สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์มันสำปะหลัง
อัจฉรา ลิ่มศิลา - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์มันสำปะหลัง
ชื่อเรื่อง (EN): Cassava Breeding
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อัจฉรา ลิ่มศิลา
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: อัจฉรา ลิ่มศิลา
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: งานวิจัยที่ดำเนินการในปีงบประมาณ 2549-2553 เป็นการพัฒนาพันธุ์และศึกษาข้อมูลประกอบพันธุ์ทางด้านอารักขาพืช การจัดการปัจจัยการผลิต เช่น ธาตุอาหารพืช สารปรับปรุงดิน การให้น้ำ และวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้พันธุ์มันสำปะหลังที่มีเปอร์เซ็นต์แป้งสูงพร้อมเทคโนโลยีสำหรับผลิตเอทานอล พันธุ์มันสำปะหลังที่สามารถเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุน้อยกว่า 8 เดือน และพันธุ์ที่มีปริมาณใบและโปรตีนสูง สำหรับใช้เป็นอาหารสัตว์ ผลการวิจัยได้พันธุ์มันสำปะหลังเพื่ออุตสาหกรรม 2 พันธุ์ คือ พันธุ์ระยอง 9 และพันธุ์ระยอง 11 โดยทั้ง 2 พันธุ์มีปริมาณแป้งสูงกว่า 25เปอร์เซ็นต์ และยังได้พันธุ์เพื่อเป็นอาหารสัตว์ ที่ให้ผลผลิตใบแห้งสูงกว่า 2 ตันต่อไร่ และมีโปรตีนใน ใบสูงกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ โดยพันธุ์ที่แนะนำสำหรับปลูกเพื่อผลิตใบเป็นอาหารสัตว์ เป็นพันธุ์ใหม่ 3 พันธุ์ ได้แก่ CMR44-03-57 CMR44-24-76 และ 58A และเป็นพันธุ์เดิม 2 พันธุ์ คือ เกษตรศาสตร์ 50 และระยอง 5 พันธุ์ใหม่มีศักยภาพในการให้ผลผลิตใบสูงกว่าพันธุ์เดิม แต่ให้ผลผลิตหัวต่ำกว่า และได้เทคโนโลยีการปลูก ดูแลรักษา และเก็บเกี่ยว รวมถึงการแปรรูปเป็นอาหารสัตว์ที่มีคุณภาพ สำหรับพันธุ์เก็บเกี่ยวอายุน้อยกว่า 8 เดือน ยังต้องเร่งทำงานวิจัยเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของเกษตรกรโดยด่วน ในการวิจัยด้านการอารักขาพืชพบว่า ในฤดูการผลิตปี 2551/52 และ 2552/53 เป็นปีที่มีการระบาดของเพลี้ยแป้งในไร่มันสำปะหลังอย่างรุนแรงที่สุดของประเทศไทย จากการประเมินระดับการเข้าทำลายในสภาพธรรมชาติ สามารถคัดเลือกพันธุ์ลูกผสมชุดปี 2548 และ 2549 และพันธุ์จากต่างประเทศที่มีการระบาดของเพลี้ยแป้งน้อย 4 พันธุ์ ได้แก่ CMR48-53-48 CMR48-56-18 MVen 156 และ CMR49-22-240 จึงรวบรวมไว้เป็นเชื้อพันธุกรรมในการพัฒนาพันธุ์ต่อไป สำหรับโรคที่สำคัญสำหรับมันสำปะหลัง คือ โรคไหม้ (Cassava Bacterial blight) และโรคแอนแทรกโนส (Anthracnose) พบว่า จากการปลูกเชื้อโรคไหม้ (Xanthomonas axonopodis pv. manihotis ) ในลูกผสมชุดปี 2547-2550 และพันธุ์จากต่างประเทศ มีพันธุ์ที่มีระดับความต้านทานสูงกว่าพันธุ์อื่น ๆ ที่สมควรรวบรวมไว้เป็นเชื้อพันธุกรรม ดังนี้ พันธุ์ CMR47-37-103, CMR48-35-23, 47 S1S 80 -30, CMR49-90-106, CMR49-22-2, CMR 50-45-70, CR 101, MBra 698 และ CMR 50-41-1 ในส่วนของโรคแอนแทรกโนส ได้เก็บรวบรวมเชื้อราสาเหตุโรคแอนแทรกโนส 8 ไอโซเลท จาก 8 จังหวัด พบว่า ทุกไอโซเลทสามารถก่อให้เกิดโรคที่มีความรุนแรงระดับสูงสุด เมื่อจำแนกชนิดเชื้อราสาเหตุ พบว่าเป็น Colletotrichum gloeosporioides f.sp. manihotis จึงได้นำเชื้อราจากจังหวัดนครราชสีมา ไปทดสอบวิธีการปลูกโรคที่เหมาะสม พบว่า การทำแผลที่รอยต่อโคนก้านใบกับลำต้นก่อความรุนแรงของโรคสูงสุด เมื่อทดสอบปฏิกิริยาของมันสำปะหลังพันธุ์ต่าง ๆ ในสภาพโรงเรือนทดลอง พบว่า มันสำปะหลังที่นำมาตรวจสอบทุกพันธุ์ คือ พันธุ์ระยอง 5 ระยอง 7 ระยอง 9 ระยอง 11 ระยอง 72 ระยอง 90 เกษตรศาสตร์ 50 ห้วยบง 60 และห้วยบง 80 อ่อนแอต่อโรคแอนแทรกโนส อย่างมาก โดยมีเปอร์เซ็นต์การเป็นโรค 82-100% และมีอาการยอดตาย (die back) จึงควรเร่งหาพันธุ์ต้านทานต่อโรคแอนแทรกโนสจากแหล่งพันธุกรรมในประเทศและต่างประเทศต่อไป งานวิจัยด้านการจัดการปัจจัยการผลิต และพันธุ์มันสำปะหลังที่เหมาะสม สำหรับชุดดินห้วยโป่ง และชุดดินสัตหีบ ในจังหวัดระยอง ชุดดินมาบบอน ชุดดินหุบกระพง และชุดดินสตึก ในจังหวัดชลบุรี ชุดดินกบินทร์บุรี และชุดดินโคราช ในจังหวัดปราจีนบุรี ชุดดินวาริน และชุดดินน้ำพอง ในจังหวัดนครราชสีมา ชุดดินลาดหญ้า และชุดดินโคราช ในจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย และดินทราย พบว่า การใส่ปุ๋ยอัตราที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำ คือ 16-8-16 กก./ไร่ ของ N-P2O5-K2O ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 20-95 ขึ้นกับคุณสมบัติของดินแต่ละแปลงทดลอง และเป็นอัตราที่ให้ผลคุ้มค่ากับการลงทุนมากที่สุดในภาวะที่ปุ๋ยเคมียังมีราคาแพง และยังพบว่า มันสำปะหลังพันธุ์ต่าง ๆ มีความเหมาะสมกับแต่ละชุดดินแตกต่างกันไป ดังนี้ พันธุ์ระยอง 9 เหมาะกับดินทรายถึงดินร่วนปนทราย ได้แก่ ชุดดิน สัตหีบ ที่จังหวัดระยอง ชุดดินน้ำพอง ที่กาฬสินธุ์ และชุดดินสีคิ้ว ที่นครราชสีมา ส่วนพันธุ์ระยอง 11 เหมาะกับดินร่วนถึงร่วนเหนียวปนทราย ที่มีความอุดมสมบูรณ์ (O.M. > 1.5%) และทนต่อดินที่มีภาวะเป็นกลางถึงด่างอ่อน ๆ เช่น ชุดดินวังไฮ ที่จังหวัดเลย ชุดดินตาคลีที่นครสวรรค์ และชุดดินกำแพงแสนที่สุพรรณบุรี นอกจากนี้ยังพบว่า พันธุ์ระยอง 5 เหมาะกับชุดดินโคราช ที่จังหวัดปราจีนบุรี พันธุ์ระยอง 72 เหมาะกับชุดดินสตึก-ตื้นที่จังหวัดขอนแก่น และพันธุ์ระยอง 7 เหมาะกับชุดดินโคราชที่มีระดับน้ำใต้ดินตื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด
บทคัดย่อ (EN): During the period from 2006 to 2010 research was conducted on varietal improvement, plant protection, cultural practices, and post-harvest management of planting material. The objective was to provide a variety of cassava starch with high technology for the production of ethanol. Varieties of cassava can be harvested at less than 8 months of age and varieties with high protein content for use as animal feed. The results are two varieties of cassava for industrial varieties and cultivars, Rayong, Rayong 9 and 11 by two varieties have higher starch content than 25 percent. And also as a feeding animal varieties. The yield of dried leaves over 2 tons per rai and protein in leaves was higher than 20 percent of varieties recommended for planting to produce leaves as animal feed. Three new varieties were bred CMR44-03-57 CMR44-24-76 and 58A and the two varieties are the recommended varieties, Kasetsart 50 and Rayong 5, the new varieties has the potential to yield higher leaf varieties than old, but the lower root yield. Including technology, agronomy and harvest for processing animal feed quality. Varieties harvested for at least 8 months of age must also accelerate research to meet the urgent needs of farmers. During the 2008/09 and 2009/10 planting seasons, mealybugs caused serious damage to cassava fields all over Thailand. An evaluation on mealybug resistance in 78 cassava varieties under natural conditions were conducted. Four varieties, i.e. CMR48-53-48, CMR48-56-18, MVen 156 and CMR49-22-240, showed less damage than others, and were considered potential sources of mealybug resistance. To identify varieties with cassava bacterial blight (CBB) resistance, 348 clones were inoculated with Xanthomonas axonopodis pv. manihotis and evaluated under greenhouse conditions. Nine clones were identified as potential sources of cassava bacterial blight resistance. During the past few years, anthracnose has been observed more frequently in cassava in the country. Plant pathologists diagnosed the symptoms, and collected and tested the virulence of isolations of eight causing-agents from eight provinces. They concluded that they are all Colletotrichum gloeosporioides sp. manihoti, which have very high virulence. Inoculation under greenhouse conditions indicated that all released varieties, i.e. Rayong 5, Rayong 7, Rayong 9, Rayong 11, Rayong 72, Kasetsart 50, Hauy Bong 60 and Hauy Bong 80, are susceptible to anthracnose. It is recommended to urgently look for sources of resistance in the local germplasm collection or introduce sources of resistance from other countries. Research management inputs. Cassava varieties and appropriate for soil series Huay Pong and Sattahip in Rayong province, Mab Bon, Hoob Krapong and Satuk series in Chonburi province, Krabinburi and Korat series in Prachinburi province, Nam Pong serie in Kalasin, Sri Kiew and Nam Pong series in Nakhon Rachasima, and Lad Yah and Korat series in Kanjanaburi province. The majority of the loamy sand and sandy soil showed that fertilization rate recommended by the Department of Agriculture is 16-8-16 kg / ha of N-P2O5-K2O yields 20-95 percent increase in the property. individual plots of land. And the rate at which the results worth the highest percentage in the presence of chemical fertilizers are expensive and also showed that cassava varieties are suitable for a particular soil series vary as varieties Rayong 9 for sand to loamy sand soils are Sattahip soils in Rayong, Nam Pong at Kalasin and Sri Kiew at Nakhon Ratchasima. The varieties Rayong 11 for the crumbly clay loam sand. With fertility (OM> 1.5%) and resistant soils with neutral to alkaline conditions, such as soft soil at Wanghai and Takhli in Nakhon Sawan, Kamphaeng Saen soil in Suphan Buri. They also found that the varieties Rayong 5 for Korat soil series in Prachin Buri and Rayong 72 for soil Satuek - shallow in Khon Kaen. Rayong 7 variety for shallow groundwater levels Korat soil in Roi Et province.
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์มันสำปะหลัง
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2553
อาหารจากมันสำปะหลัง ความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีพืชพรรณผล ต่างแบบนอร์แมลไลซ์กับผลผลิตมันสำปะหลังในจังหวัดกำแพงเพชร โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์อ้อย โครงการปรับปรุงการผลิตมันสำปะหลังด้วยการบำรุงรักษาดิน โครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์มันสำปะหลัง การวิจัยเพื่อส่งเสริมและปรับปรุงพันธุ์โคเนื้อในหมู่บ้าน แนวทางการลดต้นทุนการผลิตมันสำปะหลังและพัฒนาเครือข่ายของเกษตรกรผู้ผลิตมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ข้าวฟ่างหวาน โครงการวิจัยการศึกษาความหลากหลายและการปรับปรุงพันธุ์มันสำปะหลังโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ การทำลายของเพลี้ยแป้งสีชมพู pink mealybug, Phenacoccus manihoti ต่อระดับความเสียหายของมันสำปะหลังสี่พันธุ์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก