สืบค้นงานวิจัย
สภาวะการทำประมงและประเมินสภาวะทรัพยากรปลาหมึกในน่านน้ำไทย
มาโนช รุ่งราตรี, มาโนช รุ่งราตรี - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: สภาวะการทำประมงและประเมินสภาวะทรัพยากรปลาหมึกในน่านน้ำไทย
ชื่อเรื่อง (EN): Fishing Status and Stock Assessment on Cephalopod Resource in Thai Waters
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ตั้งแต่ พ.ศ. 2503 เป็นต้นมา การประมงทะเลของประเทศไทยได้พัฒนาอย่างมาก เนื่องจากมี การนําเครื่องมือประมงประเภทอวนลากจากประเทศสาธารณรัฐเยอรมนี เข้ามาทดลองใช้เพื่อพัฒนาการจับ ปลาหน้าดิน ในระยะเวลาเพียงไม่นานนักเรือประมงที่ใช้เครื่องมืออวนลากได้เพิ่มจํานวนขึ้นและขยายตัวออกไป อย่างกว้างขวางจากการที่ได้มีการขยายตัวทางการประมงโดยใช้เครื่องมือใหม่นี้อย่างไม่มีการจํากัดหรือควบคุม ทําให้ทรัพยากรสัตว์น้ำที่อยู่หน้าดินเริ่มลดปริมาณลงและอยู่ในสภาพเสื่อมโทรมในเวลาต่อมา ปลาหมึกเป็น สัตว์น้ำประเภทหนึ่งที่อาศัยอยู่หน้าดินและกลางน้ำ และถูกจับด้วยเครื่องมือประมงอวนลากเป็นส่วนใหญ่ ทําให้ได้รับผลกระทบจากการทําประมงที่ปราศจากการควบคุมนี้เช่นเดียวกัน และในปัจจุบันปลาหมึกยักษ์ ยังถูกจับด้วยเครื่องมือไดหมึกและลอบหมึกอีกด้วย กรมประมง (2548) รายงานว่าปริมาณการจับปลาหมึกทั้งหมด ใน พ.ศ.2546 เท่ากับ 168,367 ตัน ลดลงจาก พ.ศ.2545 ร้อยละ 9.8 ในจํานวนนี้เปื้นหมึกกล้วย ร้อยละ 47.8 หมึกกระดอง ร้อยละ 40.5 และหมึกสายร้อยละ 11.7 เมื่อพิจารณาแยกตามแหล่งทําการประมงแล้ว พบว่า ปริมาณปลาหมึกที่จับได้ในบริเวณอ่าวไทยมีปริมาณร้อยละ 74.1 ที่เหลือเป็นปริมาณปลาหมึกที่จับได้บริเวณ มหาสมุทรอินเดีย เครื่องมือประมงที่จับปลาหมึกได้มาก คือ อวนลากแผ่นตะเฆ อวนลากคู่ อวนรุน ไดหมึก และลอบหมึกในปัจจุบันได้มีการพัฒนาเครื่องมือที่ใช้จับหมึกกล้วยโดยใช้แสงไฟล่อเรียกว่าเรือไดหมึกกันมากขึ้น ซึ่งได้ดัดแปลงมาจากเรื่ออวนลากแผ่นตะเฆขนาดกลาง เรือไดหมึกจับหมึกกล้วยได้ถึงร้อยละ 90 และขายได้ ราคาสูงชาวประมงจึงนิยมใช้ไดหมึกกันอย่างแพร่หลาย นอกจากนี้ชาวประมงยังได้ใช้ลอบหมึกเพื่อจับหมึกหอม ซึ่งจับหมึกหอมได้ถึงร้อยละ 90 ชาวประมงจึงนิยมไดหมึก และลอบหมึกกันอย่างแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน และเพิ่มจํานวนขึ้นทุกปี การจับปลาหมึกด้วยเครื่องมือประมงที่หลากหลายเช่นนี้ทําให้ทรัพยากรปลาหมึก เสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว ดังรายงานผลการศึกษาของมาลา (2527) ได้ประเมินศักยการผลิตของปลาหมึกใน อ่าวไทยโดยใช้เรืออวนลากแผ่นตะเฆขนาดใหญ่ (18-25 เมตร) เป็นมาตรฐานในการคํานวณ ปรากฏว่าศักยการผลิต หมึกกล้วยในอ่าวไทยมีประมาณ 41,000 เมตริกตัน หมึกกระดอง 25,000 เมตริกตัน และหมึกสาย 4,900 เมตริกตัน เมื่อพิจารณาถึงอัตราการจับ ปริมาณการจับ การลงแรงและศักยการผลิตของปลาหมึก จะเห็นได้ว่าปลาหมึกได้ ถูกจับขึ้นมาใช้ประโยชน์เกินอัตราที่เหมาะสมตั้งแต่ พ.ศ.2520 เป็นต้นมา และต่อมา มาลา (2536) ได้ประเมิน ศักยการผลิตของหมึกกล้วย หมึกกระดอง และหมึกสายในอ่าวไทย โดยใช้ข้อมูลสถิติกรมประมง ตั้งแต่ พ.ศ.2514-2534 พบว่าค่าผลผลิตสูงสุดที่ยั่งยืนของปลาหมึกมีดังนี้ หมึกกล้วย 60,000-70,000 ตัน หมึกกระดอง 32,000-35,000 ตัน และหมึกสาย 7,100-8,500 ตัน และเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับปริมาณการจับปลาหมึก ทั้งหมดใน พ.ศ.2546 แล้วปรากฏวามีการจับปลาหมึกมาใช้ประโยชน์สูงกว่าค่าการผลิตสูงสุดที่ยั่งยืน ซึ่งลักษณะ อย่างนี้เรียกว่า การทําประมงเกินกําลังการผลิต ( over fishing) การจับสัตว์น้ำในทะเลไทยมีแนวโน้มลดลง ตลอดซึ่งเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่ามีการจับสัตว์น้ำมากเกินไปทําให้สัตว์น้ำลดลง จากการสํารวจของกรมประมงที่ได้ กระทําต่อเนื่องจาก พ.ศ.2504 จนปัจจุบันพบว่าอัตราการจับสัตว์น้ำได้ลดลงจากป 298 กก./ชม. เหลือเพียง 23.87 กก./ชม. ในกลุมปลาหมึกมีอัตราการจับที่ลดลงเช่นเดียวกัน โดยใน พ.ศ.2517 มีอัตราการจับประมาณ 14.28 กก./ชม. ปจจุบันลดลงเหลือ 6.43 กก./ชม. การเพิ่มปริมาณการจับสัตวน้ำคงไมสามารถจะเพิ่มไดอีกแลว เพราะจะทําใหเกิดผลกระทบขึ้นมากมาย ปญหาที่สําคัญที่สุดของการประมงทะเลไทยในขณะนี้คือการขาด การบริหารจัดการที่ดี สภาวะทรัพย ากรสัตวน้ำที่มีความสําคัญทางเศรษฐกิจอยูในภาวะไมสามารถจับเพิ่มได มากกวาที่เคยจับและนอกจากนี้แหลงทําการประมงใหมก็มีไมมากเชนกัน ถาการจัดการทรัพยากรสัตวน้ำ ประสบผลสําเร็จก็จะทําใหทรัพยากรสัตวน้ำเหลานี้ฟนตัวได แตถาทรัพยากรสัตวน้ำที่ถูกจับไดลดลงและยังคง อยูในภาวะเสื่อมโทรมอยูนั้น แสดงวาการจัดการทรัพยากรสัตวน้ำประสบความลมเหลวโดยสิ้นเชิง การจัดการ ที่เหมาะสมนาจะเปนวิธีการที่ดีโดยการรีบดําเนินการควบคุมความสามารถในการจับสัตวน้ำอยางมีประสิทธิผล การควบคุมความสามารถก็เพื่อปองกันมิใหเกิดการ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาวะการทำประมงและประเมินสภาวะทรัพยากรปลาหมึกในน่านน้ำไทย
กรมประมง
30 กันยายน 2552
กรมประมง
ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมของลูกแป้งสำหรับทำข้าวหมาก ประเมินสภาวะชนบทแบบมีส่วนร่วมของชุมชนรอบบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ ฤทธิ์กันชักของส่วนสกัดต่างๆ จากเมล็ดชุมเห็ดไทย การศึกษาเปรียบเทียบสภาพและแนวโน้มการวิจัยทางการศึกษาในประเทศไทย และญี่ปุ่น สิทธิการเข้าถึงทรัพยากรประมงของชุมชนประมงรอบทะเลสาบสงขลา รายงานการวิจัยแบบจำลองปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเศรษฐกิจ สร้างสรรค์มีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย การใช้ระบบติดตามเรือ (Vessel Monitoring System : VMS) และข้อมูล MODIS ร่วมในการประเมินทรัพยากรสัตว์น้ำและคุณภาพน้ำในน่านน้ำไทย การ ศึกษาและพัฒนาวิธีการใช้สารไกลซีนเบตาอินเพื่อเพิ่มเปอร์เซ็นต์การงอกและ ความทนทานของต้นกล้ามะเขือเทศ (Lycopersicon esculentum) ในสภาวะอุณหภูมิสูงและสภาวะเค็มจัด สภาวะที่เหมาะสมเพื่อยืดอายุการเก็บรักษามะม่วงเขียวเสวยตัดแต่งพร้อมบริโภค การศึกษานิเวศวิทยาทางน้ำและทรัพยากรประมงของแม่น้ำยม

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก