สืบค้นงานวิจัย
สภาพการผลิตและการตลาดลำไยของเกษตรกรในจังหวัดลำพูน
อาทร วงษ์สง่า - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตและการตลาดลำไยของเกษตรกรในจังหวัดลำพูน
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อาทร วงษ์สง่า
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาสภาพการผลิต และการตลาดลำไยเกษตรกรในจังหวัดลำพูน ปี 2546 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพเศรษฐกิจและสังคมบางประการของเกษตรกรผู้ผลิตลำไย 2) ศึกษาสภาพการผลิตลำไยของเกษตรกรในจังหวัดลำพูน 3) ศึกษาการตลาดลำไยของเกษตรกรในจังหวัดลำพูน 4) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการผลิตลำไย ตลอดจนการตลาดลำไยในจังหวัดลำพูน และ 5) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรผู้ปลูกลำไยกับสภาพการผลิต และการคลาด รวบรวมข้อมูลจากเกษตรกรผู้ปลูกลำไยในอำเภอเมืองและอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน จำนวน 100 คน ประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยค่าถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรผู้ปลูกลำไยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 46.86 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา สถานภาพสมรส จำนวนสมาชิกในครอบครัว 5 คน เป็นสมาชิกกลุ่มลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และเป็นสมาชิกกลุ่มผู้ปลูกลำไย พื้นที่ทำการเกษตร เฉลี่ย 11.01 ไร่ มีที่ดินเป็นของตนเอง รายได้ภาคเกษตรเฉลี่ย 107,140.0 บาท รายได้นอกภาคการเกษตรเฉลี่ย 35,420.0 บาท รายได้รวมเฉลี่ย 142,560.0 บาท มีการกู้ยืมเงิน แหล่งเงินกู้คือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สภาพการผลิตลำไยพบว่า เกษตรกรผู้ปลูกลำไยส่วนใหญ่มีพื้นที่ปลูกลำไยเป็นของตนเอง ลักษณะพื้นที่ปลูกลำไยเป็นพื้นที่ในเขตชลประทาน ปลูกลำไย 25 ต้นต่อไร่ มีต้นลำไยครอบครองเฉลี่ย 165.40 ต้น ปลูกลำไยพันธุ์อีดอ ขยายพันธุ์ลำไยเอง ปลูกลำไยไม่พร้อมกันทยอยปลูกเป็นรุ่นไป อายุของต้นลำไยเฉลี่ย 9.20ปี ใช้ทุนของตนเองในการปลูกลำไย กู้ยืมเงินมาจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรเพื่อใช้เป็นเงินทุนในการปลูกลำไย ให้น้ำโดยใช้เครื่องสูบน้ำบาดาล เกษตรกรมีการใช้ปุ๋ยเคมีควบคู่กับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์โดยมีการใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15 - 15 - 15 ใช้หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต สูตร 20 - 10 - 10 ใช้ใส่ช่วงผลอ่อนเล็ก สูตร8 - 24 - 24 ใช้ใส่ก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิต และ สูตร 13 - 13 -21 ใส่ก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิต โดยเกษตรกรมีการใช้ปุ๋ยเคมีทั้งหมดเฉลี่ย 121.70 กก วิธีการใส่ปุ๋ยเคมีโดยการหว่าน มีการใช้ ราวด์อัพ เพื่อป้องกันกำจัดวัชพืช ใช้สารไซเปอร์เมทริน 25 ในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูลำไย ส่วนในเรื่องการตัดแต่งกิ่งลำไยพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่มีการตัดแต่งกิ่งลำไยหลังการเก็บเกี่ยว ค่าใช้จ่ายในการผลิตลำไย เฉลี่ย 4,458.0 บาท พื้นที่การผลิตลำไยเฉลี่ย 6.71 ไร่ ปริมาณผลผลิตลำไยเฉลี่ย 8,383.0 กก ทราบข่าวสารความรู้เกี่ยวกับการผลิตลำไยจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ด้านการตลาดพบว่า เกษตรกรผู้ปลูกลำไยมีการจำหน่ายผลผลิตลำไยโดยเก็บผลผลิตขายเอง จำหน่ายผลผลิตให้กับพ่อค้าผู้ส่งออก จำหน่ายลำไย ณ จุดรับซื้อในตัวจังหวัด ลักษณะลำไยที่จำหน่ายคือ ลำไยสดไม่ร่วง มีการคัดเกรดบรรจุกล่อง จำหน่ายลำไยสดโดยเฉลี่ยราคา เกรด AA ราคา 20 บาท เกรด A ราคา 18 บาท เกรด B ราคา 16 บาท เกรด C ราคา 12 บาท และไม่คัดเกรดราคา 6 บาท วิธีการจำหน่ายลำไยร่วงโดยการคัดเกรด จำหน่ายลำไยร่วงให้กับผู้อบลำไยแห้ง รายย่อย และจำหน่ายลำไยอบแห้งโดยการเข้าร่วมโครงการรับจำนำลำไยอบแห้ง ราคาที่รับจำนำลำไยอบแห้ง เกรด AA ราคา 72 บาท เกรด A ราคา 54 บาท เกรด B ราคา 36 บาท สำหรับราคาลำไยอบแห้งทั่วไปโดยเฉลี่ยราคาเกรด AA ราคา 55 - 63 บาท เกรด A ราคา 35 - 43 ราคา เกรด B ราคา15 - 20 บาท เกรด C ราคา 6 - 10 ตามลำดับ เกษตรกรผู้ปลูกลำไยส่วนใหญ่ประสบปัญหาการผลิตลำไยในเรื่องผลผลิตคุณภาพต่ำไม่ได้มาตรฐาน รองลงมาคือ ขาดแคลนแหล่งน้ำเพื่อการผลิต และประสบปัญหาการตลาดลำไยในเรื่อง ราคาผลผลิตตกต่ำ รองลงมาคือ ไม่มีอำนาจต่อรองราคากับผู้ซื้อ นอกจากนี้เกษตรกรผู้ปลูกลำไยส่วนใหญ่ได้เสนอว่า ควรหาตลาดลำไยสดและลำไยอบแห้งให้กับเกษตรกร รองลงมาคือ ควรมีการประกันราคาผลผลิตลำไยสดและลำไยอบแห้งให้กับเกษตรกรโดยตรง สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมกับสภาพการผลิต และการตลาดลำไยพบว่า ระดับการศึกษา สถานภาพการสมรส จำนวนแรงงานเกษตรในครัวเรือนและขนาดพื้นที่ปลูกลำไยมีความสัมพันธ์กับปริมาณผลผลิตลำไย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ระดับการศึกษา สถานภาพการสมรส และจำนวนแรงานเกษตรในครัวเรือนมีความสัมพันธ์กับการขายเหมาสวน และการเก็บผลผลิตขายเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิคิที่ระดับ 0.05 การขายเหมาสวน การเก็บผลผลิตขายเองยกเว้น ขนาดพื้นที่ปลูกลำไย นอกจากนี้ยังพบว่าระดับการศึกษา สถานภาพการสมรสมีความสัมพันธ์กับการแปรรูปลำไยอบแห้งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้น จำนวนแรงงานเกษตรในครัวเรือน และขนาดพื้นที่ปลูกลำไย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: จังหวัดลำพูน
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการผลิตและการตลาดลำไยของเกษตรกรในจังหวัดลำพูน
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
สภาพการผลิตลำไยของเกษตรกรที่เข้าร่วมระบบการผลิตตามการเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) ของเกษตรกรในจังหวัดจันทบุรี เทคโนโลยีการผลิตลำไยของเกษตรกรอำเภอนาด้วง จังหวัดเลย การใช้เทคโนโลยีของเกษตรกรผู้ปลูกลำไย จังหวัดลำพูน การศึกษาสภาพการผลิตและการตลาดผักพื้นบ้าน สภาพการผลิต การตลาดมะขามเปรี้ยวของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การทดสอบระบบการผลิตลำไยแบบพุ่มเตี้ยในแปลงเกษตรกรจังหวัดเชียงราย โครงการวิจัยแก้ปัญหาการผลิตลำไยเพื่อการส่งออกของเกษตรกรในภาคตะวันออก แนวทางการผลิตและการตลาดลำไยในจังหวัดเชียงราย รายงานผลการศึกษาการผลิตลำไยนอกฤดูของฤดูของเกษตรกรในจังหวัดจันทบุรี สภาพภูมิอากาศกับการให้ผลผลิตของลำไยจังหวัดลำพูน ปี 2525 - 2539

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก