สืบค้นงานวิจัย
แนวทางการส่งเสริมการผลิตมะม่วงของเกษตรกรในจังหวัดสุพรรณบุรี
ธนชาติ บุญมี - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: แนวทางการส่งเสริมการผลิตมะม่วงของเกษตรกรในจังหวัดสุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง (EN): Extension guidelines for mango production by farmers in Suphanburi Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ธนชาติ บุญมี
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Thanachart Boonmee
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) สภาพการ ผลิตมะม่วงของเกษตรกร และ (3) ความต้องการความรู้ด้านการส่งเสริมการเกษตรของเกษตรกรเกี่ยวกับการผลิต มะม่วงประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงในจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 2,511 ราย สุ่มตัวอย่างแบบเป็นระดับ ชั้นอย่างเป็นสัดส่วน ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 346 ราย เก็บรวบรวมในช่วงเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ถึงเดือน กันยายน พ.ศ. 2561 โดยแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัย พบว่าเกษตรกรส่วนมากเป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 47.81 ปี จบการศึกษาระดับประถม ศึกษา มีจำนวนแรงงานในครัวเรือน เฉลี่ย 2.71 คน มีประสบการณ์ในการปลูกมะม่วง เฉลี่ย 14.69 ปี พื้นที่ปลูกมะม่วง เฉลี่ย 18.06 ไร่ รายได้จากการผลิตมะม่วง เฉลี่ย 14,528.67 บาท/ไร่ รายจ่ายเฉลี่ย 4,560.92 บาท/ไร่ ระดับการได้รับ ข้อมูลข่าวสารทางการเกษตรจากแหล่งต่างๆ ทั้ง สื่อบุคคล และสื่อสิ่งพิมพ์อยู่ในระดับปานกลาง สื่อกิจกรรมอยู่ใน ระดับน้อย และสื่อมวลชนอยู่ในระดับน้อยที่สุด ลักษณะพื้นที่ปลูกมะม่วงเป็นพื้นที่ดอน ปลูกแบบคละพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์เขียวเสวย พันธุ์น้ำดอกไม้เกษตรกรมีความต้องการช่องทางในการส่งเสริมการเกษตรจากสื่อบุคคล สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ส่วนวิธีการส่งเสริมการเกษตรที่เกษตรกรต้องการ ได้แก่ ทัศนศึกษา การบรรยาย การสาธิต และ การฝึกปฏิบัติ
บทคัดย่อ (EN): The aims of this research were to study (1) basic social and economic conditions of farmers (2) mango production condition(3)demand for agricultural extension knowledge for mango production. The population for this study was 2,511 mango production farmers in Suphanburi Province with the sample size of 346 people by using Stratified Random sampling method. Data collected by interview during on November 2017- September 2018. Data was analyzed using frequency distribution, percentage, minimum value, maximum value, average, and standard deviation. The results of the research revealed that. Most of the farmers was male with an average age of 47.81 years old and graduated from junior primary school. Labor from the household in average of 2.71 people. The average mango production experience among the farmers was 14.69 years. The average mango production land was 18.06 Rai. Farmers received the average income from mango production around 14,528.67 Baht/Rai with the average expense of 4,560.92 Baht/Rai. The level low level. And the media at the lowest level. Most of the farmers had a highland farmland,grew Khiaosawoey mango and Namdokmai Sithong mango. Farmers wanted the channels of extension from individual media, of agricultural information received from both media and print media was moderate. Activity media are at a printed media, as well as electronic media. They needed the extension in the form of field trips, lecture, demonstration and field work.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2561
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2562
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=31_Ext24.pdf&id=3420&keeptrack=8
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
แนวทางการส่งเสริมการผลิตมะม่วงของเกษตรกรในจังหวัดสุพรรณบุรี
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2562
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
แนวทางการพัฒนาระบบการผลิตมะม่วงอย่างยั่งยืนเชิงบูรณาการในภาคเหนือ การศึกษาวิจัยมะม่วงให้ได้คุณภาพมาตรฐานการส่งออก ผลกระทบของความเค็มต่อการเจริญเติบโตของมะม่วง ผลของตำแหน่งและพันธุ์ของต้นตอกลางต่อการต่อกิ่งมะม่วง ผลกระทบของปรากฏการณ์ “เอลนิโญ” ต่อการออกดอกของมะม่วง ผลของการแช่เยือกแข็งต่อคุณภาพของเนื้อมะม่วงสุก การผลิตปุ๋ยหมักจากของเสียโรงงานอุตสาหกรรมมะม่วงดอง ผลของความร้อนต่ออาการสะท้านหนาวของผลมะม่วงพันธุ์โชคอนันต์ พลังงานเชื้อเพลิงอัดแท่งจากเปลือกเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ ผลของความเข้มแสงต่อการเจริญเติบโตของต้นกล้ามะม่วง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก