สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาผู้นำกิจกรรมทางกายโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบจิตตปัญญาศึกษาเพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
อาพัทธ์ เตียวตระกูล - มหาวิทยาลัยนเรศวร
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาผู้นำกิจกรรมทางกายโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบจิตตปัญญาศึกษาเพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
ชื่อเรื่อง (EN): The development of physical activity leaders using contemplative education approach to promote wellness among the elderly
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อาพัทธ์ เตียวตระกูล
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Arphat Tiaotrakul
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาผู้นำกิจกรรมทางกายโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบจิตตปัญญาศึกษาเพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาครั้งนี้ คือ นิสิตสาขาพลศึกษาและวิทยาศาสตร์การออกกำลังกาย คณะศึกษาศาสตร์ หาวิทยาลัยนเรศวร จำนวน 30 คน ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ สมุดบันทึกการเรียนรู้แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุ และแผนกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการเรียนรู้แบบจิตตปัญญาศึกษาเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายของผู้สูงอายุโดยใช้หลักจิตตปัญญา 7 (7C'S) ประกอบด้วย หลักการพิจารณาด้วยใจอย่างใคร่ครวญ (Contemplation) หลักความรักความเมตตา (Compassion) หลักการเชื่อมโยงสัมพันธ์ (Connection) หลักการเผชิญ (Confronting) หลักความต่อเนื่อง (Continuity) หลักความมุ่งมั่น (Commitment) และหลักชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Community) โดยมีกิจกรรม ที่เอื้อต่อการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนที่สำคัญ ดังนี้ 1) Check In 2) Sharing and Opening 3) Reflection and Conclusion 4) Service learning 5) AAR และ 6) Follow up เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การถอดบทเรียน (Focus group discusslon) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการจัดการเรียนรู้เกิดการบูรณาการอย่างสมดุลทั้งทางกาย จิตใจ และปัญญา นิสิตเกิดการเรียนรู้การเป็นผู้นำกิจกรรมทางกายแก่ผู้สูงอายุ โดยมีผลการเรียนรู้ใน 3 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านความรู้ พบว่า นิสิตเข้าใจเนื้อหาและเชื่อมโยงไปสู่การตระหนักรู้ภายในด้วยตนเอง เกิดปัญญา เข้าใจความแตกต่างทางกายภาพและจิตใจของผู้สูงอาย 2) ต้านทักษะ พบว่า นิสิตพัฒนาการมีสติเรียนรู้ผ่านการทำกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญ เห็นความสำคัญของการพูดและการฟัง สามารถเป็นผู้นำกิจกรรมทางกายเพื่อส่งเสริมสุขภาพแก่ผู้สูงอายุได้ 3) ด้านเจตคติ พบว่า เกิดการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐาน เกิดความรักความเมตตาอยากดูแลผู้สูงอายุ
บทคัดย่อ (EN): The main purpose of this study was to develop physical activity leaders using contemplative education approach to promote wellness amone the elderly. This study is qualitative whose subject were 30 Physical Education and Exercise Science students at the faculty of education, Naresuan University. The sample were picked using purposive sampling. The instrument used to promote physical activity among the elderly include learning log score card senior fitness test and contemplative education approach teaching plan. It consists of 7 principles, aka7Cs, which are Contemplation, Compassion, Connection, Confronting, Continuity, Commitment, and Community. They include activities which can facilitate the learning development of the tearners which are 1) Check In 2) Sharing and Opening 3) Reflection and Conclusion 4) Service learning 5) After-action Review (AAR) 6) Follow up. The data were collected via participant observation, focus group discussions, and in-depth interviews. The data were analyzed using content analysis. The findings revealed that the learning process resulting in the balanced integration of physical, soul, and intellect. The students had learned to lead the elderly to do physical activity. The outcome of the learning came in three domains. The first one was cognitive, It was found that learners had understood the content taught in the course and connected it with self-awareness, understanding the difference between the elderly's physical body and mind. Secondly, psychomotor domain was present as leainers developed to be focusing. They had learned through contemplation and acknowledged the importance of speaking and listening. Thus, they could make physical activity leaders promoting health for the elderly. Lastly, the affective domain shows that the learners had transformed his abilities into a fundamental. They had come to love and had compassion for the elderly.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560-09-30
เอกสารแนบ: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/bitstream/123456789/3994/1/ArphatTiaotrakul.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยนเรศวร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
รายละเอียด: เพื่อพัฒนาผู้นำกิจกรรมทางกายโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบจิตตปัญญาศึกษาเพื่อส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาผู้นำกิจกรรมทางกายโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบจิตตปัญญาศึกษาเพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
มหาวิทยาลัยนเรศวร
30 กันยายน 2560
เอกสารแนบ 1
กระบวนการพัฒนาการออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างสุขภาพและสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุอำเภอเมืองบุรีรัมย์ การพัฒนากระบวนการผลิตอาหารเสริมจากข้าวและธัญพืชสำหรับผู้สูงอายุ การพัฒนากระบวนการผลิตอาหารเสริมจากข้าวและธัญพืชสำหรับผู้สูงอายุ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวก่ำสำหรับผู้สูงอายุ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวก่ำสำหรับผู้สูงอายุ การศึกษาผลการออกกำลังกายด้วยฤๅษีดัดตนสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุ อาหารกับวันผู้สูงอายุไทย โยเกิร์ตสำหรับผู้สูงอายุ โครงการศึกษาแนวทางพัฒนานวัตกรรมอาหารเชิงสุขภาพเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) การพัฒนารูปแบบการออกกำลังกายด้วยยางยึดประยุทต์สำหรับผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก