สืบค้นงานวิจัย
ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มชนิดเข้มข้นเพื่อสุขภาพจากดอกไม้หลากสี
ศุกฤชชญา เหมะธุลิน - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มชนิดเข้มข้นเพื่อสุขภาพจากดอกไม้หลากสี
ชื่อเรื่อง (EN): Healthy drink of fancy edible flowers squash product
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ศุกฤชชญา เหมะธุลิน
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Sukrichaya Hemathulin
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ปัจจุบันผู้บริโภคให้ความสนใจอาหารเพื่อสุขภาพและหันมาบริโภคผักและผลไม้สดมากขึ้น ดอกไม้รับประทาน ได้จึงเป็นอีกทางเลือกเพื่อสุขภาวะที่ดีของผู้บริโภคนอกเหนือจากผักและผลไม้ งานวิจัยครั้งนี้จึงศึกษาดอกไม้ที่รับประทาน ได้ 3 กลุ่มสี คือ สีแดง (ดอกดาหลา ดอกเข็ม) สีเหลือง (ดอกกุหลาบเหลือง ดอกโสน) และสีน้ำเงิน (ดอกอัญชัน ดอกเฟื่อง ฟ้า) วิเคราะห์สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ ได้แก่ สารประกอบฟืนอลิก สารฟลาโวนอยด์ แทนนิน และความสามารถในการ ต้านอนุมูลอิสระ พบว่าดอกกุหลาบสีเหลือง เป็นดอกไม้ที่มีสารประกอบฟีนอลิกและสารฟลาโวนอยด์สูงสุด (2,090.36 mg GAE/100 g and 1,842.63 mg QE/100 g น้ำหนักสด) ตามลำดับ โดยดอกอัญชันสีน้ำเงินมีปริมาณแทนนินในระดับต่ำ สุดเพียง 469.57 mg CE/100 g น้ำหนักสด และพบฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน FRAP ในดอกกุหลาบเหลือง ดอกดาหลาแดง และดอกอัญชัน สูงถึง 1,875.39, 1,257.54 และ 977.93 IM FesO /L. ตามลำดับ ดังนั้นดอกไม้ที่เหมาะสมเป็นวัตถุดิบ ในการผลิตเครื่องดื่มชนิดเข้มข้นเพื่อสุขภาพจากดอกไม้หลากสี 3 ชนิด คือ ดอกกุหลาบสีเหลือง ดอกดาหลาสีแดง และ ดอกอัญชันสีน้ำเงิน โดยปรับปริมาณของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมดเป็น 42 องศาบริกซ์ และปริมาณความเป็นกรด ร้อยละ 1 ซึ่งผู้บริโภคให้การยอมรับ
บทคัดย่อ (EN): Consumers are play more attention on health benefit from food consumption, thus the consumers tend to eat a lot of fresh fruit and vegetables. Edible flower is another choice apart from fruit and vegetables that could be promote a good health condition. In this research, 3 groups of edible flower consisted of red color group; Torch ginger (Etlingera elatior Jack.) and West Indian Jasmine (Ixora chinensis Lamk.), yellow color group, Rose (Rosa spp.) and Sesbania (Sesbania javanica Miq.) and blue color group, ; Butterfly pea (Clitoria ternatea L.) and Paper flower (Bougainvillea spp.) were used. The bioactive components such as phenolic content, total flavonoid and tannin content were analyzed, and the antioxidant activity was also determined. The results found that the highest phenolic and flavonoid content were observed in yellow Rose (2,090.36 mg GAE/100 g and 1,842.63 mg QE/100 g flesh weight respectively). The lowest tannin level was found in Butterfly pea (469.57 mg CE/100 g fresh weight). In addition, antioxidant activity analyzed by FRAP assay showed highest in yellow Rose, red Torch ginger and blue Butterfly pea (1,875.39, 1,257.54 and 977.93 µM FeSO4 /L respectively). Thus, the optimum edible flower to produce of Healthy drink of fancy edible flowers squash product were Yellow Rose, red Torch ginger and blue Butterfly pea. Healthy drink of fancy edible flowers squash product were 42 °Brix total soluble solid and 1 % total titratable acidity with consumer acceptability.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=O048 Hor_10.pdf&id=1855&keeptrack=6
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มชนิดเข้มข้นเพื่อสุขภาพจากดอกไม้หลากสี
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2558
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
โครงการศึกษาวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพจากเห็ดสกัดเข้มข้น การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มสมุนไพรและสีผสมอาหารจากฝาง ผลของชนิด ความเข้มข้น และขั้นตอนการใช้น้ำสมุนไพรต่อสารต้านอนุมูลอิสระในข้าวกล้องงอก การพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเสริมสุขภาพจากงาม้อนซึ่งอุดมด้วยกรดไขมันโอเมก้า-3 และสารต้านอนุมูลอิสระ เพื่อใช้ทางคลินิกในภาวะความจำเสื่อมและภาวะภูมิแพ้ ผลิตภัณฑ์เยลลี่เม่าเครื่องดื่มฟังก์ชันเพื่อสุขภาพจากวุ้นเมล็ดแมงลักด้วยวิธีการสกัดแบบชีววิธี ต้นแบบผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มน้ำหมักจากเมล็ดข้าวก่ำ ต้นแบบผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มน้ำหมักจากเมล็ดข้าวก่ำ ผลของความร้อนต่อคุณภาพการสี คุณสมบัติทางเคมี กายภาพ และสารต้านอนุมูลอิสระของข้าวใหม่ที่ปลูกแบบนาขั้นบันได ในจังหวัดพิษณุโลก ผลของกระบวนการสกัดและการให้ความร้อนต่อปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระในการผลิตแอนโทซัยยานินชนิดผงจากข้าวเหนียวดำ ผลของชนิดปุ๋ยอินทรีย์ และระยะเวลาการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม ต่อปริมาณสาร ฟลาโวนอยด์ ปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระ และ ปริมาณแคลเซียม ในชะพลู

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก