สืบค้นงานวิจัย
สภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
จีรติ รวดเร็ว - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จีรติ รวดเร็ว
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่องสภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรอำเภอเมืองสุรินทร์ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมบางประการของเกษตรกร สภาพการผลิตข้าวอินทรีย์และปัญหาอุปสรรคของเกษตรกรอำเภอเมืองสุรินทร์ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา เป็นเกษตรกรอำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 167 ราย การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสัมภาษณ์ ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรร้อยละ 54.49 เป็นชาย อายุเฉลี่ย 42 ปี จบชั้นประถมศึกษา สมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย 4 คน ทำนาอินทรีย์เฉลี่ย 12 ไร่ ร้อยละ 75.45 อาศัยน้ำฝน วัตถุประสงค์การผลิตข้าวอินทรีย์คือได้ราคาสูงกว่าข้าวทั่วไป ลดต้นทุนการผลิต มีสุขภาพดีและรักษาสิ่งแวดล้อม ผู้แนะนำให้ทำเกษตรอินทรีย์คือเจ้าหน้าที่/กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน ผลผลิตข้าวอินทรีย์เฉลี่ย 480 กิโลกรัม แหล่งเงินทุนกู้จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ร้อยละ 82.03 มีการคัดเลือกพื้นที่ผลิตข้าวอินทรีย์ ร้อยละ 96.41 เลือกพื้นที่ไม่ติดถนนใหญ่/บ้าน/โรงงาน ลักษณะดินที่ปลูกร้อยละ 88.02 เป็นดินร่วนปนทราย ร้อยละ 71.26 ไม่มีการปลูกพืชอื่นก่อนปลูกข้าวอินทรีย์ การปรับปรุงดินก่อนปลูกข้าวอินทรีย์ ร้อยละ 89.22 ใช้วิธีไถกลบตอซัง การผลิตข้าวอินทรีย์ใช้วิธีปักดำ แหล่งเมล็ดพันธุ์ใช้เมล็ดพันธุ์ของตนเอง มีการคัดเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูก เกษตรกรทั้งหมดใช้ข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ร้อยละ 53.29 ปลูกข้าวช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฏาคม ชนิดปุ๋ยที่ใช้ร้อยละ 35.93 ใช้น้ำหมักชีวภาพ ร้อยละ 58.68 มีการกำจัดวัชพืช วิธีกำจัดวัชพืชเกษตรกรทั้งหมดใช้แรงงานคน โรคที่พบในแปลงนามีโรคไหม้และโรคใบสีส้ม แมลงศัตรูข้าวที่พบมีหนอนกระทู้กล้า เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและหนอนกระทู้คอรวง การป้องกันกำจัดใช้น้ำหมักชีวภาพ ร้อยละ 62.28 มีการทำแนวกันชนป้องกันสารปนเปื้อนจากแปลงข้างเคียง ร้อยละ 50.30 มีการสร้างความหลากหลายทางชีวภาพโดยการปลูกต้นไม้บนคันนา ร้อยละ 56.89 เก็บเกี่ยวข้าวอินทรีย์ ช่วงวันที่ 16-30 พฤศจิกายน ทั้งหมดใช้แรงงานคน ร้อยละ 79.04 เก็บเกี่ยวระยะพลับพลึง มีการตากแดดเฉลี่ย 4 วัน เกษตรกรทั้งหมดใช้เครื่องนวดข้าว ร้อยละ 89.82 นำข้าวอินทรีย์ใส่กระสอบแยกไว้ต่างหาก ต้นทุนการผลิตข้าวอินทรีย์เฉลี่ย 2,300 บาท กำไรต่อไร่เฉลี่ย 700 บาท ปัญหาอุปสรรคในการผลิตข้าวอินทรีย์ เกษตรกรร้อยละ 75.45 มีปัญหาในเรื่องน้ำท่วม/ฝนทิ้งช่วง ไม่มีเมล็ดพันธุ์ปุ๋ยพืชสด โรคและแมลงระบาด การแก้ไขปัญหา ร้อยละ 75.45 ไม่สามารถแก้ไขปัญหาเองได้ ข้อเสนอแนะ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานชลประทาน สำนักงานพัฒนาที่ดิน ควรให้การสนับสนุนระบบชลประทาน สระน้ำขนาดเล็ก และเมล็ดพันธุ์ปุ๋ยพืชสด สำนักวิจัยต่างๆ กรมวิชาการเกษตร ควรหาแนวทางพัฒนาน้ำหมักชีวภาพสูตรป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูข้าว
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2546
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
กรมส่งเสริมการเกษตร
2547
สภาพการใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวของเกษตรกร ตำบลเพี้ยราม อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร ตำบลตาอ็อง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร ตำบลสำโรง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ การผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรในอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี การผลิตข้าวอินทรีย์ ของจังหวัดสุรินทร์ สภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรกิ่งอำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี สภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ของสมาชิกศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนตำบลบัวโคก อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ สภาพการผลิตข้าวตำบลเมืองที อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร ในตำบลตรวจระมวล อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ สภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรในจังหวัดหนองคาย

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก