สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาเทคโนโลยีการตรวจสอบปริมาณความชื้นของไม้ยางพาราแปรรูปด้วยเทคนิคแบบไม่ทำลาย
สิรินาฏ น้อยพิทักษ์ - สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาเทคโนโลยีการตรวจสอบปริมาณความชื้นของไม้ยางพาราแปรรูปด้วยเทคนิคแบบไม่ทำลาย
ชื่อเรื่อง (EN): The develop technology of detection moisture content of Para rubber timber using non-destructive technique
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สิรินาฏ น้อยพิทักษ์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและทดสอบสมการสอบเทียบมาตรฐานทำนายความชื้นของไม้ ยางพาราแปรรูปที่ครอบคลุมการวัดทั้งไม้สดและไม้แห้งด้วยเทคนิคสเปกโทรสโกปีอินฟราเรดย่านใกล้ และพัฒนาอุปกรณ์สเปกโทรมิเตอร์อินฟราเรดย่านใกล้ สร้างแอปพลิเคชันให้ควบคุมการวัดความชื้นของ ไม้ยางพาราแปรรูป และแสดงผลผ่านหน้าจอสมาร์ทโฟนบนระบบปฏิบัติการ Android สมการทำนายปริมาณค่าเปอร์เซ็นต์ความชื้นถูกสร้างขึ้นจากตัวอย่างไม้ยางพาราแปรรูป 3 กลุ่ม คือ ไม้ยางพาราแปรรูปสด ไม้ยางพาราแปรรูปที่อยู่ระหว่างอบลดความชื้นในตู้อบ และไม้ยางพาราแปรรูป อบแห้ง ทำการวิเคราะห์สร้างสมการทำนายเชิงปริมาณด้วยวิธี Partial Least Squares Regression (PLSR) ในรูปแบบสมการทำนายค่าเปอร์เซ็นต์ความชื้นไม้ยางพาราในช่วง 0-30%db และรูปแบบสมการ ทำนายค่าเปอร์เซ็นต์ความชื้นไม้ยางพาราในช่วงมากกว่า 30%db ผลการวิจัยพบว่าเครื่องสเปกโทรมิเตอร์อินฟราเรดย่านใกล้แบบพกพา ให้สมรรถนะการทำนาย ค่าเปอร์เซ็นต์ความชื้นไม้ยางพาราในช่วง 0-30%db ที่ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (R.) เท่ากับ 0.84 ค่า ผิดพลาดมาตรฐานในการทำนายกลุ่มตัวอย่างแบบครอสวาลิเดชัน (SECV) เท่ากับ 2.05%db และ ค่าเฉลี่ยของผลต่างระหว่างค่ที่ได้จากวิธีอ้างอิงกับค่าที่ได้จากการทำนาย (Bias) เท่ากับ 0.00%db และ ให้สมรรถะการทำนายค่าเปอร์เซ็นต์ความชื้นไม้ยางพาราในช่วงมากกว่า 30%db ที่ค่า R.v เท่ากับ 0.85 ค่า SECV เท่ากับ 4.568db และค่า Bias เท่ากับ 0.00%db ซึ่งแสดงว่าอยู่ในระดับที่สามารถคัดเลือก และประมาณค่าได้ ผลการทดสอบวัดค่เปอร์เซ็นต์ความชื้นของตัวอย่างไม้ยางพาราแปรรูปอบแห้งซึ่งเป็นตัวอย่างที่ ไม่ได้นำมาใช้พัฒนาสมการทำนาย ให้ผลการทำนายโดยมีค่าผิดพลาดมาตรฐานในการทำนายของกลุ่ม ตัวอย่างที่ใช้ทดสอบสมการ (SEP) เท่ากับ 1.238db และค่า Bias เท่ากับ -0.75%db อย่างไรก็ตาม เครื่องสเปกโทรมิเตอร์อินฟราเรดย่านใกล้แบบพกพาควบคุมผ่านสมาร์ทโฟน เป็นระบบที่เหมาะสมในการ นำไปประยุกต์ใช้งานจริงเนื่องจากมีราคาถูกเมื่อเปรียบเทียบกับแบบตั้งโต๊ะ ไม่เพียงแต่สามารถใช้ได้ดีใน ห้องปฏิบัติการ ยังมีความสะดวกต่อการพกพาสำหรับการตรวจสอบสินค้าในโรงเลื่อย แต่ต้องมีการสอบ เทียบสมการอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้การทำนายตัวอย่างที่มีความหลากหลายในด้านฤดูกาล แหล่งผลิต มี ความเสถียรและความแม่นยำ
บทคัดย่อ (EN): This research developed and validated a predictive equation to predict the percentage of moisture of Para rubber timber which covered a range of fresh wood to oven dried wood by using near infrared spectroscopy technique. The NIR spectrometer was developed and the application was created for control of measurements and data display on smartphone based on the Android operating system. The predictive equation of the percentage of moisture content was generated from 3 groups of fresh wood, intermediate oven dried wood and oven dried wood. The predictive equation was analyzed for the quantitative predictions using Partial least squares regression (PLSR) in the form of an equation to predict the percentage of Para rubber wood moisture in the range 0-30%db and the equation model to predict the percentage of Para rubber wood moisture content in the range more than 30 %db The results showed that the portable near-infrared spectrometer gave the capability to predict the percentage of moisture content of Para rubber timber in the range 0-30%db with the correlation of coefficient of cross validation (R.) value of 0.84. Whereas the sum square error of cross validation (SECV) and Bias were 2.05%db and 0.00%db respectively. In addition, the predictive model of Para rubber timber provided the capability to predict the percentage of moisture content in the range of more than 30%db with the Ry value of 0.85, the SECV of 4.56%db and bias of 0.00%db indicating that the equation can be applied for classification and estimation tasks. The result of validation of predictive equation for the moisture percentage of dried Para rubber timber samples, which were unknown samples, gave the prediction result with the sum square error of prediction (SEP) equal to 1.23%db and bias equal to -0.75%db. However, the portable NIR spectrometer with controlling via smartphone was a suitable system for application in practical sawn timber factories because it was cheap and conveniently portable. Nonetheless, the calibration needed to be carried out regularly so that the prediction of the samples with variation in growing season and growth area is robust and accurate.
ชื่อแหล่งทุน: T2562008 ทุนวิจัยมุ่งเป้า ปีงบประมาณ 2562 ยางพารา
เลขทะเบียนวิจัยแหล่งทุน: RDG62T0001
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2561
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2562
เอกสารแนบ: https://elibrary.trf.or.th/project_content.asp?PJID=RDG62T0001
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2562
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยประยุกต์
เผยแพร่โดย: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาเทคโนโลยีการตรวจสอบปริมาณความชื้นของไม้ยางพาราแปรรูปด้วยเทคนิคแบบไม่ทำลาย
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
2562
เอกสารแนบ 1
การศึกษาเบื้องต้นในการส่งถ่ายยีนเข้าสู่ยางพาราด้วยเทคนิค Agrobacterium transformation กลุ่มวิจัยยางพารา การยับยั้งอย่างจำเพาะเจาะจงต่อการแสดงออกของยีน Rubber Elongation Factor (REF) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนก่อภูมิแพ้ในยางพาราด้วยเทคโนโลยีแอนติเซน การเก็บรักษาคัพภะยางพาราในสภาพอุณหภูมิต่ำในหลอดทดลอง การวิจัยและพัฒนาไม้ยางพารา สำรวจและวิเคราะห์ปริมาณไม้ยางพาราของประเทศรายปี องค์ประกอบหลักทางเคมีของน้ำส้มควันไม้จากไม้ยางพารา การเปรียบเทียบระบบซื้อขายไม้ยางพาราระหว่างตลาดกลางไม้ยางพาราสุราษฎร์ธานีกับตลาดไม้ยางพาราแบบดั้งเดิม ศึกษาปริมาณการผลิตไม้ยางพารา การทำนายปริมาณความชื้น ความหนาแน่น และความแข็งแรงไม้ยางพาราด้วยเทคนิคสเปกโทรสโกปีอินฟราเรดย่านใกล้

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก