สืบค้นงานวิจัย
ประสิทธิภาพของเห็ดรังนก (Cyathus sp.) ในการควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืชในดินโดยชีววิธี
วราภรณ์ สุทธิสา - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ประสิทธิภาพของเห็ดรังนก (Cyathus sp.) ในการควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืชในดินโดยชีววิธี
ชื่อเรื่อง (EN): Efficiency of bird’s nest fungi (Cyathus sp.) for biological control of soil-borne plant pathogenic fungi
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วราภรณ์ สุทธิสา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Waraporn Sutthisa
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: นิวัฒ เสนาะเมือง
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Niwat Sanoamuang
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ประสิทธิภาพของเห็ดรังนก (Cyathus sp.) ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อราสาเหตุโรคพืชในดินด้วยวิธีการ dual culture พบว่า เห็ดรังนกสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อรา Fusarium oxysporum f.sp. lycopersici (FOL) ได้เพียงชนิดเดียว ส่วนเชื้อรา Pythium aphanidermatum, Sclerotium rolfsii และ Rhizoctonia sp. ไม่สามารถยับยั้งได้ เชื้อเห็ดรังนกไอโซเลต ที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด คือ KKU1 และ KKU2 โดยมีการยับยั้งการเจริญของเส้นใยร้อยละ 63.64 และ 62.22 และมีการ คลุมทับเส้นใย ร้อยละ 22.46 และ 21.84 ตามลำดับ การใช้ culture filtrate ของเห็ดรังนกไม่สามารถยับยั้งการงอกของสปอร์ ของเชื้อรา FOL ได้ แต่มีผลทำให้เส้นใยมีลักษณะผิดปกติ การทดสอบประสิทธิภาพในการควบคุมโรคเหี่ยวเหลืองของมะเขือเทศ ที่เกิดจากเชื้อรา FOL ในระดับเรือนทดลองพบว่า หลังจากปลูกมะเขือเทศ 28 วัน กรรมวิธีที่มีการใช้เห็ดรังนกไอโซเลต KKU1 สามารถลดการเกิดโรคเหี่ยวได้ดีกว่าการใช้เห็ดรังนกไอโซเลต KKU2 และพบว่าเห็ดรังนกมีผลในการส่งเสริมการเจริญเติบโต ของมะเขือเทศ ทำให้น้ำหนักแห้งและความสูงของมะเขือเทศเพิ่มขึ้น
บทคัดย่อ (EN): The efficiency of bird’s nest fungi (Cyathus sp.) to inhibit the mycelial growth of soil-borne plant pathogenic fungi was carried out by dual culture technique. The results showed that Cyathus sp. inhibited the mycelial growth of Fusarium oxysporum f.sp. lycopersici (FOL), but not inhibit Pythium aphanidermatum, Sclrotium rolfsii and Rhizoctonia sp. The most inhibition obtained from isolate KKU1 and KKU2 which 63.64 and 62.22 %inhibition of mycelial growth with 22.46 and 21.84% overgrowth, respectively. The culture filtrate of Cyathus showed no effect to FOL conidial germination, but affected to mycelium growth. The efficacy of Cyathus sp. to control tomato wilt disease caused by F. oxysporum f.sp. lycopersici in greenhouse condition was done. At twenty-eight day after inoculation, KKU1 could reduce disease incident than KKU2. Cyathus sp. KKU1 and KKU2 were enhance growth in tomato that affected to increasing tomato dry weight and high.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=Vol 42 no.4 (9).pdf&id=1767&keeptrack=3
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ประสิทธิภาพของเห็ดรังนก (Cyathus sp.) ในการควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืชในดินโดยชีววิธี
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2557
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การรวบรวมข้อมูลโรคพืชและเชื้อราสาเหตุชนิดต่างๆด้วยระบบดิจิตอล ราที่มีศักยภาพในอุตสาหกรรมการย่อยสลายแป้งและวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรจากระบบนิเวศวิทยาป่าอุทยานสัตว์ป่าอุบลราชธานี การพัฒนาเพื่อใช้กากของสัตว์น้ำจำพวกมีเปลือกในการควบคุมเชื้อราก่อโรคพืชทางชีวภาพ การใช้ประโยชน์จากเชื้อราในการควบคุมโรคพืช การสำรวจ รวบรวมและประเมินประสิทธิภาพเชื้อราในดินในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างต่อการควบคุม ศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของเชื้อราสาเหตุโรครากขาว และการควบคุมโรคโดยชีววิธี ฤทธิ์ของสารสกัดสมุนไพรบางชนิดในการยับยั้งโรคพืชที่เกิดจากเชื้อ Xanthomonas campestris ประสิทธิภาพของเชื้อราสาเหตุโรคพืชในการใช้ควบคุมผักตบชวาโดยชีววิธี ศึกษาชีววิธีในการควบคุมปริมาณจุลินทรีย์วิบริโอด้วยจุลินทรีย์บาซิลลัสในห้องปฏิบัติการ การพัฒนาแนวทางในการควบคุมโรคลำต้นเน่าของปาล์มน้ำมันที่เกิดจากเชื้อสาเหตุ Ganoderma spp.

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก