สืบค้นงานวิจัย
การวิจัยเพื่อพัฒนาศักยภาพการผลิตและปรับปรุงพันธุ์ปทุมมาและกระเจียวประดับเพื่อเพิ่มมูลค่าการตลาด สิทธิบัตร และสนับสนุนขีดความสามารถการแข่งขันด้านการส่งออกอย่างยั่งยืน
เกรียงศักดิ์ บุญเที่ยง - มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ชื่อเรื่อง: การวิจัยเพื่อพัฒนาศักยภาพการผลิตและปรับปรุงพันธุ์ปทุมมาและกระเจียวประดับเพื่อเพิ่มมูลค่าการตลาด สิทธิบัตร และสนับสนุนขีดความสามารถการแข่งขันด้านการส่งออกอย่างยั่งยืน
ชื่อเรื่อง (EN): Research Program for Improvement on Productivity and Breeding of Pathumma and Krajeaw (Ornamental Curcuma spp.) for Supporting the Efficiency Enhancing Sustainability in Market Value, Patent and Exportation
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เกรียงศักดิ์ บุญเที่ยง
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การจำแนกชนิดและสร้างรูปวิธานพืชสกุลกระเจียวตามลักษณะสัณฐานวิทยา โดยพิจารณาลักษณะการปรากฏและไม่ปรากฏก้านเกสรเพศเมียที่เป็นหมัน และลักษณะกลีบดอกจำแนกได้ออกเป็น 2 ชนิด คือ C. gracillima Gagnep. และ C. parviflora Wall. นั้นยังก่อความสับสนในการระบุชนิด ทั้งนี้ผลการวิเคราะห์เพื่อจำแนกชนิดกระเจียวขาวด้วยเทคนิค Molecular Markers กำลังอยู่ในขั้นตอนการจัด Manuscript เพื่อตีพิมพ์ผลการจำแนกในวารสารระดับนานาชาติ ผลการศึกษาอิทธิพลของพาโคลบิวทราโซล ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตพัฒนาการ และอายุการปักแจกันของกระเจียวพลอยชมพู พบว่า สารพาโคลบิวทราโซลมีผลต่อการชะลอความสูงของต้นและความยาวก้านดอกของกระเจียวพลอยชมพู แต่ไม่มีผลต่อจำนวนใบ ขนาดลำต้น ขนาดทรงพุ่ม ความยาวก้านใบ และปริมาณคลอโรฟิลล์ ทั้งนี้เมื่อพืชได้รับสารที่ความเข้มข้นสูงเกินไปจะส่งผลให้ต้นปรากฏอาการเหลืองซีด ชะงักการเจริญเติบโต และเหง้าไม่มีการสะสมอาหาร และผลการทดลองใช้ไคโตซานในสูตรอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อปทุมมาในสภาพปรอดเชื้อ มีผลทำให้โปรโตคอร์มมีการเจริญเติบโตและพัฒนาเป็นยอดและราก ด้านผลการทดลองนำดอกกระเจียวเก็บเกี่ยวที่ระยะจำหน่าย นำมาผ่านการรมสาร 1-MCP พบว่าการให้สารที่ 900 ppb เป็นเวลา 4 ชั่วโมงหรือที่ 600 ppb นาน 8 ชั่วโมงมีประสิทธิภาพในการลดกิจกรรมการทำงานของเอนไซม์ Polyphenol Oxidase (PPO) ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดปฏิกิริยาสีน้ำตาลได้ดี ทั้งนี้การให้สาร 1-MCP ไม่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักช่อดอก ระดับการเกิดสีน้ำตาลที่กลีบใบประดับ และอายุปักแจกัน ขณะที่ดอกกระเจียวที่ผ่านการรม 1-MCP ที่ 300 ppb เป็นเวลา 8 ชั่วโมงช่วยรักษาปริมาณแอนโทไซยานินซึ่งเป็นรงควัตถุในดอกกระเจียวได้ ภาพรวมของชุดโครงการวิจัยนี้ ได้ค้นพบองค์ความรู้ใหม่ในการส่งเสริมความแข็งแรงของเกสรเพศผู้และส่งเสริมการเข้ากันได้ของเกสรเพื่อส่งเสริมอัตราการผสมติดกรณีการผสมพันธุ์ปทุมมา (C. alismatifolia Gagnep.) และกระเจียวขาวกับ (C. gracillia Gagnep.) ได้เป็นเมล็ดพันธุ์ลูกผสม F1 ข้ามชนิดเป็นจำนวนมาก รวมทั้งส่วนหนึ่งของผลงานวิจัยภายใต้ชุดโครงการนี้ได้รับการตอบรับเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการระดับนานาชาติได้ไม่น้อยกว่า 2 เรื่อง
บทคัดย่อ (EN): The identity of Curcuma spp. base on taxonomy and morphological appearances of in sterile female flower and characteristic of labellum are divided particular white curcumas to C. gracillima Gagenap. and C. parviflora Wall. However, this identification is ambiguous. The result of molecular markers analysis to be clarified is demonstrated on manuscript preparing for international publication. In the one hand, paclobutrazol has particular influenced the reductions of the plant height, longevity of the inflorescence; whereas it was not significant to the leave stem shrub and chlorophyll content in C. petiolata. Therefore, overdrove of paclobutrazol would effective the plant. In term of plant propagation by tissue culture base on adding chitosan could promote the development of shot and root of the explants significantly. In addition to the use of 1-MCP fumigation for extend the vase life of curcuma cut flowers indicated that concentration of 900 ppb 1-MCP treated for four hours and 600 ppb 1-MCP treated for 8 hours were the most effective treatments for reduce the PPO; Polyphenol Oxidase’s activity causing browning appears on the inflorescences of curcuma cut flowers. Thereby, lower concentration at 300 ppb 1-MCP treated for 8 hours was significantly protected the pigment than other application. Overall, this projects are accessible the new knowledge for solving the lack of pollen incompatibility base on interspacific hybridization by C. alismatifolia Gagnap. and C. gracillima Gagenap. The hybridization obtained in this project will be encouraged as new variety for commercial. Moreover, two proper data of this study are accepted for publication in the international journals and one is noted in manuscript to be published in near future.
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การวิจัยเพื่อพัฒนาศักยภาพการผลิตและปรับปรุงพันธุ์ปทุมมาและกระเจียวประดับเพื่อเพิ่มมูลค่าการตลาด สิทธิบัตร และสนับสนุนขีดความสามารถการแข่งขันด้านการส่งออกอย่างยั่งยืน
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
30 กันยายน 2553
เอกสารแนบ 1
การพัฒนาระบบการสร้างปทุมมาสายพันธุ์ใหม่ การวิจัยและพัฒนากั้งตั๊กแตนเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ศักยภาพการผลิตปลาสวยงามเพื่อการส่งออกในจังหวัดราชบุรี การส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตข้าว เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน การประเมินศักยภาพของลูกผสมข้ามชนิด (F1) ระหว่างปทุมมาและกระเจียวประดับเพื่อขึ้นทะเบียนพันธุ์พืชใหม่ การผลิต Inulin และ Oligofructose จากกล้วยเพื่อใช้เป็นสารเสริมอาหาร การวิจัยและพัฒนาระบบการเลี้ยงและการตลาดโคเนื้อในจังหวัด นครศรีธรรมราช การวิจัยและพัฒนาการผลิตเห็ดกระดุมเขตร้อน การปรับปรุงพันธุ์ปลาไนโดยวิธีการคัดเลือกแบบหมู่ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดหวานและข้าวโพดฝักอ่อนสำหรับตลาดฝักสดและอุตสาหกรรมแปรรูป

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก