สืบค้นงานวิจัย
สภาพการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกร : กรณีศึกษา บ้านเสียว ตำบลวังชัย อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น
วาสนา ชุมพล - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกร : กรณีศึกษา บ้านเสียว ตำบลวังชัย อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วาสนา ชุมพล
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาสภาพการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษ กรณีศึกษาบ้านเสียว ตำบลวังชัย อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมบางประการของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการ 2) ศึกษาการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกร 3) ศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะของเกษตรกร เก็บข้อมูลจากประชากรทั้งหมด 62 ราย โดยใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ เป็นหญิง มีอายุ เฉลี่ย 43.9 ปี มีพื้นที่เป็นของตนเอง มีพื้นที่ถือครองเป็นของตนเอง เฉลี่ย 16.87 ไร่ โดยส่วนใหญ่ มีพื้นที่ ระหว่าง 11-20 ไร่ มีพื้นที่นาเฉลี่ย 9.31 ไร่ พื้นที่ทำไร่ เฉลี่ย 16.25 ไร่ มีพื้นที่ทำสวนโดยเฉลี่ย 6.17ไร่ พื้นที่ ปลูกผักโดยเฉลี่ย 1 งาน รายได้อาชีพภาคเกษตรกรรม โดยเฉลี่ย 88,162.50 บาท รายได้ในการทำนา เฉลี่ย 22,300 บาทต่อปี รายได้จากการทำไร่ เฉลี่ย 55,250 บาท รายได้จากการทำสวน โดยมีรายได้เฉลี่ย 36,683.33 บาทต่อปี รายได้จากการปลูกผัก เฉลี่ย 57,843.75 บาท รายได้ทั้งหมดทั้งภาคเกษตรกรรม และนอกภาคเกษตรกรรม มีรายได้โดยเฉลี่ย 91,350 บาทต่อปี ต้นทุนการผลิตผักในมุ้ง เฉลี่ย 2,021.43 บาทต่อไร่ ต้นทุนการผลิตผักนอกมุ้ง เฉลี่ย 1,866.67 บาทต่อไร่ การเป็นสมาชิกสถาบันการเกษตร ส่วนใหญ่ เป็นสมาชิก ธกส. ส่วนใหญ่มีการกู้เงินมาลงทุนจากธนาคารหมู่บ้าน ดินที่ใช้ในการปลูก มีลักษณะดินร่วนปนทราย มีการเตรียมพื้นที่ก่อนการปลูกผัก โดยการยกแปลง มีการปรับปรุงปรุงดินด้วยอินทรีย์วัตถุ มีการใส่ปุ๋ยเคมีร้อยละ 40.3 ใช้ปุ๋ยสูตร 46-0-0 มีการใส่ปุ๋ย 3 ครั้ง มีการป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูพืช โดยการใช้วิธีกลและสารเคมีในป้องกันกำจัด ศัตรูพืช การใช้สารเคมี ใช้ โฟริดอล มีการสำรวจโรคแมลงศัตรูพืชในแปลงทุกวัน ข้อเสนอแนะ 1) ควรมีการจัดฝึกอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ เกี่ยวกับการใช้ยาเคมีและปุ๋ยเคมีให้ถูกต้อง เพื่อให้หันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยน้ำสกัดชีวภาพ ให้มากขึ้นโดยให้กลุ่มจัดทำปุ๋ยไว้เพื่อใช้เอง เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิตได้มาก และยังเป็นการเพิ่มอินทรีย์วัตถุในดินให้มาก 2) ควรให้กลุ่มปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ มีการระดมหุ้นกันเพื่อเป็นการจัดหาวัสดุการเกษตรมาจำหน่ายให้กลุ่มที่ราคาถูกและมีคุณภาพ 3) ควรให้กลุ่มมีการประชุมกันอย่างน้อยเดือนละครั้ง เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของสมาชิกในรอบเดือนที่ผ่านมา เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาในเดือนต่อไป ได้ทันกับเหตุการณ์
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: บ้านเสียว ตำบลวังชัย อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกร : กรณีศึกษา บ้านเสียว ตำบลวังชัย อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น
วาสนา ชุมพล
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
การผลิต Inulin และ Oligofructose จากกล้วยเพื่อใช้เป็นสารเสริมอาหาร การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี สภาพการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกรในจังหวัดหนองบัวลำภู แรงจูงใจและผลด้านเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ผลิตผักปลอดสารพิษ บ้านสว่าง ตำบลห้วยเตย อำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกรตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรในจังหวัดสุรินทร์ วิธีการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การใช้เทคโนโลยีการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกรในตำบลรัตนบุรี อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกรตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรผักจังหวัดนครศรีธรรมราช ปี 2547 สภาพการผลิตผักปลอดสารพิษ : กรณีศึกษาในบ้านหม้อ ตำบลคูคำ กิ่งอำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น การยอมรับของเกษตรกรที่มีต่อการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษจังหวัดสมุทรสาคร

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก