สืบค้นงานวิจัย
การควบคุมเชื้อรา Rigidoporus lignosus สาเหตุโรครากขาวในยางพารา (Havea brasiliensis Muell. Arg)
สุภาภรณ์ เอี่ยมเข่ง - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: การควบคุมเชื้อรา Rigidoporus lignosus สาเหตุโรครากขาวในยางพารา (Havea brasiliensis Muell. Arg)
ชื่อเรื่อง (EN): Control of Rigidoporus lignosus causing of white root disease in rubber tree (Havea brasiliensis Muell. Arg)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุภาภรณ์ เอี่ยมเข่ง
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Supaporn Ieamkheng
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: มารีนา หารง
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Mareena Harong
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
หมวดหมู่:
บทคัดย่อ: สำรวจและเก็บตัวอย่างราก ผิวราก ดินรอบโคนต้นยางพารา และดอกเห็ด จาก 3 อำเภอในจังหวัดสุราษฎร์ธานี สามารถแยกเชื้อรา Rigidoporus lignosus ได้ 8 ไอโซเลท นำมาศึกษาวิธีการควบคุมโดยการใช้สารเคมี และชีววิธีใน ระดับห้องปฏิบัติการ ศึกษาประสิทธิภาพของสารเคมี 2 ชนิด ได้แก่ ไตรเดอร์มอร์ฟ และไตรอาร์โซลที่ความเข้มข้น 1-100 มิลลิกรัมต่อลิตร และ 10-5,000 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ พบว่า ไตรเดอร์มอร์ฟ ทุกความเข้มข้นสามารถยับยั้งการ เจริญของเส้นใยเชื้อรา R. lignosus ได้ทุกไอโซเลท ศึกษาประสิทธิภาพของเชื้อราปฏิปักษ์ Trichoderma spp. จำนวน 11 ไอโซเลท พบว่าTrichoderma spp. ทุกไอโซเลทมีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเส้นใยเชื้อรา R. lignosus แต่ละไอโซเลทแตกต่างกัน ศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืชสมุนไพร 6 ชนิด ในการยับยั้งการเจริญของเส้นใย เชื้อรา R. lignosus ได้แก่ ประยงค์ (20% WP), กัดลิ้นใบ (20% WP), ดาวเรือง (30% WP), ว่านกาบหอย (20% WP), พุทธชาติก้านแดง (30% WP) และผงว่านน้ำ (20% WP) ที่ความเข้มข้น 10-5,000 มิลลิกรัมต่อลิตร พบว่า สารสกัดจาก ผงว่านน้ำที่ความเข้มข้น 5,000 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถยับยั้งการเจริญของเส้นใยได้เชื้อราได้ดีที่สุด ศึกษาประสิทธิภาพ ของไคโตซานที่ความเข้มข้น 10-1,000 มิลลิกรัมต่อลิตร ในการยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อรา พบว่า ไคโตซานที่ความเข้มข้น 1,000 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อรา R. lignosus ได้ดีที่สุด และสามารถยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อราได้ทุกไอโซเลท
บทคัดย่อ (EN): Survey and samples collecting from root, basidiocarp and soil samples from rubber tree plantation from 3 districts in Surat Thani. Eight isolates of Rigidoporus lignosus were collected and used to study the efficiency of chemical and biological control of R. lignosus in laboratory. To study the efficiency of the fungicide to eliminate mycelium growth, Tridermoph at the concentration between 1-100 mg/l and Triazole at the concentration between 10-5000 mg/l were selected. The results showed that all of concentrations of Tridermoph had proved very effective suppression the mycelium growth and development all of R. lignosus isolates. The ability of Trichoderma isolates to control R. lignosus was observed. All of Trichoderma isolates have proved variable suppression to all of R. lignosus isolates. None of Trichoderma isolate was proved to effective suppression the mycelium growth and development all of R. lignosus. Six types of herbal extract consist of Aglaia odorata Lour (20% W.P.), Tagetes erecta L. (20%W.P.), Tradescantia spathacea Swartz (20%W.P.), Jusminum officinale L. (30% W.P.), Walsura trichostemon Miq. (20% W.P.) and Acorus calanum L. (20% W.P.) were observed for suppression the mycelium growth and development at the concentration between 10-5,000 mg/l. The results showed that Acorus calanum L. at the concentration of 5,000 mg/l showed the best suppression on the mycelium growth and development compared with the others types of herbal extracted. To study of the efficiency of chitosan to suppress the mycelium growth and development, chitosan at the concentration between 10-1000 mg/l were used for test. The efficiency of chitosan to suppress the mycelium growth and development all of R. lignosus isolates showed at the concentration of 1,000 mg/l. Moreover, this concentration could suppress the mycelium growth and development all of R. lignosus isolates.
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=P_017.pdf&id=1656&keeptrack=4
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การควบคุมเชื้อรา Rigidoporus lignosus สาเหตุโรครากขาวในยางพารา (Havea brasiliensis Muell. Arg)
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2557
เอกสารแนบ 1
การแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมความต้านทานต่อเชื้อราที่ก่อให้เกิดโรครากขาวในยางพารา การเสริมสร้างความต้านทานของต้นยางพาราต่อการเข้าทำลายเชื้อราโรครากขาว การคัดเลือกเชื้อรา Trichoderma spp. เพื่อใช้ในการควบคุมโรคใบร่วงของยางพาราที่เกิดจากเชื้อรา Phytophthore spp. และโรครากขาวที่เกิดจากเชื้อรา Rigidoporus lignosus การจัดจำแนกเชื้อสาเหตุโรคที่ก่อให้เกิดโรครากขาวในยางพารา (Havea brasiliensis Muell;Arg) พืชร่วมยางที่เป็นพืชอาศัยของเชื้อราโรครากขาวของยางพารา ผลของ pH และธาตุอาหารพืชบางชนิดต่อการเจริญ และความรุนแรงของเชื้อรา โรครากขาวของยางพารา ประสิทธิภาพและกลไกของเชื้อรา Trichoderma spp. ในการควบคุมโรคใบร่วงและโรครากขาวของยางพารา และบทบาทในการเป็นจุลินทรีย์ละลายฟอสเฟต ศึกษารูปแบบการระบาดและปัจจัยที่มีผลต่อการแพร่ระบาดของโรครากขาวในยางพาราที่เกิดจากเชื้อ Rigidoporus lignosus และผลของสารเคมีและเชื้อปฏิปักาที่มีผลต่อการควบคุมโรค ราที่มีศักยภาพในอุตสาหกรรมการย่อยสลายแป้งและวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรจากระบบนิเวศวิทยาป่าอุทยานสัตว์ป่าอุบลราชธานี ประเมินความสูญเสียทางเศรษฐกิจของยางพาราสาเหตุจากโรครากขาว ในพื้นที่ปลูกยางของประเทศไทย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก