สืบค้นงานวิจัย
ความรู้และทัศนคติต่อการติดสารเสพย์ติด และพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องของเด็ก และเยาวชนที่ต้องโทษ : รายงานผลการวิจัย
วิภา ด่านธำรงกูล - จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชื่อเรื่อง: ความรู้และทัศนคติต่อการติดสารเสพย์ติด และพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องของเด็ก และเยาวชนที่ต้องโทษ : รายงานผลการวิจัย
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วิภา ด่านธำรงกูล
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เข้าใจถึงลักษณะสภาพความเป็นอยู่ สภาพแวดล้อมทางสังคมและพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนที่ต้องคดีสารเสพย์ติดและคดีอื่น ๆ ในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลาง จำนวนตัวอย่างที่ศึกษา 687 ราย เป็นชาย 564 ราย จากสถานฝึกอบรมชาย 4 แห่ง ได้แก่ บ้านเมตตา บ้านมุทิตา บ้านกรุณาและบ้านอุเบกขา และหญิง 1 แห่ง จากสถานฝึกอบรมบ้านปราณี จำนวน 123 ราย เป็นผู้ต้องโทษคดีสารฯ ร้อยละ 23 ที่เหลือเป็นคดีอื่น ๆ กลุ่มที่ศึกษาเป็นเด็กและเยาวชน อายุระหว่าง 8-24 ปี ร้อยละ 80 เป็นผู้ที่มีงานทำ บางส่วนหารายได้พิเศษจากการลักขโมยหรือขายสารฯ ก่อนถูกจับร้อยละ 16 กำลังศึกษาอยู่ ครึ่งหนึ่งของเด็กฯมาจากต่างจังหวัด ร้อยละ 22 อาศัยอยู่ในชุมชนแออัด เด็กฯร้อยละ 40 รายงานว่าอาศัยอยู่กับพ่อและแม่ และร้อยละ 23 ของกลุ่มนี้รายงานว่า พ่อแม่เคยทะเลาะกันในช่วง 1 เดือนก่อนถูกจับ ร้อยละ 60 รายงานว่าพ่อดื่มสุราประจำ คนในครอบครัวร้อยละ 26 เคยต้องโทษ พบว่าเด็กฯหญิง มีความกลุ้มใจมากต่อการถูกดุว่ากล่าว ขณะที่เด็กฯชายจะกังวลเรื่องการทะเลาะวิวาทเป็นส่วนใหญ่ เด็กฯคดีสารฯ และคดีอื่นๆ เคยถูกจับมาก่อน ร้อยละ 50 และ 30 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามการต้องโทษครั้งนี้ เด็กฯชายคดีสารฯ ถูกตัดสินลงโทษต่ำกว่า 1 ปี มากกว่าเด็กฯหญิง 2 เท่า ร้อยละ 66 และ 30 ทั้งนี้เนื่องจากครึ่งหนึ่งของเด็กฯหญิงต้องคดีขายสารฯ เด็กฯชายและหญิงดคีสารฯ ร้อยละ 5 และ 38 ไม่เคยใช้สารฯเลย ส่วนคดีอื่น ๆ ประมาณครึ่งหนึ่งเคยใช้สารฯ เด็กฯส่วนมากจะเริ่มจากสารที่หาได้ง่ายในสังคม เช่น สารระเหย ไปจนถึงสารชนิดที่มีฤทธิ์ร้ายแรงมากและหางายในกลุ่มผู้เสพ เช่น เฮโรอีน ชนิดที่นิยมใช้คือ สารระเหยและกัญชา อายุที่เริ่มใช้อยู่ระหว่าง 14-16 ปี สาเหตุหลักคืออยากทดลอง ผู้ที่เคยใช้มากกว่าร้อยละ 85 ไม่เคยรักษาเพื่อหยุดใช้สารฯ เด็กฯชายและหญิงรายงานว่าเคยอดเองเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ร้อยละ 27 และ 24 ตามลำดับ เด็กฯส่วนใหญ่รายงานว่าสารฯเป็นสิ่งที่ไม่ดี เพราะทำให้เสียสุขภาพร่างกายและจิตใจ เด็กฯไม่เคยใช้สารฯจะรู้จักสารระเหยในอัตราสูงสุด รองลงมาได้แก่ กัญชา เด็กฯประมาณ 1 ใน 3 เคยดื่มสุรา สาเหตุของการดื่มครั้งแรกระหว่างชายและหญิงต่างกัน เด็กฯชายร้อยละ 5 รายงานว่าติดสุรา ประมาณครึ่งหนึ่งของเด็กฯชายมีประสบการณ์ดื่มสุราก่อนใช้สารฯอย่างน้อย 1 ปี และ 1 ใน 3 ใช้ในช่วงอายุเดียวกัน พฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ศึกษา เด็กฯทั้งชายและหญิงประมาณร้อยละ 60 รายงานว่าเคยมีเพศสัมพันธ์ ร้อยละ 80 มีประสบการณ์ครั้งแรกเมื่ออายุ 14-16 ปี นอกจากนี้เด็กฯชาย หญิง ร้อยละ 77 และ 43 เคยมีคู่นอนมาแล้วมากกว่า 1 คน เด็กฯร้อยละ 8 รายงานว่าใช้ถุงยางทุกครั้งขณะมีเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้พบว่า กลุ่มที่เคยใช้สารฯ จะมีประสบการณ์ทางเพศในอัตราที่สูงกว่ากลุ่มไม่เคยใช้ 2 เท่าทั้งชายและหญิง โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กชายอายุ 7-14 ปี มากกว่า 8 เท่า กล่าวโดยสรุปแล้วการที่เด็กฯกลุ่มนี้มีพฤติกรรมต่าง ๆ ก่อนวันอันสมควร เช่น พฤติกรรมทางเพศ และหรือมีพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนาของสังคมโดยส่วนรวม เช่น พฤติกรรมการใช้สารฯ น่าจะมีสาเหตุจากปัจจัยหลายประการประกอบกันและจากข้อมูลที่ศึกษา บ่งว่าปัจจัยจากสภาพทางสังคมและสิ่งแวดล้อม น่าจะมีอิทธิพลค่อนข้างมากที่เอื้อให้เกิดพฤติกรรมต่าง ๆ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2539
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2539
เอกสารแนบ: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1565
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความรู้และทัศนคติต่อการติดสารเสพย์ติด และพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องของเด็ก และเยาวชนที่ต้องโทษ : รายงานผลการวิจัย
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2539
เอกสารแนบ 1
โครงการ พัฒนาเยาวชนบนพื้นที่สูง ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้สารชีวภาพของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อม ประยุกต์ศิลป์สร้างสรรค์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชนในสถานพินิจ และคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงใหม่ ทัศนคติและการยอมรับของเกษตรกรในท้องถิ่นต่อเทคโนโลยีการผลิตพืช ทัศนคติของนักวิชาการที่มีต่องานส่งเสริมการเกษตร ทัศนคติของเกษตรจังหวัดที่มีต่อหน่วยงานวิชาการเกษตร การศึกษาพฤติกรรมของประชาชนในการแยกขยะในเขตชุมชนโป่งแดง ทัศนคติของเกษตรอำเภอที่มีต่อหน่วยงานวิชาการเกษตร รายงานสรุปบทเรียนชลประทานท้องถิ่น ระหว่างวันที่ 12 - 14 กันยายน 2559 พฤติกรรมการใช้ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ของนักศึกษา คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก