สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดกระเทียมเสริมอาหารในการเลี้ยงปลานิลเพื่อการผลิตอาหารปลอดภัย
จิราพร โรจน์ทินกร - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดกระเทียมเสริมอาหารในการเลี้ยงปลานิลเพื่อการผลิตอาหารปลอดภัย
ชื่อเรื่อง (EN): Study of Efficacy of Garlic Extract Adding Feed in Nile Tilapia Culture for Production of Food Safety
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จิราพร โรจน์ทินกร
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Jiraporn Rojtinnakorn
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: สุดาพร ตงศิริ
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยใช้สารสกัดสมุนไพรเสริมอาหารเพื่อเพิ่มผลผลิตของปลานิลที่เลี้ยงด้วยอาหารอินทรีย์ โดยใช้สารสกัดกระเทียม และสูตรสารสกัดกระเทียมผสมสมุนไพรอื่น 0.5%(w/w) เป็นเวลา 16 สัปดาห์ ทำการเก็บตัวอย่างทุก 4 สัปดาห์ จาก 3 กลุ่มทดลอง ได้แก่ กลุ่มควบคุมให้อาหารอินทรีย์ปกติ (C) กลุ่มปลาที่ได้รับสารสกัดกระเทียม (T1) และกลุ่มปลาที่ได้รับสูตรสารสกัดกระเทียมผสมสมุนไพรอื่น (T2) โดยแบ่งปลาเป็น 2 ขนาด ได้แก่ ขนาดใหญ่ (Large) และขนาดเล็ก (Small) ค่าการเจริญเติบโตเมื่อสิ้นสุดการทดลอง (16 สัปดาห์) พบว่า ค่าน้ำหนักตัวเฉลี่ย (weight, g) ปลากลุ่ม T2-Large มีขนาดใหญ่กว่าปลากลุ่มอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยค่าสัดส่วนน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น (weight gain, %) ของกลุ่มปลา T1-Small และ T2-Small มีสัดส่วนน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นมากกว่าปลากลุ่ม C-Small อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ค่าอัตราการเจริญเติบโตจำเพาะ (specific growth rate : SGR) กลุ่มปลาที่ได้รับสารสกัดสมุนไพร (T1-Large, T1-Small, T2-Large และ T2-Small) มีค่า SGR สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) น้ำหนักเพิ่มขึ้นเฉลี่ยต่อวัน (average daily gain : ADG) ของปลาแต่ละกลุ่มพบว่า ปลากลุ่ม T2-Large มีค่าสูงกว่าปลากลุ่มอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ประสิทธิภาพของระบบเลือด พบว่า ค่าเฉลี่ยเม็ดเลือดอัดแน่น (haematocrit) ที่สัปดาห์ 16 สิ้นสุดการทดลอง พบว่า ปลาขนาดใหญ่ทุกกลุ่ม (C-Large T1-Large และ T2-Large) มีค่าเม็ดเลือดอัดแน่นสูงกว่าปลาขนาดเล็กทุกกลุ่ม (C-Small T1-Small และ T2-Small) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.05) ค่าเฉลี่ยกิจกรรมเอนไซม์ไลโซซาม (lysozyme activity) ของเลือดปลา เมื่อสินสุดการทดลอง 16 สัปดาห์ พบว่า ปลากลุ่ม T2-Large มีค่าสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนค่าเฉลี่ยเอนไซม์ SOD ในเลือดของปลาแต่ละกลุ่ม เมื่อสิ้นสุดการทดลอง 16 สัปดาห์ พบว่า กลุ่มปลาขนาดใหญ่ที่ได้รับสารสกัดสมุนไพร T1-Large และ T2-Large มีค่า SOD ในเลือด สูงกว่าปลากลุ่มอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) สำหรับประสิทธิภาพของระบบย่อยอาหาร ได้ทำการตรวจวัดค่ากิจกรรมเอนไซม์ย่อยอาหารจากระบบย่อยอาหาร (amylase, lipase, trypsin และ chymotrypsin) และจุลกายวิภาคของลำไส้พบว่าค่าเฉลี่ยกิจกรรมเอนไซม์อะไมเลส ในแต่ละช่วงสัปดาห์ มีความแตกต่างกัน โดยในสัปดาห์เริ่มต้น กลุ่มปลาขนาดใหญ่ (C-Large, T1-Large และ T2-Large) มีค่าสูงกว่ากลุ่มปลาขนาดเล็ก (CSmall, T1-Small และ T2-Small) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) นอกจากนี้กลุ่มปลาที่ได้รับสารสกัดสมุนไพร (T1-Large T1-Small T2-Large และ T2-Small) มีค่าต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ค่าเฉลี่ยกิจกรรมเอนไซม์ไลเปส ในสัปดาห์เริ่มต้น ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) เมื่อทดลองให้สารสกัดสมุนไพรเสริมอาหาร พบว่า กลุ่มปลาที่ได้รับสารสกัดกระเทียมผสมสมุนไพรอื่น (T2-Large และ T-Small) มีค่ากิจกรรมเอนไซม์ไลเปส สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และเมื่อสิ้นสุดการทดลอง กลุ่ม T2-Large มีค่าสูงสุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ค่าเฉลี่ยกิจกรรมเอนไซม์ทริปซิน ในสัปดาห์เริ่มต้น กลุ่มปลาขนาดใหญ่ (C-Large, T1-Large และ T2-Large) มีค่าสูงกว่ากลุ่มปลาขนาดเล็ก (C-Small, T1-Small และ T2-Small) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อปลาได้รับสารสกัดสมุนไพร พบว่า กลุ่มปลาขนาดเล็กที่ได้รับสารสกัดสมุนไพร (T1-Small และ T2-Small) มีค่ากิจกรรมเอนไซมทริปซิน สูงกว่ากลุ่มอื่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อสิ้นสุดการทดลอง สัปดาห์ที่ 16 พบว่า ปลาขนาดใหญ่ของกลุ่มควบคุม (C-Large) มีค่ากิจกรรมเอนไซม์ทริปซินต่ำสุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ค่าเฉลี่ยกิจกรรมเอนไซม์ไคโมทริปซิน ในแต่ละช่วงสัปดาห์ มีความแตกต่างกัน โดยในสัปดาห์เริ่มต้น ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) เมื่อปลาได้รับสารสกัดสมุนไพร พบว่า กลุ่มควบคุมและกลุ่มปลาขนาดเล็กที่ได้รับสารสกัดกระเทียม (C-Large C-Small และ T1-Large) มีค่ากิจกรรมเอนไซม์ไคโมทริปซิน สูงกว่ากลุ่มอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อสิ้นสุดการทดลอง สัปดาห์ท ี 16 พบว่า ปลาขนาดใหญ่ของกลุ่มควบคุม (C-Large) มีค่ากิจกรรมเอนไซม์ไคโมทริปซินสูงสุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)ค่าเฉลี่ยสัดส่วนกิจกรรมเอนไซม์ทริปซิน/กิจกรรมเอนไซม์ไคโมทริปซิน (T/C ratio) พบว่ากลุ่มปลาที่มีค่าต่ำจะเป็นกลุ่มปลาขนาดเล็ก (C-Small, T1-Small และ T2-Small) เมื่อสิ้นสุดการทดลอง สัปดาห์ที่ 16 กลุ่มปลา T2-Small มีค่า T/C ratio สูงสุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยในทุกช่วงสัปดาห์ กลุ่มปลาที่ได้รับสารสกัดสมุนไพร (T1-Large T1-Small T2-Large และ T2-Small) จะมีค่าสูงกว่ากลุ่มควบคุม (C-Large และ C-Small) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนจุลกายวิภาคของลำไส้ปลานิล พบว่า กลุ่มปลานิลทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กที่ได้รับอาหารผสมสารสกัดกระเทียมและสารสกัดอื่นๆ (T2-Large และ T2-Small) มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางจุลกายวิภาคของลำไส้ ให้ความสมบูรณ์ของโครงสร้างเนื้อเยื่อสมบูรณ์มากกว่าปลานิลกลุ่มทดลองอื่นๆ การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางจุลกายวิภาคในบริเวณลำไส้ ในกลุ่มปลา T2-Large มีความยาววิลไลสูงสุด ในสัปดาห์ที่ 12 เท่ากับ 236.03?64.47 มิลลิเมตร โดยไม่แตกต่างกับปลาขนาดใหญ่กลุ่มอื่น (p>0.05) ขณะที่ในกลุ่มปลา C-Small มีความยาววิลไลสูงสุดในสัปดาห์ที่ 12 เท่ากับ 203.47?15.99 มิลลิเมตร โดยแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) กับปลาขนาดเล็กกลุ่มอื่นเมื่อเก็บผลผลิต พบว่า กลุ่มควบคุม (C) ได้น้ำหนักปลารวมทั้งหมด เท่ากับ 51.6 kg กลุ่ม ปลาที่ได้รับสารสกัดกระเทียม (T1) ได้น้ำหนักปลารวมทั้งหมด เท่ากับ 52.1 kg กลุ่มปลาที่ได้รับสูตรสารสกัดกระเทียมผสมสมุนไพรอื่น (T2) ได้น้ำหนักปลารวมทั้งหมด เท่ากับ 62.3 kg ดังนั้นจากการทดลองนี้ กลุ่ม T2 ได้น้ำหนักปลารวมเพิ่มขึ้นจากกลุ่มควบคุม เท่ากับ 20.7 % สรุปได้ว่า สูตรสารสกัดกระเทียมผสมสมุนไพรอื่นสามารถช่วยเพิ่มผลผลิตปลานิลที่เลี้ยงด้วยอาหารอินทรีย์ได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และสารสกัดสมุนไพรสามารถเร่งการเจริญเติบโตในปลาขนาดเล็กในระหว่างเลี้ยงได้
บทคัดย่อ (EN): The study of using herb extracts supplemented feed to increase yield of Nile tilapia with 0.5% (w/w) of garlic and garlic-mix extract for 16 weeks. There were 3 experimental groups; control that fed with normal organic feed (C), group that fed with garlic extract added organic feed (T1), and group that fed with garlic-mix extract added organic feed (T2). Sampling fishes were separated to be 2 sizes; Large and Small. For growth parameters at the end of the experiment (16 weeks), it was found that the mean of body weight (weight, g) of the T2-Large group was larger than the others statistically (p <0.05). The weight gain (%) was significantly high in T1-Small and T2-Small (p <0.05). For specific growth rate (SGR), groups that fed with herb extracts (T1-Large, T1-Small, T2-Large and T2-Small) were significantly higher than the control group (p <0.05). For average daily gain (ADG), T2-Large group was significantly higher than the others (p <0.05) For efficiency of blood system, it was found that the means of haematocrit at 16 weeks of large fish groups (C-Large T1-Large and T2-Large) were significantly higher than all groups of small fish (C-Small T1-Small and T2-Small) (p <0.05). For lysozyme activity at 16 week, it was found that value of T2-Large had higher than other groups. For SOD enzymes at 16 weeks, these values of herb extracts fed fishes (T1-Large and T2-Large) were significantly higher than the other fish groups (p <0.05). For efficiency of digestive system, digestive enzyme activities (amylase, lipase, trypsin and chymotrypsin) and intestinal histology was measured. For amylase activity, it was found that these values of large fish groups (C-Large, T1-Large and T2-Large) in each week were significantly higher than those of the small fish groups (C-Small, T1-Small and T2-Small) (p <0.05). Moreover in herb extract fed group (T1-Large, T1-Small, T2-Large and T2-Small) was significantly lower than control group (p <0.05). For lipase activity in the initial week, there was no significant difference (p> 0.05). During supplemented herbal extracts, it was found that the garlic-mix fed group (T2-Large and T-Small) had high values. At the end of experiment, these values of T2-Large was significantly highest (p <0.05).For trypsin activity, at the initial week, the values of large fish groups (C-Large, T1-Large and T2-Large) were significantly higher than those of the small fish groups (C-Small, T1-Small and T2-Small) (p <0.05). When fishes were fed with herb extracts, it was found that groups of T1-Small and T2-Small had higher values than the other groups (p <0.05). At the end of experiment, C-Large had significantly the lowest value (p <0.05). For Chymotrypsin activity, it was noticed that these values of each week were different. At initial week, there was no significant difference (p> 0.05). During supplemented herbal extracts, it was found that C-Large, C-Small and T1-Large had high values than other groups (p <0.05). At the end of experiment, C-Large had significantly highest (p <0.05). For trypsin activity / chymotrypsin activity (T / C ratio), it was found that the low values were small fish group (C-Small, T1 -Small and T2-Small). At the end of experiment, T2-Small had significantly the highest value (p <0.05). In each period, the herb extract fed group (T1-Large, T1-Small, T2-Large, and T2-Small) was significantly higher than the control group (C-Large and CSmall) (p <0.05). For histology of intestine, it was found that these of both large and small groups fed with herb extracts (T2-Large and T2-Small) showed obviously change with complete tissue structure than the other groups. For histological changes in intestinal region, T2-Large group showed the maximum villi length at week-12 of 236.03 ? 64.47 mm, but no significant different from other large groups (p>0.05). In C-Small group, it showed significantly from the other small fish group with the highest villi length at week-12 of 203.47 ? 15.99 mm (p <0.05). For final harvest, the control group (C) had the final harvest of 51.6 kg. The garlic extract group (T1) had the final harvest of 52.1 kg. Whereas the garlic-mix extract group (T2) had the final harvest of 62.3 kg. It showed that T2 increase the total harvest of 20.7% from the control group. In conclusion, formula of garlic with other herb extract showed significantly increasing the yield of Nile tilapia that fed with organic food (P <0.05). This extract was able to accelerate growth in small fish during culture.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-62-01-011.3
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 677,000
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2562
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2562
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2562
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดกระเทียมเสริมอาหารในการเลี้ยงปลานิลเพื่อการผลิตอาหารปลอดภัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2562
ผลของอาหารผสมสารสกัดกระเทียมต่อการเหนี่ยวนำให้เป็นเพศผู้ การ เจริญเติบโต และต้นทุนการผลิตของปลานิล เพื่อเป็นอาหารปลอดภัย ผลของสารสกัดใบมังคุดต่อการผลิตปลานิลเพศผู้ ศักยภาพของพืชสมุนไพรไทยและจุลินทรีย์โปรไบโอติกต่อการเจริญเติบโตและภูมิคุ้มกันของปลานิลในระบบการผลิตปลานิลอินทรีย์ ผลของสารสกัดกระเทียมต่อการยับยั้งเชื้อ Vibrio parahaemolyticusและ Vibrio harveyi ผลการเสริมฝุ่นผงน้ำส้มในอาหารต่อการเจริญเติบโตของปลานิล และปลาดุกลูกผสม ผลของจุลินทรีย์โปรไบโอติกส์เฉพาะถิ่นต่อการเจริญเติบโต ระบบการย่อยอาหาร และการยับยั้งโรคติดเชื้อในปลานิล (Nile tilapia: Oreochromis niloticus) การศึกษาแนวทางเพื่อพัฒนาปลานิลให้เป็นอาหารที่ปลอดภัยสำหรับการบริโภค การใช้ใบมะละกอป่นในอาหารเลี้ยงปลานิลแดง (Oreochromis niloticus × O. mossambicus) ผลของการเสริม Schizochytrium sp. ในอาหารต่อลักษณะทางสัณฐานบางประการและการเจริญเติบโตของปลานิล การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีวภาพซินไบโอติกส์ที่มีผลต่อการเจริญเติบโต การยับยั้งโรคติดเชื้อ กิจกรรมของเอนไซม์ย่อยอาหาร และการตอบสนอง ต่อระบบภูมิคุ้มกัน ในปลานิลวัยอ่อน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก