สืบค้นงานวิจัย
ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการปลูกข้าวของเกษตรกร อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
ยุทธพล ทองปรีชา - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการปลูกข้าวของเกษตรกร อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
ชื่อเรื่อง (EN): Knowledge, Attitude, and Practices on Organic Fertilizer Application for Growing Rice of Farmers, Mae Suai District, Chiang Rai Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ยุทธพล ทองปรีชา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Yuttapon Thongprecha
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ดุษฎี ณ ลำปาง
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Dusdee Nalampang
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ศึกษา (1) รูปแบบ ปริมาณการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และต้นทุนการผลิตข้าว (2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ปัจจัย ด้านสังคม ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม กับ ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และ (3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าวของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในอำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย จำนวน 347 ราย พบว่า เกษตรกรมีรูปแบบการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี  ปุ๋ยอินทรีย์ที่ใช้ในการปลูกข้าวมากที่สุดคือ ปุ๋ยคอก รองลงมาคือ ปุ๋ยหมัก และ ปุ๋ยพืชสด มีต้นทุนการผลิตข้าวนาปีไร่ และนาปรัง เฉลี่ยเท่ากับ 3,577.10 และ  4,010.50 บาท/ไร่ ตามลำดับ การทดสอบสมมติฐาน พบว่า เพศ และ ความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในนาข้าว มีความสัมพันธ์กับ ความรู้เกี่ยวกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการปลูกข้าวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การได้รับข่าวสารเกี่ยวกับปุ๋ยอินทรีย์ ความถี่ในการฝึกอบรม และความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในนาข้าวมีความสัมพันธ์กับทัศนคติเกี่ยวกับการใช้ ปุ๋ยอินทรีย์ในการปลูกข้าวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนพื้นที่ปลูกข้าว การฝึกอบรมความรู้เกี่ยวกับปุ๋ยอินทรีย์ ความถี่ในการฝึกอบรม  ประสบการณ์การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ จำนวนแหล่งผลิต/จำหน่ายปุ๋ยอินทรีย์ จำนวนแรงงานในครัวเรือน การมีอยู่ของแหล่งผลิต/จำหน่ายปุ๋ยอินทรีย์ และ ความยากง่ายในการเข้าถึงแหล่งผลิต/จำหน่ายปุ๋ยอินทรีย์ มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการปลูกข้าว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในส่วนของปัญหานั้น เกษตรกรมีปัญหาเกี่ยวกับการใช้ปุ๋ยหมักมากที่สุด และมีข้อเสนอแนะ คือเกษตรกรต้องการให้มีการจัดอบรมให้ความรู้ด้านการผลิต การใช้ประโยชน์ปุ๋ยอินทรีย์ และการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีในการปลูกข้าวอย่างถูกต้อง
บทคัดย่อ (EN): The objectives of  this study were to find out : (1) The kind, and quantity of organic fertilizer application, and  also the cost of  growing rice  (2) the relationship between farmers’ knowledge,  attitudes,  practice and their personal  economical and environmental factors and (3) Their problems and recommendation on organic fertilizer application.  The study was done by sampling 347 farmers in Mae Suai  District,  Chiang  Rai Province. The result showed that all of the farmers had one kind of fertilizer application which was organic incorporated with inorganic fertilizer for growing rice. Farmers used animal manure more than compost and green manure fertilizers. The costs of growing rice were 3,577.10 and 4,010.50 bath per rai for the rainy-season rice and the dry-season rice, respectively. Independent variables including gender and knowledge about the environment in the rice field were found to be significantly related to knowledge of organic fertilizer application. Obtaining of messages in organic fertilizer, frequency of training and the knowledge about the environment in the rice field were also significantly related to attitudes of organic fertilizer application. In addition, area of rice field, training , frequency of training, experience of organic fertilizer use, places and existence of organic fertilizer production, number of in household labors and  access to the place of organic fertilizer production were significantly related  to  practice of organic fertilizer application. their lack of knowledge and experience of compost production were the biggest problem of farmers in using organic fertilizer. More training should be provided on production and application of organic fertilizer, and training for using organic mixed with inorganic fertilizers for growing rice.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554
เอกสารแนบ: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/245982/168151
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการปลูกข้าวของเกษตรกร อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2554
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
โปรแกรมฐานข้อมูลแนะนำการใช้ปุ๋ย dbFRec for DOS การศึกษาวิธีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากเศษวัสดุอินทรีย์ที่ได้จากการตัดแต่งกิ่งไม้ ทัศนคติของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการวิจัยทดสอบพันธุ์และกระจายพันธุ์โคนม TMZ ในระดับเกษตรกร ศึกษาทัศนคติของเกษตรกรต่อการใช้ค้างในการปลูกมะเขือเทศอุตสาหกรรม สภาพการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าวของเกษตรกรตำบลเมืองปัก อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา การใช้ประโยชน์จากบ่อก๊าซชีวภาพของเกษตรกรในจังหวัดเชียงราย สภาพการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าวของเกษตรกรตำบลบ้านแร่ กิ่งอำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตามแนวทางเกษตรชีวภาพของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษ จังหวัดสระบุรี สภาพการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าวของเกษตรกร ตำบลสลักใด อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน กิ่งอำเภอเอราวัณ จังหวัดเลย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก