สืบค้นงานวิจัย
อิทธิพลของปัจจัยการผลิตที่มีผลต่อคุณภาพ และประสิทธิภาพของน้ำสกัดจากปุ๋ยหมัก
นวลจันทร์ ชะบา, มนต์ระวี พีราวัชร, วุฒิชัย จันทรสมบัติ - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: อิทธิพลของปัจจัยการผลิตที่มีผลต่อคุณภาพ และประสิทธิภาพของน้ำสกัดจากปุ๋ยหมัก
ชื่อเรื่อง (EN): Influence of production factors on quality and efficiency of compost tea.
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาอิทธิพลของปัจจัยการผลิตที่มีผลต่อคุณภาพ และประสิทธิภาพของน้ำสกัดจากปุ๋ยหมัก มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยการผลิตที่มีผลต่อคุณภาพ และประสิทธิภาพของน้ำสกัดจากปุ๋ยหมัก ต่อการเจริญเติบโตและควบคุมโรคพืชในสภาพห้องปฏิบัติการและโรงเรือน โดยเปรียบเทียบกปัจจัยการผลิตต่างๆ ได้แก่ การให้อากาศ อัตราส่วนของปุ๋ยหมักต่อน้ำ การเติมกากน้ำตาล และระยะเวลาการสกัดต่อคุณภาพของน้ำสกัดที่ได้ โดยมีการเก็บตัวอย่างเป็นช่วงๆในระหว่างการสกัด เพื่อวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง จุลธาตุ กรดฮิวมิก และปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ รวมทั้งศึกษาสมบัติของน้ำสกัดจากปุ๋ยหมักชนิดต่างๆ ต่อการเจริญเติบโตและควบคุมโรคพืชในมะเขือเทศในห้องปฏิบัติการและโรงเรือนกระจก ผลการทดลอง พบว่า การใช้ปัจจัยต่างๆมีผล่อคุณสมบัติของน้ำสกัด จากการทดลองโดยใช้ปุ๋ยคอกมูลวัว อัตรา 1:5 เติมกากน้ำตาล และไม่เติมอากาศ และใช้เวลาในการสกัด 48 ชั่วโมง มีแนวโน้มของปริมาณธาตุอาหารมากที่สุด โดยมีปริมาณไนโตรเจนเฉลี่ย 0.082 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณฟอสฟอรัสเฉลี่ย 0.1297 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณโพแทสเซียมเฉลี่ย 0.3023 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณกรดฮิวมิกเฉลี่ย 0.4515 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณเชื้อแบคทีเรียผลิตกรดแลคติกเฉลี่ย 1.66x106 โคโลนีต่อมิลลิลิตร ปริมาณยีสเฉลี่ย 4.834x105 โคโลนีมิลลิลิตร ปริมาณแบคทีเรียเฉลี่ย 4.16x105 โคโลนีมิลลิลิตร ปริมาณแอคติโนมัยซีสเฉลี่ย 1.21x105 โคโลนีมิลลิลิตร และปริมาณเชื้อราเฉลี่ย 2.13x105 โคโลนีมิลลิลิตร การเปรียบเทียบชนิดของวัสดุในการสกัด พบว่า การใช้น้ำสกัดจากปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงที่ 48 ชั่วโมง มีปริมาณธาตุอาหารทั้งไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ทองแดง เหล็ก แมงกานีส และสังกะสี มากกว่าการใช้น้ำสกัดจากปุ๋ยหมักฟางข้าว น้ำสกัดจากปุ๋ยคอกมูลโค และน้ำสกัดจากปุ๋ยคอกมูลสุกร ชนิดของน้ำสกัดปุ๋ยหมักต่อการเจริญเติบโตของมะเขือเทศในสภาพโรงเรือนกระจก การใช้น้ำสกัดจากปุ๋ยหมักมูลสุกรอัตราการเจือจาง 1:15 มีการเจริญเติบโตมากที่สุด มีค่าความเข้มใบ 43.97 ความสูงต้น 60.17 เซนติเมตร น้ำหนักสด 37.20 กรัม น้ำหนักแห้ง 4.96 กรัม รวมทั้งน้ำสกัดจากปุ๋ยหมักฟางข้าวที่ 48 ชั่วโมง สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อโรคเหี่ยวเหลือง Fusarium oxysporum ได้ 36.13 เปอร์เซ็นต์ และน้ำสกัดจากปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงที่ 48 ชั่วโมง สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อโรครากเน่าโคนเน่า Sclerotium rolfsii ได้ 83.33 เปอร์เซ็นต์
บทคัดย่อ (EN): The study of production factors effecting on quality and efficiency of compost tea to growth and controlling plant pathogens were investigated in laboratory and greenhouse. Production factors including, aeration, ratio of compost and water, molasses addition and extracted duration were compared by collecting samples periodicially during extraction for analyzing major and minor nutrients, trace element, humic acid and number of microbial. The result showed that production factors could effect on properties of compost tea. Compost tea which produced by cow manure at ratio 1:5 without molasses, no aeration and extract for 48 hours tended to increase more nutrients than other treatments. The nutrients in compost tea produced from cow manure, N, P, K, humic acid were found as 0.082%, 0.1297%, 0.3023% and 0.4515%, respectively. The number of lactic acid bacteria, total bacteria, yeast, total actinomycetes and total fungi were 1.66x106, 4.16x105, 4.83x105,1.21x105 and 2.13x105 CFU/ml, respectively. For material types for producing compost tea, compost tea produced from high quality compost at 48 hours contained N, P, K, Cu, Fe, Mn and Zn higher than others materials. Application of compost tea produced from swine manure at ratio 1:15 effected on growth of tomato. The result performed density of color leaf as 43.97 , height 60.17 cm., fresh weight 37.20 g/stem and dry weight 4.96 g/stem. In addition, compost tea produced from rice straw at 48 hours could control the growth of plant pathogens, Fusariun oxysporum as 36.13%. . Compost tea produced from high quality composat 48 hours could control the growth of root rot disease, Sclerotium rolfsii as 83.33%.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
เอกสารแนบ: http://dric.nrct.go.th//Search/SearchDetail/292619
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
อิทธิพลของปัจจัยการผลิตที่มีผลต่อคุณภาพ และประสิทธิภาพของน้ำสกัดจากปุ๋ยหมัก
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2558
เอกสารแนบ 1
การผลิต Inulin และ Oligofructose จากกล้วยเพื่อใช้เป็นสารเสริมอาหาร ศึกษาการผลิตและองค์ประกอบของน้ำสกัดจากปุ๋ยหมักต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และควบคุมโรคพืช ผลของน้ำสกัดจากปุ๋ยหมักชนิดต่างๆ ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตมะเขือเทศ คุณลักษณะบางประการของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในการยับยั้งจุลินทรีย์ก่อโรคพืชจากปุ๋ยน้ำสกัดจากปุ๋ยหมักขุยมะพร้าวและปุ๋ยน้ำสกัดจากขุยมะพร้าว (ระยะที่ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตมังคุดให้ได้คุณภาพของเกษตรกรในภาคใต้ การจัดการปัจจัยการผลิตที่เหมาะสม ระหว่างการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตผักจาก GAP สู่เกษตรอินทรีย์ อิทธิพลของการใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพและปุ๋ยยูเรียต่อผลผลิตและคุณภาพของหญ้ารูซี่ ปัจจัยบางประการที่มีอิทธิพลต่อการผลิตทางการเกษตรและการบริโภคของเกษตรกร เขตเกษตรน้ำฝน กิ่งอำเภอแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี การผลิต คุณภาพ และความปลอดภัยของน้าปลาร้าปรุงรส ผลของการใช้ปุ๋ยหมักจากกากกาแฟเพื่อเพิ่มผลผลิตเชิงคุณภาพของกุหลาบตัดดอก

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก