สืบค้นงานวิจัย
ผลของวิตามินซีต่อการเจริญเติบโต อัตรารอดตายและการลอกคราบของปูม้า (Portunus pelagicus, Linnaeus 1758)
ประดิษฐ์ ชนชื่นชอบ, ประเสริฐ โศภน, นงลักษณ์ สำราญราษฎร์, มนทกานติ ท้ามติ้น, จิรวัฒน์ แซ่ตัน - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: ผลของวิตามินซีต่อการเจริญเติบโต อัตรารอดตายและการลอกคราบของปูม้า (Portunus pelagicus, Linnaeus 1758)
ชื่อเรื่อง (EN): Commercial Seed Production and Culture of Mud Crab (Scylla sp.), Blue Swimming Crab(Portunus pelagicus) and Mangrove Crab (Sesarma mederi)
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ศึกษาผลของการเสริมวิตามินซีในอาหารต่อการเจริญเติบโต อัตรารอดตายและการลอกคราบของปูม้าน้ำหนักเริ่มต้น 1.43 กรัม เป็นระยะเวลา 16 สัปดาห์ ด้วยอาหารทดลอง 6 สูตร สูตรละ 3 ซ้ำที่มีการเสริมวิตามินซี 35% รูป L-Ascorbyl-2-Monophosphate ระดับต่าง ๆ กันคือ 0, 30, 70, 150, 300 และ 600 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมอาหาร มีค่าวิเคราะห์วิตามินซี (Ascorbic acid) ที่มีอยู่จริงในอาหารเท่ากับ 9.87, 14.05, 26.20, 38.09, 62.24 และ 137.69 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมอาหาร เมื่อสิ้นสุดการทดลองพบว่าการเจริญเติบโตโดยน้ำหนักของปูม้าในทุกสูตรอาหารไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) แต่มีความแตกต่างกันของอัตรารอดตายอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่สัปดาห์ที่ 8(p<0.05) เมื่อสิ้นสุดการทดลองปูม้าสูตรที่ 1-6 มีอัตรารอดตายเท่ากับ 44, 67, 73, 91, 67 และ 67 % ตามลำดับ โดยปูม้าสูตรที่4 มีอัตรารอดตายดีกว่าสูตรที่ 1, 2, 5 และ 6 (p<0.05) แต่ไม่แตกต่างจากสูตร 3 และพบว่าปูม้าสูตรที่ 1 มีอัตรารอดตายต่ำเนื่องจากลอกคราบไม่ออก ผลวิเคราะห์ปริมาณวิตามินซีพบว่าปูม้าทุกสูตรอาหารมีการสะสมวิตามินซีในเฮบพาโตแพนเครสมากกว่าในเนื้ออย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) โดยมีปริมาณวิตามินซีในเนื้อเท่ากับ 0.114, 0.136, 0.114, 0.112, 0.221, 0.283 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมน้ำหนักแห้งและในเฮบพาโตแพนเครสเท่ากับ 0.637, 0.579, 0.580, 0.543, 1.289, 1.551 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมน้ำหนักแห้งตามลำดับปูม้าสูตรที่ 6 มีการสะสมของวิตามินซีในเนื้อและเฮบพาโตแพนเครสมากที่สุด รองลงมาเป็นสูตรที่ 5 ลำดับสุดท้ายเป็นปูม้าสูตรที่ 1-4 และพบว่าปูม้าทุกสูตรอาหารมีการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสภาพของเนื้อเยื่อเฮบพาโตแพนเครส จากผลการทดลองนี้สรุปได้ว่าวิตามินซีไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตของปูม้า แต่มีผลต่ออัตรารอดตายและการลอกคราบ การไม่เสริมวิตามินซีในอาหารทำให้ปูม้ามีอัตรารอดตายต่ำเนื่องจากลอกคราบไม่ออก และในอาหารปูม้าควรมีปริมาณวิตามินซีในช่วง 26-38 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมอาหาร คำสำคัญ: วิตามินซี ปูม้า การเจริญเติบโต การลอกคราบ
บทคัดย่อ (EN): The effect of dietary vitamin C supplementation on growth, survival rate and moulting of young Portunuspelagicus with initial weight of 1.43 g was studied for 16 weeks. Six groups of young crabs were subjected to 6 formulated diets supplemented with vitamin C35% (L-Ascorbyl-2-Monophosphate) each with 3 replications: 0, 30, 70, 150, 300 and600 mg/kg contained 9.87, 14.05, 26.20, 38.09, 62.24 and137.69 mg ascorbic acid/kg, respectively. At the end of experiment, growth in term of weight of the young P. pelagicus fed with all test diets were not significance difference(p>0.05) but survival rate were significance difference(p<0.05) from week 8 onward. At termination, the crab fed diets 1-6 had survival rate of 44, 67, 73, 91, 67 and67 %, respectively. Crabs fed diet 4 had significance higher survival rate than those of crab fed diets 1, 2, 5 and6 (p<0.05) but this was not significance difference from that of crab fed diet 3. Additionally, the lowest survival rate of crab fed diet 1 was due to moulting failure. The ascorbic acid contents of all groups were significance higher in hepatopancrease comparing to those in meat (p<0.05) which were 0.114, 0.136, 0.114, 0.112, 0.221, 0.283 mg/100 gDW meat and 0.637, 0.579, 0.580, 0.543, 1.289, 1.551 mg/100 gDWhepatopancrease, respectively. Crabs fed diet 6 contained the highest ascorbic acids content in both tissues while crabs fed diet 5 was in the second order. Crabs fed with diet 1-4 contained the lowest amount of ascorbic acids. The result of histology revealed that there appeared the changing of hepatopancrease tissue of crabs fed all diets. It revealed that vitamin C supplementation in the current study had no effect on growth of the young P. pelagicusbut it had effects on the survival rate and moulting. Non-vitamin C supplemented diet resulted in the lowest survival rate due to moulting failure of crab. The formulated feed ofP. pelagicus should contain 26-38 mg ascorbic acid/kg. Key words:ascorbic acid, blue swimming crab, growth, molting
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-03-31
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของวิตามินซีต่อการเจริญเติบโต อัตรารอดตายและการลอกคราบของปูม้า (Portunus pelagicus, Linnaeus 1758)
กรมประมง
31 มีนาคม 2553
กรมประมง
ระดับพลังงานที่เหมาะสมในอาหารต่อการเจริญเติบโตของลูกปูม้า (Portunus pelagicus Linnaeus, 1758) ผลของพื้นที่หลบซ่อนต่ออัตราการรอดตาย อัตราการเจริญเติบโต การเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ และต้นทุนการผลิตในการเลี้ยงปูม้า (Portunus pelagicus Linnaeus, 1758)ในบ่อดิน เมตาบอลิซึมของรงควัตถุชนิดต่าง ๆ ต่อการเจริญเติบโต อัตรารอดตาย การลอกคราบและเมตาบอลิซึมของปูม้า(Portunus pelagicus, Linnaeus 1758) การอนุบาลลูกปูม้า (Portunus pelagicus Linnaeus, 1758) โดยการเสริมจุลินทรีย์ ปม.1 การเจริญเติบโต อัตราการรอดตาย และผลผลิตของปลานิลแดงในบ่อพักน้ำเค็ม ผลของการเสริม Schizochytrium limacinum(D.Honda & Yokochi, 1998) 4 ระดับ ในการอนุบาลลูกปูม้า (Portunus pelagicus Linnaeus, 1758) การศึกษาการเสริมวิตามินซีในอาหารต่อการเจริญเติบโตประสิทธิภาพอาหารและอัตราการรอดของปลาโมง การเลี้ยงปูม้า Portunus peragicus (Linnaeus , 1758) ในบ่อดินโดยให้ที่หลบซ่อนต่างกัน ผลของการใช้สมุนไพรหญ้าใต้ใบ ร่วมกับวิตามินซีต่อการเจริญเติบโต อัตรารอดและความต้านทานต่อโรคของกุ้งก้ามกราม การเจริญเติบโตและการรอดตายของปูม้าพันธุ์บ้านรุ่นที่ 1 โดยวิธีการเลี้ยงแบบรวมเพศและแยกเพศในบ่อดิน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก