สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยศักยภาพการผลิตและการตลาดไม้ดอกโครงการหลวง
พรสิริ สืบพงษ์สังข์ - สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยศักยภาพการผลิตและการตลาดไม้ดอกโครงการหลวง
ชื่อเรื่อง (EN): Research on Production and Marketing Potential of The Royal Project’s Cut Flowers
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: พรสิริ สืบพงษ์สังข์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางในการเพิ่มศักยภาพการผลิตและการตลาดไม้ดอกของมูลนิธิโครงการหลวงให้พร้อมกับการแข่งขัน โดยการศึกษาวิเคราะห์สถานภาพการนำเข้าและส่งออกไม้ตัดดอกของไทย วิเคราะห์โครงสร้างการตลาดไม้ตัดดอกในประเทศไทย และวิเคราะห์ศักยภาพด้านการผลิตและการตลาดของไม้ตัดดอกโครงการหลวง ซึ่งเน้นศึกษาไม้ดอกที่มีมูลค่าสูงสุด 3 อันดับแรก อันได้แก่ กุหลาบ เบญจมาศ และไฮเดรนเยีย รวมทั้งศึกษาไม้ดอกอีก 3 ชนิดที่มีมูลค่ารองลงมา อันได้แก่ อัลสโตรมิเรีย ซิมบิเดียม และกลอริโอซ่า ผลการศึกษา พบว่า ไม้ดอกส่วนใหญ่ที่มีการนำเข้าและส่งออก ได้แก่ กล้วยไม้ กุหลาบ เบญจมาศ คาร์เนชั่น ลิลลี่ และปทุมมา โดยกุหลาบและเบญจมาศมีการนำเข้ามากกว่าส่งออก กุหลาบส่วนใหญ่นำเข้าจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งในช่วงปี 2550-2555 มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยสูงสุดในปี 2555 ที่มูลค่า 108 ล้านบาท แต่ในช่วงปี 2556-2557 กลับมีแนวโน้มลดลง โดยในปี 2558 (ม.ค.-พ.ย.) มีมูลค่าการนำเข้าประมาณ 51 ล้านบาท (ร้อยละ 91) ขณะที่การนำเข้ากุหลาบจากประเทศเคนยามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ตั้งแต่ปี 2553 จนถึงปี 2558 โดยในปี 2558 (ม.ค.-พ.ย.) มีมูลค่านำเข้า 2.43 ล้านบาท (ร้อยละ 4) ส่วนเบญจมาศ เดิมประเทศไทยเคยเป็นประเทศที่ได้ดุลการค้า แต่ในปี 2557 และปี2558 ประเทศไทยขาดดุลการค้าโดยมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นสูงสุดในปี 2558 (42.58 ล้านบาท) จากประเทศมาเลเซีย (ร้อยละ 82) และสาธารณรัฐประชาชนจีน (ร้อยละ 10) ส่วนด้านโครงสร้างตลาดไม้ดอก พบว่า ปากคลองตลาดเป็นแหล่งค้าส่งไม้ดอกหลักและใหญ่ที่สุดในประเทศ ประกอบด้วย ผู้นำเข้า ผู้ค้าส่งไม้ดอกในประเทศและกลุ่มร้านรับจัดไม้ดอก สำหรับจังหวัดเชียงใหม่เป็นแหล่งผลิตและตลาดไม้ดอกหลักของภาคเหนือ แหล่งผลิตอื่นที่สำคัญ ได้แก่ ตาก เชียงราย เลยและนครราชสีมา ตลาดเฉพาะที่เป็นกลุ่มผู้ใช้ไม้ดอกที่สำคัญ คือ กลุ่มโรงแรม ร้านดอกไม้ ร้านรับจัดงานในโอกาสต่างๆ และสำนักพระราชวัง ส่วนในต่างจังหวัดส่วนใหญ่เป็นตลาดค้าส่งและค้าปลีกรายย่อย ซึ่งรับไม้ดอกจากทั้งปากคลองตลาดและจากแหล่งผลิตโดยตรง ส่วนโครงสร้างตลาดไม้ดอกของโครงการหลวงในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2554-2558) พบว่า ลูกค้าจากฝ่ายตลาดกรุงเทพฯ เป็นตลาดหลักของไม้ดอกเกือบทุกชนิดที่ศึกษา ยกเว้นเบญจมาศที่ปริมาณขายทั้งสองตลาดมีสัดส่วนใกล้เคียงกัน กุหลาบและเบญจมาศซึ่งเป็นไม้ดอกที่มูลค่าสูงสุดสองอันดับแรกของโครงการหลวง มีอัตราการขยายตัวของมูลค่าตลาดค่อนข้างต่ำ ส่วนใหญ่ลูกค้าโครงการหลวงเป็นผู้ซื้อรายย่อยที่ซื้อผ่านร้านโครงการหลวงและร้านจัดดอกไม้ ลูกค้ารายใหญ่มีค่อนข้างน้อย เช่น สำนักพระราชวัง บริษัทสยามแม็คโครจำกัด (มหาชน) โรงแรมโอเรียนเต็ล และผู้ค้าส่งไม้ดอกที่ปากคลองตลาดรายใหญ่ 2-3 ราย เป็นต้น ในด้านการผลิต เมื่อพิจารณาต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตไม้ดอกแต่ละชนิด พบว่า ถ้าพิจารณาเฉพาะต้นทุนเงินสด การผลิตไม้ดอกทั้ง 6 ชนิดให้ผลตอบแทนเหนือต้นทุนเงินสดเป็นบวกหมด แต่ถ้าพิจารณาต้นทุนรวมทั้งหมด พบว่า กุหลาบที่ปลูกในโรงเรือนทั้งสามรูปแบบใน 3แหล่ง และไฮเดรนเยียที่ปลูกในโรงเรือนที่ศูนย์ฯ แกน้อย ให้ผลขาดทุนสุทธิ และเมื่อพิจารณาเป็นต้นทุนผลตอบแทนต่อดอกหรือต่อช่อ พบว่า ซิมบิเดียมให้กำไรสุทธิต่อช่อสูงสุด คือ 70.19 บาทต่อช่อ รองลงมาคือ เบญจมาศที่ศูนย์ฯ ห้วยลึก 8.10 บาทต่อช่อ ส่วนไฮเดรนเยียนอกโรงเรือนของศูนย์ฯ ขุนแปะและอัลสโตรมิเรียที่ศูนย์ฯ แม่โถให้กำไรสุทธิเท่ากันที่ 4.25 บาทต่อช่อ ส่วนกุหลาบมีแต่กุหลาบที่ปลูกนอกโรงเรือนที่ศูนย์ฯ ทุ่งเราที่ได้กำไรสุทธิ 2.34 บาทต่อดอก ส่วนดอกที่ขาดทุนสุทธิต่อดอกมากที่สุด คือ กุหลาบในโรงเรือนที่สถานีฯ อ่างขางขาดทุน 6.15 บาทต่อดอก กุหลาบที่ปลูกในถุงขาดทุน 4.76 บาทต่อดอก กุหลาบในโรงเรือนที่ศูนย์ฯ ทุ่งเราขาดทุน 2.34 บาทต่อดอก และไฮเดรนเยียในโรงเรือนที่ศูนย์ฯ แกน้อยขาดทุนเล็กน้อยที่ 0.61 บาทต่อช่อ การขาดทุนในกุหลาบส่วนหนึ่งมาจากค่ากล้าพันธุ์ที่สูงและผลผลิตที่ต่ำ โดยเฉลี่ยเพียง 4-6 ดอกต่อต้นต่อปี ส่วนไฮเดรนเยียที่ขาดทุนเพราะสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงทำให้การติดตาดอกมีน้อยได้ผลผลิตน้อยเพียง 7-8 ช่อต่อต้นต่อปี ในการศึกษาความพึงพอใจของลูกค้าไม้ดอกโครงการหลวง พบว่า ในภาพรวมของไม้ดอกทุกชนิด ลูกค้าพึงพอใจในด้านผลิตภัณฑ์ของโครงการหลวงมากถึงมากที่สุด โดยเฉพาะความสดใหม่ของไม้ดอก ด้านราคา ลูกค้าพึงพอใจในระดับมากที่ราคาเหมาะสมกับคุณภาพและไม่แพงเมื่อเทียบกับแหล่งอื่น แต่พึงพอใจระดับปานกลางเรื่องความหลากหลายของระดับราคาที่มีให้เลือกซื้อ ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายและการให้บริการ ลูกค้าให้ความพึงพอใจในระดับมากในเกือบทุกเรื่อง ยกเว้นเรื่องการได้รับไม้ดอกตามออเดอร์ที่สั่งที่ให้ความพึงพอใจระดับปานกลาง ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อไม้ดอกโครงการหลวง พบว่า ปัจจัยที่มีผลในระดับมากอย่างชัดเจนเป็นปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ คือ ความสดใหม่ ความคงทนและมีลักษณะตรงตามที่ต้องการ และปัจจัยด้านราคาที่มีความเหมาะสมกับคุณภาพ ส่วนปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่ายมีผลในระดับปานกลางถึงมาก แต่ลูกค้าบางส่วนเห็นว่าเป็นปัจจัยที่มีผลมากด้านลบ เพราะเจอปัญหาสั่งซื้อยาก ส่วนปัจจัยด้านการให้บริการ มีประเด็นเรื่องการได้รับไม้ดอกตามคุณภาพที่สั่งที่ได้ความพึงพอใจจากลูกค้าในระดับปานกลาง นอกนั้นได้ความพึงพอใจในระดับมาก การศึกษาปัญหา ข้อจำกัดและการขยายศักยภาพในการผลิต พบว่า ในภาพรวมไม้ดอกโครงการหลวงยังมีปัญหาและข้อจำกัดด้านการผลิตอยู่ทั้งด้านต้นทุนค่าพันธุ์ที่สูง ปัญหาโรคแมลง และปัญหาสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงซึ่งส่งผลต่อปริมาณและคุณภาพของผลผลิต การขยายศักยภาพในการผลิตมีความเป็นไปได้ในกรณีกุหลาบและไฮเดรนเยีย ส่วนการขยายการผลิตเบญจมาศจะติดปัญหาเรื่องพื้นที่สร้างโรงเรือนปลูกและแหล่งน้ำที่จำกัด ในการวิเคราะห์ SWOT พบว่า จุดแข็งของไม้ดอกโครงการหลวงเป็นเรื่องของความสดใหม่ คุณภาพดี คงทน และราคาถูกเมื่อเทียบกับคู่แข่ง (ยกเว้นกุหลาบ) และมีจุดอ่อนที่ระบบตลาดที่ไม่ทันสมัย ตลาดไม้ดอกมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ความต้องการในประเทศยังมีมากจากตลาดนำเข้าที่เติบโตขึ้น แต่อุปสรรคที่สำคัญ คือ ไม้ดอกนำเข้าจากต่างประเทศที่มีการพัฒนาระบบตลาดผ่านอินเตอร์เนทมากขึ้น ทำให้ผู้ซื้อเข้าถึงตลาดต่างประเทศได้ง่ายขึ้น โครงการหลวงควรสนับสนุนการวิจัยอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาคุณภาพไม้ดอกที่ยังเป็นปัญหาด้านการผลิต และหาแนวทางลดต้นทุนการผลิตเพื่อให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ รวมทั้งขยายการผลิตในไม้ดอกที่มีความต้องการมากให้เพียงพอตลอดทั้งปี ส่วนด้านการตลาดเป็นสิ่งที่โครงการหลวงต้องพัฒนาอย่างมาก โดยระบบตลาดต้องมีความทันสมัยขึ้น ใช้เทคโนโลยีสื่อสารให้ลูกค้าเข้าถึงตลาดได้ง่ายขึ้นหรือพัฒนาไปในทิศทางที่เป็น e-commerce พัฒนาการให้บริการที่ลูกค้าได้รับความสะดวกมากขึ้น เช่น บริการส่งมอบและการโอนเงินผ่านระบบธนาคาร และถ้าต้องการขยายฐานลูกค้ามากขึ้น ควรให้ความสนใจลูกค้าระดับกลางที่ต้องการไม้ดอกคุณภาพดีและราคาไม่แพงมากนัก และลูกค้าในกลุ่ม modern trade ที่มีฐานผู้บริโภคกว้างและกระจายทั่วประเทศ
บทคัดย่อ (EN): This study aims to find ways to improve the production and marketing potential of the Royal Project’s cut flowers to be ready for competition. This study analyzed the import and export situation of Thailand cut flowers, market structure in Thailand and production and marketing potential of the Royal Project’s cut flowers. The study focused on the three highest-value cut flowers which are roses, chrysanthemums and hydrangeas as well as the next three lower-value cut flowers, including alstroemeria, cymbidium, and gloriosa. The study found that most of the imported cut flowers were orchids, roses, chrysanthemums, carnations, lilies, and curcuma. Roses and chrysanthemums were imported more than exported. Roses were mostly imported from China and the imports increased continuously during 2007-2012 before it had reversed the downward trend during 2013-2014and in 2015 (Jan.-Nov.), the imported value of roses was about 51 million baht (91 percent). Meanwhile the imports of roses from Kenya have increased since 2010 and has the value of 2.43 million baht (4 percent) in 2015 (Jan.-Nov.). For chrysanthemums, before 2014 Thailand had a trade surplus but in 2014 and 2015 a trade deficit has been reported with the highest imported value in 2015 (42.58million baht) from Malaysia (82 percent) and China (10 percent). According to the cut flower market structure, Pak Khlong Talad is the main and biggest wholesale cut flower market in Thailand. It includes importers, domestic wholesalers and florist shops. Chiang Mai province is an important production area and a main market in the North. Other important production areas are Tak, Chiang Rai, Loei and Nakhon Ratchasima. Niche markets of cut flowers are hotels, florist shops, event organizers and the bureau of the royal household. In other provinces, there are wholesalers and retailers which get flowers from both Pak Khlong Talad and production areas directly. For the Royal Project’s market structure in the last 5 years (2011-2015), it was found that customers from the Bangkok market sectorare the main market of all study flowers, except chrysanthemums as the sales volume of chrysanthemums in both markets are almost the same. The market value growth rate of roses and chrysanthemums are quite low. Most customers are retailers who purchase flowers from Royal Project shops and small florist shops. There are relatively few major customers such as the bureau of the royal household, Siam Makro Public Company Limited, Oriental hotel and a few wholesalers at Pak Khlong Talad. For the production part, when considering the cost and returns of each type of cut flowers, it is found that all six types of studying cut flowers provided a positive return over cash costs. However, when considering the total cost, all types of rose production in green houses and hydrangeas grown in green house at Kae Noi center provided a negative profit. For the costs per flower or per bunch, cymbidium provided the highest profit at 70.15baht per bunch, followed by chrysanthemums at Huay Luk center at 8.10 baht per bunch. Hydrangea outside greenhouse at Khun Pae center and alstroemeria of Mae Tho center provided the same profit at 4.25baht per bunch. For roses, only the rose production outside greenhouse got positive profit at 2.34baht per rose. The rose production at other three stations got negative profits, at Ang Khong station -6.15 baht per rose, at Inthanon station -4.76 baht per rose and at Tung Roa -2.34baht per rose. As well, hydrangeas in greenhouse at Kae Noi got slightly negative profit at -0.61 baht per bunch. The causes of loss in rose production are partly high cost of and low productivity, only 4-6roses per plant per year whereas the cause of loss in hydrangea is due to the climate change which affect the development of flower bud. The average bunch hydrangea is only 7-8bunches per plant. The study of the royal project customers’ satisfaction found that in overall, customers satisfied with the products from the royal project at highest level, especially the freshness of flowers. For the price, customers satisfied at the high level that the price is suitable to its quality and reasonable compared with other sources but at the medium level about the choices of price. For the distribution channels and service, customers satisfied at the high level at almost all points, except for getting the flowers as ordered which is satisfied at the medium level. For the study of factors influencing buying decision, it was found that the factors that clearly have a high influence are product factors including freshness, shelf life, and having characteristics of flower as a buyer desire and also price factor that the price is suitable to its quality. The distribution channel has a medium to high level of influence. However, some customers point out that the distribution channel is the factor that has a negative high level of influence. Because they found that the ordering is difficult. For the service factors, there is only one issue that got the medium satisfaction level which is getting the flowers as ordered whereas other issues got the high satisfaction level. For problems, restrictions and potentials for production expansion, it was found that in overall, the royal project’s cut flowers still have production problems and restrictions which are high cost of imported mother plant, insect and disease problems and climate change problems. The production expansion is possible for roses and hydrangeas but for chrysanthemums, the problems are the limitations of planting areas and water supply. The SWOT analysis found that the strengths of royal project’s cut flower are freshness, good quality and long shelf life as well as the price is cheap compared with others (except roses). The weakness is the marketing system which need to be improved. There is a good opportunity for cut flowers since the market is continuously growing. High demand of domestic market can be seen from the increase of imported cut flowers. The main obstacle is the imported cut flowers, with the development of the market over the internet access which enable customers to access the imported market easier. The royal project should continuously support research for improving the quality of cut flowers, especially the cut flowers that still have problems and also find out how to reduce the production cost in order to compete with the imported cut flowers. In addition, the production of high demand cut flowers should be expanded to providing flowers to market for the whole year. The marketing of cut flower need to be improved. The market system should be modernized by using communication technology to enable customers having easier access to market or it should be developed into e-commerce market to make service more convenient for customers, such as providing delivery services and transferring payment via internet banking. In order to expand the market, the royal project should pay more attention to customers at the medium class which require medium quality of cut flowers with affordable prices and also to the modern trade group that have a wide customer base distributed the whole country.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยศักยภาพการผลิตและการตลาดไม้ดอกโครงการหลวง
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
30 กันยายน 2559
โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดผักอินทรีย์โครงการหลวง โครงการย่อยที่ 2 การปรับปรุงพันธุ์ผักเพื่อระบบเกษตรอินทรีย์ ชุดโครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดของกาแฟอราบิก้าบนพื้นที่สูง โครงการย่อย 1 การวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตกาแฟอราบิก้าในพื้นที่ โครงการหลวงแล การศึกษาและวิเคราะห์การผลิตและการตลาดขององุ่นโครงการหลวง โครงการวิจัยศักยภาพด้านการตลาดในพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวง ชุดโครงการศึกษาเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดดอกเบญจมาศ โครงการย่อยที่ 3 การศึกษาตลาดคู่แข่ง วิเคราะห์ศักยภาพในการผลิตเบญจมาศ ชุดโครงการศึกษาเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดของดอกกุหลาบ โครงการย่อยที่ 3 การศึกษาตลาดคู่แข่ง วิเคราะห์ศักยภาพการผลิตกุหลาบ ชุดโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตผักอินทรีย์โครงการหลวง โครงการย่อยที่ 1 การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตผักอินทรีย์โครงการหลวง การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพภายใต้ความร่วมมือระหว่างกรมการข้าวกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ระยะที่ 2 โครงการวิจัยพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์สินค้าหัตถกรรมโดยการจัดการห่วงโซ่การผลิตและการตลาดในพื้นที่โครงการหลวงและโครงการขยายผลโครงการหลวง การวิเคราะห์ศักยภาพด้านการตลาดและการผลิตของผู้ผลิตผักอินทรีย์ในกลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านต้นเฮือด ตำบลบ้านแหวน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก