บทคัดย่อ: |
บทคัดย่อ
การศึกษาความสัมพันธ์ของระดับความชื้น ขนาดเมล็ด และอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเก็บรักษา เมล็ดพันธุ์พริกในธนาคารเชื้อพันธุ์พืช ทำการทดลองที่ห้องปฏิบัติการ กลุ่มวิจัยพัฒนาธนาคารเชื้อพันธุ์พืชและจุลินทรีย์ สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ กรมวิชาการเกษตร นำเมล็ดพริกพันธุ์ 27-1-2-1 และพันธุ์ห้วยสีทน ศก.1 ที่ผ่านการลดความชื้น 4 ระดับ Control, 8, 6 และ 4 % เก็บรักษาในซองอลูมิเนียมฟอยล์ไล่อากาศแล้วแบ่งตามแผนการทดลอง และเก็บรักษาไว้ที่ห้องควบคุมอุณหภูมิ 25, 5 และ -10 องศาเซลเซียส วางแผนการทดลองแบบ split plot design จำนวน 4 ซ้ำ โดย Main plot จัดเรียง ทรีตเมนท์ เป็น 4x2 Factorial in RCB โดยปัจจัยแรก คือ ความชื้นของเมล็ดพันธุ์พริก (4 ระดับ) ปัจจัยที่ 2 คือ ขนาดเมล็ด และ sub plot คือ ระยะเวลาที่เก็บรักษา โดยสุ่มมาทดสอบความงอกทุกเดือนทำการเก็บรักษาพร้อมกันทุกอุณหภูมิ นำเมล็ดมาทดสอบความงอกด้วยวิธี TP (Top of Paper) ทุกเดือน (5, 25? C) สำหรับอุณหภูมิ -10? C ทดสอบความงอก ทุก 6 เดือน ทดสอบความชื้นด้วยวิธี air oven method (ISTA, 2006) และทดสอบความแข็งแรงด้วยวิธี Germination Index Test ทดสอบทุก 6 เดือน พบว่าความงอกของพริกที่เก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิ 25, 5 และ -10? C พบว่าระยะเวลาในการเก็บรักษามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง กล่าวคือ เมื่อเก็บรักษานานถึงเดือนที่ 25 พบว่าเปอร์เซ็นต์ความงอกลดลงอย่างเห็นได้ชัดที่อุณหภูมิ 25? C ที่ระดับความชื้น Control แต่ที่มีความชื้น 4 % ความงอกยังอยู่ในระดับ 86.4, 86.3 % และเมื่อเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 5? C และ -10? C ทุกระดับ ความชื้น ความงอกยังดีอยู่ โดยรวมแล้วพันธุ์ห้วยสีทน ศก.1 มีเปอร์เซ็นต์ความงอกน้อยกว่า พันธุ์พิจิตร 27-1-2-1
ความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์พริก เมื่อทดสอบด้วยวิธีดัชนีความงอก พบว่าเมล็ดพริกที่เก็บรักษา ที่อุณหภูมิ 25? C เมื่อเวลาผ่านไปจะมีความแข็งแรงลดลงทั้ง 2 พันธุ์ สำหรับห้อง 5? C และ -10? C ที่ระดับความชื้น Control, 8, 6 และ 4 % เมื่อเวลาผ่านไปค่าความแข็งแรงก็ไม่ได้ลดลงไปนัก พบว่าพันธุ์ห้วยสีทน ศก.1 แข็งแรงน้อยกว่า พันธุ์พิจิตร 27-1-2-1
ความชื้นของเมล็ดที่เก็บรักษาไว้สามารถรักษาระดับความชื้นอยู่ได้ภายหลังที่เก็บรักษาถึง
25 เดือน และพบว่าขนาดของเมล็ดทั้งความหนา ความกว้าง ความยาว และน้ำหนักเมล็ด 1,000 เมล็ด ไม่มีผล ต่อการเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่างๆ และที่ความชื้นทุกระดับ
ทานตะวัน เป็นพืชน้ำมันที่มีความสำคัญพืชหนึ่งเพราะมีคุณสมบัติทางโภชนาการสูงสามารถใช้เป็นสารประกอบในอุตสาหกรรมอื่นอีกมากมาย ปัจจุบันผลผลิตขาดแคลนไม่เพียงพอต่อการใช้ประโยชน์เนื่องจากปัญหาสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมและพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังได้ขยายเข้าไปแทนที่การปลูกทานตะวันทำให้ผลผลิตและผลิตภัณฑ์ของทานตะวันโดยรวมของประเทศมีแนวโน้มลดลง และต้องนำเข้าเมล็ดพันธุ์มาจากต่างประเทศเพราะไม่สามารถเก็บพันธุ์ได้เพราะส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ลูกผสม การเก็บรวบรวมและอนุรักษ์เมล็ดพันธุ์ทานตะวันไว้ในธนาคารเชื้อพันธุ์จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเพื่อเป็นแหล่งเก็บเชื้อพันธุ์ไม่ให้พันธุ์สูญหายไป และหากมีความต้องการใช้ในอนาคตยังสามารถนำคุณสมบัติที่ดีของเชื้อพันธุ์เหล่านั้นกลับเอามาใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์สำหรับงานปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์ได้ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยในการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ทานตะวันเพื่อการอนุรักษ์ระยะยาวโดยที่เมล็ดพันธุ์ยังคงความมีชีวิตและมีความแข็งแรงเป็นสำคัญ ดำเนินการทดลองลดระดับความชื้นของเมล็ดพันธุ์ทานตะวันให้ได้ระดับที่ 8, 6 และ 4 เปอร์เซ็นต์โดยใช้ห้องลดความชื้น บรรจุเมล็ดพันธุ์ในถุงฟอยล์โดยใช้สภาพสุญญากาศจากนั้นเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ที่อุณหภูมิห้อง, 5 และ -10 องศาเซลเซียส บันทึกผลเป็นค่าเปอร์เซ็นต์ความงอกทุกเดือนเป็นเวลา 27 เดือน จากการทดลองพบว่าเมล็ดพันธุ์ทานตะวันที่ระดับความชื้น 4 และ 6 เปอร์เซ็นต์เก็บรักษาที่อุณหภูมิห้องมีค่าเปอร์เซ็นต์ความงอกเฉลี่ยเท่ากับ 86 และ 82 ตามลำดับ สามารถเก็บรักษาได้นาน 27 เดือน ส่วนเมล็ดพันธุ์ทานตะวันทุกระดับความชื้นที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 5 และ -10 องศาเซลเซียสนั้นมีค่าเปอร์เซ็นต์ความงอกเฉลี่ยอยู่ในช่วง 86-89 และ 87-90 ตามลำดับและมีแนวโน้มที่จะสามารถเก็บรักษาได้นานกว่า 27 เดือน
คำฝอย (Safflower) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Carthamus tinctorius L. เป็นพืชที่มีการนำมาใช้ประโยชน์หลายด้าน เช่น ด้านอาหาร การแพทย์ และอุตสาหกรรมต่างๆ เป็นพืชไร่ที่มีความสำคัญ มีศักยภาพสูง เหมาะที่จะนำมาพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ แต่เนื่องจากคำฝอยเป็นพืชที่ในเมล็ดมีปริมาณน้ำมันสูง ทำให้มีอายุการเก็บรักษาสั้น จึงได้ทำการศึกษาอิทธิพลของระดับความชื้นในเมล็ดพันธุ์และอุณหภูมิที่มีผลต่ออายุการเก็บรักษา โดยศึกษาระดับความชื้นในเมล็ดพันธุ์ 4 ระดับ คือ 12, 8, 6 และ 4 เปอร์เซ็นต์ และอุณหภูมิในการเก็บรักษา 3 ระดับ คือ อุณหภูมิห้อง, 5 และ -10 องศาเซลเซียส พบว่าเมล็ดพันธุ์คำฝอยที่มีระดับความชื้นในเมล็ด 12 เปอร์เซ็นต์ สามารถเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้องได้น้อยกว่า 2 เดือน ในขณะที่เมล็ดพันธุ์คำฝอยที่มีระดับความชื้นในเมล็ด 8, 6 และ 4 เปอร์เซ็นต์ สามารถเก็บรักษาได้นาน 9, 18 และ 27 เดือน ตามลำดับ ส่วนการเก็บรักษาเมล็ดคำฝอยที่อุณหภูมิ 5 และ -10 องศาเซลเซียส สามารถเก็บรักษาได้นาน 27 เดือน โดยที่มีเปอร์เซ็นต์ความงอกเฉลี่ยคงที่ตลอดอายุการเก็บรักษา ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าเมล็ดพันธุ์คำฝอยที่มีความชื้นสูงไม่สามารถเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้องได้ หากทำการลดความชื้นของเมล็ดพันธุ์ลงจะทำให้มีอายุการเก็บรักษาที่นานขึ้นตามระดับความชื้นที่ลดลง และการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์คำฝอยที่อุณหภูมิ 5 และ -10 องศาเซลเซียส สามารถยืดอายุการเก็บรักษาได้ โดยที่ไม่ต้องทำการลดความชื้นในเมล็ดก่อนการเก็บรักษา
เมล็ดพันธุ์ละหุ่งจัดเป็นพืชน้ำมัน และมีปริมาณน้ำมันสูงถึง 40-60 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก ทำให้มีอายุการเก็บรักษาสั้น การทดลองนี้จึงมุ่งศึกษาปัจจัยที่มีผลต่ออายุการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ละหุ่งเพื่อหาเทคนิคที่เหมาะสมในการอนุรักษ์เมล็ดพันธุ์ละหุ่งให้มีอายุการเก็บรักษานานที่สุด ทำการศึกษาที่ห้องปฏิบัติการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ กรมวิชาการเกษตร จ.ปทุมธานี การศึกษาผลของความชื้นและอุณหภูมิที่มีผลต่ออายุการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ละหุ่ง แบ่งการทดลองออกเป็น 3 การทดลองตามสภาพอุณหภูมิในการเก็บรักษา 3 ระดับ ได้แก่ อุณหภูมิห้อง 5 องศาเซลเซียส และ -10 องศาเซลเซียส แต่ละการทดลองวางแผนการทดลองแบบ split plot in RCB จำนวน 4 ซ้ำ ประกอบด้วย main plot คือ ความชื้นของเมล็ดพันธุ์ 3 ระดับ ได้แก่ ความชื้นเริ่มต้น (8 เปอร์เซ็นต์) 6 เปอร์เซ็นต์ และ 4 เปอร์เซ็นต์ sub plot คือระยะเวลาในการเก็บรักษา 28 ระดับ ได้แก่ 0-27 เดือน บันทึกข้อมูลเปอร์เซ็นต์ความงอกทุก 1 เดือน พบว่าระดับความชื้นในเมล็ดพันธุ์มีผลต่อระยะเวลาในการเก็บรักษาในทุกอุณหภูมิที่เก็บรักษาอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง โดยทุกอุณหภูมิในการเก็บรักษาที่ระดับความชื้นในเมล็ดพันธุ์ 4-6 เปอร์เซ็นต์สามารถเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ไว้ได้นานที่สุด ที่อุณหภูมิห้องสามารถเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์นานประมาณ 2-3 เดือน โดยคงเปอร์เซ็นต์ความงอก 70 เปอร์เซ็นต์ ที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส สามารถเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์นานประมาณ 9 เดือน คงเปอร์เซ็นต์ความงอกประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ และประมาณ 2 ปี คงเปอร์เซ็นต์ความงอกประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ และที่อุณหภูมิ -10 องศาเซลเซียส สามารถเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ได้นานประมาณ 14 เดือน โดยคงเปอร์เซ็นต์ความงอกประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ และประมาณ 2 ปี คงเปอร์เซ็นต์ความงอกประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์
ในการอนุรักษ์เมล็ดพันธุ์นั้น ความชื้นภายในเมล็ดพันธุ์เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เมล็ดพันธุ์สูญเสียความมีชีวิตอย่างรวดเร็วเมื่อนำมาเก็บรักษา โดยเฉพาะเมล็ดพันธุ์ที่เก็บเกี่ยวใหม่ซึ่งมีระดับความชื้นสูง ด้วยเหตุนี้ การลดความชื้นของเมล็ดพันธุ์พืชเพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายดังกล่าว จึงเป็นขั้นตอนที่สำคัญยิ่งของงานอนุรักษ์เมล็ดพันธุ์พืช การใช้ห้องลดความชื้นอุณหภูมิต่ำเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถลดความชื้นของเมล็ดพันธุ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถลดความเสียหายของเมล็ดพันธุ์จากความร้อนได้ สำหรับห้องลดความชื้นเมล็ดพันธุ์ของธนาคารเชื้อพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร เป็นห้องลดความชื้นอุณหภูมิต่ำ ซึ่งมีอุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 15 เปอร์เซ็นต์ แต่ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลระยะเวลาในการลดความชื้นเมล็ดพันธุ์แต่ละชนิด การทดลองนี้จึงดำเนินการเพื่อศึกษาผลของระยะเวลาในการลดความชื้นของเมล็ดพันธุ์พืชด้วยห้องลดความชื้นต่อความมีชีวิตของเมล็ดพันธุ์พืชชนิดต่างๆ โดยดำเนินการทดลองลดความชื้นเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว พริก กระเจี๊ยบแดง มะเขือ ข้าวโพด ทานตะวัน ข้าวสาลี ข้าว ถั่วมะแฮะ ถั่วพุ่ม ฝ้าย เดือย ปอคิวบา ปอกระเจา ผักกวางตุ้ง และข้าวบาร์เล่ย์ วางแผนการทดลองแบบ RCB (Randomized Complete Block) จำนวน 4 ซ้ำ สิ่งทดลอง เป็นระยะเวลาในการลดความชื้น ตั้งแต่ 0-30 วัน ดำเนินการทดสอบหาเปอร์เซ็นต์ความชื้นและเปอร์เซ็นต์ความงอกของเมล็ดพันธุ์แต่ละชนิดจนครบ กำหนด ผลการทดลอง สำหรับเปอร์เซ็นต์ความชื้นเมล็ดพันธุ์ พบว่า เมล็ดพันธุ์ส่วนใหญ่ มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของเปอร์เซ็นต์ความชื้นลดลงอย่างรวดเร็วภายในสัปดาห์ที่ 1 จากนั้น จะค่อยๆ ลดลงจนเกือบคงที่ซึ่งได้แก่ ถั่วเขียว กระเจี๊ยบแดง ข้าวโพด ข้าวสาลี ทานตะวัน ข้าว ถั่วพุ่ม ฝ้าย เดือย ปอคิวบา ปอกระเจา ผักกวางตุ้งและข้าวบาร์เล่ย์ เมล็ดพันธุ์ที่มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของเปอร์เซ็นต์ความชื้นลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 4 ได้แก่ ถั่วมะแฮะ สำหรับเปอร์เซ็นต์ความงอกเมล็ดพันธุ์ พบว่า เมล็ดพันธุ์ที่มีเปอร์เซ็นต์ความงอกคงที่ ได้แก่ ข้าวโพด ข้าวสาลี ทานตะวัน ข้าวบาร์เล่ย์ และผักกวางตุ้ง เมล็ดพันธุ์ที่มีเปอร์เซ็นต์ความงอกค่อนข้างคงที่ ได้แก่ ถั่วเขียว กระเจี๊ยบแดง เดือย ปอคิวบา และปอกระเจา เมล็ดพันธุ์ที่เปอร์เซ็นต์ความงอกมีแนวโน้มลดลง ได้แก่ ถั่วมะแฮะ ถั่วพุ่ม และฝ้าย เมล็ดพันธุ์ที่เปอร์เซ็นต์ความงอกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าว สำหรับเมล็ดพันธุ์พริกและมะเขือพบว่าไม่สามารถคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงเปอร์เซ็นต์ความชื้นและเปอร์เซ็นต์ความงอกตามระยะเวลาการลดความชื้นได้ นอกจากนี้พบว่าหลังจากเมล็ดพันธุ์ชนิดต่างๆ ผ่านการลดความชื้นเป็นเวลา 30 วัน เมล็ดพันธุ์พืชส่วนใหญ่มีเปอร์เซ็นต์ความงอกอยู่ที่ระดับสูงกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นระดับที่ยอมรับได้สำหรับการเก็บรักษาในธนาคารเชื้อพันธุ์พืช
การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาระดับความชื้นและอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์สมุนไพรวงศ์ Leguminosae อย่างน้อย 10 ชนิด ได้แก่ 1) หางนกยูงไทย 2) โสน 3) แคบ้าน 4) ชุมเห็ดเล็ก 5) หางนกยูงฝรั่ง 6) ฝาง 7) ส้มป่อย 8) กัลปพฤกษ์ 9) คราม และ 10) ทองกวาวในธนาคารเชื้อพันธุ์พืช โดยแบ่งเป็น 3 การทดลอง ในแต่ละการทดลอง วางแผนการทดลองแบบ RCBD 4 ซ้ำ มี 3 กรรมวิธี ดังนี้ ได้แก่ 1) control (ความชื้นในเมล็ดก่อนลด) 2) ความชื้นในเมล็ด 8 % และ 3) ความชื้นในเมล็ด 6 % ข้อมูลที่ทำการตรวจวัด ได้แก่ เปอร์เซ็นต์ความงอก ที่อายุ 3, 6, 9, 12, 15, 18, 21 และ 24 เดือนหลังจากเก็บ ผลการทดลอง พบว่า
การทดลองที่ 1 การศึกษาระดับความชื้นในเมล็ดต่อเปอร์เซ็นต์ความงอกของเมล็ดสมุนไพรวงศ์ Leguminosae เมื่อเก็บเมล็ดที่อุณหภูมิห้อง ความชื้นในเมล็ดที่ต่างกันมีอิทธิพลให้เปอร์เซ็นต์ความงอกของหางนกยูงฝรั่งที่อายุ 3, 21 และ 24 เดือน ครามที่อายุ 21 เดือน ส้มป่อยที่อายุ 15 เดือน กัลปพฤกษ์ที่อายุ 3, 21 และ 24 เดือน แคบ้านที่อายุ 18, 21 และ 24 เดือน โสนที่อายุ 21 และ 24 เดือน หางนกยูงไทยที่อายุ 3 เดือน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P < 0.05) โดยเมล็ดหางนกยูงที่ไม่ได้ลดความชื้นในเมล็ด (Control) เปอร์เซ็นต์ความงอกมีแนวโน้มสูงกว่าเมล็ดที่ลดความชื้นในเมล็ด 8% และ 6% ในเมล็ดครามพบความสัมพันธ์ระหว่างเปอร์เซ็นต์ความชื้นในเมล็ดกับอายุการเก็บรักษามีความสัมพันธ์ในทางลบที่มีความชื้นในเมล็ด 6 % (R2 =0.524*) ในเมล็ดส้มป่อยพบความสัมพันธ์ระหว่างเปอร์เซ็นต์ความชื้นในเมล็ดกับอายุการเก็บรักษามีความสัมพันธ์ในทางลบของเมล็ดที่ไม่ได้ลดความชื้น (control) ความชื้นในเมล็ด 8 % และความชื้นในเมล็ด 6 % (R2 =0.751*, R2 =0.913** และ R2 =0.911** ตามลำดับ) ในเมล็ดกัลปพฤกษ์พบความสัมพันธ์ระหว่างเปอร์เซ็นต์ความชื้นในเมล็ดกับอายุการเก็บรักษามีความสัมพันธ์ในทางลบของเมล็ดที่ไม่ได้ลดความชื้น (control) และความชื้นในเมล็ด 8 % (R2 =0.805** และ R2 =0.781** ตามลำดับ) ในเมล็ดแคบ้านพบความสัมพันธ์ระหว่างเปอร์เซ็นต์ความชื้นในเมล็ดกับอายุการเก็บรักษามีความสัมพันธ์ในทางลบของเมล็ดที่ไม่ได้ลดความชื้นในเมล็ด (control) (R2 =0.889**) ในเมล็ดโสนพบความสัมพันธ์ระหว่างเปอร์เซ็นต์ความชื้นในเมล็ดกับอายุการเก็บรักษามีความสัมพันธ์ในทางลบของเมล็ดที่ไม่ได้ลดความชื้น (control) และความชื้นในเมล็ด 8 % (R2 =0.948** และ R2 =0.675** ตามลำดับ)
การทดลองที่ 2 การศึกษาระดับความชื้นในเมล็ดต่อเปอร์เซ็นต์ความงอกของเมล็ดสมุนไพรวงศ์ Leguminosae เมื่อเก็บที่ห้องอนุรักษ์ระยะปานกลาง (5 ?C) ความชื้นในเมล็ดที่ต่างกันมีอิทธิพลให้เปอร์เซ็นต์ความงอกของหางนกยูงฝรั่งที่อายุ 12, 18, 21 และ 24 เดือน ครามที่อายุ 24 เดือน กัลปพฤกษ์ที่อายุ 3, 15, 21 และ 24 เดือน แคบ้านที่อายุ 6 และ 21 เดือน ชุมเห็ดเล็กที่อายุ 3 และ 6 เดือนโสนที่อายุ 3 เดือน หางนกยูงไทยที่อายุ 9 เดือน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P < 0.05) ในเมล็ดหางนกยูงฝรั่งพบความสัมพันธ์ระหว่างเปอร์เซ็นต์ความชื้นในเมล็ดกับอายุการเก็บรักษามีความสัมพันธ์ในทางลบของเมล็ดที่มีความชื้นในเมล็ด 8 % และความชื้นในเมล็ด 6 % (R2 =0.689** และ R2 =0.823** ตามลำดับ) เมล็ดกัลปพฤกษ์พบความสัมพันธ์ระหว่างเปอร์เซ็นต์ความชื้นในเมล็ดกับอายุการเก็บรักษามีความสัมพันธ์ในทางบวกของเมล็ดที่ไม่ได้ลดความชื้น (control) (R2 =0.726**) ในเมล็ดชุมเห็ดเล็กพบความสัมพันธ์ระหว่างเปอร์เซ็นต์ความชื้นในเมล็ดกับอายุการเก็บรักษามีความสัมพันธ์ในทางลบของเมล็ดที่ไม่ได้ลดความชื้น (control) (R2 =0.505*)
การทดลองที่ 3 การศึกษาระดับความชื้นในเมล็ดต่อเปอร์เซ็นต์ความงอกของเมล็ดสมุนไพรวงศ์ Leguminosae เมื่อเก็บที่ห้องอนุรักษ์ระยะยาว (-10 ?C) ความชื้นในเมล็ดที่ต่างกันมีอิทธิพลให้เปอร์เซ็นต์ความงอกของหางนกยูงฝรั่งที่อายุ 3, 6, 12, 15, 18, 21 และ 24 เดือน ครามที่อายุ 18 เดือน กัลปพฤกษ์ที่อายุ 3, 12, 18, 21 และ 24 เดือน แคบ้านที่อายุ 9 และ 18 เดือน ชุมเห็ดเล็กที่อายุ 24 เดือนโสนที่อายุ 9 เดือน หางนกยูงไทยที่อายุ 6 เดือน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P < 0.05) ในเมล็ดครามพบความสัมพันธ์ระหว่างเปอร์เซ็นต์ความชื้นในเมล็ดกับอายุการเก็บรักษามีความสัมพันธ์ในทางลบของเมล็ดที่มีความชื้นในเมล็ด 6 % (R2 =0.702**) ในเมล็ดกัลปพฤกษ์พบความสัมพันธ์ระหว่างเปอร์เซ็นต์ความชื้นในเมล็ดกับอายุการเก็บรักษามีความสัมพันธ์ในทางบวกของเมล็ดที่ไม่ได้ลดความชื้น (control) (R2 =0.549**) ในเมล็ดโสนพบความสัมพันธ์ระหว่างเปอร์เซ็นต์ความชื้นในเมล็ดกับอายุการเก็บรักษามีความสัมพันธ์ในทางลบของเมล็ดที่มีความชื้นในเมล็ด 8 % (R2 =0.636*) และในเมล็ดฝางพบความสัมพันธ์ระหว่างเปอร์เซ็นต์ความชื้นในเมล็ดกับอายุการเก็บรักษามีความสัมพันธ์ในทางลบของเมล็ดที่มีความชื้นในเมล็ด 6 % (R2 =0.995*)
ชมพูสิรินและไอยริศเป็นพืชชนิดใหม่ของโลก ได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระเทพฯ ในการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ ซึ่งพืชทั้งสองชนิดนี้จัดเป็นพืชเฉพาะถิ่นและพืชหายาก จึงได้นำเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชมาประยุกต์ใช้ในการเพิ่มปริมาณและอนุรักษ์พันธุกรรมพืชทั้งสองชนิด งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาเพิ่มปริมาณต้นชมพูสิรินและไอยริศในสภาพปลอดเชื้อและทำการเพาะเลี้ยงไอยริศบนอาหารสำหรับชะลอการเจริญเติบโต โดยทดลองแปรผันปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ความเข้มข้นของสารควบคุมการเจริญเติบโตกลุ่มออกซินและไซโตไคนิน ความเข้มข้นของสารอาหารในอาหารเพาะเลี้ยง และปริมาณน้ำตาลซูโครส พบว่าต้นชมพูสิรินสร้างจำนวนยอดได้มากที่สุดเฉลี่ย 5.9 ยอด/ข้อ บนอาหารสูตร MS ที่เติม BA 3 มก./ล. ร่วมกับ NAA 1 มก./ล. โดยที่การเติมสาร NAA กับไม่เติมให้จำนวนยอดไม่แตกต่างกัน ส่วนต้นไอยริศสร้างจำนวนยอดได้มากที่สุดเฉลี่ย 9 ยอด/หน่อ เมื่อเลี้ยงบนอาหารสูตร MS ที่เติม BA 5 มก./ล. ร่วมกับ IAA 2 มก./ล. และสูตรอาหารที่เหมาะสำหรับการชะลอการเจริญเติบโตของไอยริศ คือ 1/4 MS และ 1/8 MS ที่เติมน้ำตาลซูโครส 15 ก./ล. ซึ่งให้อัตราการมีชีวิตรอดเท่ากันเมื่อเพาะเลี้ยงเป็นเวลา 12 เดือน โดยไม่ต้องทำการเปลี่ยนถ่ายอาหารใหม่
ภูมิพลินทร์ และนครินทรา เป็นพืชหายากถิ่นเดียวของไทย วงศ์ Gesneriaceae จำเป็นต้องใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อการขยายพันธุ์ โดยนำตัวอย่างต้นภูมิพลินทร์และนครินทราจากแหล่งธรรมชาติมาศึกษาเทคนิคการฟอกฆ่าเชื้อฝักภูมิพลินทร์และนครินทรา 3 วิธี คือจุ่มผักในแอลกอออล์ 95 % แล้วนำไปผ่านไฟฆ่าเชื้อ, ผ่าฝักใส่ในน้ำที่ผ่านการนึ่งฆ่าเชื้อ และผ่าฝักใส่ในสารละลายไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (H2O2) 5% พบว่าวิธีจุ่มฝักในแอลกอฮอล์ 95 % แล้วผ่านไฟฆ่าเชื้อบิดฝักให้แตกแคะเมล็ดเลี้ยงบนอาหารเป็นวิธีที่เหมาะสม ทำให้ได้เนื้อเยื่อที่ปลอดการปนเปื้อนของเชื้อ 55.55% และ 75 % ตามลำดับ การศึกษาสูตรอาหารที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อเพิ่มปริมาณ โดยนำต้นกล้าเลี้ยงบนอาหารสูตร MS ที่เติมสาร 2,4-ไดคลอโรฟีนอกซีแอซีติก (2,4-D) ร่วมกับสารเบนซิลอะดีนิน (BA) ความเข้มข้น 0, 0.1 และ 1 mg/l พบว่าต้นภูมิพลินทร์ที่เลี้ยงบนอาหารเติมสาร 2,4-D ความเข้มข้น 0.1 mg/l ร่วมกับ BA ความเข้มข้น 0.1 mg/l สามารถชักนำให้เกิดยอดที่สมบูรณ์เฉลี่ย 12.1 ยอด ส่วนต้นนครินทราการเติม 2,4-D ความเข้มข้น 1 mg/l เพียงอย่างเดียวสามารถชักนำให้เกิดยอดที่สมบูรณ์เฉลี่ย 9.8 ยอด และสามารถเพิ่มขนาดกลุ่มเนื้อเยื่อได้ดีกว่าการใช้สาร BA ร่วมด้วยซึ่งจะทำให้เกิดเป็นพุ่มยอดขนาดเล็กไม่สมบูรณ์ เมื่อเลี้ยงต้นนครินทราบนอาหารสูตร MS ร่วมกับการเติมสารอินโด-3-บิวทิวริกแอซิต (IBA) ความเข้มข้น 0, 0.1 0.5 และ 1 mg/l พบว่าต้นที่เลี้ยงบนอาหาร MS ร่วมกับ IBA ความเข้มข้น 0.5 mg/l เกิดยอดสมบูรณ์ 15.8 ยอด สำหรับการเลี้ยงยอดที่สมบูรณ์บนอาหารสูตร Woody Plant (WP) จะชักนำให้เกิดรากได้เฉลี่ย 8.87 ราก ยาว 3.98 cm การศึกษาสูตรอาหารสำหรับการชะลอการเจริญเติบโต โดยใช้สูตรอาหารลดปริมาณ MS ได้แก่ MS, 1/2 MS, 1/4 MS และ 1/8 MS พบว่าต้นภูมิพลินทร์และนครินทราใช้สูตรอาหาร 1/2 MS เพาะเลี้ยงได้นานกว่าสูตรอื่นๆ และเมื่อปรับปริมาณน้ำตาลซูโครซ (sucrose) ร่วมกับน้ำตาลแมนนิทอล (mannitol) ความเข้มข้น 0, 10 20 และ 30 g/l พบว่านครินทราที่เลี้ยงบนอาหารลดปริมาณซูโครสจะทำให้มีร้อยละการรอดชีวิตสูงขึ้นเมื่อเลี้ยงเป็นเวลานาน 1 ปี แต่เมื่อใช้ซูโครซร่วมกับแมนนิทอลทำให้ต้นพืชมีอาการฉ่ำน้ำมากขึ้น
กระทุงบวบเหลี่ยม (Aristolochia baenzigeri B.Hansen & Phuph) และ กระเช้าหนู (Aristolochia helix Phuph.) จัดเป็นพืชถิ่นเดียว (Endemic plant) และพืชหายาก (Rare) โดยกระทุงบวบเหลี่ยมพบได้ที่ จ.แม่ฮ่องสอน และกระเช้าหนู พบได้ที่ จ.พังงา ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนลดลง เนื่องจากสภาพตามธรรมชาติถูกทำลาย จึงทำการศึกษาเพื่อการขยายพันธุ์และอนุรักษ์พืชทั้งสองชนิดในสภาพปลอดเชื้อ โดยนำเมล็ดมาฟอกฆ่าเชื้อโดยใช้ด้วยสารละลายโซเดียม ไฮโปคลอไรท์ (NaOCl) ที่ความเข้มข้น และระยะเวลาต่างๆ โดยฟอกฆ่าเชื้อจำนวน 2 ครั้ง สำหรับกระทุงบวบเหลี่ยมใช้สารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรท์ ความเข้มข้น 15 เปอร์เซ็นต์ ระยะเวลา 20 นาที ครั้งที่ 1 และสารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรท์ ความเข้มข้น 5 เปอร์เซ็นต์ ระยะเวลา 30 นาที ครั้งที่ 2 ส่วนต้นกระเช้าหนูใช้สารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรท์ ความเข้มข้น 15 เปอร์เซ็นต์ ระยะเวลา 10 นาที ครั้งที่ 1 และ สารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรท์ ความเข้มข้น 10 เปอร์เซ็นต์ ระยะเวลา 10 นาที ครั้งที่ 2 และเมื่อทดสอบสูตรอาหารเพื่อการชักนำยอดของต้นกระเช้าหนู พบว่า สูตรอาหาร MS ร่วมกับ BA ความเข้มข้น 1 มิลลิกรัมต่อลิตร และ NAA ความเข้มข้น 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร มีผลทำให้ต้นกระเช้าหนูเกิดยอดมากที่สุด 3.13 ยอด แต่ไม่มีความแตกต่างทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ และ สูตรอาหาร MS ร่วมกับ BA ที่ความเข้มข้น 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร และ NAA ความเข้มข้น 1 มิลลิกรัมต่อลิตร ทำให้ต้นกระเช้าหนูมีความยาวของยอดใหม่สูงที่สุด 5.12 เซนติเมตร โดยมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง ส่วนต้นกระทุงบวบเหลี่ยมไม่ตอบสนองต่อสูตรอาหารที่ใช้ทดสอบและต้นตายในที่สุด และต้นกระเช้าหนูสามารถเก็บอนุรักษ์ในสภาพปลอดเชื้อได้นาน 4 เดือน โดยการเลี้ยงบนสูตรอาหาร MS ที่ไม่เติมสารควบคุมการเจริญเติบโต
พลับพลึงธาร มีชื่อวิทยาศาสตร์ Crinum thaianum J.Schulze อยู่ในวงศ์ Amaryllidaceae เป็นพืชล้มลุกอาศัยอยู่ใต้น้ำ จัดเป็นพืชเฉพาะถิ่น (endemic species) ของประเทศไทย พบเฉพาะภาคใต้ในเขตจังหวัดระนองและพังงาเท่านั้น จากการสำรวจเมื่อปี 2554 พบพลับพลึงธารในพื้นที่คลองนาคา ตำบลนาคา อำเภอ สุขสำราญ จังหวัดระนอง และ ปี 2555 พบพลับพลึงธารในพื้นที่ตำบลคุระ อำเภอคุระบุรี จ.พังงา เมื่อนำพลับพลึงธารมาเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมีวิธีการฟอกฆ่าเชื้อพลับพลึงธาร โดยการล้างทำความสะอาดและเปิดน้ำไหลนาน 1 ชั่วโมง ก่อนการใช้สารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรท์ ความเข้มข้น 30 เปอร์เซ็นต์ ระยะเวลานาน 30 นาที ครั้งที่ 1 และ สารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรท์ ความเข้มข้น 15 เปอร์เซ็นต์ ระยะเวลานาน 30 นาที ครั้งที่ 2 และแช่ชิ้นส่วนเนื้อเยื่อในสารละลาย Povidone-Iodine ต่อ น้ำกลั่นนึ่งฆ่าเชื้อ อัตราส่วน 5 : 1 ระยะเวลานาน 30 นาที ด้วยวิธีดังกล่าวชิ้นส่วนพลับพลึงธารมีอัตราการรอดชีวิตคิดเป็น 60 เปอร์เซ็นต์ เมื่อนำพลับพลึงธารมาทดสอบสูตรอาหารที่เหมาะสมในการพัฒนาเกิดหัวย่อยในสูตรอาหาร MS ร่วมกับ BA ที่ความเข้มข้น 0, 1, 5, 10, 15, 22.2 ไมโครโมลาร์ พบว่า สูตรอาหาร MS ร่วมกับ BA ความเข้มข้น 15 ไมโครโมลาร์ และปริมาณน้ำตาลซูโครส 30 กรัมต่อลิตร มีแนวโน้มการเกิดหัวย่อยได้ดีที่สุดคิดเป็น 45 เปอร์เซ็นต์ และการเกิดรากคิดเป็น 70 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อทดสอบสูตรอาหารที่เหมาะสม เพื่อชักนำหัวย่อยให้พัฒนาเป็นต้นที่สมบูรณ์บนสูตรอาหาร MS ร่วมกับน้ำตาลซูโครส 15 และ 30 กรัมต่อลิตร ร่วมกับน้ำมะพร้าว 100 และ 150 มิลลิลิตรต่อลิตร พบว่า สูตรอาหาร MS ร่วมกับน้ำตาลซูโครส 15 กรัมต่อลิตร ร่วมกับ น้ำมะพร้าว 100 มิลลิลิตรต่อลิตร มีอัตราการเกิดต้น 68.75 เปอร์เซ็นต์ มีการเกิดราก 100 เปอร์เซ็นต์
เฟิร์นเป็นพืชที่มีการใช้ประโยชน์อย่างหลากหลายโดยเฉพาะการเป็นไม้ประดับ มีการลักลอบนำเฟิร์นป่าออกมาจำหน่ายส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพของเฟิร์น จึงได้ศึกษาเทคนิคการอนุรักษ์สปอร์เฟิร์นที่ถูกนำออกจากป่าเพื่อการค้า สำหรับการอนุรักษ์ในธนาคารเชื้อพันธุ์พืชกรมวิชาการเกษตร ในการศึกษาได้คัดเลือกเฟิร์น 6 ชนิดคือ กูดดอย Blechnum orientale กูดบ้ง Bolbitis sinensis ว่านไก่น้อย Cibotium barometz ผักกูด Diplazium esculentum ก้านดำหลังเงิน Pityrogramma calomelanos และ ห่อข้าวสีดา Platycerium coronarium จากการศึกษาพบว่าสปอร์ B. orientale C. barometz และ P. coronarium สามารถฟอกด้วยสารละลายคลอร็อกซ์ความเข้มข้น 10 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 10 นาที แต่วิธีการฟอกฆ่าเชื้อที่เหมาะสมสำหรับสปอร์ P. calomelanos คือ ฟอกด้วยสารละลายคลอร็อกซ์ความเข้มข้น 2 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 10 นาที สูตรอาหารที่เหมาะสมสำหรับการเพาะเพื่อหาเปอร์เซ็นต์ความงอกคืออาหารสูตร MA และอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการเก็บรักษาสปอร์เฟิร์น C. barometz และ P. coronarium คือ 5๐C และ -10๐C สำหรับสปอร์ B. orientale และ P. calomelanos ส่วนสปอร์ B. sinensis และ D. esculentum ไม่งอกในทุกการทดลอง ทั้งนี้ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเก็บรักษาสปอร์ของเฟิร์นแต่ละชนิดมีความผันแปรอย่างมาก จึงควรวิธีการฟอก วิธีการเพาะ สูตรอาหารเพาะเลี้ยง อุณหภูมิการเก็บรักษาและความชื้นที่เหมาะสมสำหรับการอนุรักษ์เฟิร์นแต่ละชนิดต่อไป
พืชวงศ์ขิง 24 ชนิด จาก 5 สกุล คือ 1) สกุล Zingiber จำนวน 5 ชนิด ได้แก่ ขิงแครง (KH) ไพลขาว (PK) ไพลชมพู (PC) ไพลดำ (PD) และไพลปลุกเสก (PS) 2) สกุล Alipinia จำนวน 3 ชนิด ได้แก่ ข่า (K) ข่าจืด (KJ) และข่าใหญ่ (KY) 3) สกุล Bosenbergia จำนวน 2 ชนิด คือ กระชายแกง (GG) และ กระชายแดง (GDG) 4) สกุล Curcuma จำนวน 9 ชนิด ได้แก่ ขมิ้นขาว (KK) ขมิ้นขาวปัดตลอด (KPT) ขมิ้นชัน (KC) ขมิ้นดำ (KD) ขมิ้นดำตาก (KDT) พญาว่าน (PYW) ว่านชักมดลูกตัวผู้ (WP) ว่านชักมดลูกตัวเมีย (WM) และว่านมหาเมฆ (WMM) และ 5) สกุล Kaempferia จำนวน 5 ชนิด ได้แก่ กระแจะจันทร์ (KJJ) กระชายดำ (GD) ว่านเฒ่าหนังแห้ง (TH) ว่านทิพยเนตร (WTN) และว่านดักแด้ (WD) ซึ่งได้ทำการปลูกรวบรวมไว้ในโรงเรือนอนุรักษ์พันธุกรรมพืชวงศ์ขิง ของกลุ่มวิจัยพัฒนาธนาคารเชื้อพันธุ์พืชฯ สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ (บางเขน) ได้นำมาทำการจำแนกลักษณะทางพันธุกรรมด้วยเทคนิค Inter-simple sequence repeat (ISSR) โดยใช้ไพรเมอร์จำนวน 16 ชนิด พบว่า ไพรเมอร์ 11 ชนิด คือ (CAC)3GC, (GAG)3GC, (CA)6GT, (CA)6AG, (AG)7AA, (GA)6CC, (GA)6GG, (AG)7AAG, (AG)8C, (CA)9A และ CCCC(GT)6 สามารถสังเคราะห์ลายพิมพ์ดีเอ็นเอที่ชัดเจนและตรวจนับจำนวนแถบได้ โดยไพรเมอร์ทั้ง 11 ชนิด สังเคราะห์แถบดีเอ็นเอได้ทั้งหมด 127 แถบ เป็นแถบดีเอ็นเอที่มีความแตกต่างกัน (polymorphic band) จำนวน 124 แถบ คิดเป็น 97.64%
เมื่อนำข้อมูลการปรากฏและไม่ปรากฏแถบดีเอ็นเอของพืชวงศ์ขิง 24 ชนิด ที่ได้จาก ISSR ไพรเมอร์ทั้ง 11 ชนิด มาวิเคราะห์แบบรวมเพื่อประเมินความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมจากเดนโดรแกรม โดยวิเคราะห์การจัดกลุ่มแบบ Hierarchical Cluster Analysis พบว่า สามารถจัดกลุ่มพืชวงศ์ขิงในสกุล Alpinia, Bosenbergia, Curcuma และ Kaempferia ได้ที่ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม 81%, 94%, 89% และ 78% ตามลำดับ
ศึกษาเทคนิคเพื่อทดสอบความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์พริกที่อนุรักษ์ไว้ในธนาคารเชื้อพันธุ์พืชทำการทดลองที่ห้องปฏิบัติการ กลุ่มวิจัยพัฒนาธนาคารเชื้อพันธุ์พืชและจุลินทรีย์ สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ กรมวิชาการเกษตร โดยการทดสอบพริก 8 พันธุ์ ได้แก่ พริกชี้ฟ้า พจ.01, พริกชี้ฟ้า พจ.05, พริกชี้ฟ้า พจ. 07, พริกมันดำ, พริกขี้หนูผลใหญ่ห้วยสีทน, พริกขี้หนูผลใหญ่หัวเรือเบอร์ 13, พริกขี้หนูผลใหญ่ลูกผสมซุปเปอร์ฮอท 2, พริกขี้หนูสวน Bird Chili วางแผนการทดลองแบบ Split plot design จำนวน 4 ซ้ำ โดย Main plot คือวิธีทดสอบความแข็งแรงและ sub plot คือเวลาที่ทำการเก็บรักษา (6ครั้ง) วิธีทดสอบความแข็งแรงมีดังนี้ 1) วิธีเร่งอายุด้วยน้ำกลั่น (Accelerated Aging Test, AAT) 2) วิธีทดสอบความแข็งแรงด้วยวิธีเร่งอายุด้วยสารละลายอิ่มตัว (Saturated Salt Accelerated Aging Test, SSAAT) 3) วิธีวัดค่าการนำไฟฟ้า (Electrical Conductivity Test (EC) 4) วิธี Controlled Deterioration Test (CD) 5) วิธีเพาะความงอกปกติเป็น control โดยการทดสอบความชื้นก่อนเก็บ ความงอกและความแข็งแรงเริ่มต้น ทำการทดสอบความงอกด้วยวิธี Top of paper และความแข็งแรงด้วยวิธีทั้ง 5 วิธี ที่ห้องอุณหภูมิ 5๐C, 25๐C, -10๐C 3 เดือนต่อครั้ง และทดสอบความงอกและความแข็งแรง 6 ครั้ง ครั้งที่1 พฤศจิกายน 2556, ครั้งที่ 2 มีนาคม 2557, ครั้งที่ 3 กรกฎาคม 2557, ครั้งที่ 4 พฤศจิกายน 2557, ครั้งที่ 5 มีนาคม2558 และครั้งที่ 6 กรกฎาคม 2558 ตามลำดับ
โดยสุ่มมาทดสอบแต่ละครั้งสำหรับการเก็บรักษาในสภาพเยือกแข็งโดยวิธี vitrification ประมาณ 6 เดือน/ครั้ง ทดลองที่ห้องปฏิบัติการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ สำหรับผลการทดสอบเมล็ดพันธุ์พริกทั้ง 8 พันธุ์ที่เก็บรักษาไว้ในธนาคารเชื้อพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร ที่อุณหภูมิ 5๐C, 25๐C และ -10๐C นั้นพบว่าเปอร์เซ็นต์ความงอกและความแข็งแรงด้วยวิธีต่างๆทั้ง 5 วิธีนั้น พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง แม้เวลาผ่านไป พริกทั้ง 8 พันธุ์เปอร์เซ็นต์ความงอกส่วนใหญ่มีค่าลดลง พบว่าพริกมันดำมีความงอกดีมากแม้อุณหภูมิ 25๐C สำหรับพันธุ์พริก พจ.01, พจ.05 และ พจ.07 พบว่าเปอร์เซ็นต์ความงอกมีเปอร์เซ็นต์ความงอกแรกเริ่มสูงทั้ง 3 พันธุ์ ในอุณหภูมิ 25๐C แต่สำหรับอุณหภูมิ 5๐C พบว่าพริก พจ.07 เปอร์เซ็นต์ความงอกแรกเริ่มไม่สูงนัก (51-70%) พันธุ์ พจ.01 และ พจ.05 เมื่อเวลาผ่านไปยังมีความงอกที่ดีอยู่ (66-84%, 68-90% ตามลำดับ) และอุณหภูมิ -10๐C เมื่อเวลาผ่านไป พจ.01 และ พจ.05 มีความงอกที่ดีอยู่ในช่วง 35-93% ส่วน พจ.07 อยู่ในช่วง 51-77% และพบว่าพริกห้วยสีทนมีเปอร์เซ็นต์ความงอกตั้งแต่แรกเริ่มน้อยกว่าพันธุ์อื่น และค่าความแข็งแรงพบว่าทุกพันธุ์เมื่อทดสอบความแข็งแรงด้วยวิธี EC ให้ค่ามากกว่าวิธีอื่นๆในอุณหภูมิ 25๐C ยกเว้นพันธุ์พิจิตร 05 ทดสอบด้วยวิธี CD มีค่ามากกว่าพันธุ์อื่นๆ สำหรับอุณหภูมิเก็บรักษาที่ 5๐C พบว่าวิธีทดสอบความแข็งแรงด้วยวิธี AAT มีค่าความแข็งแรงมากกว่าวิธีอื่นๆ สำหรับพันธุ์หัวเรือเบอร์ 13 และพันธุ์เบิร์ดชิลลี่ เมื่อเวลาผ่านไป ทดสอบด้วยวิธี EC มีค่าความแข็งแรงมากที่สุด กล่าวโดยสรุปเมื่อเปรียบเทียบพบว่า เปอร์เซ็นต์ความงอกของเมล็ดพริกที่อุณหภูมิ 5๐C, 25๐C และ -10๐C พบว่าส่วนใหญ่ วิธี EC และวิธี CD เมื่อเวลาผ่านไปให้ค่าเปอร์เซ็นต์ความงอกสูง และเมื่อทดสอบความแข็งแรงเป็นไปในทำนองเดียวกันคือ เมื่อเวลาผ่านไปวิธีทดสอบ EC (ที่ 25๐C) ให้ค่าเปอร์เซ็นต์ความงอกสูงในทุกพันธุ์ ยกเว้น พจ.05 วิธี CD ให้ค่าเปอร์เซ็นต์ความงอกสูงมากที่สุด สำหรับ 5๐C วิธี EC และ AAT ให้ค่าความแข็งแรงที่สุด อุณหภูมิ -10๐C วิธี EC และ CD ให้ค่าความแข็งแรงที่สุด สำหรับการทดสอบความนำไฟฟ้า เมื่อเวลาผ่านไปพบว่าพริกมันดำมีค่าการนำไฟฟ้าต่ำสุดในทุกอุณหภูมิ สำหรับวิธีการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์พริกในสภาพเยือกแข็ง โดยวิธี vitrification โดยบรรจุเมล็ดพริกใน cryotube แช่ใน loading solution เป็นเวลา 20 นาที แล้วนำไปแช่สาร cryoprotectant นำไป prefreezing ที่อุณหภูมิ 0๐C เป็นเวลา 60 นาที แล้วนำไปเก็บรักษาในไนโตรเจนเหลว ทำการทดสอบการรอดชีวิตภายหลังการเก็บรักษาในไนโตรเจนเหลว พบว่าเมล็ดพริก 8 ตัวอย่างที่ผ่านการฟอกฆ่าเชื้อ มาทดสอบหาช่วงเวลาในการแช่สาร loading solution เป็นเวลา 0, 10, 20 นาที เพื่อดึงน้ำภายในเซลล์ แล้วจึงนำไปแช่สารละลาย PVS2 เป็นเวลา 30 และ60 นาที พบว่าเมล็ดพริกที่ไม่ผ่านการแช่ไนโตรเจนเหลวมีอัตราการรอดชีวิตเป็น 100% ทุกการทดลองและนำไปเก็บรักษาในไนโตรเจนเหลวพบว่าเมล็ดพริกสามารถรอดชีวิตภายหลังการเก็บรักษาในไนโตรเจนเหลวได้ และสามารถนำออกไปปลูกภายนอกได้ การเก็บรักษาพันธุกรรมในสภาพเยือกแข็งเป็นทางเลือกหนึ่งในการเก็บรักษาเมล็ดพริก
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชสมุนไพรหนอนตายหยากเพื่อการอนุรักษ์ โดยนำชิ้นส่วนข้อของหนอนตายหยากมาเพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร MS full-strengh ที่เติมสารควบคุมการเจริญเติบโต 2 ชนิดได้แก่ BA และ NAA เลี้ยงในสภาพที่ให้แสงจากหลอดฟลูออเรสเซนต์ เป็นเวลา 16 ช.ม./วัน อุณหภูมิ 25?2 ซํ เป็นเวลา 50 วัน พบว่า สูตรอาหารที่ให้จำนวนยอดมากที่สุดคือสูตรที่ใช้ BA 10 มก./ล. ร่วมกับ NAA ความเข้มข้น 0.25 มก./ล. ให้จำนวนยอดเฉลี่ยเท่ากับ 2.55 ยอดต่อชิ้น เมื่อนำยอดเหล่านี้มาเพาะเลี้ยงในอาหารทดลองการเก็บรักษาโดยชะลอการเจริญเติบโตสูตร MS full-strength และสูตร MS half-strength ร่วมกับ Mannitol ที่ระดับต่างๆ กัน พบว่า สูตร MS half-strength ที่ไม่เติม Mannitol (0%) สามารถเก็บรักษาได้นานที่สุด คือ 4.50 เดือน เมื่อพิจารณาปัจจัยร่วมระหว่างสูตรอาหาร MS full-strength และ MS half-strenght กับระดับความเข้มข้นของ Mannitol ที่ใช้ พบว่าไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ แต่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างสูตรอาหาร MS full-strength และ MS half-strenght อย่างไรก็ตาม สูตรอาหารที่ใช้ในการทดลองกระตุ้นให้เกิดรากไม่สามารถชักนำให้เกิดรากได้ทำให้ไม่สามารถทดสอบการย้ายออกปลูกในสภาพโรงเรือนได้
การอนุรักษ์เชื้อพันธุกรรมพืชวงศ์ขิงโดยใช้เทคนิคชะลอการเจริญเติบโตในสภาพปลอดเชื้อ โดยเลือกตัวแทนจากพืชวงศ์ขิง 4 สกุล จำนวน 10 ชนิด ได้แก่ สกุล Zingiber spp. 4 ชนิด คือ ไพลเหลือง ไพลขาว ไพลชมพู และไพลปลุกเสก สกุล Alpinia sp. 1 ชนิด คือ ข่าลิงขิงแห้ง สกุล Curcuma spp. 3 ชนิด คือ ขมิ้นขาว ขมิ้นชัน และ ว่านมหาเมฆ และสกุล Kaempferia spp. 2 ชนิด คือ กระแจะจันทร์ และว่านทิพยเนตร พบว่า สามารถฟอกฆ่าเชื้อและเพาะเลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อได้สำเร็จ จำนวน 8 ชนิด ได้แก่ สกุล Kaempferia spp. 2 ชนิด คือ กระแจะจันทร์ และว่านทิพยเนตร สกุล Curcuma spp. 3 ชนิด คือ ขมิ้นขาว ขมิ้นชัน และ ว่านมหาเมฆ และสกุล Zingiber spp. 3 ชนิด คือ ไพลเหลือง ไพลขาว และไพลปลุกเสก เมื่อทดลองเพาะเลี้ยงในอาหารสูตรชะลอการเจริญเติบโต 12 สูตร (MS full-strength หรือ MS half-strength ที่เติม sucrose 3% หรือ 9% ร่วมกับการเติม mannitol 0 1 หรือ 2%) พบว่า สามารถยืดอายุการเก็บรักษาในสภาพหลอดทดลองได้นาน 7-10 เดือน พืชวงศ์ขิงที่ผ่านการชะลอการเจริญเติบโตในอาหารสูตรทดลองสามารถมีชีวิตรอดและเกิดยอดใหม่ได้เมื่อย้ายไปเลี้ยงในอาหารสูตรฟื้นฟู เมื่อนำออกปลูกในสภาพโรงเรือน พบว่า มีอัตราการรอดชีวิตร้อยละ 70-90 และสามารถเจริญเติบโตได้ตามปกติ
ศึกษาวิธีการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชวงศ์ขิง (ขมิ้นอ้อย และว่านทิพยเนตร) โดยใช้เทคนิค Cryopreservation โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชวงศ์ขิง (Zingiberaceae) ในระยะยาวโดยใช้เทคนิค Cryopreservation การทดลองนี้แบ่งเป็น 3 การทดลอง ประกอบด้วย การทดลองที่ 1 การใช้เทคนิค Encapsulation/Dehydration ต่อเปอร์เซ็นต์ความมีชีวิตของปลายยอดขมิ้นอ้อยและว่านทิพยเนตร วางแผนการทดลองแบบ 2 x 4 factorial in CRD จำนวน 3 ซ้ำ โดยปัจจัย A คือ พืชวงศ์ขิง 2 ชนิด ได้แก่ ขมิ้นอ้อย และว่านทิพยเนตร ปัจจัย B คือ ความเข้มข้นในการทำ osmotic dehydration มี 4 ระดับ ได้แก่ sucrose 0, 0.2, 0.4, และ 0.8 M รวม 8 กรรมวิธี การทดลองที่ 2 การศึกษาเปอร์เซ็นต์ความมีชีวิตของปลายยอดขมิ้นอ้อย และว่านทิพยเนตรเมื่อแช่ในสารละลาย PVS2 /PVS3 โดยใช้เทคนิค วางแผนการทดลองแบบ CRD จำนวน 4 ซ้ำ มี 4 กรรมวิธี ได้แก่ 1) ขมิ้นอ้อย + PVS2 2) ขมิ้นอ้อย + PVS3 3) ว่านทิพยเนตร+ PVS2 และ 4) ว่านทิพยเนตร+ PVS3 และการทดลองที่ 3 การใช้เทคนิค Encapsulation/vitrification ต่อเปอร์เซ็นต์ความมีชีวิตของปลายยอดขมิ้นอ้อย และว่านทิพยเนตร ผลการทดลอง พบว่า การเก็บรักษาปลายยอดขมิ้นอ้อยและว่านทิพยเนตรเพื่อการอนุรักษ์ โดยใช้เทคนิคEncapsulation/Dehydration, Vitrification และ Encapsulation/vitrification ทั้ง 3 วิธีนี้ เมื่อนำปลายยอดของพืชทั้งสองชนิด คือ ขมิ้นอ้อยและว่านทิพยเนตร ที่เก็บรักษาในสภาพเยือกแข็งในไนโตรเจนเหลว (-196 องศาเซลเซียส) มาปลูกเพื่อประเมินความมีชีวิต พบว่า ปลายยอดดังกล่าวไม่สามารถมีชีวิตและพัฒนาเป็นต้นอ่อนได้ ปลายยอดเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและกลายเป็นสีดำตายไป แต่ในการเก็บรักษาโดยวิธี Encapsulation/vitrification ปลายยอดของขมิ้นอ้อยและว่านทิพยเนตรยังมีชีวิตอยู่แต่ไม่พัฒนาไปเป็นต้นอ่อนหรือแคลลัส ซึ่งให้ผลแตกต่างกันกับการเก็บรักษาปลายยอดโดยใช้เทคนิค Encapsulation/Dehydration ที่พบว่า ปลายยอด (bead) ที่นำมาเลี้ยงนั้นมีชิวิตอยู่ประมาณ 1 สัปดาห์ โดยมีลักษณะสีเขียวอ่อน หลังจากนั้น 1 เดือน พบว่าปลายยอด (bead) ตายมีลักษณะเป็นสีน้ำตาลคล้ำ (browing) ไม่สามารถเจริญเติบโตและมีชีวิตรอดอยู่ได้
ศึกษาวิธีการเก็บรักษาพันธุ์กวาวเครือขาวที่เหมาะสมในสภาพปลอดเชื้อ โดยการให้มีการเจริญเติบโตอย่างช้าๆ (slow growth) และการเก็บรักษาในสภาพเยือกแข็ง (cryopreservation) ทำการศึกษาวิธีการเก็บรักษาโดยให้เจริญเติบโตแบบช้าๆ โดยลดความเข้มข้นของสูตรอาหารที่ใช้ในการเพาะเลี้ยง 1/4MS, 1/2MS และ MS ร่วมกับสารชะลอการเจริญเติบโต manitol 0, 10 และ 20 กรัม/ลิตร จัดสิ่งทดลองด้วยวิธีแฟคทอเรียล 3x3 ในแผนการทดลองแบบสุ่มโดยตลอด จำนวน 15 ซ้ำ พบว่าอาหารสูตร MS+ IAA 0.5 mg/l + BA 1.5 mg/l และ MS+ IAA 1 mg/l + BA 3 mg/l สามารถเจริญเติบโตได้นาน 3-4 เดือน และสามารถนำออกปลูกได้ในสภาพโรงเรือน การศึกษาวิธีการเก็บรักษากวาวเครือขาวในสภาพเยือกแข็งด้วยวิธี encapsulation – vitrification พบว่าปลายยอดยังไม่สามารถรอดชีวิตได้
การเก็บรักษาพันธุ์เท้ายายม่อมในสภาพปลอดเชื้อ โดยศึกษาหาวิธีการเก็บรักษาที่เหมาะสม 2 วิธี ได้แก่ การเก็บรักษาโดยทำให้เจริญเติบโตอย่างช้าๆ (slow growth) และเทคนิคการเก็บรักษาในสภาพเยือกแข็ง (cryopreservation) พบว่าการเก็บรักษาแบบทำให้เจริญเติบโตอย่างช้าๆ โดยการลดความเข้มข้นสูตรอาหาร 1/4MS, 1/2MS และ MS ร่วมกับสารชะลอการเจริญเติบโต manitol 0, 10 และ 20 กรัม/ลิตร ในเนื้อเยื่อส่วนใบสามารถเจริญเติบโตเป็น ต้น ราก และหัวสะสมอาหาร ได้ดีกว่าเนื้อเยื่อโคนใบ และโคนต้น สามารถนำออกปลูกในสภาพโรงเรือนได้ หลังเพาะเลี้ยงในอาหารเป็นเวลา 6-7 เดือน สำหรับการเก็บรักษาเมล็ดเท้ายายม่อมในสภาพเยือกแข็งโดยนำเมล็ดเท้ายายม่อม อายุ 1, 2 และ 3 ปี แช่ในไนโตรเจนเหลวเป็นเวลา 0, 1 และ 2 ชั่วโมง พบว่าเมล็ดเท้ายายม่อมที่แช่ในไนโตรเจนเหลว เป็นเวลา 1 และ 2 ชั่วโมง มีเปอร์เซ็นต์ความงอก 40 – 60 เปอร์เซ็นต์
การอนุรักษ์พันธุ์องุ่นในสภาพปลอดเชื้อ โดยการใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในการศึกษาสูตรอาหารพื้นฐานที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อองุ่น จำนวน 27 พันธุ์ ที่รวบรวมได้จากแหล่งปลูกต่างๆ ในประเทศไทย อาหารสูตรพื้นฐานจำนวน 5 สูตร ที่ใช้ได้แก่ อาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสูตร MS ที่เติม BA (MS+BA) อาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสูตร MS ที่เติม Kinetin (MS+K) อาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสูตร 1/2MS ที่เติม BA และ NAA (1/2MS+BA+NAA) อาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสูตร Woody Plant Medium (WPM) และอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสูตร Chee&Pool (C2D) โดยใช้ชิ้นส่วนตาข้างองุ่นชักนำให้เกิดต้นอ่อน เปรียบเทียบความสูง จำนวนข้อ จำนวนใบ การเกิดยอด และการเกิดราก บันทึกผลที่ระยะเวลา 4 สัปดาห์ จากการทดลองพบว่า อาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสูตร C2D มีแนวโน้มเหมาะสมในการใช้เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อองุ่นสูงที่สุดจำนวน 20 พันธุ์ อาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสูตร MS+BA และ 1/2MS+BA+NAA เหมาะสมในการใช้เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อองุ่นจำนวน 15 พันธุ์ อาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสูตร MS+K และ WPM เหมาะสมในการใช้เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อองุ่นจำนวน 9 และ 8 พันธุ์ ตามลำดับ ส่วนการนำออกปลูกยังไม่ประสบผลสำเร็จต้องทำการศึกษาต่อไป
นรีรัตน์เป็นพืชถิ่นเดียวของไทยพบได้เฉพาะที่ดอยตุง จ.เชียงราย ปัจจุบัน IUCN ได้จัดสถานภาพให้อยู่ในระดับพืชที่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ จึงได้นำเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชมาประยุกต์ใช้ในการเพิ่มจำนวนประชากรเพื่ออนุรักษ์พันธุกรรมพืชชนิดนี้ งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาเพิ่มปริมาณต้นนรีรัตน์ในสภาพปลอดเชื้อ โดยศึกษาวิธีการและชิ้นส่วนที่เหมาะสำหรับฟอกฆ่าเชื้อนรีรัตน์ พบว่า การฟอกฆ่าเชื้อเมล็ดนรีรัตน์โดยการนำฝักแก่จุ่มแอลกอฮอล์ 95% และผ่านไฟ 3 ครั้งแล้วเคาะเมล็ดออกมาเพาะเลี้ยง จะทำให้ได้ชิ้นส่วนที่ปลอดเชื้อและสามารถเจริญเติบโตเป็นต้นที่สมบูรณ์ได้ 50% และการทดลองแปรผันความเข้มข้นของสารควบคุมการเจริญเติบโตกลุ่มออกซินและไซโตไคนิน พบว่าสูตรอาหารที่เหมาะสมต่อการเพาะเลี้ยงชิ้นส่วนใบของต้นนรีรัตน์เพิ่มจำนวนยอดในสภาพปลอดเชื้อคือ อาหารสังเคราะห์สูตร MS ที่เติม IBA 0.5 มก./ล. สร้างจำนวนยอดได้มากที่สุดเฉลี่ย 11.4 ยอด/ชิ้นส่วน ส่วนอาหารเพาะเลี้ยงสูตร MS ที่เติม BA ร่วมกับ IBA พบว่าไม่มีผลต่อการเพิ่มจำนวนยอดในสภาพปลอดเชื้อ
ชาฤๅษีดอยตุง เป็นพืชหายากถิ่นเดียวของไทย วงศ์ Gesneriaceae จำเป็นต้องใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อการขยายพันธุ์ โดยนำตัวอย่างต้นชาฤๅษีดอยตุงจากแหล่งธรรมชาติมาศึกษาเทคนิคการฟอกฆ่าเชื้อฝักของชาฤๅษีดอยตุง 3 วิธี คือจุ่มผักในแอลกอออล์ 95 % แล้วนำไปผ่านไฟฆ่าเชื้อ, บิดฝักเคาะเมล็ดใส่ในน้ำที่ผ่านการนึ่งฆ่าเชื้อ และบิดฝักเคาะเมล็ดใส่ในสารละลายโซเดียมไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (H2O2) 5% พบว่าวิธีจุ่มฝักในแอลกอฮอล์ 95 % แล้วผ่านไฟฆ่าเชื้อบิดฝักเคาะเมล็ดใส่ในสารละลายไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (H2O2) 5% และเขี่ยเมล็ดเลี้ยงบนอาหารเป็นวิธีที่เหมาะสม ทำให้ได้เนื้อเยื่อที่ปลอดการปนเปื้อนของเชื้อ 50 % การศึกษาสูตรอาหารที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อเพิ่มปริมาณ โดยนำชิ้นส่วนใบเลี้ยงบนอาหารสูตร MS ที่เติมสารกรดแนพทาลีนแอซิติก (NAA) ร่วมกับสารเบนซิลอะดีนิน (BA) ความเข้มข้น 0, 0.1, 0.5 และ 1 mg/l พบว่าใบชาฤๅษีดอยตุงที่เลี้ยงบนอาหารเติมสาร NAA เพียงอย่างเดียวสามารถชักนำให้เกิดยอดที่สมบูรณ์เฉลี่ย 2.48 ยอด และสามารถเพิ่มขนาดกลุ่มเนื้อเยื่อได้ดีกว่าการใช้สาร BA ร่วมด้วยซึ่งจะทำให้เกิดเป็นพุ่มยอดขนาดเล็กไม่สมบูรณ์ สำหรับการเลี้ยงยอดที่สมบูรณ์บนอาหารสูตร MS และ ? MS ร่วมกับการเติมสาร NAA ความเข้มข้น 0, 0.1, 0.5 และ 1 mg/l พบว่าการเลี้ยงยอดบนอาหาร ? MS จะชักนำให้เกิดรากได้ดีกว่าเลี้ยงบนอาหาร MS หรือการใช้ NAA ความเข้มข้นต่างๆ
ปอแก้วไทยเป็นพันธุกรรมพืชชนิดหนึ่งที่เก็บรักษาในธนาคารเชื้อพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร
แต่เนื่องจากมีปริมาณน้ำมันภายในเมล็ดสูงเฉลี่ยถึงประมาณ 24 เปอร์เซ็นต์ จึงประสบปัญหาในการเก็บรักษา เพราะเมล็ดพันธุ์เสื่อมสภาพเร็ว ส่งผลให้การอนุรักษ์เมล็ดพันธุ์ต้องอาศัยขั้นตอนการปลูกฟื้นฟูต่ออายุ และสิ้นเปลืองเวลาตลอดจนงบประมาณ ด้วยเหตุนี้ จึงศึกษาการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ปอแก้วไทยในสภาพเยือกแข็งซึ่งสามารถลดขั้นตอนการนำเมล็ดออกไปปลูกฟื้นฟูต่ออายุ งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความชื้นในเมล็ดพันธุ์ที่เหมาะสมในการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ปอแก้วไทยและศึกษาผลการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ปอแก้วไทยที่ระยะเวลาต่างๆ ในสภาพเยือกแข็ง ทำการทดลองที่ห้องปฏิบัติการของธนาคารเชื้อพันธุ์พืช สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ ระหว่างเดือนตุลาคม 2556 - กันยายน 2558 ประกอบด้วย 2 การทดลอง
การทดลองที่ 1 ศึกษาระดับความชื้นที่เหมาะสมในการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ปอแก้วไทยในสภาพเยือกแข็งเป็นระยะเวลา 0 และ 7 วัน วางแผนการทดลองแบบ Split split plot design จำนวน 4 ซ้ำ Main plot เป็นพันธุ์ปอแก้วไทย จำนวน 3 พันธุ์ คือ ขก.50 โนนสูง 2 และปอแดงชัยภูมิ Sub plot เป็นระดับความชื้นในเมล็ด คือ 4 6 8 และ 10 เปอร์เซ็นต์ Sub-subplot เป็นระยะเวลาในการเก็บรักษา คือ 0 และ 7 วัน ผลการทดลอง พบว่า เมล็ดปอแก้วไทยพันธุ์ขก.50 ที่มีความชื้น 4 6 8 และ 10 เปอร์เซ็นต์ มีความงอกไม่แตกต่างกับความงอกเริ่มต้น แต่เมล็ดปอแก้วไทยพันธุ์โนนสูง 2 และพันธุ์ปอแดงชัยภูมิ ที่มีความชื้นช่วง 4 - 6 เปอร์เซ็นต์ มีความงอกลดลง สำหรับความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ พบว่า เมล็ดปอแก้วไทยทั้ง 3 พันธุ์มีความแข็งแรงไม่แตกต่างกับความแข็งแรงเริ่มต้นที่ทุกระดับความชื้นในเมล็ด เมื่อเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ปอแก้วไทยในสภาพอุณหภูมิห้องเป็นเวลา 7 วัน พบว่า เมล็ดปอแก้วไทยทั้ง 3 พันธุ์ มีความงอกและความแข็งแรงไม่แตกต่างกับความงอกและความแข็งแรงเริ่มต้นที่ทุกระดับความชื้นในเมล็ด
การทดลองที่ 2 ศึกษาผลของการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ปอแก้วไทยที่ระยะเวลาต่างๆ ในสภาพเยือกแข็ง
วางแผนการทดลองแบบ Split split plot design จำนวน 4 ซ้ำ Main plot เป็นพันธุ์ปอแก้วไทย จำนวน 3 พันธุ์ คือ ขก. 50 โนนสูง 2 และปอแดงชัยภูมิ Sub plot เป็นระดับความชื้นในเมล็ด คือ 4 6 8 และ 10 เปอร์เซ็นต์ Sub-subplot เป็นระยะเวลาในการเก็บรักษา คือ 0 6 และ 12 เดือน ผลการทดลอง พบว่า เมื่อเก็บรักษาเมล็ดปอแก้วไทยทั้ง 3 พันธุ์ที่มีความชื้นในเมล็ดช่วง 4-6 เปอร์เซ็นต์ในสภาพเยือกแข็งเป็นระยะเวลา 12 เดือน เมล็ดมีความงอกและความแข็งแรงลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับความงอกและความแข็งแรงเริ่มต้น เมื่อเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ในสภาพอุณหภูมิห้องเป็นระยะเวลา 12 เดือน พบว่า เมล็ดปอแก้วไทยพันธุ์ปอแดงชัยภูมิที่มีระดับความชื้นในเมล็ด 10 เปอร์เซ็นต์ มีความงอกลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับความงอกเริ่มต้น สำหรับความแข็งแรงของเมล็ด พบว่า เมล็ดปอแก้วไทยพันธุ์ ขก.50 ที่มีความชื้นในเมล็ด 10 เปอร์เซ็นต์ และเมล็ดปอแก้วไทยพันธุ์ปอแดงชัยภูมิ ที่มีความชื้นในเมล็ด 8 และ 10 เปอร์เซ็นต์ มีความแข็งแรงของเมล็ดลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับความแข็งแรงเริ่มต้น
การศึกษาเทคนิคการเก็บรักษาเมล็ดเชื้อพันธุ์งาขี้ม้อนในสภาพเยือกแข็งได้ทำการทดลองในห้องปฏิบัติการและเก็บรักษาเมล็ดเชื้อพันธุ์ของกลุ่มวิจัยและพัฒนาธนาคารเชื้อพันธุ์พืช สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ ระหว่างเดือนตุลาคม 2556-กันยายน 2558 โดยศึกษาระดับเปอร์เซ็นต์ความชื้นในเมล็ดเชื้อพันธุ์งาขี้ม้อนซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่มีผลต่ออายุการเก็บรักษา แบ่งเป็น 2 การทดลอง คือ การทดลองแรกเก็บรักษาในสภาพเยือกแข็งเป็นระยะเวลา 7 วัน วางแผนการทดลองแบบ Split plot design จำนวน 4 ซ้ำ main plot คือ ระดับความชื้นในเมล็ดเชื้อพันธุ์ 8 ระดับ ได้แก่ 10 (เริ่มต้น), 9, 8, 7, 6, 5, 4 และ 3 เปอร์เซ็นต์ และsub plot คือ ระยะเวลาในการเก็บรักษา 0 และ 7 วัน พบว่าสามารถเก็บรักษาได้ในทุกระดับเปอร์เซ็นต์ความชื้นในเมล็ดเชื้อพันธุ์โดยยังคงเปอร์เซ็นต์ความงอกเท่าเดิมกับเปอร์เซ็นต์ความงอกเริ่มต้น แต่เมื่อทดสอบความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์พบว่าระดับความชื้นในเมล็ดพันธุ์ที่เหมาะสมในการเก็บรักษาในสภาพเยือกแข็งคือ 3-8 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากยังคงความแข็งแรงได้เท่ากับความแข็งแรงเริ่มต้น การทดลองที่สองศึกษาผลของระยะเวลาการเก็บรักษาในสภาพเยือกแข็ง วางแผนการทดลองแบบ Split plot design จำนวน 4 ซ้ำ main plot เป็นระดับความชื้นในเมล็ดเชื้อพันธุ์ จำนวน 8 ระดับ ได้แก่ 10(เริ่มต้น), 9, 8, 7, 6, 5, 4 และ 3 เปอร์เซ็นต์ sub plot เป็นระยะเวลาในการเก็บรักษา 3 ระดับ ได้แก่ 0, 6 และ 12 เดือน พบว่าการเก็บรักษาในสภาพเยือกแข็งระดับความชื้นที่เหมาะสมคือ 3-7 เปอร์เซ็นต์เนื่องจากเมื่อเก็บรักษาเป็นระยะเวลา 12 เดือนนั้น ยังคงความมีชีวิตและความแข็งแรงได้เท่ากับความมีชีวิตและความแข็งแรงเริ่มต้น ในขณะที่การเก็บรักษาในสภาพอุณหภูมิห้องที่ระดับความชื้นในเมล็ดเชื้อพันธุ์ 6 เปอร์เซ็นต์ เริ่มมีความมีชีวิตและความแข็งแรงลดลงภายในระยะเวลา 12 เดือน แต่เมื่อมีระดับความชื้นในเมล็ดเชื้อพันธุ์ 7-10 เปอร์เซ็นต์ภายในระยะเวลา 6 เดือนมีการสูญเสียความมีชีวิตและแข็งแรง
ถั่วเหลือง และถั่วลิสงจัดได้ว่าเป็นพืชน้ำมันที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย แต่เนื่องจากเมล็ดพืชน้ำมันมีอายุการเก็บรักษาสั้น การเก็บรักษาเชื้อพันธุ์ให้คงความมีชีวิตถือเป็นกิจกรรมที่จำเป็นประการหนึ่งในวงจรการเพาะปลูก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องศึกษาระดับความชื้นที่เหมาะสมสำหรับการเก็บรักษาเพื่อการอนุรักษ์ในสภาพเยือกแข็ง ซึ่งเป็นเทคนิคของการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์อีกวิธีหนึ่งเนื่องจากเป็นการหยุดปฏิกิริยาการย่อยสลายและแบ่งเซลล์โดยสิ้นเชิง ทำให้ไม?มีการเสื่อมชีวิต และไม?มีความจำเป็นที่จะต้องนำเมล็ดไปปลูกเพื่อสืบเชื้อพันธุ์ในช่วงเวลาของการอนุรักษ์พันธุ์เป็นการลดต้นทุนในการอนุรักษ์ ลดปัญหาอันเนื่องจากการกลายพันธุ์ การผสมข้ามหรือข้อผิดพลาดจากการปฏิบัติงาน และลดความเสี่ยงในการเก็บอนุรักษ์ในรูปของเมล็ดพันธุ์ในห้องอนุรักษ์ (5 และ -10 องศาเซลเซียส) อันเนื่องมาจากหากเกิดปัญหาขัดข้องเกี่ยวกับระบบทำความเย็นอาจส่งผลทำให้เมล็ดพันธุ์ที่อนุรักษ์เกิดความเสียหายได้ การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์พืชภายใต้สภาพเยือกแข็งจัดเป็นเทคนิคขั้นสูงแต่ในแง่ปฏิบัติไม่ยุ่งยากซับซ้อน ในปัจจุบันมีเมล็ดพันธุ์มากกว่า 120 ชนิด (species) ผ่านการทดสอบโดยพบว่าเมื่อผ่านการเก็บในสภาพเยือกแข็งแล้วนำออกมาไว้ที่อุณหภูมิปกติเมล็ดสามารถงอกได้อย่างปกติ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของพันธุ์พืชและความชื้นในเมล็ดซึ่งต้องการการปฏิบัติที่แตกต่างกันไป ในการทดลองนี้ได้ศึกษาความชื้นที่เหมาะสมก่อนนำไปเก็บรักษาในสภาพเยือกแข็ง โดยนำถั่วเหลืองและถั่วลิสงไปเก็บไว้ในสภาพเยือกแข็งเป็นระยะเวลานาน 7 วัน พบว่า ถั่วเหลืองทุกพันธุ์ที่ระดับความชื้นต่างๆ มีแนวโน้มของค่าความงอกและความแข็งแรงเฉลี่ยลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ระดับความชื้น 4 เปอร์เซ็นต์ ถั่วเหลืองทุกพันธุ์มีค่าความงอกและความแข็งแรงเฉลี่ยต่ำกว่าที่ระดับความชื้น 10, 8 และ 6 ตามลำดับ ส่วนถั่วลิสงทุกพันธุ์ที่ระดับความชื้นต่างๆ มีแนวโน้มของค่าความงอกและความแข็งแรงเฉลี่ยลดลงเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ระดับความชื้น 6 เปอร์เซ็นต์ถั่วลิสงทุกพันธุ์มีค่าความงอกและความแข็งแรงเฉลี่ยต่ำกว่าที่ระดับความชื้นที่ 4 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อศึกษาผลของการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง และถั่วลิสง ภายใต้สภาพเยือกแข็งที่ระยะเวลานาน 0, 6 และ 12 เดือน พบว่า ถั่วเหลืองทุกพันธุ์ที่ระดับความชื้นต่างๆ มีแนวโน้มของค่าความงอกและความแข็งแรงเฉลี่ยลดลงเมื่อเก็บรักษานานขึ้น ส่วนถั่วลิสงทุกพันธุ์ที่ระดับความชื้น 4 เปอร์เซ็นต์มีแนวโน้มของค่าความงอกและความแข็งแรงเฉลี่ยค่อนข้างคงที่ตลอดการเก็บรักษานาน 12 เดือน โดยที่ถั่วลิสงพันธุ์ KKFCRC49-80-3 มีค่าความงอกและความแข็งแรงเฉลี่ยน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับพันธุ์อื่นๆ |
บทคัดย่อ (EN): |
Correlation of Moisture content, seed size and optimum temperature of Pepper (Capsicum annuum L.) seeds for conservation in DOA Genebank was studied. The experiment was conducted at DOA Genebank, Genebank Research and Development Group. Pijit 27-1-2-1 (P) and Huaysiton SK1 (H) was plant in Sukhothai Horticultural Research Center. The experiment was arranged as split plot design in 4 replications which main plot was arranged treatment 4x2 Factorial in RCB by factor I was % Moisture Content (MC) 4 level (Control, 8, 6 and 4 %) factor II was seed size (P and H), sub plot was time storage. The seeds were collected in 25, 5? C (medium term storage room), -10? C (long term storage room), in aluminium foil and vacuum system in the same period for collecting in DOA Genebank.
Sampling every months for Germination Test (TP) for 5, 25? C. For -10? C and Moisture Content test (air oven method) and Germination Index Test in every 6 months was done.
It is found that 25 months storage time had effected difference highly significant in germination test by decreasing rapidly in 25?C room storage, at control MC, but at 4 % MC % germination test was 86.4, 86.3 but for 5?C and -10?C every MC showed germination still remain. Totally, H had lower germination than P. Seed vigor by germination Index Test showed the same trend with Germination test at 25?C and H showed less vigor than P. MC still remaining status after collected the seeds reach 25 months. Seed size (Thickness, width, length and 1,000 seeds weight) had no effected for preservation in every temperature and moisture content.
Sunflower is one of the most important industrial crops of the country due to its high nutritional value. Unfortunately, the number of products from sunflower is likely to be decreasing because of the two main factors that are environmental problem and lack of cultivating area. Another main factor causing the decrease of sunflower production is that most seeds are hybrid types so they need to be imported from other countries. In order to conserve sunflower germplasm, DOA Genebank should realize how precious and important they are. In addition, the genebank curators should learn how to conduct the long term storage of sunflower germplasm whilst maintain their high viability so that they can be used as genetic materials for crop improvement by using several methods. Sunflower seeds used in this experiment were reduced their moisture content to 8, 6 and 4 percent respectively by using seed drying room (25 C, 15 %RH). Seeds were packed in vacuum aluminum foil bags then were stored at room temperature, 5 C and -10 C respectively. Percent of germination of each sample was monthly recorded for 27 months. The result showed that the average germination of seeds with 4 and 6 percent moisture contents and stored at room temperature were 86 and 82, respectively. They can be stored for 27 months. The average germination of sunflower seeds with every moisture content and stored at 5 C and -10 C were found in the range of 86-89 and 87-90 respectively. They were likely to be stored for longer than 27 months.
Safflower (Carthamus tinctorius L.) is a multipurpose crop species which can be used as food, medicinal and industrial applications. It is an important utilized crop, and through additional research involving genetic resources, has a high potential for further expansion and development. Safflower is an oilseed with short longevity. Moisture content (MC) and storage temperature are two key factors affecting the longevity of seeds. In this study, effects of 4 MC levels (12%, 8%, 6% and 4%) with 3 storage temperature (ambient, 5?C and -10?C) were examined. The study revealed that seed contained 12% moisture and stored in ambient temperature could be stored less than 2 months. Seed with 8%, 6%, 4% MC can be stored at ambient temperature for 9, 18 and 27 months respectively. Storage temperature at 5?C and -10?C showed longer storage time which was 27 months with constant average germination percentage. Therefore, it can be concluded that safflower seeds with high moisture content can not be stored at ambient temperature while decreasing moisture content can extend storage time. Moreover, storage at 5 and -10 ?C can prolong seed longevity without moisture content reduction require.
Castor bean (Ricinus communis L.) seeds are oil plant which contains between 40 % and 60% crude oil cause to can’t keep for long term storage. This experiment study factor which effect to seed longevity at Biotechnology Research and Development Office, Department of Agriculture. This study has 3 sub-experiment according to temperature storage of room-temperature (25-35 ํC), 5 ํC and -10 ํC and used Split plot in RCB design, 4 replications. The main plot is seed moisture content for 3 levels at 8%, 6% and 4% and sub-plot is storage times for 28 levels at 0-27 months. The percent of germination are recorded in every month. The seed moisture content has effect storage times in highly significant. In every storage time , the optimum seed moisture content is 4-6 %.The temperature room can stored about 2-3 months to germinated 70 %, at 5 ํC about 9 months to germinated 80% and about 2 yrs to germinated 70% and -10 ํC about 14 months to germinated 80% and about 2 yrs to germinated 70%.
Seed moisture content (MC) is a significant factor affecting loss of viability especially new harvesting seeds. Low temperature drying room is one of the good alternatives used to reduce MC without any harms from the heat. This type of drying room of Department of Agriculture’s Genebank (DOA’s Genebank) has 25 ?C and 15%RH. At present, data of optimal seed drying period is needed for plant germplasm conservation. This research was conducted to study the effect of seed drying period on seed viability of mungbean, roselle, maize, wheat, sunflower, rice, cowpea, pigeon pea, cotton, Job’s tears, kenaf, jute, Chinese cabbage and barley. RCB (Randomized Complete Block) design with 4 replications was applied as research methodology. Treatment was drying period (0 day – 30 days). The results showed that MC of mungbean, roselle, maize, wheat, sunflower, rice, cowpea, cotton, Job’s tears, kenaf, jute, Chinese cabbage and barley seeds dramatically declined within the first week of seed drying; meanwhile, MC of pigeon pea seeds declined after entering the 4th week. Percent of germination of maize, wheat, sunflower, barley and Chinese cabbage seeds did not change. Percent of germination of mungbean, roselle, Job’s tears, kenaf and jute seeds showed stable value. Percent of germination of pigeon pea, cowpea and cotton seeds decreased; whilst, percent of germination of rice seeds increased. In addition, this research study found that MC and percent of germination of chilli and tomato seeds cannot be predicted due to the fluctuation during drying process. Besides, after 30 days of seed drying, almost all kinds of seed maintained 80% of germination which is appropriate and acceptable for genebank standard.
Impatiens sirindhorniae and Zingiber sirindhorniae, two new species whose names were given by Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn, are classified as rare and endemic species of Thailand. Therefore, this research tried to apply tissue culture techniques to multiply and conserve the two species. In vitro multiplication of I. sirindhorniae and multiplication and growth minimization of Z. sirindhorniae was studied using various concentrations of factors such as plant growth regulators (auxin and cytokinin), media and sucrose. The results indicated that the highest shoot number of I. sirindhorniae (5.9 shoots per explant) was obtained from MS basal medium supplemented with 3 mg/L BA and 1 mg/L NAA but no difference found between NAA added and non-NAA media. Shoot multiplication of Z. sirindhorniae showed the highest shoot number (9 shoots per explant) in MS basal medium contained 5 mg/L BA and 2 mg/L IAA. 1/4 MS and 1/8 MS, both contained 15 g/L of sucrose, were found as suitable media for in vitro growth minimization of Z. sirindhorniae as they gave the same survived rate after 12 months of culture without subculturing.
Trisepalum bhumiboliana and T. sangwaniae are endemic species which are categorized in family of Gesneriaceae. They can be only found in Thailand especially in the area of Tak and Chiangrai province, respectively. Hence, the study on germplasm multiplication by using in vitro propagation technique is extremely necessary. This study showed that appropriate sterilization for this species can be done by immersing mature seed capsules in 95 % ethanol then followed by burning the outer surface of capsules. This sterilization method resulted in 55.55% and 75% non contamination, respectively. Shoot multiplication was also conducted in this study. The microplants from culture of sterilized seeds were transferred to MS medium supplemented with 2,4-Dichlorophenoxyacetic acid (2,4-D) and Benzyladenine (BA). The result showed 0.1 mg/l 2,4-D and 0.1 mg/l BA caused average vigorous shoot at 12.1 in
T. bhumiboliana. The result of T. sangwaniae showed that adding only 1 mg/l 2,4-D to the medium enhanced vigorous shoot induction more than adding of both 2,4-D and BA. In addition, T. sangwaniae was transferred to MS media supplemented with Indole-3-butyric acid (IBA). Shoot regeneration and multiplication was maximum on MS medium with 0.5 mg/l IBA. Root induction was also done. The result showed that WP medium caused average root at 8.87 and average root length at 3.98 cm. This medium formula induced root amount better than MS medium did. Slow growth treatment improved percent survival and extended subculture time without any effect on the tissue or plant viability. In vitro slow growth was attempted by culturing on MS, 1/2 MS, 1/4 MS and 1/8 MS. The plants could survive on 1/2 MS until 1 year and were still vigorous.
Aristolochia baenzigeri B.Hansen & Phuph and Aristolochia helix Phuph are identified as endemic plant and rare species of Thailand. A. baenzigeri is rarely found at Mae Hong Son province, and A. helix is also rarely found at Phangnga province. Reduction of this rare species are occurred by the ecological changed. To conserve this rare species they were propagated in vitro in the laboratory. Seeds of A. baenzigeri was sterilized twice by 15% and 5% sodium hypochlorite for 20 and 30 minutes, respectively. Seeds of A. helix was sterilized twice by 15% and 10% sodium hypochlorite for 10 minutes. Shoot induction was developed using MS medium complemented with 0.5, 1.0, 1.5 and 2.0 mg.L-1 BA (6-Benzylaminopurine) and 0.5, 1.0, 1.5 mg.L-1 NAA (Napthaline acetic acid). Shoot induction of A. helix was significantly increased with completely plant type on the MS medium complemented with 1 mg.L-1 BA and 0.5 mg.L-1 NAA for 3.13 shoots per clump. Unfortunately, A. baenzigeri was not responded to the developing medium, and they died after treatment. The plantlets of A. helix were transferred to MS medium and then were conserved for 4 months before sub-culturing.
Onion plant (Crinum thaianum J.Schulze) is one of the Amaryllidaceae Family. It is an aquatic plant, and it is identified as endemic plant species of Thailand. Found in 2011, it was grown at Ranong province and it was rarely observed at Phangnga province in 2012. To conserve this rare species, it was propagation in vitro in the tissue culture laboratory. Sterilization of bulbs of the Onion plants were optimized. They were washed under running tap water for one hour. They were firstly sterilized by 30% sodium hypochlorite (NaOCl) for 30 minutes, and then were secondly sterilized by 15% sodium hypochlorite for 30 minutes. They were also thirdly sterilized by 5 : 1 Povidone–Iodine : double distilled water for 30 minutes. This method could be increase survival plants to 60% . Bulblet propagation was developed using MS medium complemented with 0, 1, 5, 10, 15 and 22 ?M BA (6-Benzylaminopurine). The propagation rate was highly increased on the MS medium complemented with 15 ?M BA for 45% bulblets and 70% rootlets. Regeneration medium was developed using MS medium complemented with 15 and 30 g.L-1. sucrose or 100 and 150 ml.L-1 coconut water. The regeneration was highly increased on the MS medium complemented with 15 g.L-1 sucrose and 100 ml.L-1 coconut water for 68.75% plantlets and 100% rootlets.
Fern is a group of plant that is widely used especially as ornamental plant. Illegal trade of wild ferns have increased the risked of fern diversity lost. This research attempted to develop fern spore conservation method for Department of Agriculture’s Genebank. Six species of fern which are Blechnum orientale, Bolbitis sinensis, Cibotium barometz, Diplazium esculentum, Pityrogramma calomelanos and Platycerium coronarium, were selected for studies. The resulted showed that spore of B. orientale C. barometz and P. coronarium could be sterilized using 10 % Clorox solution for 10 minutes. While sterilization method using 2 % Clorox solution for 10 minutes was employed for P. calomelanos. Suitable media for spore germination test was MA agar. Storage at 5?C showed highest germination percentage of C. barometz and P. coronarium spores while spores of B. orientale and P. calomelanos from -10?C storage showed their highest germination percentage. However, spores of B. sinensis and D. esculentum did not germinate in any test. As factors related to spore longevity are greatly varied among fern species, further studies on surface sterilization, germination test method, germination media, temperature and moisture content are strongly recommended.
Study on Technique for seed vigour Test on Capsicum annuum (PJ01, PJ05, PJ07, Mondum, Huay Siton, Huareo no.13 and Superhot2) and Capsicum frutescens (Bird Chili) for conservation in DOA genebank. The Split plot design, 4 replications, main plot was seed vigour test and subplot was timing (November 2013, March 2014, July 2014, November 2014, March 2015, July 2015) were conducted in this experiment. The seed vigour test were 1. Accelerated Aging Test (AAT) 2. Saturated Salt Accelerated Aging Test (SSAAT), 3. Electrical Couductivity Test (EC) 4.Controlled Deterioration Test (CD) 5. Germination Test (Control). Moisture test (oven method), germination test and seed vigour test at the beginning were done. Top of paper was used in the germination test and seed vigour test (5methods). Collecting the seeds in 5๐C, 25๐C and -10๐C conserved room of DOA Genebank, sampling for the germination test and seed vigour test every 3 months. It was found that the germination percentage and seed vigour (5methods) of 8 varieties of chili were significantly different at the 5% level by DMRT even the 6th test.
The Germination percentage has mostly decreased, Mondum have shown highly value of germination percentage even 25๐C storage. PJ01, PJ05 and PJ07 have found that the 1st test, the germination test is quite high in 25๐C storage but PJ05 in 5๐C storage the germination test was not high at 1st test (51-70%). The collected seeds PJ01 and PJ05 in 6th test, the germination percentage still have a good result (66-84% and 68-90%), respectively. For -10๐C storage, in 6th test PJ01 and PJ05 was shown 35-93% of germination percentage and PJ07 was shown 51-77% of germination percentage. The germination percentage of Huay Siton was low at the at 1st test. For Seed vigour Test found that every varieties (by EC Test) were shown high value more than the others in 25๐C storage excluding PJ05. For 5๐C storage, AAT presented more vigour than the others. Huareo No13 and Bird chili in 6th test were shown that EC Method have the most vigorous. For the electrical conductivity test was found that Mondum has lowest in 5, 25, -10๐C. It is concluded that EC and CD method appeared high in the germination percentage of conserved seed at 5๐C, 25๐C and -10๐C in 6th test. And vigor test, EC at 25๐C in 6th test give result high germination percentage in every samples (except PJ 05, CD is highest), for 5๐C EC and AAT give result high in seed vigor, for -10๐C EC and CD appeared high in seed vigor.
For the collecting the seed in -196๐C in liquid Nitrogen (the experiment at The HRH Princess Maha Chakri Sirindton Plant Genetic Conservation Project (RSPG)) by the vitrification method, the seeds were packed in cryotube soaking in loading solution 20 minutes, soaked in cryoprotectant and then prefreezing at 0๐C in 60 minutes and collected in LN. And then the germination test of 8 varieteis which through the process of cleaning the seeds, to find out the suitable time for soaking loading solution (0, 10,20 minutes for losing the water inside the cells), after that soaking PVS2 for 30 and 60 minutes, found that the seed which not soak in LN still germinate 100% in all and when collected the seeds in LN was found that the seed can survive and grow out for planting outside. The collecting the seeds in the LN was one of The PGR conservation.
In vitro conservation of micropropagation Stemona sp. cultures was studied. Nodal segments containing axillary bud were cultured on Murashige and Skoog (MS) medium supplemented with a combination of BA and NAA, and maintained at a temperature of 25+2 ?C, 16 hours per day photoperiods for 50 days. The highest number of shoots (2.55 shoots per explant) was obtained on the MS medium with a combination of 10 mg/l BA and 0.25 mg/l NAA. The individual shoot was then transferred onto full-strength MS (MS) or half-strength MS (1/2MS) salts plus 30 g/l sucrose with various concentrations of mannitol for minimal growth induction of plants. It was found that the minimal growth of plantlets was best achieved on 1/2MS containing mannitol free. Moreover, the plantlets could survive on the average of 4.5 months. Although, there was no statistical difference on the concentration level of mannitol, but a statistically significant difference between MS and 1/2MS was observed. However, the treatments in root growth experiment could not induce the root elongation. Therefore, the plantlets could not be moved to the greenhouse for further testing.
In vitro conservation of 10 species in 4 genus of Zingiberaceae was conducted, genus Zingiber: Pli (Zingiber montanum (J. K?nig) Link ex A. Kietr), Pli kwao (Zingiber sp.), Pli chompu (Zingiber sp.) and Pli pluk sak (Zingiber sp.); genus Alpinia: Kha Ling Khing Hang; genus Curcuma: white turmeric (Curcuma manga Valeton & Zijp), turmeric (Curcuma longa L.) and wan-maha-mek (Curcuma aeruginosa Roxb.); genus Kaempferia: wan-kra-chaea-chan (Kaempferia sp.) and wan-thipya-nate (Kaempferia rotunda L.). There were eight species: genus Zingiber, Pli (Zingiber montanum (J. K?nig) Link ex A. Kietr), Pli kwao (Zingiber sp.) and Pli pluk sak (Zingiber sp.); genus Curcuma, white turmeric (Curcuma manga Valeton & Zijp), turmeric (Curcuma longa L.) and wan-maha-mek (Curcuma aeruginosa Roxb.); genus Kaempferia, wan-kra-chaea-chan (Kaempferia sp.) and wan-thipya-nate (Kaempferia rotunda L.), which could be successfully sterilized and cultured. The experiment was done by transferring the individual shoot onto 12 formula (MS or 1/2MS + 3% or 9% sucrose + 0-2 % mannitol). The eight species could be maintained in those media for 7-10 months without subculturing. The result showed that survival plantlets from minimal growth media could regenerate new shoots after subculturing onto the recovering formula media. The plantlets were further moved to be planted in a greenhouse. It was found that a survival rate of the plantlets is 70-90%, and normal growth was clearly observed.
Grapevine (Vitis vinifera L.) conservation by using the tissue culture technique. Study on basal salt medium in 27 cultivars grapevine that collected from different source in Thailand. The 5 different media are Murashige and Skoog (1962) supplemented with BA (MS+BA), MS supplemented with Kinetin (MS+K), half-strength MS supplemented with BA and NAA (1/2MS+BA+NAA), Woody Plant Medium (WPM) and Chee&Pool Medium (C2D). The Axillary buds of grapevine cultivars were used to establish shoot and then compared the result with shoot length, number of node, number of shoot, shoot proliferation and root formation after 4 weeks. For C2D medium trend to show a good result with 20 cultivars, MS+BA and 1/2MS+BA+NAA formula resulted in equivalent are suitable for the grapevine 15 cultivars while MS+K and WPM gave the results for the grapevine 9 and 8 cultivars respectively. However, the acclimatization for transplant especially planting material should be forward study.
Petrocosmea pubescens is an endemic species of Thailand, found only on Doi Tung, Chiang Rai province. According to IUCN, this species has been classified as Vulnerable. Therefore, this research tried to apply tissue culture techniques to multiply and conserve this species. This research is conducted by studying sterilization method and parts of plant which are suitable for in vitro multiplication. The result showed that sterilization by dipping pod of P. pubescens in 95% ethanol then quickly moved the pod over flame for 3 times before culture seed on media was the most effective method as it resulted in 50% sterilized seed that could germinate and complete its growth. Various concentrations of plant growth regulators (auxin and cytokinin) were also examined. The results indicated that after 3 months of culture, the highest shoot number of P. pubescens (11.4 shoots per explant) was obtained from MS basal medium supplemented with 0.5 mg/L IBA while the media supplemented with BA and IBA were found to have no effect on increasing number of shoot.
Paraboea doitungensis, an endemic species categorized in Gesneriaceae family, can be found only in Chiangmai province of Thailand. The study on germplasm multiplication by using in vitro propagation technique was done in this research. The result showed that appropriate sterilization for this species is immersing mature seed capsules in 95% ethanol followed by burning the outer surface of the capsules. Seeds inside capsule can be sterilized by dipping them in 5% hydrogen peroxide (H2O2) and excised seeds were aseptically transferred to MS medium. It was found that this sterilization method can prevent materials from contamination up to 50%. Apart from sterilization technique, shoot multiplication was also conducted in this research. The microplants from leave culture were transferred to MS medium supplemented with Naphthalene acetic acid (AAA) and Benzyladenine (BA). The result showed that adding only 0.1 mg/L NAA induced average number of vigorous shoots at 3.48. Root induction from cultures of those vigorous shoots was also done by transferring them to MS and ? MS medium supplemented with NAA. The result showed that ? MS medium supplemented with NAA better induced average number of root and average root length namely 7.29 and 6.62 cm. respectively.
Roselle is one of the plants conserved in Department of Agriculture’s Genebank (DOA’s Genebank). Due to high oil content found in seed, roselle tends to loss its viability and becomes a big challenge for curators in storage process of plant germplasm particularly regeneration which wastes high budgets each year. Consequently, study on cryopreservation of roselle was conducted to find out an optimum seed moisture content (MC) and to study an effect of storage period on seed viability under cryopreservation condition. This research study was done at seed laboratory and seed storage sector belonging to DOA’s Genebank from October 2013 to September 2015 and was divided into 2 experiments: 1) Optimum seed moisture content of roselle for 0 – 7 day cryopreservation. Split split pot design with 4 replications was used as research methodology. Main plot were 3 varieties; Khon Khaen 50 (KK50), Nonesung 2 and Pordaeng Chaiyapoom. Sub-plot were MC levels; 4%, 6%, 8% and 10%. Sub – subplot were storage periods; 0 day and 7 days. The result showed that percent of seed germination and vigor of all varieties with all MC levels after 7 day storage did not differ from those at 0 day storage. 2) Effect of storage period on seed viability under cryopreservation condition at 0, 6 and 12 months. Split split pot design with 4 replications was used as research methodology. Main plot were 3 varieties; Khon Khaen 50, Nonesung 2 and Pordaeng Chaiyapoom. Sub-plot were MC levels; 4%, 6%, 8% and 10%. Sub – subplot were storage periods; 0 month, 6 months and 12 months. The result showed that roselle seeds with 4 – 6 percent of MC tended to have low germination after 12 month storage under cryopreservation condition. When seeds were stored under room temperature condition, it was founded that germination of Pordaeng Chaiyapoom seeds with 10 percent of MC after 12 month storage decreased. In addition, it was also founded that vigor of KK50 seeds with 10 percent of MC and Pordaeng Chaiyapoom seeds with 8 and 10 percent of MC decreased after 12 month storage under room temperature condition.
Cryopreservation of Perilla frutescens L. Britton Seed was studied at Biotecnology Research and Development Office in during October 2013-Sebtember 2015. This research was studied on seed moisture content (%) which the main factor for seed storage life. The research was divided into two experiments. The first experiment was Cryopreservation 7 days and Split plot design was laid out with 4 replications. The main plot was seed moisture content(%) had 8 levels : 10 (started) ), 9, 8, 7, 6, 5, 4 and 3 . The sub plot storage of time had 2 levels: 0 and 7 days. The result show that all moisture content (%) of Perilla Seeds can storage in Cryopreservation because they had viability equal to started viability but the optimum of moisture content (%) was 3-8 because they had seed viability equal to started seed viability. The second experimental was effect of time on seed cryoperservative. Split plot design was laid out with 4 replications. The main plot was seed moisture content(%) had 8 levels: 10 (started)), 9, 8, 7, 6, 5, 4 and 3. The sub plot storage of time had 3 levels: 0, 6 and 12 months. Experimental results showed that the optimum seed moisture content (%) on Cryopreservative was 3-7 because in 12 months the seeds remain viability and vigor equal to started but seed moisture content 6 % decreased viability and vigor in 12 months if storage in room temperature condition and in 6 months lost viability and vigor when the seeds had 7-10 % of moisture content. |