สืบค้นงานวิจัย
พลวัตประชากรปลาชนิดเด่นในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา
สุธิดา โส๊ะบีน - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: พลวัตประชากรปลาชนิดเด่นในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา
ชื่อเรื่อง (EN): Population Dynamic of Important Economic and Ecological Fish Species in Kwan Phayao, Phayao Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุธิดา โส๊ะบีน
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): suthida soe-been
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาพลวัตประชากรปลาชนิดเด่นในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา ได้แก่ ปลาตะเพียนขาว ปลากระสูบขีด ปลาบู่ทราย ปลาหมอเทศ และปลาหมอช้างเหยียบ ด าเนินเก็บรวบรวมข้อมูลจากผลจับปลา ด้วยเครื่องมือข่าย และผลจับปลาจากชาวประมงรอบกว๊านพะเยา ระหว่างเดือนธันวาคม 2552 ถึงเดือน สิงหาคม 2553 จากนั้นน าข้อมูลที่ได้มาแจกแจงความถี่ความยาว และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความยาว และน้ าหนักของปลา ประมาณค่าการเติบโต และค่าการตายของปลา และวิเคราะห์สถานภาพการประมง โดย ใช้โปรแกรมส าเร็จรูป FiSATT II ผลการศึกษาพบว่าปลาตะเพียนขาว ปลากระสูบขีด ปลาบู่ทราย ปลาหมอ ช้างเหยียบ และปลาหมอเทศ มีสมการความสัมพันธ์ระหว่างความยาวและน้ าหนักปลาคือ W = 0.017L2.884 , W = 0.010L3.0287, W = 0.0166L2.8826, W = 0.022L2.94, W = 0.0145L3.1661 และ W = 0.0209L2.9856 มีค่า R2 ระหว่าง 0.9195-0.9873 โดยพันธุ์ปลาทั้ง 5 ชนิด มีการเจริญเติบโตแบบไอโซเมตริก ค่าสัมประสิทธิ์การ เจริญเติบโตอยู่ระหว่าง (K) 0.26-0.75 ต่อปี ค่าสัมประสิทธิ์การตายรวม (Z) อยู่ระหว่าง 2.89-5.66 ต่อปี ค่า สัมประสิทธิ์การตายธรรมชาติ (M) อยู่ระหว่าง 0.72-1.32 ต่อปี ค่าสัมประสิทธิ์การตายจากการท าประมง (F) อยู่ระหว่าง 1.36-4.35 ต่อปี และค่าสัดส่วนการใช้ประโยชน์มีค่าระหว่าง 0.51-0.87 ต่อปี ซึ่งพันธุ์ปลาที่ ท าการศึกษาทั้งหมดมีการใช้ประโยชน์เกินกว่าศักย์การผลิต
บทคัดย่อ (EN): The study on population dynamics of important fish species in Kwan Phayao, Phayao Province was Barbonymus gonionotus (Bleeker, 1850), Hampala macrolepidota (Valenciennes, 1842), Oxyeleotris marmorata (Bleeker, 1852), Oreochromis mossambicus Peters, 1852 and Pristolepis fasciata (Bleeker, 1851). The data was conducted from CPUE and catch data fishermen around Kwan Phayao, during December 2009 and August 2010. All data of dominant fish species were processed and analyzed to determine growth parameter, fish mortality and fishing status by FiSAT II program. The result showed that Equation of relationship between fish length and weight were W = 0.017L2.884 , W = 0.010L3.0287, W = 0.0166L2.8826, W = 0.022L2.94, W = 0.0145L3.1661 and W = 0.0209L2.9856. The Correlation coefficient (R2) was between 0.9195-0.9873 and the five fish growing with isometric growth. The growth coefficient (K) was 2 between 0.26-0.75 per year. The total mortality coefficient (Z) was between 2.89-5.66 per year. The natural mortality coefficient (M) was between 0.72-1.32 per year. Death coefficient from Fishing (F) was between 1.36-4.35 per year, and the utilization ratio is between 0.51-0.87 per year. All fish species studied have exceeded the production potential.
ชื่อแหล่งทุน: เงินงบประมาณแผ่นดิน
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 141,290.00
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: ชาวประมงรอบกว๊านพะเยา
ช่วงเวลาที่รวบรวมข้อมูล: เดือนธันวาคม 2552 ถึงเดือน สิงหาคม 2553
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2553
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยพื้นฐาน
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
พลวัตประชากรปลาชนิดเด่นในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา
กรมประมง
30 กันยายน 2554
กรมประมง
การกินอาหารของปลาชนิดเด่นในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา (ชื่อเดิม ชีววิทยาการกินอาหารของปลาชนิดเด่นในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา) โครงสร้างประชาคมปลาและประสิทธิภาพผลจับจากเครื่องมือข่ายในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา การใช้ประโยชน์ทรัพยากรประมงในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา การควบคุมประชากรผักตบชวาแบบบูรณาการ เพื่อการพัฒนากว๊านพะเยาอย่างยั่งยืน การควบคุมประชากรผักตบชวาแบบบูรณาการ เพื่อการพัฒนากว๊านพะเยาอย่างยั่งยืน ระยะที่ 3 ชีววิทยาบางประการของกุ้งฝอยเพื่อการจัดการทรัพยากร ในพื้นที่ชุ่มน้ำกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา ระดับการแสดงออกตามฤดูกาลของยีนไวเทลโลจีนินและดัชนีความสมบูรณ์เพศของปลาหมอช้างเหยียบในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา การศึกษาชีววิทยาบางประการของกุ้งฝอยในกว๊านพะเยา รูปแบบการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมงอย่างยั่งยืนของชุมชนในกว๊านพะเยา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา การประเมินมลพิษทางน้ำในกว๊านพะเยาโดยใช้ยีนดัชนีชีวภาพในปลาชะโด (Channa micropeltes)

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก