สืบค้นงานวิจัย
โครงการศึกษาสารออกฤทธิ์ต้านความเหนื่อยล้าของเหง้ากระชายดำเพื่อการคัดเลือกเชิงพาณิชย์
เสริมสุข พจนการุณ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการศึกษาสารออกฤทธิ์ต้านความเหนื่อยล้าของเหง้ากระชายดำเพื่อการคัดเลือกเชิงพาณิชย์
ชื่อเรื่อง (EN): Study of Krachaidum extract (Kaempferia parviflora Wallich. ex Baker) on fatigue resistance activity for commercial use
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เสริมสุข พจนการุณ
คำสำคัญ: กระชายดำ
คำสำคัญ (EN): Kaempferia parviflora (KP)
บทคัดย่อ:  <-p>

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “ศึกษาสารออกฤทธิ์ต้านความเหนื่อยล้าของเหง้ากระชายดำเพื่อการคัดเลือกเชิงพาณิชย์” แก่กรมวิชาการเกษตร มีวัตถุประสงค์เพื่อ<-span>ศึกษาวิธีในการแยกสัดส่วนเฉพาะกลุ่มที่มีสารออกฤทธิ์ต้านความเหนื่อยล้า (<-span>adaptogenic activity) จากเหง้ากระชายดำ สำหรับใช้เป็นผลิตภัณฑ์ต้านความเหนื่อยล้า รวมทั้งเทคโนโลยีก่อนและหลังการเก็บเกี่ยวกระชายดำพันธุ์ดี<-span><-o-p><-span><-h4>

กระชายดำมีหลายชนิด แต่ละชนิดมีคุณภาพแตกต่างกันไป จากการศึกษาคุณสมบัติทางเคมีของเหง้ากระชายดำ แบ่งได้เป็น <-span>2 กลุ่มคือ <-span>1) กลุ่มน้ำมันหอมระเหย (<-span>Volatile oil) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยขับลม แก้อาการเสียดแน่นท้อง <-span>2) กลุ่มยาง (<-span>Resin)  ซึ่งประกอบด้วย <-span>Carboxylic acid phenol มีฤทธิ์เกี่ยวกับการขับถ่ายปัสสาวะและรักษาไข้ และเมื่อทำการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของสารสกัดจากเหง้ากระชายดำที่ใช้ตัวทำละลายที่มีขั้วแตกต่างกัน (<-span>methanol, ethanol, chloroform, dichloromethane และ <-span>hexane) ในการสกัด พบสารกลุ่ม <-span>flavonoids และ <-span>chalcones เป็นองค์ประกอบหลักของสารสกัดภายในเหง้ากระชายดำ ซึ่งมีคุณสมบัติที่สามารถต้านความเหนื่อยล้า ต้านความเครียดแบบเฉียบพลัน ต้านการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบหลอดเลือด บ่งบอกถึงการมีศักยภาพในการขยายหลอดเลือด สามารถนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต้านความเหนื่อยล้าในอนาคตได้ นอกจากนี้การศึกษาเทคโนโลยีก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว พบว่า การเจริญเติบโต การให้ผลผลิตและคุณภาพผลผลิตของกระชายดำที่ระดับความสูงตั้งแต่ <-span>200 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตเชิงปริมาณและคุณภาพโดยรวมสูงที่สุด เช่น พื้นที่แม่จอนหลวง จังหวัดเชียงใหม่ โดยเดือนที่เหมาะสมในการปลูกกระชายดำคือ เดือนพฤษภาคม และเก็บเกี่ยวในเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ แต่อย่างไรก็ตามเกษตรกรผู้ปลูกกระชายดำยังมีปัญหาและอุปสรรค ซึ่งต้องการความช่วยเหลือจากภาครัฐในด้านต่างๆ เช่น การตลาด สถานที่จัดจำหน่าย ราคาของหัวพันธุ์กระชายดำ การกำหนดโควต้ารับซื้อและราคาที่แน่นอนสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกกระชายดำ รวมทั้งการกำหนดมาตรฐานคุณภาพวัตถุดิบเหง้าที่แน่นอนตรงตามความต้องการของตลาด <-span><-o-p><-span><-h4>

ประโยชน์ที่ได้รับของโครงการนี้<-span>คือ การศึกษาวิจัยฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา เพื่อหากลุ่มสารออกฤทธิ์ต้านความเหนื่อยล้าภายในเหง้ากระชายดำ ซึ่งสามารถพัฒนากรรมวิธีการแยกกลุ่มสารที่ออกฤทธิ์ต้านความเหนื่อยล้า และคัดเลือกพันธุ์กระชายดำที่รวบรวมจากแหล่งปลูกกระชายดำ เพื่อใช้เป็นพันธุ์ “แนะนำ” สำหรับส่งเสริมแก่เกษตรกรผู้ปลูกกระชายดำเชิงพาณิชย์ต่อไปได้<-o-p><-span><-p>

 <-span><-p>

บทคัดย่อ (EN): (being processed)
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547-08-03
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2549-08-02
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2547
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
ภาษา (EN): th
ข้อมูลทรัพยสินทางปัญญา
ประเภทIP อนุสิทธิบัตร
รายชื่อสิ่งประดิษฐ์ กระบวนการผลิตสารสกัดจากกระชายดำ
เลขที่คำขอ 1303000022
วันที่ยื่นคำขอ 2013-01-08 12:00:00
เลขที่ประกาศ 10786
วันที่จดทะเบียน 2015-11-24 12:00:00
เลขที่จดทะเบียน 10786
วันที่ประกาศ 2015-11-24 12:00:00
สถานะปัจจุบัน เชิงพาณิชย์
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการศึกษาสารออกฤทธิ์ต้านความเหนื่อยล้าของเหง้ากระชายดำเพื่อการคัดเลือกเชิงพาณิชย์
กรมวิชาการเกษตร
2 สิงหาคม 2549
ผลของสารสกัดกระชายดำต่อสมรรถนะการออกกำลังกาย โครงการศึกษาสารออกฤทธิ์ต้านความเหนื่อยล้าของเหง้ากระชายดำเพื่อการคัดเลือกเชิงพาณิชย์ การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี ส่วนสกัดของเหง้ากระชายดำที่มีฤทธิ์ต้านความเหนื่อยล้า การศึกษาทางคลินิกของสารสกัดกระชายดำ ความเป็นไปได้ในการผลิตกระชายดำเชิงพาณิชย์ การคัดเลือกเชื้อราอาบัสคูลาร์ไมคอร์ไรซ์ที่มีประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มการเจริญเติบโตของไม้ผล การตอบสนองการคัดเลือกแบบภายในครอบครัวเพื่อเพิ่มการเจริญเติบโตในกุ้งก้ามกรามที่เลี้ยง ณ จังหวัดบุรีรัมย์ การวิเคราะห์ปริมาณสารออกฤทธิ์ในสมุนไพรไทยโดยใช้แสงอินฟราเรดย่านใกล้ (Near infrared spectroscopy) การคัดเลือกสายพันธุ์สาหร่ายขนาดเล็กที่มีปริมาณน้ำมันสูงเพื่อการผลิตไบโอดีเซล
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก