สืบค้นงานวิจัย
ปริมาณสารออกฤทธิ์และฤทธิ์เอสโตรเจนิกของกวาวเครือขาวในแปลงปลูก
วิชัย เชิดชีวศาสตร์ - จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชื่อเรื่อง: ปริมาณสารออกฤทธิ์และฤทธิ์เอสโตรเจนิกของกวาวเครือขาวในแปลงปลูก
ชื่อเรื่อง (EN): Bioactive compounds and estrogenic activity of the cultivated Pueraria mirifica
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วิชัย เชิดชีวศาสตร์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: กวาวเครือขาวสายพันธุ์ PM-III และ PM-IV ในแปลงปลูกอายุ 3 ปีให้ผลผลิตหัวที่มีรูปร่างและขนาดแตกต่างกันเมื่อตัดสินจากข้อมูลเส้นรอบวง สัดส่วนความยาวและความกว้างของหัว เมื่อนาหัวกวาวเครือขาวทั้ง 2 สายพันธุ์ไปวิเคราะห์หาปริมาณสารไอโซฟลาโวนอยด์ พบว่ามีความแตกต่างกันจากตัวอย่างที่เก็บเกี่ยวในเวลาเดียวกัน แสดงว่าความแตกต่างของพันธุกรรมพืชมีผลต่อการสะสมของสารไอโซฟลาโวนอยด์ในหัว ในขณะที่หัวกวาวเครือขาวสายพันธุ์เดียวกันที่เก็บเกี่ยวในช่วงเวลาแตกต่างกัน พบว่ามีความแตกต่างในปริมาณสารไอโซฟลาโวนอยด์ด้วยเช่นกัน แสดงว่าปัจจัยของสภาพแวดล้อมคือความแตกต่างของอุณหภูมิและปริมาณน้าฝนที่ได้รับมีผลต่อการสะสมของสารไอโซฟลาโวนอยด์ในหัว การศึกษาฤทธิ์เอสโตรเจนิกเปรียบเทียบระหว่างตัวอย่างหัวกวาวเครือขาว 2 สายพันธุ์ พบว่ามีความเตกต่างกันระหว่างตัวอย่างของหัวกวาวเครือขาวต่างสายพันธุ์กันที่เก็บเกี่ยวในเวลาเดียวกัน และภายในสายพันธุ์เดียวกันที่เก็บเกี่ยวในช่วงเวลาแตกต่างกัน โดยภาพรวมพบว่ากวาวเครือขาวสายพันธุ์ PM-IV ออกฤทธิ์เอสโตรเจนิกได้แรงกว่าสายพันธุ์ PM-III และหัวที่เก็บเกี่ยวในฤดูหนาวออกฤทธิ์เอสโตรเจนิกได้แรงกว่าหัวที่เก็บเกี่ยวในฤดูฝนและฤดูหนาว ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ทั้งพันธุกรรมพืชและปัจจัยของสภาพแวดล้อมมีผลต่อฤทธิ์เอสโตรเจนิกของหัวกวาวเครือขาว
บทคัดย่อ (EN): The 3 years old field grown Pueraria mirifica cultivar PM-III and PM-IV produced different shape and size of the tubers evaluated from the circumvallates and the length over the width of the tubers. Isoflavonoid analysis revealed that the tubers of the 2 plant cultivars harvested within the same period harbored different amount of isoflavonoids. The tubers of the same plant cultivars harvested within different periods also harbored different amount of isoflavonoids. It suggests that the different in temperature and rain amount had influenced on the isoflavonoid amount. The comparative estrogenic activity of the tubers derived from the 2 plant cultivars revealed the difference estrogenic activity among tubers harvested within the same period. Tubers of the same plant cultivar harvested within different period also exhibited different estrogenic activity. In overall evaluation, PM-IV tubers exhibited stronger estrogenic activity than Pm-III. In addition, tubers collected within winter exhibited stronger estrogenic activity that those collected within summer and rainy season. The study revealed that both plant genetics and environmental factors had influenced on the plant estrogenic activity.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ปริมาณสารออกฤทธิ์และฤทธิ์เอสโตรเจนิกของกวาวเครือขาวในแปลงปลูก
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
30 กันยายน 2551
การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี พันธุ์ สารออกฤทธิ์สำคัญและผลของสารสำคัญในกวาวเครือขาว โครงการย่อยที่ 5 โครงการวิเคราะห์ปริมาณสาร THC ในเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 1 โครงการคัดเลือกสายพันธุ์เฮมพ์ที่มีปริมาณสาร THC ต่ำ สาร 3-MCPD กับซอสถั่วเหลือง โอคราท็อกซิน เอ ในลูกเกด ศึกษาการงอกของเมล็ดกวาวเครือขาว โอคราทอกซิน เอ ในผงกาแฟโบราณ โอคราทอกซิน เอ ในกาแฟคั่วบด การพัฒนากรรมวิธีผลิตสารไมโรเอสทรอลจากกวาวเครือขาวและการประดิษฐ์เวชสำอางค์ตำรับเจลไมโรเอสทรอลต้นแบบ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก