สืบค้นงานวิจัย
ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในการดำเนินงานพัฒนากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดภูเก็ต
ประวัติ หนูแดง - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในการดำเนินงานพัฒนากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดภูเก็ต
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ประวัติ หนูแดง
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในการดำเนินงานพัฒนากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดภูเก็ต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไป ข้อมูลระดับการมีส่วนร่วม และข้อมูลเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรที่มีลักษณะทางสังคมและเศรษฐกิจแตกต่างกันต่อการดำเนินงานพัฒนากลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ตลอดจนปัญหาและอุปสรรค และข้อเสนอแนะในการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จังหวัดภูเก็ต การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสัมภาษณ์ สัมภาษณ์คณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จำนวน 32 กลุ่ม 160 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรม สำเร็จรูป SPSS หาค่าสถิติ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต การทดสอบสมมติฐาน ใช้ F - test ระดับความเชื่อมั่นทางสถิติ ที่ 0.05 สรุปผลการวิจัย ดังนี้ ข้อมูลทั่วไปของคณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร พบว่า มีอายุเฉลี่ย 39.7 จบชั้นประถมศึกษา ร้อยละ 65.6 ประกอบอาชีพค้าขาย ร้อยละ 27.5 รองลงมาอาชีพรับจ้าง และทำสวน ร้อยละ 26.2 และ 21.9 ตามลำดับมีรายได้เฉลี่ย 16,200 บาท และมีระยะเวลาอาศัยอยู่ในหมู่บ้าน เฉลี่ย 38.4 ปี ระดับการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการวาง แผน การตัดสินใจ การปฏิบัติงานและการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์พบว่า คณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร อยู่ในระดับปานกลาง การเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของคณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จำแนกตามอายุในภาพรวมและรายด้าน พบว่า คณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรที่มีอายุต่างกัน มีส่วนร่วมในการดำเนินงานพัฒนากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรไม่ความความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จำแนกตามระดับการศึกษา พบว่า คณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรที่มีการศึกษาต่างกัน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จำแนกตามอาชีพ รายได้ของครัวเรือน และระยะเวลาอาศัยอยู่ในหมู่บ้าน พบว่า คณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ที่มีอาชีพ รายได้ และระยะเวลาอาศัยอยู่ในหมู่บ้านต่างกัน มีส่วนร่วมในการพัฒนากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และปัญหาอุปสรรค เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของคณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรที่สำคัญ เช่น กรรมการบางคนขาดความรู้ และทักษะในการวางแผนดำเนินงานกลุ่ม ขาดประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการกลุ่ม กลุ่มขาดเงินทุนและวัสดุอุปกรณ์ ในการดำเนินงานกิจกรรมกลุ่ม เป็นต้น ส่วนข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานที่สำคัญ เช่น เจ้าหน้าที่ คณะกรรมการกลุ่ม ตัวแทนสมาชิกกลุ่มกิจกรรม ร่วมในการวางแผนดำเนินงาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรให้การสนับสนุน ความรู้ในการฝึกอบรม รวมทั้งการฝึกปฏิบัติหรือศึกษาดูงาน และจัดระดมทุนหรือสนับสนุนงบประมาณตามกิจกรรมที่ดำเนินการให้มากขึ้น
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในการดำเนินงานพัฒนากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดภูเก็ต
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
การดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดศรีสะเกษ ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสำเร็จในการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรของอำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในจังหวัดลำปาง ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดชัยนาท การดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรสู่วิสาหกิจชุมชนในพื้นที่เขตที่ 1 ศึกษาผลการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร ความพึงพอใจในการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในจังหวัดพังงา การมีส่วนร่วมในกิจกรรมของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จังหวัดปัตตานี การมีส่วนร่วมของสมาชิกในกิจกรรมของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินงาน การดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จของจังหวัดตราด

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก