สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียในช่องปากจากสารสกัดผลมะแขว่น
พัชรวรรณ ตันอมาตยรัตน์ - มหาวิทยาลัยพะเยา
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียในช่องปากจากสารสกัดผลมะแขว่น
ชื่อเรื่อง (EN): Bioactive substance from Fresh Makhwaen (Zanthoxylum rhetsa (Roxb.) DC.) Fruit Extract and Antibacterial Products
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พัชรวรรณ ตันอมาตยรัตน์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Patcharawan Tanamatayarat
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “การพัฒนาผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียในช่องปากจากสารสกัดผลมะแขว่น” แก่มหาวิทยาลัยพะเยา มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพของน้ำมันหอมระเหยและสารสกัดหยาบเอทานอลของผลมะแขว่นสด และแยกสารบริสุทธิ์จากชั้นตัวทำละลายที่มีฤทธิ์มากสุดของสารสกัดโดยใช้วิธีการทางโครมาโทกราฟี โดยสามารถอธิบายโครงสร้างของสารบริสุทธิ์ด้วยวิธีการทางสเปกโทรสโกปี และทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพของสารบริสุทธิ์ที่ได้จากการศึกษาวิจัยเชื้อแบคทีเรียสแตฟิโลค็อกคัส มิวแทนส์ (Streptococcus mutan หรือ S. mutans) เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคฟันผุ ซึ่งมะแขว่นนั้นมีสรรพคุณลดอาการปวดท้อง และแก้ปวดฟัน พบว่า สารที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียเชื้อสแตฟิโลค็อกคัส มิวแทนส์ (Staphylococcus mutans หรือ S. mutans) โดยใช้สารสกัดและน้ำมันหอมระเหยจากผลมะแขว่นสด และสร้างผลิตภัณฑ์สเปรย์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียบนแปรงสีฟันและน้ำยาบ้วนปาก พบว่า สาร 10-โนนาดีซีโนอิก แอซิด (10-nonadecenoic acid) และ (2อี,4อี,8อี,10อี,12อี)-2 ไฮดรอกซี-เอ็น-ไอโซคิวธิล-2,4,8,10,12-เตตะเดคาเพนทาเอไมด์ (2E,4E,8E,10E,12E)-2hydroxy-N-isocutyl-2,4,8,10,12-tetradecapentaeamide) แสดงฤทธิ์ต้านแบคทีเรียสแตฟิโลค็อกคัส มิวแทนส์ (Streptococcus mutan หรือ S. mutans) การนำน้ำมันหอมระเหยและสกัดชั้นตัวทำละลายต่างๆ ของมะแขว่นสด (Zanthoxylum rhetsa (Roxb.) DC.) มาศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพเบื้องต้นในฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน ฤทธิ์ความเป็นพิษต่อไรทะเล และฤทธิ์ต้านแบคทีเรียสแตฟิโลค็อกคัส มิวแทนส์ (Streptococcus mutan หรือ S. mutans) และนำสารสกัดไปแยกหาสารบริสุทธิ์และตรวจสอบองค์ประกอบในน้ำมันหอมระเหย ซึ่งมีฤทธิ์ต้านออกซิเดชันเฉพาะไฮดรอกซิลด้วยค่าความเข้มข้นของน้ำมันหอมระเหยที่ยับยั้งอนุมูลอิสระได้ ความเป็นพิษต่อไรทะเลด้วยความเข้มข้นที่ทำให้ไรทะเลตาย และฤทธิ์ต้านแบคทีเรียสแตฟิโลค็อกคัส มิวแทนส์ (Streptococcus mutan หรือ S. mutans) ของน้ำมันหอมระเหย แสดงด้วยเส้นผ่านศูนย์กลางของการยับยั้งเชื้อ เมื่อนำไปศึกษาองค์ประกอบของน้ำมันหอมระเหยด้วยวิธีแก๊สโครมาโตกราฟี พบสารกลุ่มโมโนเทอร์ปีน สารสกัดหยาบเอทานอลแสดงฤทธิ์ต้านออกซิเดชันต่ออนุมูลอิสระดีพีพีเอชและไฮดรอกซิล ความเป็นพิษต่อไรทะเล และฤทธิ์ต้านแบคทีเรียสแตฟิโลค็อกคัส มิวแทนส์ (Streptococcus mutan หรือ S. mutans) ของสารสกัดหยาบเอทานอลแสดงด้วยเส้นผ่านศูนย์กลางของการยับยั้งเชื้อ เมื่อนำสารสกัดมาแยกด้วยตัวทำละลายต่างๆ แล้วนำไปทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพ พบว่า สารสกัดชั้นบิวทานอลมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระดีพีพีเอชและไฮดรอกซิลสูงกว่าชั้นอื่น ความเป็นพิษต่อไรทะเลของชั้นสารสกัดไดคลอโรมีเทนมีค่าสูงสุด และฤทธิ์ต้านแบคทีเรียสเตปโตคอกคัส มิวแทนด์ (Streptococcus mutan หรือ S. mutans) ของสารสกัดเฮกเซนแสดงฤทธิ์ต้านแบคทีเรียสูงสุดด้วยเส้นผ่านศูนย์กลางของการยับยั้งเชื้อ โดยสารสกัดที่ได้จากตัวทาละลายเฮกเซน ไดคลอโรมีแทน และบิวทานอล นำมาแยกสารบริสุทธิ์ด้วยวิธีทางโครมาโตกราฟี และนำสารทุกชนิดไปศึกษาโครงสร้างทางเคมีโดยใช้ข้อมูลวิธีวิเคราะห์ด้วยเทคนิคทางสเปกโตรสโกปี ประโยชน์ที่จะได้รับจากผลงานวิจัยได้ฤทธิ์ชีวภาพของน้ำมันและสารสกัดเอทานอลจากผลมะแขว่นสดที่ดีสุด รวมทั้งสามารถแยกสารบริสุทธิ์จากชั้นตัวทำละลายของสารสกัดโดยวิธีการทางโครมาโทกราฟี นำสารบริสุทธิ์ที่ได้ไปหาคุณสมบัติทางเคมีและกายภาพ และวิธีทางสเปกโทรสโกปี นำไปต่อยอดพัฒนาเภสัชภัณฑ์
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-07-05
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-07-04
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2557
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยพะเยา
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
ข้อมูลทรัพยสินทางปัญญา
ประเภทIP อนุสิทธิบัตร
รายชื่อสิ่งประดิษฐ์ ผลิตภัณฑ์ทางทันตกรรมที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก และกรรมวิธีการผลิตผลิตภัณฑ์ดังกล่าว
เลขที่คำขอ 1703000225
วันที่ยื่นคำขอ 2017-02-14 12:00:00
เลขที่ประกาศ 14298
วันที่จดทะเบียน 2019-02-13 12:00:00
เลขที่จดทะเบียน 14298
วันที่ประกาศ 2018-08-31 12:00:00
สถานะปัจจุบัน เชิงพาณิชย์
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียในช่องปากจากสารสกัดผลมะแขว่น
มหาวิทยาลัยพะเยา
4 กรกฎาคม 2558
การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากลำไย โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์กระตุ้นการเจริญของเส้นผมที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากเหงือกปลาหมอ การศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดใบกฤษณาเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นเนื้อสมุนไพร ผลของสารสกัดบริสุทธิ์จากสมุนไพรต่อการยับยั้นการเจริญของเชื้อ Pythium insidiosum (คปก. ต่อยอด) ผลของสารสกัดจากสาหร่ายสไปรูไลนาต่อการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรค Vibrio parahaemolyticus และ V. harveyi ในกุ้งขาวแวนนาไม (Litopenaeus vannamei Boone, 1931) ผลของสารสกัดจากสาหร่ายสไปรูไลนาต่อการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรค Vibrio parahaemolyticus และ V. harveyi ในกุ้งขาวแวนนาไม (Litopenaeus vannamei Boone, 1931) การแยกและการตรวจสอบฤทธิ์ทางชีวภาพของเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ร่วมกับไลเคนซึ่งเก็บจากพื้นที่การเกษตร การวิจัยและพัฒนาสารสกัดจากว่านอึ่งเพื่อใช้ประโยชน์ในอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ระยะ ๔ ฤทธิ์การต้านจุลชีพของสารสกัดจากใบมะกรูด

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก