สืบค้นงานวิจัย
ศึกษาลักษณะอุดมทัศนีย์ไก่พื้นเมืองไทย ประเมินโดยนักวิชาการและปราชญ์ชาวบ้าน
สุชาติ ชัยวรกุล - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
ชื่อเรื่อง: ศึกษาลักษณะอุดมทัศนีย์ไก่พื้นเมืองไทย ประเมินโดยนักวิชาการและปราชญ์ชาวบ้าน
ชื่อเรื่อง (EN): A study Thai Native Chickens Standrad of perfection Estimation by Animal scientists and The philosophers
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุชาติ ชัยวรกุล
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะที่ดีตามอุดมทัศนีย์ของไก่พื้นเมืองไทย โดยรวบรวมข้อมูลจากนักวิชาการร่วมกับปราชญ์ชาวบ้านที่มีความรู้ในการคัดเลือกไก่พื้นเมืองที่สวยงาม ตามอุดมทัศนีย์ และจัดทำลักษณะเด่นในส่วนต่างๆ ของร่างกายไก่พื้นเมือง กำหนดค่าน้ำหนักคะแนน และกำหนดคะแนนของแต่ละส่วน สร้างบัตรให้คะแนน (Score Card) เพื่อใช้สำหรับการคัดเลือก ตัดสินไก่พื้นเมือง โดยศึกษาในไก่พื้นเมือง 5 สายพันธุ์ คือ พันธุ์เหลืองหางขาว พันธุ์ประดู่หางดำ พันธุ์เขียวหางดำ พันธุ์คละสี และแม่พันธุ์ ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะที่ดีตามอุดมทัศนีย์ จากความเห็น ของทั้ง 2 กลุ่ม เห็นว่าควรยึดถือมาตรฐานสายพันธุ์ตามมาตรฐานสายพันธุ์ของกรมปศุสัตว์เป็นหลัก และผสมผสานกับอุดมทัศนีย์ไก่พื้นเมืองของ อาจารย์พน นิลผึ้ง ซึ่งนักปรับปรุงพันธุ์ไก่พื้นเมือง ถือเป็นแนวทางปฏิบัติมาโดยตลอด เพียงแต่ที่ผ่านมาการประกวดและการตัดสินสัตว์มักมีผู้ที่หวัง ผลประโยชน์ในเชิงธุรกิจมากจนเกินไป จนลืมปรัชญาของการประกวดไก่พื้นเมือง ทำให้จำนวนผู้เลี้ยง ลดลง หลังจากนั้นนำข้อมูลลักษณะตามอุดมทัศนีย์มาหาความสัมพันธ์ระหว่างนักวิซาการและปราชญ์ ชาวบ้าน ให้น้ำหนักคะแนนในส่วนต่างๆ จากไก่ตัวเดียวกันพบว่า ลักษณะรูปร่างโครงสร้าง ทั้งสองกลุ่ม ให้น้ำหนักคะแนนสอดคล้องกันร้อยละ 50 ขึ้นไป ยกเว้นในส่วนของปีกที่มีความสอดคล้องต่ำกว่า ร้อยละ 50 ลักษณะประจำพันธุ์ ทั้งสองกลุ่มให้น้ำหนักคะแนน สีสร้อยต่างๆ สีตา และสีแข้ง เล็บ เดือย สอดคล้องกันร้อยละ 50 ขึ้นไป แต่ลักษณะสีปากมีน้ำหนักคะแนนต่ำกว่าร้อยละ 50 เช่นเดียวกับ ลักษณะขนพื้นตัว ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ขนสร้อยสังวาล และขนหางกะลวย หางพัด มีค่า ความสอดคล้องต่ำกว่าร้อยละ 50 ส่วนลักษณะท่ทางความสวยงามตามอุดมทัศนีย์ และสุขภาพ ความสมบูรณ์ มีค่าความสอดคล้องตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป การกำหนดค่าน้ำหนักคะแนน ไก่พื้นเมืองเพศ ผู้ 1) ลักษณะรูปร่าง โครงสร้าง 40 คะแนน 2) ลักษณะประจำพันธุ์ 40 คะแนน 3) ลักษณะความสวยงาม ตามอุดมทัศนีย์ 10 คะแนน 4) สุขภาพและความสมบูรณ์ 10 คะแนน การกำหนดค่าน้ำหนักคะแนน ไก่พื้นเมืองเพศเมีย 1) ลักษณะรูปร่าง โครงสร้าง 50 คะแนน 2) ลักษณะประจำพันธุ์ 25 คะแนน 3) ลักษณะความสวยงามตามอุดมทัศนีย์ 10 คะแนน 4) สุขภาพและความสมบูรณ์ 15 ค่ะแนนการหา ค่าความสัมพันธ์การตัดสินของกรรมการนักวิชาการและปราชญ์ชาวบ้านด้วยบัตรให้คะแนน ของไก่พื้นเมืองทั้ง 5 ประเภท พบว่ามีค่าความสอดคล้อง (ค่า W) เท่ากับ 0.952, 1.06, 0.952, 0.928 และ 0.958 ตามลำดับ แสดงว่าการตัดสินมีความสอดคล้องและสัมพันธ์กันที่ ระดับ a=0.05
บทคัดย่อ (EN): This research aims to study about Thailand’s categories standard of perfection native chicken by collecting statistics from some scientists and philosophers who have knowledge of standard of perfection indigenous chicken selections, classify the remarkable features of body parts of those ideal native chicken, and evaluate score rating scale altogether with pointing out the score scale of each body part. This research was studied based on 5 breeds of Thailand’s native chicken; Leung Hang Khao, Pradu Hang Dum, Kieo Hang Dum, Mixed-Color, and breeder. The result proved that standard of perfection characters of chicken from both sides should mainly conform to standards of Department of Livestock Development with compliance, which animal-breed developers thoroughly followed, of Mr.Pon Nil-Peung standard of perfection native chicken. However, in some former native chicken competitions, there are some people aiming too much on business more than the philosophy of animal showing and judging, which lessened people of Thailand’s chicken farming. After researching on ideal categories, the data was brought to point out the score structures of each part among scientists and philosophers from the same chicken, and it was found out that score structures of body part from both sides were upper than 50 percent relevant to each other except the wings which were under 50 percent of relevance. For the characters of breed, scored by color of hackles, eyes, shanks, toenail and spur, both sides seemed relevant to each other by upper 50 percent, but for color of beak, it was scored under 50 percent. Moreover, the characters of body hair, hackle hair, wing bow hackle, saddle back, cape chain hackle, and sickle, main tail were relevant under 50 percent. For the beauty of manner and fitness health, these seemed relevant upper than 50 percent. For the method of male native chicken scoring, it was counted by 1) 40 percent of structure, 2) 40 percent of breed characteristics, 3) 10 percent of standard of perfection, and 4) another 10 percent of fertility and health. And for the method of female ones scoring, it was counted by 1) 50 percent of structure, 2) 25 percent of breed characteristics, 3) 10 percent of standard of perfection, and 4) another 15 percent of fertility and health. To evaluate the relevance of decision making among those scientists and philosophers, the scoring card was brought to count scores for 5 types of native chicken which was found out that Kendall coefficient of concordance (W) was at 0.952, 1.06, 0.952, 0.928, and 0.958 respectively which indicated that there were accordance and relevance at a=0.05 in decision making.
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ศึกษาลักษณะอุดมทัศนีย์ไก่พื้นเมืองไทย ประเมินโดยนักวิชาการและปราชญ์ชาวบ้าน
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
30 กันยายน 2557
การวิเคราะห์ความหลากหลายทางพันธุกรรมและความสัมพันธ์กับลักษณะสีขนของไก่พื้นเมืองไทยในจังหวัดพิษณุโลก รูปแบบของยีน cGH, IGF-1, ApoB2, ApoVLDL-II และ FASN กับน้ำหนักตัวและระดับคอเลสเตอรอลในพลาสมาของไก่พื้นเมืองไทยลูกผสม ผลของอาหารไก่เนื้อและอาหารไก่ไข่ต่อสมรรถนะการเจริญเติบโต ของไก่พื้นเมืองไทย (ประดู่หางดำ ชั่วรุ่นที่ 5) ศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาของมะม่วงพันธุ์ต่างๆ แนวทางการใช้น้ำเชื้อไก่พื้นเมืองไทยพันธุ์ประดู่หางดำเพื่อตรวจสอบรูปแบบยีน 24BP-PRL ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของการเลี้ยงไก่พื้นเมืองไทยประดู่หางดำ เชียงใหม่พันธุ์แท้และลูกผสม ลักษณะและปริมาณฟลาโวนอยด์ในผักคาวตองทางภาคเหนือ ลักษณะภายนอกและสมรรถภาพการผลิตของไก่พื้นเมือง (ประดู่หางดำเชียงใหม่) พันธุ์แท้และลูกผสม การประเมินลักษณะประชากรข้าววัชพืชที่ระบาดในแปลงข้าวปลูกพันธุ์อายุสั้น การศึกษาพฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวบ้านโปง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก