สืบค้นงานวิจัย
ผลของการเคลือบเมล็ดพันธุ์ร่วมกับสารเรืองแสง Rhodamin-B ต่อคุณภาพหลังการเก็บรักษาในสภาพแวดล้อมที่ต่างกันของเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศลูกผสม
ชนกเนตร ชัยวิชา - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ผลของการเคลือบเมล็ดพันธุ์ร่วมกับสารเรืองแสง Rhodamin-B ต่อคุณภาพหลังการเก็บรักษาในสภาพแวดล้อมที่ต่างกันของเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศลูกผสม
ชื่อเรื่อง (EN): Effects of Seed coating with fluorescent compounds Rhodamin B on seed quality after Storage under different conditions of hybrid tomato seeds
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ชนกเนตร ชัยวิชา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Chanoknet Chaiwicha
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: บุญมี ศิริ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Boonmee Siri
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การเคลือบเมล็ดพันธุ์ร่วมกับสารเรืองแสง Rhodamine B เพื่อ เป็นแนวทางหนึ่งในการป้องกันการปลอมปนเมล็ดพันธุ์ ทำการทดลองที่ ณ ห้องปฏิบัติการ เทคโนโลยีทางเมล็ดพันธุ์ โรงงานปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เตรียมสูตรสารเคลือบเมล็ดพันธุ์โดยใช้ Polyvinylpyrrolidone (K30) ที่มีความเข้มข้น 5 เปอร์เซ็นต์ เป็น พอลิเมอร์ร่วมกับสารเรืองแสง Rhodamine B ในอัตรา 0.025, 0.050, 0.075 และ 0.1 ต่อ 100 มล ของสารละลายพอ ลิเมอร์ จากนั้นจึงนำมาเคลือบเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศพันธุ์ SPP 013 ด้วยเครื่องเคลือบระบบจานหมุน รุ่น SKK 10 หลังการ เคลือบเมล็ดพันธุ์แล้ว นำมาลดความชื้นด้วยเครื่องลดความชื้นระบบลมแห้ง รุ่น SKK 09 ใช้อุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส จนเมล็ดพันธุ์มีความชื้น 7.0 เปอร์เซ็นต์ จากนั้นแบ่งเมล็ดพันธุ์ที่เคลือบออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกนำไปตรวจการเรืองแสง ด้วยเครื่องฉายแสงอัลตราไวโอเลตแบบพกพา Model SPECTRA-300 ที่ความยาวคลื่น 365 นาโนเมตร เมล็ดส่วนที่สอง นำไปตรวจสอบคุณภาพของเมล็ดพันธุ์หลังจากการเคลือบและเก็บรักษาในสภาพแวดล้อมที่ต่างเป็นเวลา 4 เดือน จากการ ทดลองพบว่า เมล็ดพันธุ์หลังการเคลือบมีการเรืองแสงเป็นสีชมพูอมส้มเมื่อได้รับแสงจากเครื่องฉายแสงอัลตราไวโอเลต ผลการตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศหลังการเคลือบพบว่า เมล็ดพันธุ์มะเขือเทศหลังเคลือบด้วย Rhodamine B และหลังการเก็บรักษาในสภาพแวดล้อมที่ต่างกันเป็นเวลา 4 เดือน มีความงอกและความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ ที่ตรวจสอบในสภาพห้องปฏิบัติการและในสภาพห้องเรือนทดลองไม่แตกต่างกันทางสถิติ จากเมล็ดพันธุ์ที่ไม่ได้เคลือบ จากการทดลองนี้จึงสรุปได้ว่าการใช้ Rhodamine B เคลือบเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศสามารถสร้างการเรืองแสงที่เป็นเอกลักษณ์ของเมล็ดพันธุ์ได้ และสามารถเป็นแนวทางการป้องกันการปลอมปนเมล็ดพันธุ์ได้
บทคัดย่อ (EN): Coating seeds with fluorescent Rhodamine B of this experiment was to create identical seed. The experiment was conducted at Seed Technology Section of Seed Processing Plant, Faculty of Agriculture, KhonKaen University. The coating formulations were prepared using Polyvinylpyrrolidone (K30) of fluorescent Rhodamine B at the rates of 0.025, 0.050, 0.075 and 0.1 gram. The tomato seeds were coated by Centri Seed Coater (Model SKK 10). After seed coating process, the coated seed were reduce the moisture content with dry air dehumidifier (Model SKK 09)used 35 degrees Celsius until the coated seeds had moisture content of 7.0 percent. Coated seeds were subsequently divided into two parts. The first part; was used to detect fluorescence performance by hand-UV (Model UVGL-58; λ=365 nm.). The second part was used to evaluate the seed quality after coating and conditions after storage at controlled condition and ambient condition for 4 months. It was found that, the coated seeds with Rhodamin B had orange fluorescence light form the hand-UV (Model UVGL-58; λ=365 nm.). The coating seed with fluorescent Rhodamine B after coating seed process and after storage by controlled and ambient conditions for 4 months were not affect germination percentage and speed of germination tested under laboratory and greenhouse conditions. It could be summarized tomato seed coating with fluorescent Rhodamine B can be used to label seeds as an anti-counterfeiting technology.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=O016 Agr_141.pdf&id=1822&keeptrack=8
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของการเคลือบเมล็ดพันธุ์ร่วมกับสารเรืองแสง Rhodamin-B ต่อคุณภาพหลังการเก็บรักษาในสภาพแวดล้อมที่ต่างกันของเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศลูกผสม
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2558
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ผลของการเคลือบเมล็ดพันธุ์ร่วมกับธาตุอาหารพืชต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์หลังการเคลือบและเก็บรักษาในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันของมะเขือเทศลูกผสม ผลของการพอกเมล็ดพันธุ์ร่วมกับสารเคมีป้องกันเชื้อราที่มีผลต่อคุณภาพหลังการเก็บรักษาในสภาพแวดล้อมแตกต่างกันของเมล็ดพันธุ์ยาสูบ ผลของการเคลือบเมล็ดด้วยธาตุอาหารพืชต่อคุณภาพของเมล็ดพันธุ์แตงกวาลูกผสมหลังการเก็บรักษา ผลของสารเคลือบเมล็ดด้วยสารป้องกันราน้ำค้างต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวานพิเศษลูกผสมหลังการเคลือบและการเก็บรักษา ผลของสารเคลือบที่มีต่อคุณภาพและอายุการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวานพิเศษ ผลของการเคลือบเมล็ดพันธุ์ร่วมกับฮอร์โมนพืชผสมเพื่อยกระดับคุณภาพเมล็ดพันธุ์แตงกวาลูกผสม ผลของการเคลือบด้วยฮอร์โมน IAA ต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศลูกผสม คุณภาพของเมล็ดพันธุ์ยางพาราและอายุการเก็บรักษาที่ระยะการพัฒนาผลต่างกัน ผลของการเคลือบเมล็ดพันธุ์ร่วมกับฮอร์โมนพืชต่อคุณภาพและการเจริญเติบโตระยะต้นกล้าของเมล็ดพันธุ์แตงกวา ผลของสภาพการเก็บรักษาภายใต้สภาวะปิดความดันต่ำที่มีต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวและแมลงในโรงเก็บ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก