สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบการปลูกพืชตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี
กรมวิชาการเกษตร - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบการปลูกพืชตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development Plant Production on Organic Agricultural System in the Ubonratchatani Province.
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กรมวิชาการเกษตร
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการปรับปรุงบำรุงดินที่เหมาะสมในระบบการผลิตผักตระกูลผักกาดหอมในระบบอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี 2. เพื่อวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่การป้องกันกำจัดด้วงหมัดผักที่เหมาะสมในระบบการผลิตผักตระกูลกะหล่ำในระบบอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี 3. เพื่อวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบการผลิตพืชอินทรีย์ที่เหมาะสมในพื้นที่ปลูกข้าวอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี 4. เพื่อพัฒนาเกษตรกรต้นแบบการผลิตพืชผักอินทรีย์ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ 5. เพื่อพัฒนาเกษตรกรต้นแบบ การผลิตพืชหลังนาอินทรีย์ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ประกอบด้วย 2 กิจกรรม กิจกรรมที่ 1 การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตพืชผักอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ประกอบด้วย 2 การทดลอง การทดลองที่ 2 การวิจัยและพัฒนาการปรับปรุงบำรุงดินในการผลิตผักตระกูลผักกาดหอมในระบบเกษตรอินทรีย์พื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี การทดลองที่ 2 การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการป้องกันกำจัดด้วงหมัดผักในการผลิตผักตระกูลกะหล่ำในระบบอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ดำเนินการในพื้นที่ อำเภอม่วงสามสิบ อำเภอ สำโรง จังหวัดอุบลราชธานี กิจกรรมที่ 2 การทดสอบระบบการปลูกพืชที่เหมาะสมในระบบการผลิตพืชอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ดำเนินการในพื้นที่อำเภอตระการพืชผลจังหวัดอุบลราชธานี ผลการทดลอง พบว่า กิจกรรมที่ 1 การผลิตผักกาดหอม(แกรนด์ แรปิด) อินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ปี 2558-2560 โดยการใช้อัตราปุ๋ย 50 เปอร์เซ็นต์ปุ๋ยอินทรีย์เทียบเคียงค่าวิเคราะห์ดินและปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์วัน มีแนวโน้มให้ผลผลิตไม่แตกต่างกันแต่ทำให้มีต้นทุนการผลิตเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ 11,770 บาทต่อไร่ ต้นทุนต่อกิโลกรัมเฉลี่ย 11.08 บาทต่อกิโลกรัม ผลการทดลองดังกล่าวพบว่าการใช้ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์วัน ซึ่งเป็นปุ๋ยที่ประกอบไปด้วยแบคทีเรียบริเวณรากที่มีชีวิตที่สามารถเร่งการเจริญเติบโตของพืชโดยสามารถตรึงไนโตรเจน ละลายธาตุอาหารพืชที่ถูกตรึงอยู่ในดิน และสร้างสารกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชคล้าย IAA จึงสามารถช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวราก ทำให้เพิ่มการดูดน้ำและปุ๋ย จึงสามารถลดต้นทุนการผลิตด้านปุ๋ยอินทรีย์ได้ การใช้ไส้เดือนฝอยในการกำจัดด้วงหมัดผักซึ่งเป็นศัตรูพืชสำคัญในการผลผลิตกวางตุ้งในระบบเกษตรอินทรีย์ โดยพ่นช่วงเตรียมแปลงปลูก และพ่นทุก 7 วัน สามารถลดการระบาด และให้ผลผลิตเฉลี่ย 3 ปี 1,675 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าวิธีเกษตรกรที่ไม่ใช้ไส้เดือนฝอย 1,252 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็นร้อยละ 33.75 ต้นทุน 12,808 บาท/ไร่ รายได้เฉลี่ย 60,800 บาท/ไร่ รายได้สุทธิ 38,596 บาท/ไร่ มีผลตอบแทนค่าใช้จ่ายการลงทุน (BCR) เท่ากับ 4.72 วิธีเกษตรกร ต้นทุน 12,408 บาท/ไร่ รายได้เฉลี่ย 39,520 บาท/ไร่ รายได้สุทธิ 25,596 บาท/ไร่ มีผลตอบแทนค่าใช้จ่ายการลงทุน (BCR) เท่ากับ 4.12 ดังนั้นการใช้ไส้เดือนฝอย (Steinernema carpocapsae) หรือไส้เดือนฝอยสายพันธุ์ไทย (Steinernema sp. Thai strain) สามารถกำจัดด้วงหมัดผักในการผลิตผักกวางตุ้งอินทรีย์พื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีได้ และสามารถขยายผลสู่เกษตรกรพื้นที่ใกล้เคียง เป็นทางเลือกทดแทนการใช้สารเคมี อีกทั้งยังช่วยลดการเกิดสารเคมีตกค้างในผลผลิตอีกด้วยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมส่วนกิจกรรมที่ 2 พบว่าระบบการปลูกข้าว – ถั่วลิสง เป็นระบบที่ให้ค่าเฉลี่ย 3 ปี ของรายได้ และผลตอบแทนสูงสุด คือ 11,051 บาท/ไร่ และ 6,533 บาท/ไร่ ตามลำดับ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยต้นทุน 3 ปีที่ 4,518 บาท/ไร่ และให้ค่า Benefit Cost Ratio (BCR) เฉลี่ยเท่ากับ 2.4
บทคัดย่อ (EN): This research project has to objectives for research and develop appropriate soil improvement technology in the organic lettuce production system in the Ubon Ratchathani province. 2. research and develop technologies to prevent the flea beetles in the system. Cabbage production in organic systems 3. research and develop the technology of organic crop production system in the area of organic rice growing in Ubon Ratchathani province. 4. develop the smart farmers to produce organic and fit organic vegetables according to organic standards. and develop the smart farmers. Organic and suitable organic rice production consists of 2 activities. Research and technology development in organic vegetables production in Ubon Ratchathani province consisted of 2 experiments. Research and development of soil improvement for lettuce production in organic Agricultural System in Ubon Ratchathani province. And Research and development of technology to prevent flea beetle in the production of cabbage family in organic Agricultural System in Ubonratchathani province. And Testing of appropriate cropping systems in organic crop production systems in Ubonratchathani province. Operation in the area of Muangsamsip, Warinchamrab Samrong and Trakanphuetphon district, Ubon Ratchathani province. The results showed that the production of lettuce (Grand Rapids) organic in the area of Ubonratchathani Province in 2015-2017 using the fertilizer rate of 50 percent, organic fertilizer, comparative analysis of soil and organic fertilizer together with biological fertilizer PGPR 1 The yield was not different but the average production cost was 11,770 baht per rai. Cost per kilogram was 11.08 baht / kg. The results showed that the use of PGPR 1 is composed of live root bacteria that can accelerate plant growth by fixing nitrogen. Solubilize plant nutrients that are trapped in the soil. And create a plant growth stimulant, like IAA, can help to increase the root surface. Add water and fertilizer. It can reduce the cost of organic fertilizer production. The use of nematodes in the removal of vegetable flea beetles, which are the major pests in the false pak choi produce in organic farming systems. Spray the preparation and spray every 7 days can reduce the outbreak. The average yield was 1,675 kg per rai. Higher than those of non-nematode farmers 1,252 kg per rai 33.75% the average income was 60,800 baht per rai. net income was 38,596 baht per rai. the Benefit Cost Ratio (BCR) was 4.72. Farmer method cost 12,408 baht per rai. average income 39,520 baht per rai net income 25,596 baht per rai had a return on investment cost (BCR) of 4.12. Therefore, the use of Steinernema carpocapsae or Thai strain (Steinernema sp.) and Testing of appropriate cropping systems in organic crop production systems in Ubonratchathani province. The system of rice - peanut is the system that gives an average of 3 years of revenue and the highest return is 11,051 baht per rai and 6,533 baht per rai, respectively, with a 3-year average cost of 4,518 baht per rai and a mean Benefit Cost Ratio (BCR) of 2.4.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบการปลูกพืชตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2560
โครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบการปลูกพืชตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา โครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบการปลูกพืชตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม โครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบการปลูกพืชตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ โครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบการปลูกพืชตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ โครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบการปลูกพืชตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ โครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบปลูกพืชตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด โครงการวิจัยการศึกษาเทคนิคทางสถิติเพื่อใช้เป็นมาตรฐานสำหรับแปลงทดลองพืชผัก การศึกษาวิจัยและพัฒนาระบบเกษตรอินทรีย์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาระบบการผลิตเกษตรอินทรีย์ โครงการวิจัยการศึกษาผลกระทบของสิ่งแวดล้อมในระบบเกษตรอินทรีย์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก