สืบค้นงานวิจัย
ชีววิทยาบางประการของหมึกหอม (Sepioteuthis lessoniana Lesson) ทางฝั่งทะเลอันดามัน
อัญชลีย์ ยะโกะ, ธรรมรงค์ อินทรสุวรรณ์, ประพัตร์ แก้วมณี, ธรรมรัตน์ เลิศเกียรติรัชตะ, เกศแก้ว เทศอาเส็น - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: ชีววิทยาบางประการของหมึกหอม (Sepioteuthis lessoniana Lesson) ทางฝั่งทะเลอันดามัน
ชื่อเรื่อง (EN): Some biological aspects of Bigfin reef squid (Sepioteuthis lessoniana Lesson) in the Andaman Sea.
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของหมึกหอม (Sepioteuthis lessoniana Lesson, 1830) ทางฝั่งทะเล อันดามัน ได้ดำเนินการตั้งแต่เดือนมกราคมถึงธันวาคม พ.ศ. 2553 โดยเก็บรวบรวมตัวอย่างจากเครื่องมือ ลอบหมึกและอวนลากที่นำสัตว์น้ำมาขึ้นท่าเทียบเรือประมงที่จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล ซึ่งมีแหล่งทำการประมงในทะเลอันดามัน ตั้งแต่บริเวณเกาะพยาม จังหวัดระนอง จนถึงเกาะเกียง จังหวัดสตูล พบว่าความสัมพันธ์ระหว่างความยาวลำตัวกับน้ำหนักตัวของหมึกหอมจำนวน 5,200 ตัว ซึ่งมีความยาวลำตัว 4.70-35.50 เซนติเมตร น้ำหนักตัว 15.00-1,820.00 กรัม อยู่ในรูปสมการ W=0.3395ML2.4020 เพศผู้จำนวน 2,557 ตัว ความยาวลำตัว 4.70-35.50 เซนติเมตร น้ำหนักตัว 15.00-1,820.00 กรัม อยู่ในรูปสมการ W=0.3632ML2.3676 เพศเมียจำนวน 2,643 ตัว ความยาวลำตัว 5.00-30.50 เซนติเมตร น้ำหนักตัว 15.00-1,410.00 กรัม อยู่ในรูปสมการ W=0.3145ML2.4395 และมีอัตราส่วนเพศผู้ต่อเพศเมีย เท่ากับ 1:0.97 ซึ่งไม่มีความแตกต่างทางสถิติ ขนาดแรกเริ่มสืบพันธุ์ (L50) ของหมึกหอมเพศผู้และเพศเมีย เท่ากับ 11.86 และ 13.67 เซนติเมตร ตามลำดับ มีการวางไข่ได้เกือบตลอดปีโดยวางไข่มากในช่วงเดือนมิถุนายน-ธันวาคม ซึ่งวางไข่สูงสุดในเดือนตุลาคม ความดกไข่เท่ากับ 189-1,382 ฟอง ไข่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3.04x4.30 มิลลิเมตร ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวลำตัวกับความดกไข่อยู่ในรูปสมการ F=2.0342ML1.9341
บทคัดย่อ (EN): Reproductive biology of bigfin reef squid (Sepioteuthis lessoniana) in the Andaman Sea coast of Thailand was studied during January-December 2010. Squid samples were collected from purse seine and squid trap landed at the fishing ports in Ranong, Phang Nga, Phuket, Krabi, Trang and Satun Provinces. The fishing grounds were in the area of Ko Phayam of Ranong Province to Koh Takiang of Satun Province. The results of S. lessoniana showed the mantle length (ML) and body weight (W) relationship from the which have length ranged 4.70-35.50 cm and weight ranged 15.00-1,820.00 g was W=0.3395ML2.4020, the male which have length ranged 4.70-35.50 cm and weight ranged 15.00-1,820.00 g was W=0.3632ML2.3676 and the female which have length ranged 5.00-30.50 cm and weight ranged 15.00-1,410.00 g was W=0.3145ML2.4395. Sex ratio of male and female was 1:0.97. The average sizes at first maturity of male and female were 11.86 and 13.67 cm, respectively. As well as spawning season was found all year with its peak during June to December and its highest peak on October. The fecundity was 189-1,382 (573.30?240.24) eggs. The average size of eggs was 3.04x4.03 mm. The relationship between mantle length (ML) and fecundity (F) was F=2.0342ML1.9341.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ชีววิทยาบางประการของหมึกหอม (Sepioteuthis lessoniana Lesson) ทางฝั่งทะเลอันดามัน
กรมประมง
30 กันยายน 2554
กรมประมง
ทรัพยากรกั้งตั๊กแตนทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย ความหลากหลายและชีววิทยาบางประการของกุ้งตะกาด Metapenaeus spp. ในฝั่งอันดามัน จังหวัดตรัง ชีววิทยากุ้งกุลาลาย (Penaeus semisulcatus De Haan, 1844) ทางฝั่งทะเลอันดามัน สมุทรศาสตร์การประมงบริเวณแหล่งประมงปลาทูน่าในทะเลอันดามัน ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของกั้งตั๊กแตนชนิด Harpiosquilla raphidea (Fabricus, 1798) ทางฝั่งทะเล อันดามันของประเทศไทย สภาวะทรัพยากรสัตว์น้ำในเขตชายฝั่ง 10 ไมล์ทะเลบริเวณ ฝั่งทะเลอันดามัน ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของปลาสีกุนตาโต (Selar crumenophthalmus (Bloch, 1793)) ทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของปลาโอดำ (Thunnus tonggol (Bleeker, 1851)) ที่พบทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย พ.ศ. 2555 สภาวะแวดล้อมบางประการในแหล่งประมงบริเวณไหล่ทวีปทะเลอันดามัน สภาวะทรัพยากรและการประมงปลาโอทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก