สืบค้นงานวิจัย
การจำลองอิทธิพลของวันปลูกและการจัดการไนโตรเจนต่อข้าวไร่ พันธุ์เงาะสะตะโดยแบบจำลองการเจริญเติบโตของข้าวเหนียวก่ำ
ศักดิ์ดา จงแก้ววัฒนา - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: การจำลองอิทธิพลของวันปลูกและการจัดการไนโตรเจนต่อข้าวไร่ พันธุ์เงาะสะตะโดยแบบจำลองการเจริญเติบโตของข้าวเหนียวก่ำ
ชื่อเรื่อง (EN): Simulation of the Effect of Planting Date and Nitrogen Management on Upland Rice cv. Ngo-Sata Using Purple Glutinous Rice Model
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ศักดิ์ดา จงแก้ววัฒนา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Sakda Jongkaewwattana
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: สายบัว เข็มเพ็ชร
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Saibua Khempet
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
หมวดหมู่:
บทคัดย่อ: ในเขตภาคเหนือตอนบนซึ่งลักษณะพื้นที่เป็นที่สูง ชุมชนส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นชนเผ่า อาศัยการเลี้ยงชีพโดยการปลูกพืช และเลี้ยงสัตว์ ทั้งนี้โดยมีข้าวเป็นพืชอาหารหลัก ในช่วงที่ผ่านมาประเทศไทยได้ถูกผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ โดยเฉพาะความแปรปรวนของปริมาณน้ำฝน และอุณหภูมิอากาศ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อพืช โดยเฉพาะ พัฒนาการที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิต ทั้งนี้ในปัจจุบันได้มีการศึกษาในส่วนของการศึกษาการตอบสนอง ของพืชต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมีการใช้แบบจำลองการเจริญเติบโตของพืชที่สามารถเชื่อมโยงความซับ ซ้อนและวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงปริมาณขององค์ประกอบต่างๆ ในระบบของพืชได้ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ใช้แบบจำลองการเจริญเติบโตของข้าว (PGR Model) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศรวมถึงการจัดการไนโตรเจนที่มีต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของข้าว จากผลการทดสอบความถูกต้องและแม่นยำของแบบจำลอง (model validation) พบว่าแบบจำลองสามารถจำลอง พลวัตการสะสมน้ำหนักมวลชีวภาพ (ทั้งใบและต้น) ของข้าวพันธุ์เงาะสะตะ ที่ปลูกในวันที่ 8 พ.ค., 31 พ.ค., 4 ก.ค.และ 7 ส.ค. พบแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักมวลชีวภาพที่สอดคล้องกับค่าที่ได้จากการสังเกต อย่างไรก็ตามผลการจำลองน้ำหนักมวลชีวภาพที่ได้มีค่ามากกว่าข้อมูลที่ได้จากการสังเกต ในส่วนของการจำลองผลผลิตนั้น พบว่าผลผลิตมีแนวโน้มลด ลงเมื่อปลูกล่าออกไปจากวันที่ 8 พ.ค. สอดคล้องกับผลที่ได้จากการสังเกต ทั้งนี้การจำลองการสะสมน้ำหนักแห้งข้าวแสดง ให้เห็นถึงแนวโน้มของการตอบสนองของข้าวในสภาพภูมิอากาศที่ต่างกันได้ อย่างไรก็ตามผลการจำลองการเจริญเติบโต จะได้ค่าการจำลองที่สูงกว่าค่าสังเกต ทั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการจำลองการเจริญเติบโตเป็นการจำลองค่าศักยภาพของข้าว ในทำนองเดียวกันการจำลองค่าผลผลิตจากแบบจำลองแสดงถึงศักยภาพการให้ผลผลิตของข้าว เมื่อทำการจำลองการจัดการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนนั้นพบว่า การใส่ปุ๋ยในอัตราที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ทั้งน้ำหนักมวลชีวภาพ และผลผลิตเพิ่มขึ้น แต่การปลูกข้าวล่าออกไปจากวันที่ 8 พ.ค. การใส่ปุ๋ยในอัตราที่เพิ่มขึ้นไม่ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของ น้ำหนักมวลชีวภาพและผลผลิตอย่างมีนัยสำคัญ จากผลการจำลองชี้ให้เห็นว่าการปลูกข้าวพันธุ์ไวแสง ที่ปลูกล่าจากต้น ฤดูนาปี การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนไม่สามารถที่จะเพิ่มผลผลิตได้อย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นหากสภาพภูมิอากาศแปรปรวน ที่อาจ ส่งผลต่อการปลูกข้าวที่ล่าช้าออกไป ในการจัดการควรคำนึงถึงพันธุ์ข้าวที่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งพันธุ์ข้าวที่ไม่ไวแสง และสามารถปรับตัวได้ในสภาพหนาวเย็นช่วงการเจริญเติบโตระยะสืบพันธุ์
บทคัดย่อ (EN): The upper northern region part of Thailand consists of hill tribe communities locate their villages in highland. They depend on rice production and animal raising in which rice is their staple food. Thailand was also influenced by global climate change in the past years particularly the variation of amount of rainfall and temperature which are important factors related to crop growth especially development which relate to growth and yield. Nowadays, crop growth models are wildly use to study the response of crops to climate change since crops growth model can investigate and analyze the complex system components of crop quantitatively. The objective of this research is to apply rice growth simulation model (PGR model) as a tool to investigate the effect of climate change and nitrogen management on rice growth and yield. Model validation results show that the simulation of dynamic biomass accumulation (both leaves and stem) for rice planted on 8 May, 31 May, 4 July and 7 August revealed that there was similar increasing trend of both observed and simulated. However, simulated results of biomass accumulation were greater than those of observed. However, simulate biomass was greater than the observed. Yield simulation show that there was decreasing trend of grain yield when rice were planted after 8 May planting. Simulated dry matter accumulation showed similar trend to observed data in response to climate change. However, simulated results of growth were greater than those of observed. This indicated that growth simulation revealed the potential performance of rice. Similarly, yield simulation was also a potential yield. Using of the model to simulate nitrogen management show that increasing nitrogen application rate could enhance biomass and yield. However, biomass and yield were not significantly increased when delay planting from 8 May. Simulation results indicated that increasing nitrogen application rate cannot significantly increase rice yield particularly when photoperiod sensitive rice variety was delayed planting. Thus, it is necessary to determine appropriate rice variety i.e. non photoperiod sensitive and adapted to cold climate during reproductive stage for such climate change situation.
ชื่อแหล่งทุน: สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=26 17_57.pdf&id=1440&keeptrack=9
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: บ้านดง ต.ห้วยห้อม อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การจำลองอิทธิพลของวันปลูกและการจัดการไนโตรเจนต่อข้าวไร่ พันธุ์เงาะสะตะโดยแบบจำลองการเจริญเติบโตของข้าวเหนียวก่ำ
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2557
เอกสารแนบ 1
การจำลองการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตของข้าวไร่ที่ปลูกในสภาพนาชลประทาน ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร โครงการวิจัยการประเมินศักยภาพในการให้ผลผลิตของข้าวไทยโดยใช้แบบจำลองการเจริญเติบโตของข้าว การพัฒนาแบบจำลองการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวไร่ที่สูงเพื่อการผลิตอย่างพอเพียงของชุมชนเกษตรที่สูง 2553A17002035 การพัฒนาแบบจำลองการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวไร่ที่สูงเพื่อการผลิตอย่างพอเพียงของชุมชนเกษตรที่สูง แบบจำลองการเจริญเติบโตของพืช: ทางเลือกใหม่เพื่อช่วยงานวิจัย แบบดั้งเดิม การวิเคราะห์ความเสี่ยงในการปลูกข้าวนาน้ำฝนโดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และแบบจำลองการเจริญเติบโตของพืช การจัดการดินและธาตุอาหารเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวไวต่อช่วงแสงโดยใช้แบบจำลองการปลูกข้าว (DSSAT CERES-RICE) ในจังหวัดสุรินทร์และบุรีรัมย์ ผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าว การจัดการดินและธาตุอาหารพืชเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวตามกลุ่มชุดดินของประเทศไทยโดยใช้แบบจำลองการปลูกข้าว (CERES RICE) และการทดสอบในพื้นที่เกษตรกร

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก