย์
ชื่อเรื่อง (EN): Impact assessment and contamination monitoring in foodborne pathogens from animal manure application for food safety and security on organic agriculture
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ประดับ เรียนประยูร
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: วรรธนะชัย ปฐมสิริวงศ์
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การประเมินผลกระทบและการติดตามการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ก่อโรคทางเดินอาหารที่มากับการใช้ปุ๋ยมูลสัตว์ทางการเกษตรเพื่อการควบคุมคุณภาพและความมั่นคงปลอดภัยทางอาหารของเกษตรอินทรีย์นั้น มีวัตถุประสงค์หลักคือ เพื่อศึกษาการกระจายตัวของจุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องกับโรคทางเดินอาหารอันเนื่องมาจากการใช้ปุ๋ยมูลสัตว์ทั้งในดินและผักหรือพืชผลทางการเกษตร ได้แก่ ผักกาด ผักชี ต้นหอม แตงกวา คะน้า ผักชีฝรั่ง ผักบุ้ง สะระแหน่ โหระพา พริก และข้าว เพื่อนํามาสู่การควบคุมคุณภาพของเกษตรอินทรีย์ และเพื่อศึกษารูปแบบความสัมพันธ์ของจุลินทรีย์ก่อโรคที่สําคัญ (Indicator bacteria) ต่อลักษณะดินทางเคมีและกายภาพบางประการ นอกจากนั้นทําการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการแพร่กระจายและอัตราการอยู่รอดของจุลินทรีย์ก่อโรคทางเดินอาหารที่สําคัญในผักและในดินจาก 12 แหล่งหลัก ได้แก่ ผักกาด ผักชี ต้นหอม แตงกวา คะน้า ผักชีฝรั่ง ผักบุ้ง สะระแหน่ โหระพา พริก และข้าว เพื่อนํามาสู่การควบคุมคุณภาพของเกษตรอินทรีย์ ทําการแยกจุลินทรีย์ก่อโรคทางเดินอาหารที่สําคัญ ได้แก่ แบคทีเรียทั้งหมด (Total aerobic bacteria) อีโคไล (Escherichia coli) Staphylococcus spp. Salmonella spp. และ Shigella spp. ทั้งในดินและผักหรือพืชผลทางการเกษตรที่มีการประยุกต์ใช้ปุ๋ยมูลสัตว์จากมูลสุกร และวัวเป็นหลัก โดยวิธี dilution plate count ผลการศึกษาพบว่าจุลินทรีย์ก่อโรคทางเดินอาหารที่พบในดินและในผักหรือพืชผลทางการเกษตรมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ โดยจํานวนเชื้อจุลินทรีย์ในดินพบว่ามีการกระจายตัวของจุลินทรีย์ตามลําดับมากสุดคือ E. coli > Staphylococcus spp.> Salmonella spp. > Shigella spp. ในขณะที่ในพืชผลทางการเกษตร ได้แก่ Shigella spp. > Salmonella spp.> Staphylococcus spp. > E. coli โดยจํานวนเชื้อจุลินทรีย์แต่ละชนิดที่พบในดินที่มีการประยุกต์ใช้ปุ๋ยมูลสัตว์นั้นมีค่าอยู่ระหว่าง 5.99-6.63 Log CFU/g สําหรับแบคทีเรีย Staphylococcus spp. อยู่ระหว่าง 5.01-5.62 Log CFU/g แบคทีเรีย Salmonella spp. ในดินที่มีการใช้ปุ๋ยมูลสัตว์นั้นพบมีจํานวนอยู่ระหว่าง 4.64-5.03 Log CFU/g และแบคทีเรีย Shigella spp. พบว่ามีจํานวนอยู่ระหว่าง 3.35-3.89 Log CFU/g ส่วนจุลินทรีย์ก่อโรคที่พบในผักและพืชผลทางการเกษตรนั้นส่วนใหญ่มีค่าสูงกว่าในดิน โดยอยู่ระหว่าง 3.93-8.85, 3.33-7.58, 3.14-7.27, 3.29-8.09 และ 2.43-8.41 Log CFU/g สําหรับแบคทีเรียทั้งหมด เชื้อ E.coli, Staphylococcus spp., Salmonella spp., และ Shigella spp., ตามลําดับ และยังพบว่าแหล่งสะสมหลักของจุลินทรีย์ก่อโรคทางเดินอาหารในดินที่สําคัญได้แก่ แหล่งปลูกผักชีฝรั่ง ผักชี และผักบุ้งที่มีการประยุกต์ใช้จากปุ๋ยมูลสัตว์ ส่วนผักและพืชผลทางการเกษตรที่มีการสะสมหรือ ปนเปื้อนของจุลินทรีย์ก่อโรคทางเดินอาหารในระดับสูงซึ่งอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางเดินอาหารมากที่สุด ได้แก่ สะระแหน่ และโหระพา กลุ่มรองลงมาได้แก่ พริก ผักชีฝรั่ง ผักชี และต้นหอม ส่วนกลุ่มที่มีการปนเปื้อนน้อยได้แก่ ผักกาด แตงกวา คะน้า ผักบุ้ง โดยเฉพาะสะระแหน่พบว่ามีการปนเปื้อนเชื้อ Shigella spp. (8.41 Log CFU/g) สูงกว่าพืชผลทางการเกษตรอื่นๆ สําหรับเชื้อ Salmonella spp. พบสูงที่สุดในพริก (8.09 Log CFU/g) สําหรับระยะเวลาในการอยู่รอดหรือการตกค้างของจุลินทรีย์ก่อโรคที่เกี่ยวข้องกับทางเดินอาหารพบว่าแตกต่างกันระหว่างในดินและพืชผลทางการเกษตร แต่มีแนวโน้มลดลงตามระยะเวลาหลังการใส่ปุ๋ยมูลสัตว์ โดยพบว่าเชื้ออีโคไลส่วนใหญ่มีระยะเวลาการอยู่รอดอยู่ระหว่าง 14-28 วัน ในขณะที่เชื้อ Staphylococcus, Salmonella และ Shigella มีระยะเวลาการอยู่รอดมากกว่า 60 วัน นอกจากนั้นยังพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการกระจายตัวของจุลินทรีย์ก่อโรคต่างๆ ในดินขึ้นอยู่กับระยะเวลาหลังการประยุกต์ใช้ปุ๋ยมูลสัตว์ และปัจจัยด้านเคมีของดินเป็นหลัก ได้แก่ ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน ปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และค่าการนําไฟฟ้าของดิน ส่วนการแพร่กระจายของจุลินทรีย์ก่อโรคทางเดินอาหารในผักและพืชผลทางการเกษตรนั้นพบว่ามีความสัมพันธ์กับคุณลักษณะดินทางกายภาพ โดยเฉพาะอนุภาคเนื้อดิน และความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวกในดิน และยังพบว่าเชื้อ Shigella spp. ในผักและพืชผลทางการเกษตรมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับปริมาณเชื้อ Shigella spp. ที่พบในดินอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ
บทคัดย่อ (EN): The objectives of this research were to assess the distribution of microbial pathogens from agricultural lands fertilized with animal manure and to find out the relationships between foodborne pathogens and soil characteristics. The survival and transport of bacterial pathogens as total aerobic bacteria, Escherichia coli, Staphylococcus, Salmonella, and Shigella were conducted in agricultural soils and on plants. 12 common vegetables in Surin organic fields were focused as lettuce, parsley, spring onion, cucumber, Chinese kale, spiny coriander, water convolvulus, peppermint, sweet basil, chili pepper, and rice. In addition, the major prevalence and contamination of foodborne bacteria were evaluated both soil and vegetable sources. The results clearly indicated that distribution patterns of food borne pathogens varied along times, soil and vegetable sources, and types of animal manure application. The distribution pattern of soil pathogens was E. coli > Staphylococcus > Salmonella > Shigella whereas, on fresh vegetables the distribution clearly found Shigella > Salmonella > Staphylococcus > E. coli. The number of soil foodborne pathogens were 5.99-6.33, 5.02-6.98, 5.01-5.62, 4.64-5.03, and 3.35-3.89 Log CFU/g for total aerobic bacteria, E. coli, Staphylococcus spp., Salmonella spp., Shigella spp., respectively. For fresh vegetables, the numbers of cultivable food borne bacteria were 3.93-8.85, 3.33-7.58, 3.14-7.27, 3.29-8.09, and 2.43-8.41 Log CFU/g for total aerobic bacteria, E. coli, Staphylococcus spp., Salmonella spp., Shigella spp., respectively. The result also indicated that agricultural lands amended with animal manure was a potential source of soil pollution with foodborne pathogens especially, rice, spiny coriander, parsley, and water convolvulus soils. On fresh vegetables, peppermint and sweet basil classified as the major source of food borne microorganism contamination. Chili pepper, spiny coriander, parsley, and spring onion were more slightly contaminated whereas, lettuce, cucumber, Chinese kale, and water convolvulus were slightly contaminated. The highest number of pathogen observed in peppermint with Shigella spp. (8.41 Log CFU/g) and Chilli pepper with Salmonella spp. (8.09 Log CFU/g). In addition, the result indicated that most food-borne pathogens were able to survival over 60 days for Staphylococcus, Salmonella and Shigella while, E. coli and total aerobic bacteria were between 14-28 days. The distribution of food borne bacteria in agricultural lands also significantly depended on time and type of animal manure applications, organic matter, total nitrogen, available phosphorus, and electrical conductivity. On fresh vegetables, the distribution pattern of food borne pathogens correlated with soil particle, and cation exchange capacity. Contaminations of Shigella and Salmonella spp. on fresh vegetables positively related with the number of Shigella and Salmonella spp. in agricultural soils also.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การประเมินผลกระทบและการติดตามการปนเปื้ออนของจุลินทรีย์ก่อโรคทางเดินอาหารที่มากับการใช้ปุ๋ยมูลสัตว์ทางการเกษตรเพื่อการควบคุมคุณภาพและความมั่นคงปลอดภัยทางอาหารของเกษตรอินทรีย์
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
30 กันยายน 2554
เอกสารแนบ 1
ผลของการจัดการดินและปุ๋ยต่อผลผลิตต้นสดและลักษณะทางการเกษตรบางประการของข้าวฟ่างหวาน รูปแบบที่เหมาะสมในการพัฒนาการเปลี่ยนเพศกบนาเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตอาหารปลอดภัย มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารของประเทศไทย การผลิตเมล็ดผักในระบบเกษตรอินทรีย์ การพัฒนาระบบการจัดการองค์ความรู้ด้านธุรกิจเกษตรอินทรีย์ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนยั่งยืน การพัฒนารูปแบบการจัดการการตลาดของกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืน การผลิตเอนไซม์สำหรับรักษาโรคโดยจุลินทรีย์ที่อยู่ร่วมกับพืช ภูมิภาคอาเซียนกับความมั่นคงทางอาหาร พัฒนาระบบโปรแกรมเครื่องมือทางการเงินของกลุ่มเกษตรผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดเชียงใหม่ รูปแบบการพัฒนาระบบแปลงเกษตรอินทรีย์ที่เหมาะสมต่อการทำเกษตรของผู้พิการในจังหวัดเชียงใหม่

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก