สืบค้นงานวิจัย
การถอดรหัสพันธุกรรมกล้วยด้วย Next Generation Sequencing เพื่อใช้ในการศึกษาพันธุกรรมและการปรับปรุงพันธุ์กล้วยด้วย Marker Assisted Selection
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ราตรี บุญเรืองรอด - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชื่อเรื่อง: การถอดรหัสพันธุกรรมกล้วยด้วย Next Generation Sequencing เพื่อใช้ในการศึกษาพันธุกรรมและการปรับปรุงพันธุ์กล้วยด้วย Marker Assisted Selection
ชื่อเรื่อง (EN): Banana Genome Sequence by Next Generation Sequencing for Genetic Study and Cultivars Improvement by Marker Assisted Selection
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ราตรี บุญเรืองรอด
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ:   สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “การถอดรหัสพันธุกรรมกล้วยด้วย Next Generation Sequencing เพื่อใช้ในการศึกษาพันธุกรรมและการปรับปรุงพันธุ์กล้วยด้วย Marker Assisted Selection” แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมี ผศ.ราตรี บุญเรืองรอด เป็นหัวหน้าโครงการ มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบส่วนประกอบของจีโนมของกล้วยพันธุ์ป่าและกล้วยพันธุ์ปลูกจำนวน  120  พันธุ์ ด้วยเครื่องหมายดีเอ็นเอชนิด SCARs (sequence characterized amplified regions) ที่จำเพาะเจาะจงกับกลุ่มจีโนม จำนวน 7 เครื่องหมาย วิเคราะห์ร่วมกับลักษณะที่สำคัญทางเศรษฐกิจ 2 ลักษณะคือ ลักษณะการหลุดร่วงของผลและปริมาณเบต้าแคโรทีนในเนื้อผล จากการศึกษาวิจัย พบว่าลักษณะการหลุดร่วงของผลกล้วยสุกหลังการเก็บเกี่ยว พบว่า กล้วยในกลุ่มจีโนม A ทั้ง ดิพลอยด์และ  ทริพลอยด์มีการหลุดร่วง โดยกล้วยหอมทอง (A1/A4b) พบการหลุดร่วงมากที่สุด รองลงมาคือกล้วยสา (A2/A4a/A4b) กล้วยไข่ (A1/A4a/A4b) และกลุ่มของกล้วยป่า (AAW) ตามลำดับ ในขณะที่กล้วยในกลุ่มของจีโนม B ได้แก่กล้วยตานี (BB) และกล้วยเล็บช้างกุด (BBB) ไม่พบการหลุดร่วง ส่วนกลุ่มกล้วยลูกผสมพบการหลุดร่วงในกล้วยนิ้วมือนาง (A3/B) และกล้วยจีน (A4/B) ส่วนกลุ่มน้ำว้า (A2/B) และกล้วยเทพรส (ABBB) ไม่พบการหลุดร่วง กล่าวได้ว่าลักษณะการหลุดร่วงของผลสัมพันธ์กับจีโนม A  ส่วนการไม่หลุดร่วงสัมพันธ์กับจีโนม B ในส่วนของปริมาณเบต้าแคโรทีน ในกล้วย 23 พันธุ์   พบว่ากล้วยป่าดิพลอยด์ AAW  มีปริมาณเบต้าแคโรทีน 0.80 – 1.40 µg/gFW  และกล้วยพันธุ์ปลูก ดิพลอยด์ AACV  มีปริมาณเบต้าแคโรทีน 6.0 – 6.80  µg/gFW   กล้วยดิพลอยด์จีโนม BB (กล้วยตานี) มีปริมาณเบต้าแคโรทีน 1.57 µg/gFW   กล้วยทริพลอยด์จีโนม  AAA, AAB, ABB และ BBB มีปริมาณเบต้าแคโรทีน เท่ากับ  2.50, 2.45, 1.0-3.25 และ 6.55 µg/gFW ตามลำดับ และกล้วยเตตระพลอยด์ จีโนม ABBB  มีปริมาณเบต้าแคโรทีน  2.02 µg/gFW ประโยชน์ที่จะได้รับของโครงการนี้คือ องค์ความรู้ด้านองค์ประกอบจีโนมกล้วย 120 ตัวอย่าง ด้วยเครื่องหมายดีเอ็นเอ จำนวน 7 เครื่องหมาย ความสัมพันธ์ระหว่างความแตกต่างของ M.acuminata และการหลุดร่วงของผลกล้วย ปริมาณเบต้าแคโรทีนของกล้วยจำนวน 23 ตัวอย่าง และเครื่องหมายดีเอ็นเอที่พัฒนาขึ้นใหม่เพื่อให้ใช้ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น สำหรับตรวจสอบ chloroplast-type และ mitochondrial-type  
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2560-02-02
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2561-02-01
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2559
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การถอดรหัสพันธุกรรมกล้วยด้วย Next Generation Sequencing เพื่อใช้ในการศึกษาพันธุกรรมและการปรับปรุงพันธุ์กล้วยด้วย Marker Assisted Selection
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
1 กุมภาพันธ์ 2561
การประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมของกล้วยน้ำว้า ในจังหวัดพิษณุโลก โดยใช้เครื่องหมายชีวโมเลกุล การสร้างความหลากหลายทางพันธุกรรมในอ้อยเพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ การประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมของกล้วยไม้สกุลกุหลาบและลูกผสมด้วยเครื่องหมายดีเอ็นเอ การสร้างความหลากหลายทางพันธุกรรมของสับปะรดโดยการชักนำให้ เกิดการกลายพันธุ์เพื่อใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ การพัฒนาเครื่องหมายไมโครแซทเทลไลท์จากฐานข้อมูล EST และการประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมของกล้วยไม้สกุลม้าวิ่ง การใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอสำหรับศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมและการปรับปรุงพันธุ์ข้าว การสำรวจและอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม่ป่าในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ การศึกษาคุณค่าทางอาหารของกล้วยหอมและกล้วยไข่ดิบเพื่อการผลิตและการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากแป้งกล้วย โครงการวิจัยคัดเลือกพันธุ์และพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตกล้วยเพื่อการบริโภคสดเพิ่มมูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์และการนำสารสำคัญจากกล้วยไปใช้ประโยชน์ การคัดเลือก ทดสอบ และส่งมอบพันธุ์กล้วยจากโครงการปรับปรุงพันธุ์นานาชาติสู่เกษตรกรไทย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก