สืบค้นงานวิจัย
ประชากรแมลงพาหะ (Matsumuratettix hiroglyphicus (Matsumura)) และการเกิดโรคใบขาวอ้อยในระบบการปลูกข้าวไร่ สลับกับอ้อย และระบบปลูกอ้อยเชิงเดี่ยว
อิสราพงษ์ วรผาบ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ประชากรแมลงพาหะ (Matsumuratettix hiroglyphicus (Matsumura)) และการเกิดโรคใบขาวอ้อยในระบบการปลูกข้าวไร่ สลับกับอ้อย และระบบปลูกอ้อยเชิงเดี่ยว
ชื่อเรื่อง (EN): The population of insect vector ( Matsumuratettix hiroglyphicus (Matsumura)) and the incidence of sugarcane white leaf disease from upland rice rotation with sugarcane and sugarcane mono cropping system
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อิสราพงษ์ วรผาบ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Itsarapong voraphab
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ยุพา หาญบุญทรง
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Yupa hanboonsong
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาผลของการจัดระบบปลูกอ้อยต่อปริมาณเพลี้ยจักจั่น Matsumuratettix hiroglyphicus (Matsumura) และการเกิดโรคใบขาวในอ้อย (Sugarcane white leaf disease: SCWL disease) ในแปลงอ้อยของเกษตรกรที่ปลูกอ้อย พันธุ์ขอนแก่น 3 เชิงเดี่ยว และแปลงที่ปลูกอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 หมุนเวียนสลับกับข้าวไร่พันธุ์สกลนคร ในพื้นที่อำเภอเมือง และอำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น โดยสำรวจปริมาณเพลี้ยจักจั่นด้วยกับดักแสงไฟ (light trap) และประเมินการเกิด โรคใบขาวของอ้อยในช่วงเดือนมกราคมถึงพฤษภาคม ปี พ.ศ. 2555 พบว่าในช่วงเดือนกุมภาพันธ์เริ่มมีการระบาดของ เพลี้ยจักจั่น และมีการระบาดมากที่สุดในช่วงเดือนพฤษภาคมในทุกแปลงปลูก โดยในแปลงปลูกอ้อยเชิงเดี่ยวพบปริมาณ เพลี้ยจักจั่น และการเกิดโรคใบขาวอ้อยมากที่สุดในแปลงอ้อยตอ (482.75+87.39 ตัวและ 0.7+26.58% /ไร่ ตามลำดับ) ส่วนในแปลงปลูกอ้อยหมุนเวียนสลับกับข้าวไร่พบปริมาณแมลงและการเกิดโรคมากที่สุดในแปลงอ้อยตอเช่นเดียวกัน (30. 75+43.98 ตัว และ 0.42*5.74% /ไร่ ตามลำดับ) ปริมาณแมลงพาหะและการเกิดโรคในแปลงอ้อยระบบปลูกอ้อยสลับ กับข้าวไร่มีแนวโน้มลดลง เนื่องจากในช่วงฤดูปลูกข้าวไร่เป็นการตัดวงจรแมลงพาหะที่เป็นตัวถ่ายทอดและแพร่กระจายเชื้อ ไฟโตพลาสมาทำให้เกิดการระบาดของโรคใบขาวอ้อย นอกจากนี้การปลูกข้าวไร่สลับอ้อยนั้นยังเป็นการลดและตัดวงจร การอยู่อาศัยของเชื้อไฟโตพลาสมาสาเหตุโรคใบขาวออกจากแปลงปลูกเพราะอ้อยเป็นพืชอาศัยของเชื้อด้วย ดังนั้นการ ปลูกอ้อยหมุนเวียนสลับกับข้าวไร่อาจเป็นวิธีการหนึ่งที่นำมาใช้เพื่อลดการระบาดของโรคใบขาวอ้อยได้
บทคัดย่อ (EN): The objectives of this study were to study the effect of the management of sugarcane cropping systems on the population of leafhopper, Matsumuratettix hiroglyphicus (Matsumara) and the incidence of sugarcane white leaf disease. A comparison of 3 Khon Kaen sugarcane varieties under a mono cropping system versus sugarcane grown in a crop rotation with a Sakon Nakorn upland rice variety. The survey and monitoring of both population of insect vector and the sugarcane white leaf disease plants were conducted monthly from January 2012 to May 2012 by using light trap for trapping insect vector and visual observation for disease plants. The results revealed that the population of M. hiroglyphicus started in February and the highest insect population was found in May from all surveyed fields. In the mono crop of sugarcane field, the population of insect vector M. hiroglyphicus and the sugarcane white leaf disease incidence were found higher in ratoon cane than field in the plant cane field (482.75±87.39 leafhopper and 0.7±26.58%/rai respectively). Similar with the sugarcane rotation with upland rice field, the population of insect vector M. hiroglyphicus and the sugarcane white leaf disease incidence were found higher in ratoon cane than field in the plant cane field (30.75±43.98 leafhopper and 0.42±5.74%/rai respectively). This result indicated that the sugarcane cropping systems might has a differing effect on the population of leafhopper, M. hiroglyphicus and incidence of sugarcane white leaf disease infected plants. Because the upland rice fields tend to be grown in rotation with sugarcane this change breaks the life cycle of the insect vector and less insect vector survive between crops than under a mono cropped system. The absence of sugarcane plants during the rice cycle also suppressed the pathogen of SCWL disease so removed a residue of infection from the field. Consequently we could imply that in upland areas rotational cropping of sugarcane is a useful cultural technique to minimize the incidence of SCWL disease.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=372.pdf&id=664&keeptrack=2
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ประชากรแมลงพาหะ (Matsumuratettix hiroglyphicus (Matsumura)) และการเกิดโรคใบขาวอ้อยในระบบการปลูกข้าวไร่ สลับกับอ้อย และระบบปลูกอ้อยเชิงเดี่ยว
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2555
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ระยะเวลาการบ่มและเพิ่มปริมาณเชื้อที่เหมาะสมต่อการถ่ายทอด เชื้อไฟโตพลาสมาสาเหตุของโรคใบขาวอ้อยของเพลี้ยจักจั่นพาหะ พฤติกรรมการเคลื่อนที่ของเพลี้ยจักจั่นพาหะนำโรคใบขาวอ้อย ลักษณะรูปร่างสัณฐานของอ้อยและสายพันธุ์อ้อยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของแมลงพาหะ (Matsumuratettix hiroglyphicus (Matsumura)) โรคใบขาวอ้อย ผลของอุณหภูมิต่อแมลงพาหะ Matsumuratettix hiroglyphicus นำโรคใบขาวอ้อย สมดุลธาตุอาหารในระบบการปลูกปลูกหมุนเวียนข้าว - ถั่ว บนพื้นที่สูงใน ภาคเหนือของประเทศไทย ลักษณะการดูดซับโพแทสเซียมของดินที่ใช้ปลูกอ้อยในจังหวัดสระแก้ว ผลของการเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวเป็นอ้อยต่อคุณสมบัติเคมีบางประการของดิน กรณีศึกษา : อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ความหลากหลายและสัมพันธ์ทางพันธุกรรมระหว่างอ้อยพันธุ์การค้า ในประเทศไทย ศักยภาพผลผลิตและลักษณะทางการเกษตรของข้าวไร่พันธุ์พื้นเมืองปลูกในระบบการปลูกข้าวไร่ก่อนปลูกอ้อย ผลของการปลูกอ้อยแบบร่วมพันธุ์ต่อการให้ผลผลิตในอ้อยตอ1

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก