สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปเฮมพ์
สริตา ปิ่นมณี, รัตญา ยานะพันธุ์, ศักดิ์ศิริ คุปตรัตน์, สายพันธุ์ กาบใบ - สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปเฮมพ์
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development on Cultivation and Processing of Hemp
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์เฮมพ์ มีเป้าหมายเพื่อศึกษารวบรวมและอนุรักษ์พันธุ์เฮมพ์ท้องถิ่นสำหรับใช้เป็นฐานพันธุกรรม คัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์เฮมพ์ THC ต่ำ ให้มีเปอร์เซ็นต์เส้นใยและน้ำมันในเมล็ดสูง พร้อมทั้งผลิตเมล็ดพันธุ์เฮมพ์ THC ต่ำสำหรับสนับสนุนการวิจัยและการส่งเสริม ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 มีงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 4 การทดลอง คือ (1) การรวบรวมและอนุรักษ์พันธุ์เฮมพ์สำหรับใช้เป็นฐานพันธุกรรม (2) การคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์เฮมพ์ THC ต่ำ ให้มีเปอร์เซ็นต์เส้นใยสูง รุ่นที่ 6 โดยใช้วิธีคัดเลือกรวม (Mass selection) (3) การคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์เฮมพ์THC ต่ำ ให้มีปริมาณน้ำมันในเมล็ดสูง รุ่นที่ 4 โดยใช้วิธีคัดเลือกรวม (Mass selection) และ (4) การผลิตเมล็ดพันธุ์เฮมพ์เพื่อสนับสนุนการวิจัยและการส่งเสริม ซึ่งงานวิจัยทั้งหมดดำเนินการศึกษาภายใต้ระบบควบคุม โดยสถาบันได้รับใบอนุญาตผลิตและครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 (เฮมพ์) จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณะสุข มีผลการดำเนินงานดังนี้ (1) การรวบรวมเมล็ดพันธุ์เฮมพ์ท้องถิ่นสามารถรวบรวมได้จำนวน 11 ตัวอย่าง รวมกับเมล็ดพันธุ์ที่รวบรวมได้จากปี พ.ศ.2558 และ 2559 รวมทั้งหมด 28 พันธุ์ ปลูกศึกษาลักษณะประจำพันธุ์ของแต่ละตัวอย่างในพื้นที่ของสถานีเกษตรหลวง ปางดะ และรวบรวมข้อมูลของแต่ละพันธุ์ไว้เพื่อใช้เป็นฐานพันธุกรรมในงานคัดเลือกพันธุ์เฮมพ์ต่อไป (2) การคัดเลือกประชากรเฮมพ์ที่มีปริมาณสาร THC ต่ำ ให้มีเปอร์เซ็นต์เส้นใยสูง รุ่นที่ 6 (M6) ด้วยวิธีการคัดเลือกรวม ทำให้เปอร์เซ็นต์เส้นใยเพิ่มขึ้นจากรุ่นที่ 5 (M5) จาก 14.4-17.4 เปอร์เซ็นต์ เป็น 18.46-22.22 เปอร์เซ็นต์ โดยที่ทุกพันธุ์ยังคงมีปริมาณ THC ต่ำกว่า 0.3 เปอร์เซ็นต์ (3) การคัดเลือกประชากรเฮมพ์ที่มีปริมาณสาร THC ต่ำ ให้มีปริมาณน้ำมันในเมล็ดสูง รุ่นที่ 4 (M4) ด้วยวิธีการคัดเลือกรวม ทำให้ปริมาณน้ำมันในเมล็ดเพิ่มขึ้นจากรุ่นที่ 3 (M3) จาก 27.71-31.07 เปอร์เซ็นต์ เป็น 31.33-35.71 เปอร์เซ็นต์ โดยที่ทุกพันธุ์ยังคงมีปริมาณ THC ต่ำกว่า 0.3 เปอร์เซ็นต์ (4) การผลิตเมล็ดพันธุ์เฮมพ์เพื่อสนับสนุนการวิจัยและการส่งเสริม ดำเนินการผลิตภายใต้ระบบควบคุมและวางแผนการผลิตเมล็ดพันธุ์เฮมพ์ร่วมกับมูลนิธิโครงการหลวงสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์คัด เมล็ดพันธุ์หลัก เมล็ดพันธุ์ขยาย และเมล็ดพันธุ์รับรองได้จำนวน 5.459 375 2,038 และ 473 กิโลกรัม ตามลำดับ โดยนำผลผลิตเมล็ดพันธุ์ที่ได้ในปี 2560 ใช้ในงานวิจัยและงานทดสอบสาธิตการปลูกเฮมพ์ภายใต้ระบบการควบคุม 5 กลุ่ม รวมพื้นที่ 135.5 ไร่
บทคัดย่อ (EN): Hemp fiber processing in Thailand still uses traditional methods of Hmong people. There are several steps. It takes a lot of time, costs are high, and there are fewer people who can be processed. The fiber is not enough for use and high price. In 2560, we began to study and develop the Hemp fiber processing process with experts and the private sector to adapt the domestic technology for the processing of Hemp yarn to standard quality. There are 2 main goals: (1) Hemp yarn for handicrafts and (2) Hemp yarn which is suitable and quality for Military costume. The results of that operation. There are 3 stages of hemp processing: (1) shelling the hull. It was found that the use of a small peeling machine was superior to that of a large peeler, although it was able to peel 20 times slower but good quality peel without rod. (2) fiber preparation It was found that the bark was cut to 30-40 mm long and then boiled with H2SO4 for 60 minutes and bleached with alkaline solution for 60 minutes. The method was suitable for separating the hemp fibers from the bark. (3) spinning yarn It was found that Ring spinning by combining hemp fibers with other fibers in the proportion of 20-35% for five types of use: (1) yarn for handicrafts Yarn No. 20/1, hemp 30%: Cotton 70% . It has Elongation 3.94% and Tenacity 11.70 cN / tex. (2) Military camouflage: Yarn stand No. 30/2, cotton yarn 60% hemp 20%: polyester (antibacterial) 20%. It has Elongation 4.59% and Tenacity 11.98 cN / tex. (3) Military camouflage: Yarn rush 20/1, cotton 40%: hemp 40% :polyester 20% polyester (Anti-Bac) with Elongation 4.58% and Tenacity 10.51 cN / tex. (4) Yarn for woven T-shirt army. Yarn No.24/1: hemp 30%: cotton 35%: polyester (Anti-Bac) 35%. It has Elongation 5% and Tenacity 9.80 cN / tex. (5) Yarn for knitting sock soldiers. Yarn No.20/1: hemp 35%: Polyester (Anti-Bac) 35%: Polyester 30%. It has Elongation 11.68% and Tenacity 18.47 cN / tex.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปเฮมพ์
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
30 กันยายน 2560
ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ ๓ : โครงการวิจัยและพัฒนากระบวนการหลังการเก็บเกี่ยว และการแปรรูปเฮมพ์ การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพภายใต้ความร่วมมือระหว่างกรมการข้าวกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ระยะที่ 2 ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 1 การวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 1: การวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 4: การสร้างเครือข่ายวิจัยและพัฒนาเฮมพ์ ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 2: การปรับปรุงพันธุ์เฮมพ์ให้มี THC ต่ำ และ เปอร์เซ็นต์เส้นใยสูง โครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 8: การวิจัยและพัฒนาบ้านที่สร้างด้วยส่วนผสมของเฮมพ์ โครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 5: การวิจัยและพัฒนาเฮมพ์พันธุ์ลูกผสม โครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 2 การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะปลูกและการปฎิบัติรักษาเฮมพ์ โครงวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก