สืบค้นงานวิจัย
สภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรในจังหวัดหนองคาย
บุรินทร์ ศรีสุภาพ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรในจังหวัดหนองคาย
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: บุรินทร์ ศรีสุภาพ
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่องสภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรในจังหวัดหนองคาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาสภาพพื้นฐานบางประการของเกษตรกร 2)สภาพการใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวอินทรีย์ 3) ปัญหาอุปสรรคของเกษตรกร ศึกษาจาก ประชากร 850 คน เกษตรกรตัวอย่าง 272 คน ใช้แบบสัมภาษณ์เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ใช้ค่าสถิติเป็นค่าร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 31-60 ปี โดยมีอายุเฉลี่ย 46 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีสมาชิกในครัวเรือนไม่เกิน 5 คน มีแรงงานในครัวเรือนไม่เกิน 1 คน มีพื้นที่นาทั้งหมดไม่เกิน 20 ไร่ เป็นสมาชิก ธ.ก.ส. ใช้เงินทุนของตนเองโดยมีรายได้จากภาคการเกษตรเฉลี่ย 25,573.70 บาทต่อปี มีรายได้จากนอกภาคการเกษตร เฉลี่ย 25,088.89 บาทต่อปี เกษตรกรทำนาข้าวอินทรีย์เฉลี่ย 8.58 ไร่ มีประสบการณ์ในการปลูกข้าวอินทรีย์ 1 ปี ที่นามีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนดินเหนียว ใช้น้ำฝนในการทำนา ทำการไถเตรียมดิน 1 ครั้ง คราด 1 ครั้ง เกษตรกรกว่าครึ่งไม่มีการไถกลบตอซัง ตกกล้าเดือนเมษายน ปักดำช่วงเดือนมิถุนายน หว่านข้าวช่วงเดือนกรกฎาคม ปักดำข้าว 1-3 ต้นต่อจับ ใช้เมล็ดพันธุ์มากกว่า 15 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนใหญ่ใช้เมล็ดพันธุ์จากศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ไม่มีการเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าวก่อนปลูก มีการใส่ปุ๋ยคอก และปุ๋ยหมักชีวภาพ แต่หว่านปุ๋ยอินทรีย์ทิ้งในนา ไม่ไถกลบ มีการกำจัดวัชพืชในนาข้าว มีการป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูข้าว และตัดพันธุ์ปน 1 ครั้ง ใช้แรงงานคนเกี่ยวข้าวในระยะพลับพลึงเกือบทั้งหมด มีการตากลดความชื้นข้าวทุกราย ได้รับผลผลิตข้าวอินทรีย์มากกว่าที่เคยได้รับ นำข้าวไปขายทันทีบางส่วนและเก็บไว้รอราคาบางส่วน โดยขายผลผลิตที่โรงสีข้าวทั้งหมดในราคา 6-10 บาทต่อกิโลกรัม เฉลี่ยราคา 8.15 บาทต่อกิโลกรัม มีการเพิ่มพื้นที่ปลูกมากกว่าปีที่แล้ว มีต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 2,062.08 บาทต่อไร่ เกษตรกรทั้งหมดผ่านการอบรมการผลิตข้าวอินทรีย์ก่อนการปลูกและระหว่างการปลูก ได้รับคำแนะนำช่วงข้าวแตกกอ ช่วงการปลูก หลังการเก็บเกี่ยว ช่วงเก็บเกี่ยว และช่วงก่อนการปลูก โดยพบเจ้าหน้าที่เป็นรายบุคคล ผลการศึกษาปัญหาในการผลิตข้าวอินทรีย์จำนวน 15 ประเด็น ผลการศึกษาโยภาพรวมพบว่าเกษตรกรมีปัญหาในการผลิตข้าวอินทรีย์ในระดับ น้อย แต่มีปัญหาในระดับมาก จำนวน 1 ประเด็น คือ ปัญหาจุดรับซื้อข้าวอินทรีย์มีน้อย ข้อเสนอแนะ เจ้าหน้าที่ภาครัฐควรแนะนำให้เกษตรกรไถกลบตอซัง แนะนำให้เกษตรกรเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าวก่อนปลูก และแนะนำให้เกษตรกรไถกลบปุ๋ยอินทรีย์แทนการหว่านในนา
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรในจังหวัดหนองคาย
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
สภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกร ในอำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการผลิตข้าวอินทรีย์ ปี 2548 จังหวัดอุทัยธานี สภาพการผลิตพันธุ์ข้าวของเกษตรกรโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตข้าวชุมชน อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรในตำบลบ้านผือ อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย ความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการผลิตข้าวอินทรีย์ อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู ความต้องการฝึกอบรมการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรในจังหวัดหนองบัวลำภู ความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการเกษตรอินทรีย์วิถีศรีสะเกษ ปี 2547 จังหวัดศรีสะเกษ การผลิตข้าวอินทรีย์ ของจังหวัดสุรินทร์ การศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตเกษตรกรที่ผลิตข้าวอินทรีย์กับเกษตรกรที่ผลิตข้าวเคมีในจังหวัดสุรินทร์ การผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรในอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก