สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยการจัดการโรคและสารพิษจากเชื้อราในผลิตผลเกษตรหลังการเก็บเกี่ยวโดยไม่ใช้สารเคมี
ชวเลิศ ตรีกรุณาสวัสดิ์ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยการจัดการโรคและสารพิษจากเชื้อราในผลิตผลเกษตรหลังการเก็บเกี่ยวโดยไม่ใช้สารเคมี
ชื่อเรื่อง (EN): Post harvest Diseases and Mycotoxins Management in Agricultural Commodities without Hazardous Chemicals
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ชวเลิศ ตรีกรุณาสวัสดิ์
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN): ITS
บทคัดย่อ: การสูญเสียของผลผลิตจากโรคพืชหลังการเก็บเกี่ยวและสารพิษจากเชื้อราเป็นปัญหาสำคัญ แต่การควบคุมความสูญเสียดังกล่าวด้วยวิธีการที่ปลอดภัยต่อทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคนั้นก็เป็นสิ่งจำเป็น คณะผู้วิจัยให้ความสำคัญกับคุณภาพและการลดการสูญเสียของผลผลิต จึงได้เริ่มดำเนินการ โครงการวิจัยการจัดการโรคและสารพิษจากเชื้อราในผลิตผลเกษตรหลังการเก็บเกี่ยวโดยไม่ใช้สารเคมี ในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 – 2558 ประกอบไปด้วย 5 กิจกรรม 23 การทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์ คือ “เพื่อศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคหลังการเก็บเกี่ยว การปนเปื้อนจุลินทรีย์และสารพิษจากเชื้อรา ในผลิตผลเกษตร โดยไม่ใช้สารกำจัดศัตรูพืช” โครงการประกอบด้วย 5 กิจกรรม ดังนี้ กิจกรรมที่ 1 การควบคุมโรคและสารพิษจากเชื้อราด้วยจุลินทรีย์ ได้ศึกษาเชื้อจุลินทรีย์ที่มีศักยภาพในการควบคุมโรคและสารพิษจากเชื้อรา พบเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ Bacillus subtillis หรือ B. amyloliquefaciens ที่สามารถควบคุมโรคผลเน่าของเงาะและผลิตเป็นชีวภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคผลเน่าของเงาะหลังการเก็บเกี่ยวได้ แบคทีเรีย Bacillus tequilensis และ Bacillus subtilis sub sp. Inaquosorum ควบคุมเชื้อรา Aspergillus flavus และยับยั้งการสร้างสารแอฟลาทอกซินในผลิตผลเกษตร และพบเชื้อรา A. flavus สายพันธุ์ไม่สร้างสารพิษที่เป็นปฏิปักษ์กับเชื้อราที่สร้างสารพิษและสามารถลดปริมาณสารแอฟลาทอกซินในข้าวโพดได้ กิจกรรมที่ 2 การควบคุมโรคและสารพิษจากเชื้อราด้วยสารสกัดจากพืช ได้ศึกษาสารสกัดจากพืชพบว่าข่า สารสกัดไพลและขมิ้นชันสามารถยับยั้งเชื้อราและควบคุมโรคโรคแอนเทรคโนสบนผลมะม่วง กล้วยหอม และมะละกอ สารสกัดจากผงเปลือกผลทับทิมความเข้มข้น 12,000 ppm สามารถยับยั้งเชื้อ E. coli ลดการปนเปื้อนในผักสะระแหน่ระหว่างการเก็บรักษาได้ สารสกัดกระเทียมควบคุมเชื้อราและสารแอฟลาทอกซินในพริกแห้งและพริกป่นนานถึง 4 เดือน และสารสกัดกระชายดำและกะเพราในการควบคุมการเจริญของเชื้อ Aspergillus flavus และลดปริมาณสารแอฟลาทอกซิน บนถั่วลิสงหลังจากเคลือบเป็นเวลา 1 เดือน กิจกรรมที่ 3 การควบคุมโรคโดยใช้สารกลุ่ม GRAS ได้ศึกษาสารกลุ่ม GRAS พบว่า acetic acid และ oxalic acid สามารถควบคุมโรคแอนแทรคโนสใน มะละกอ กล้วยหอม มะม่วง และแก้วมังกรที่ปลูกเชื้อ และ oxalic acid ควบคุมโรคที่เกิดโดยธรรมชาติบนผลมะละกอได้ สาร methyl salicylate มีศักยภาพในการควบคุมโรคผลเน่าของผลเงาะและลองกองที่เกิดจากเชื้อ Phomopsis sp. ขณะที่ citric acid สามารถยับยั้งการเจริญเชื้อรา Dothiorella sp. ในห้องปฏิบัติการ (in vitro) แต่ sodium metabisulphite ยับยั้งโรคบนผลมะม่วง (in vivo) ส่วน propionic acid และ sodium carbonate ที่ความเข้มข้น 0.08 และ 3.0 % ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา Colletotrichum sp. ได้ และพบว่าการล้างยอดสะระแหน่ ด้วย citric acid สามารถควบคุมปริมาณจุลินทรีย์ E. coli กิจกรรมที่ 4 การควบคุมโรคและสารพิษจากเชื้อราโดยวิธีทางกายภาพ ได้ศึกษาวิธีทางกายภาพ พบว่าการใช้เตาอบไมโครเวฟลดปริมาณโอคราทอกซินเอ ในตัวอย่างผลไม้อบแห้ง เช่น แครนเบอรรี่ และ ลูกเกดขาว ลดปริมาณแอฟลาทอกซินในงาดำ ลดสารพิษฟูโมนิซินในข้าวบาร์เลย์ และ คอร์นเฟลก (cornflake) ได้ ขณะที่การใช้เตาอบลมร้อน สามารถลดโอคลาทอกซินเอใน แครนเบอร์รี่อบแห้ง ลูกเกดขาว และ บลูเบอร์รี่อบแห้ง ลดแอฟลาทอกซินใน ถั่วลิสง ข้าวกล้อง งาดำ และข้าวเหนียวดำได้ และพบว่า การอาบแสง UV ลดการปนเปื้อนของสารพิษฟูโมนิซินในข้าวบาร์เลย์ได้ กิจกรรมที่ 5 การควบคุมโรคและสารพิษจากเชื้อราโดยการประเมินโรคและการผสมผสานวิธีการ ได้ศึกษาการผสานวิธีควบคุมและการประเมินการเกิดโรคและความเสี่ยง พบว่าการจุ่มผลมะม่วงในสารละลาย paraquat สามารถกระตุ้นการแสดงอาการโรคแอนแทรคโนสให้แสดงอาการภายใน 3 วัน การใช้ ammonium carbonate และ potassium carbonate ในน้ำร้อนอุณหภูมิ 55 ?C สามารถควบคุมโรคแอนแทรคโนสในแก้วมังกรพันธุ์เนื้อขาวเปลือกแดง มะละกอพันธุ์ปักไม้ลาย และมะม่วงน้ำดอกไม้เบอร์ 4 ได้ ขณะที่การใช้น้ำร้อนร่วมกับ potassium sorbate ยับยั้งโรคแอนแทรคโนสบนผลพริกหวานได้ การจุ่มหัวพันธุ์พันธุ์ปทุมมาด้วยน้ำมันหอมระเหยขมิ้นชัน ตะไคร้หอม กะเพรา และกานพลู สามารถควบคุมโรคจากเชื้อ Fusarium sp. ได้ ส่วนกระบวนการผลิตผักสะระแหน่เพื่อส่งออกพบว่า ขั้นตอนการล้างหลังจากเก็บเกี่ยวที่แปลงปลูกเป็นจุดที่มีความเสี่ยงสูงที่สุด รองลงมาคือขั้นตอนการล้างในโรงคัดบรรจุ และการควบคุมอุณหภูมิในขณะขนส่ง ในการควบคุมเชื้อราบนผลลองกองพบว่าการใช้ 1-MCP และ chitosan ร่วมกับบรรจุภัณฑ์ active film สามารถชะลอการหลุดร่วง ลดการเกิดสีน้ำตาล และลดการเกิดโรคได้ และการให้รังสี UV แก่แง่งขิง ร่วมกับการบ่มในสภาพความชื้นสัมพัทธ์สูงสามารถเร่งการสมานบาดแผลให้เร็วขึ้นได้ ผลการทดลองภายใต้โครงการสามารถนำไปใช้เป็นวิธีการทางเลือกแก่ผู้ประกอบการนำไปใช้ควบคุมโรคพืชหลังการเก็บเกี่ยวและสารพิษจากเชื้อราในผลิตผลเกษตร เพื่อให้เกิดความปลอดภัยทั้งแก่ผู้ผลิตและผู้บริโภค
บทคัดย่อ (EN): The losses of productivity from postharvest plant diseases and mycotoxin is a major problem. But the control of the losses should be safe for both producers and consumers, it is essential. The authors focus on the quality or reduce the losses of productivity, either. The project of “Post-harvest Diseases and Mycotoxins Management in Agricultural Commodities without Hazardous Chemicals” was conducted during the fiscal year 2011 - 2015 consists of five activities, 23 experiments with the objective was "to study and develop efficient technologies to control postharvest diseases, microbial and mycotoxins contamination in agricultural commodities without using pesticides" The project consists of the following 5 activities. The first activity is Controls of Postharvest Diseases and Mycotoxins by Using Antagonistic Microorganisms. The studies on microorganisms those have the potential for postharvest diseases control and mycotoxins. The results of this activities were antagonistic bacteria, Bacillus subtillis or B. amyloliquefaciens those have the ability to control fruit rot of rambutans (Nephelium lappaceum) and developed to bio-agent products that are effective in controlling postharvest rot of rambutans, Antagonistic bacteria, Bacillus tequilensis and Bacillus subtilis sub sp. Inaquosorum those control of Aspergillus flavus and inhibit Aflatoxins synthesis in agricultural commodities and The non-producing strain of antagonistic A. flavus that reduced Aflatoxins contamination in corn. The second activity is Controls of Post-harvest Plant Diseases and Mycotoxins by Using Plant Extracts. The studies on extracts of galangal, ginger and turmeric revealed those inhibitory effects on anthracnose diseases on mangoes, bananas, papayas and the extracts of pomegranate (Punica granatum) peel powder at a concentration of 12,000 ppm inhibit E. coli contamination in kitchen mint (Mentha cordifolia) during storage. The Garlic (Allium sativum) extract growth of A. flavus and reduced aflatoxins contamination in dry chili and chili powder and parviflora (Kaempferia parviflora) and holy basil (Ocimum sanctum) extracts control the growth of A. flavus and their aflatoxins production and the peanuts at 1 month after the experiment. The third activity is Controls of Post-harvest Plant Diseases by Using GRAS Agents. The studies on GRAS substances revealed that acetic acid and oxalic acid able to control anthracnose in on the artificial of papaya, mango and banana while, the trials on the naturally infected fruits of papaya, only oxalic acid gave effective results. Methyl salicylate has the potential to control fruit rot of longkong (Lansium parasiticum) and rambutan (Nephelium lappaceum) caused by Phomopsis sp., while the citric acid inhibited the growth of fungi Dothiorella sp. in the laboratory (in vitro), but sodium metabisulphite Inhibited diseases on fruits (in vivo). Propionic acid and sodium carbonate at a concentration of 3.0 % and 0.08 % inhibit Colletotrichum sp., kitchen mint (Mentha cordifolia) washed with 6 % citric acid stored at 5 oC, provided highly effective control on E. coli contamination The fourth activity is Controls of Post-harvest Plant Diseases and Mycotoxins by Using Physical Methods. The studies on physical methods revealed that using of microwave oven were reduced amount of Ochratoxin A in dried fruits example, dried cranberry and white raisins, Aflatoxins in black sesame, Fumonisin in barley and cornflakes, while using a hot air oven reduced in dried cranberries, white raisin and dried blueberries, Aflatoxins in peanuts, brown rice, black sesame and rice and UV light reduced the contamination of Fumonisin in barleys. The fifth activity is Controls of Post-harvest Plant diseases and Mycotoxins by Using Evaluation of Infection and Integrated Plant Disease Management. The studies revealed that dipping mango fruits in a solution of paraquat could provoke symptoms of quiescent infectious fungi (C. gloeosporioides). The use of ammonium carbonate and potassium carbonate combining with hot water treatment at 55 ? C provided highly effective control of anthracnose disease on dragon fruits papayas and mangoes, while the use of hot water combining with potassium sorbate inhibited postharvest anthracnose diseases on sweet peppers. Dipping of Curcuma combs in essential oils, lavender, holy basil, turmeric, cloves gave highly effective on disease control of Curcuma caused by Fusarium sp.. The study on kitchen mint productions, the process of cleaning at plantations after harvesting is the highest risk step the second is the step of washing at the packing houses and temperature control during transports. The use of 1-MCP at a concentration of 500 ppm chitosan at a concentration of 0.25 % and the active film thickness of 40 microns provided extending of the fallen of fruits, reduced browning and disease on longkong fruits. UV-C showed the stimulating effects on wound curing on ginger rhizomes under high humidity (95 % RH.), wounds were healed in 12-24 hour comparing with the original time of 48 hours. The results of the project can be used as an alternative method for employers to use as post-harvest plant disease control and mycotoxins in agricultural commodities to be safe, both for producers and consumers.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยการจัดการโรคและสารพิษจากเชื้อราในผลิตผลเกษตรหลังการเก็บเกี่ยวโดยไม่ใช้สารเคมี
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2558
เอกสารแนบ 1
การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี ราที่มีศักยภาพในอุตสาหกรรมการย่อยสลายแป้งและวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรจากระบบนิเวศวิทยาป่าอุทยานสัตว์ป่าอุบลราชธานี โครงการวิจัยโรคหลังการเก็บเกี่ยวและสารพิษที่เกิดจากเชื้อราในผลิตผลเกษตร โครงการวิจัยผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อความรุนแรงของโรคหลังการเก็บเกี่ยวและสารพิษจากเชื้อราในผลิตผลเกษตร การผลิต Inulin และ Oligofructose จากกล้วยเพื่อใช้เป็นสารเสริมอาหาร โครงการวิจัยการพัฒนาการจัดการศัตรูผลิตผลเกษตรเพื่อลดการใช้สารเคมี การทดสอบสารเคมีในการควบคุมเชื้อรา Cylindrocladium sp. สาเหตุโรคใบจุดของยูคาลิปตัส การควบคุมโรคผลสตรอเบอรี่เน่าด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อราที่อุณภูมิห้องและที่ 10 องศาเซลเซียส ประสิทธิภาพของการป้องกันกำจัดโรคพืชประเภทดูดซึมบางชนิดต่อเชื้อรา Phytophthora parasitica NK1 สาเหตุโรคโคนเน่าของพลู Physiologic Races ของเชื้อรา Hemileia uastatrix B. & Br
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก