สืบค้นงานวิจัย
การใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรภาคกลาง
ศรีสอางค์ ศรีอรุโณทัย - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรภาคกลาง
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ศรีสอางค์ ศรีอรุโณทัย
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: มณทิพย์ กระจ่างเวช
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ประชากรในการเก็บข้อมูล ได้แก่ สมาชิกกลุ่มเกษตรกรในจ.ชัยนาท พระนครศรีอยุธยา และสระบุรี ในการคัดเลือกตัวอย่าง ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ multistage sampling 4 ขั้นตอน คือ ขั้นแรกสุ่มตัวอย่างโดยการจับฉลากได้ตัวแทนของจังหวัด ในภาคกลาง3 จังหวัด คือ จ.ชัยนาท พระนครศรีอยุธยา และสระบุรี ขั้นที่ 2 สุ่มอำเภอในจังหวัดที่ถูกเป็นตัวอย่าง จังหวัดละ 4 อำเภอ โดยการจับฉลาก รวมอำเภอที่ตกเป็นตัวอย่าง 12 อำเภอ ขั้นที่ 3 สุ่มตัวอย่างกลุ่มเกษตรกรในแต่ละอำเภอจากบัญชีรายชื่อกลุ่มเกษตรกรของกรมส่งเสริมการเกษตรปี 2526 โดยวิธีการจับฉลาก อำเภอละ 1 กลุ่ม ได้กลุ่มเกษตรกรที่ตกเป็นตัวอย่าง 12 กลุ่ม ดังนี้ (1)กลุ่มทำนาเรือโคก อ.เมือง จ.ชัยนาท (2)กลุ่มทำนาท่าฉนวน อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท (3)กลุ่มทำนาโพนางคำออก อ.สรรพยา จ.ชัยนาท (4)กลุ่มทำนาบางขุด อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท (5)กลุ่มทำนหนองโบ อ.เมือง จ.สระบุรี (6)กลุ่มทำนาหนองปลิง อ.หนองแค จ.สระบุรี (7)กลุ่มทำนาเมืองเก่า อ.เมือง จ.สระบุรี (8)กลุ่มทำนาวิหารแดง อ.วิหารแดง จ.สระบุรี (9)กลุ่มทำนาสามกอ อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา (10)กลุ่มทำนาลาดบัวหลวง อ.ลาดบัวหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา (11)กลุ่มทำนาบางซ้าย อ.บางซ้าย จ.พระนครศรีอยุธยา (12)กลุ่มทำนาไผ่พระ อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา ขั้นที่ 4 ทำการสุ่มตัวอย่างรายชื่อสมาชิกของกลุ่มเกษตรกรที่ตกเป็นตัวอย่างทั้ง 12 กลุ่ม โดยใช้ตารางสุ่มตัวอย่าง ( random number table) สุ่มมากลุ่มละ 10 คน รวมตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษานี้ 120 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล (1)เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ใช้แบบสัมภาษณ์ซึ่งมีลักษณะปิด (Closed-end-question) (2)ได้ดำเนินการทำ pre-test กับเกษตรกรผู้ทำนาในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดปทุมธานี จำนวน 10 ราย ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2526 และแก้ไขแบบสอบถามให้เหมาะสม วิธีการเก็บข้อมูลและช่วงเวลาในการเก็บขอมูล วิธีการเก็บข้อมูล ใช้วิะีการสัมภาษณ์สมาชิกกลุ่มเกษตรกรที่ตกเป็นตัวอย่าง ซึ่งดำเนินการสัมภาษณ์ในระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2526 การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยมัชฌิมเลขคณิต Arithematic means และค่าร้อยละ percentage ผลสรุปและข้อเสนอแนะ (1)เกษตรกรใน 3 จังหวัด คือ พระนครศรีอยุธยา ชัยนาท และสระบุรี ซึ่งถูกส่วมาเป็นตัวแทนของเกษตรกรในภาคกลางมีความรู้เกี่ยวกับข้าวพันธุ์ส่งเสริมทุกรายโดยเฉพาะข้าพันธุ์ กข 7 เกษตรกรมีความรู้กันเป็นส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 90.18 ของเกษตรกรทั้งหมดและส่วนใหญ่ได้รับความรู้จากเจ้าหน้าที่ส่งเสริม (2)เกษตรกรใน 3 จังหวัด ที่ศึกษาซึ่งเป็นตัวแทนของเกษตรกรในภาคกลางมีการใช้ข้าวพันธุ์ส่งเสริมร้อยละ 91.96 พันธุ์ส่งเสริมที่เกษตรนิยมใช้มากที่สุดคือ พันธุ์ส่งเสริม กข 7 มีผู้นิยมถึงร้อยละ 58.93 และรองลงมาคือ พันธุ์ กข 23 ผู้นิยมปลูกร้อยละ 17.76 (3)เกษตรกรใน 3จังหวัด ที่ศึกษาซึ่งเป็นตัวแทนของเกษตรกรในภาคกลางมีความต้องการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวส่งเสริม ตามเนื้อที่การปลูกข้าวในฤดูการทำนาปรัง ถึงร้อยละ 97.56 และในฤดูทำนาปีถึงร้อยละ 88.15 ของพื้นที่ปลูกข้าวของเกษตรกรตัวอย่าง (4)เกษตรกรตัวอย่างส่วนใหญ่ได้พันธุ์ข้าวมาปลูกโดยการเก็บไว้ใช้เอง คือ คิดเป็นร้อยละ 53.41 ของเกษตรกรที่ใช้พันธุ์ข้าวส่งเสริม และรองลงมาเกษตรกรได้เมล็ดพันธุ์ข้าวมาปลูกโดยการซื้อ คิดเป็นร้อยละ 33.01 แหล่งพันธุ์ที่ซื้อส่วนใหญ่ซื้อมาจากเพื่อนบ้าน (5)เกษตรกรตัวอย่างส่วนใหญ่ที่ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ส่งเสริมไม่ประสบปัญหาในด้านการแสวงหาเมล็ดพันธุ์ ผู้ที่ประสบปัญหาในการแสวงหาเมล็ดพันธุ์คิดเป็นร้อยละ 36.89 ของเกษตรกรผู้ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ส่งเสริม และปัญหาที่ประสบมากที่สุดคือ ปัญหาราคาเมล็ดพันธุ์แพง มีร้อยละ 47.37 ของผู้ที่ประสบปัญหา รองลงมาคือ เกษตรกรไม่รู้จักแหล่งจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ คิดเป็นร้อยละ 42.11 ของผู้ที่ประสบปัญหา (6)เกษตรกรตัวอย่างผู้ที่ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ส่งเสริมส่วนใหญ่ไม่ประสบปัญหาหลังการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ส่งเสริม ผู้ที่ประสบปัญหาหลังการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ส่งเสริมมีเพียงร้อยละ 24.27 ของเกษตรกรผู้ที่ใช้ข้าวพันธุ์ส่งเสริม ปัญหาที่ประสบมากคือ ปัญหามีเมล็ดพันธุ์อื่นปนและปัญหาไม่ต้านทานโรค ซึ่งทั้งสองปัญหามีผู้ประสบเท่า ๆ กันคิดเป็นร้อยละ 7.7ของผู้ที่ประสบปัญหา ข้อเสนอแนะ 1)พันธุ์ข้าว กข.7 ยังเป็นที่นิยมสูงสุดของเกษตรกรในภาคกลาง คือมีผู้นิยมปลูกถึงร้อยละ 58.93 ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากเกษตรกรคุ้นเคยและชอบลักษณะพันธุ์ของข้าว กข.7 ดังนั้นควรที่จะส่งเสริมให้มีการผลิตเมล็ดพันธุ์ให้เพียงพอแก่ความต้องการของเกษตรกรประมาณครึ่งหนึ่งของการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวทุกพันธุ์รวมกัน 2)ส่วนเมล็ดพันธุ์ข้าว กข.23 ที่ทางราชการแนะนำให้ใช้ทดแทนข้อบกพร่องของข้าว กข.7 ซึ่งในระยะหลังเป็นโรคจู๋กันมากนั้น ปรากฏว่าเกษตรกรยังไม่คุ้นเคยและยังไม่ใช้กันอย่างแพร่หลายนัก ควรแนะนำและส่งเสริมให้เกษตรกรได้รู้จักและใช้ในเขตโรคจู๋ระบาด 3)เกษตรกรตัวอย่างนิยมเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวไว้ใช้เองมากกว่าการซื้อและการแลกเปลี่ยน สำหรับเกษตรกรที่ซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวส่วนใหญ่จะซื้อจากเพื่อนบ้าน ดังนั้นจึงควรส่งเสริมและแนะนำให้เกษตรกรสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้ปลูกต่อไปด้วยตนเองได้อย่างถูกวิธีและให้รู้จักการคัดเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพดีไว้ใช้ ตลอดจนแนะนำให้เกษตรกรเลือกซื้อเมล็ดพันธุ์ส่งเสริมที่มีคุณภาพดี เปลี่ยนพันธุ์ที่เก็บไว้ใข้ติดต่อกันเป็นเวลานานซึ่งเริ่มจะมีการกลายพันธุ์แล้ว 4)จากการศึกษาพบว่า สาเหตุที่เกษตรกรตัวอย่างเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวไว้ใช้เองเนื่องจากการที่เกษตรกรไม่รู้จักแหล่งพันธุ์หรือสถานที่จำหน่ายเมล็ดพันธุ์ดี ดังนั้นกรมส่งเสริมการเกษตรซึ่งมีหน้าที่ในการส่งเสริมเกษตรกร นอกจากจะส่งเสริมให้เกษตรกรได้รู้จักเมล็ดพันธุ์ดีแล้ว ควรจะมีการประชาสัมพันธ์ถึงแหล่งจำหน่ายเมล็ดพันธุ์เคลื่อนที่ในช่วงเวลาที่เกษตรกรต้องการ หรือจัดให้มีตัวแทนจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ส่งเสริมในหมู่บ้าน โดยอาศัยสถาบันเกษตรกรต่างๆ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2526
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2526
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: จังหวัดชัยนาท พระนครศรีอยุธยา และสระบุรี
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรภาคกลาง
กรมส่งเสริมการเกษตร
2526
สภาพการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรในตำบลดงพยุง กิ่งอำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์ การประเมินคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรในจังหวัดนครราชสีมา การสำรวจและประเมินคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรในจังหวัดสุราษฎร์ธานี การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรในจังหวัดร้อยเอ็ด สภาพการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนตำบลท่าลาด อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา การใช้เทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรในโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนอำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม สถานการณ์โดยทั่วไปของกลุ่มเกษตรกรในภาคกลาง ความพึงพอใจของเกษตรกรต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ผลิตโดยศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวราชบุรี การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรตามโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน จังหวัดชัยภูมิ การพัฒนารูปแบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยเกษตรกร

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก