สืบค้นงานวิจัย
การบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษา : วิสาหกิจชุมชน กลุ่มแม่บ้านหนองรีร่วมพัฒนา ตำบลบ้านเลือก อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
ดวงสมร พฤฒิกุล - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษา : วิสาหกิจชุมชน กลุ่มแม่บ้านหนองรีร่วมพัฒนา ตำบลบ้านเลือก อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ดวงสมร พฤฒิกุล
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน การบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน การมีส่วนร่วมของสมาชิก ปัญหาและข้อเสนอแนะ โดยสัมภาษณ์คณะกรรมการกลุ่มในลักษณะการประชุมร่วมกัน และสัมภาษณ์สมาชิกวิสาหกิจชุมชนแบบรายบุคคล ทุกคน จำนวน 22 คน จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ ใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย กลุ่มจดทะเบียนเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2548 มีสมาชิก 22คน มีกิจการคือการผลิตสินค้า ได้แก่ลูกประคบสมุนไพร ขนมกระยาสารท และขนมคุกกี้ มีการบริหารกลุ่มโดยมีคณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ รวม 6 คน ที่ปรึกษา 3 คน คณะกรรมการมีการแบ่งบทบาทหน้าที่ชัดเจน และมีกฎระเบียบข้อบังคับของกลุ่มที่สมาชิกทุกคนรับรู้ร่วมกัน สำหรับการบริหารจัดการด้าน การผลิต ได้มีการระดมหุ้นจากสมาชิก มีเงินทุนหมุนเวียนกลุ่ม 57,000 บาท มีทรัพย์สินถาวร มูลค่า 187,730 บาท มีสถานที่ผลิตที่บ้านประธานกลุ่ม การผลิตเน้นการใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นและกลุ่มเครือข่าย มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ต้องการของตลาดได้แก่การพัฒนาบรรจุภัณฑ์สมุนไพร ลูกประคบ จนผลิตภัณฑ์ได้รับการคัดเลือก 4 ดาวระดับจังหวัด ด้านการบริหารจัดการด้านการตลาด กลุ่มมีแหล่งจำหน่ายสินค้าประจำ 3 แห่ง และจำหน่ายตามงานออกร้าน มีประธาน รองประธาน เลขานุการและเหรัญญิกทำหน้าที่จำหน่ายสินค้า ส่วนสมาชิกมีหน้าที่ผลิตสินค้า ด้านการบริหารจัดการการเงิน มีการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายเป็นปัจจุบัน สามารถตรวจสอบได้ การแบ่งปันผลประโยชน์สมาชิกที่มาผลิตสินค้าจะได้รับค่าแรง ชั่วโมงละ 10 บาท ส่วนผลกำไรจะปันผลให้สมาชิกทุกคนปีละ 1 ครั้ง สมาชิกส่วนใหญ่มีอายุเฉลี่ย 47.27 ปี สมรสแล้ว การศึกษาสูงสุดประถมศึกษา อาชีพหลักรับจ้าง มีรายได้เฉลี่ย 118,590.91 บาทต่อปี เป็นสมาชิกนานกว่า 7 ปี ลงหุ้นทุกคนอย่างน้อย 1 หุ้น ทุกคนได้รับการอบรมเพิ่มความรู้ และมีรายได้เสริมเฉลี่ย 1463.63 บาทต่อเดือน การมีส่วนร่วมของสมาชิกอยู่ในระดับมากที่สุด 13 ด้านเรียงลำดับคือ ร่วมในกิจกรรมสาธารณประโยชน์ การร่วมลงทุนในกิจการ การรับทราบข่าวสารของกลุ่ม ร่วมพิจารณาปัญหาและหาทางแก้ไข ร่วมดำเนินการเพื่อขอจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน ร่วมพิจารณาแบ่งปันผลประโยชน์ ร่วมประชุมสมาชิกประจำเดือน ร่วมรับรู้ฐานะการเงินของกลุ่ม ร่วมผลิตสินค้า เข้ารับการอบรม ให้ข้อแนะนำในการพัฒนาสินค้า ร่วมตัดสินใจเลือกกิจกรรมของกลุ่ม และร่วมให้ข้อมูล /จัดทำและรวบรวมข้อมูลของกลุ่ม มีปัญหาอยู่ในระดับมาก เพียงด้านเดียวคือแหล่งจำหน่ายสินค้าประจำมีน้อย กลุ่มมีข้อเสนอแนะคือวิสาหกิจชุมชนควรมีเวที ประชุม ระดมสมอง จัดทำข้อมูลของกลุ่มและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาแหล่งจำหน่ายสินค้าประจำเพิ่ม และควรเพิ่มการประชาสัมพันธ์สินค้าของกลุ่มให้เป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้น
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2549
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2549
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: ตำบลบ้านเลือก อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษา : วิสาหกิจชุมชน กลุ่มแม่บ้านหนองรีร่วมพัฒนา ตำบลบ้านเลือก อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
กรมส่งเสริมการเกษตร
2549
การมีส่วนร่วมของสมาชิกในการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน : กรณีโรงสีชุมชนครบวงจรตำบลไก่คำ อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ แนวทางพัฒนาวิสาหกิจชุมชนบ้านหนองยางไคล ตำบลทาทุ่งหลวง อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน การบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน : กรณีศึกษากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านนาบ่อ ตำบลปลาโหล อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร การพัฒนาแอปพลิเคชันบัญชีบนโทรศัพท์เคลื่อนที่สำหรับวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาระบบบัญชีของวิสาหกิจชุมชนในเขตอำเภอบางเลน การดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดชุมพร การศึกษาแนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ตำบลมะเกลือใหม่ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมาภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนโรงสีข้าวชุมชนบ้านช่องน้ำไหล หมู่ 4 ตำบลหัวสำโรง อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาศักยภาพกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและกลไกสนับสนุนเพื่อพัฒนาคุณค่าและมูลค่าของมะไฟจีน : กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปมะไฟจีน ตำบลท่าน้าว อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน การดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรสู่วิสาหกิจชุมชนในพื้นที่เขตที่ 1 กลยุทธ์การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพึ่งตนเอง กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปอาหารบ้านร่องกาศใต้ ตำบลร่องกาศ อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก