สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนในการผลิตโคเนื้อของเกษตรกรรายย่อยในจังหวัดพิษณุโลก
สุภาวดี แหยมคง - มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
ชื่อเรื่อง: การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนในการผลิตโคเนื้อของเกษตรกรรายย่อยในจังหวัดพิษณุโลก
ชื่อเรื่อง (EN): A Study of Beef Production Cost and Return of Small Farmers in Phitsanulok ProvinceScale
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุภาวดี แหยมคง
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานภาพการผลิต วิเคราะห์ต้นทุน และผลตอบแทนการผลิตโคเนื้อในจังหวัดพิษณุโลก โดยใช้แบบสัมภาษณ์เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อจำนวน 214 ราย ในพื้นที่อำเภอวัดโบสถ์ และอำเภอพรหมพิราม จากข้อมูลทั้งหมดที่ได้ถูกนำมาวิเคราะห์ค่าทางสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด เป็นต้น และคำนวณต้นทุนการผลิตโคเนื้อ ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา นอกจากการเลี้ยงโคเกษตรกรส่วนใหญ่มีรายได้มาจากการทำนา พื้นที่ที่ใช้เลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ของตนเอง ใช้แรงงานในครอบครัว และใช้เงินทุนตัวเองในการเลี้ยงโคเนื้อ ส่วนใหญ่เลี้ยงโคเนื้อลูกผสมบราห์มัน ใช้อาหารข้นสำเร็จรูป และเลี้ยงแบบปล่อยทุ่ง เกษตรกร ส่วนใหญ่มีการใช้บริการผสมเทียมจากเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ จากปัญหาและอุปสรรคส่วนใหญ่ คือ ขาดการส่งเสริม และให้ความรู้จากเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในการเลี้ยงโคเนื้อ สำหรับต้นทุนรวมในการผลิต รายได้จากการจำหน่าย และกำไรสุทธิในการผลิตแม่โคเพื่อผลิตลูก มีค่าเท่ากับ 18,898.45 28,440.23 และ 9,541.78 บาทต่อตัว ในการผลิตโครุ่น มีค่าเท่ากับ 35,718.31 36,148.03 และ 429.72 บาทต่อตัว และในการผลิตโคขุน มีค่าเท่ากับ 36,082.86 50,725.00 และ 14,642.14 บาทต่อตัว ตามลำดับ โดยการเลี้ยงแม่โคเพื่อผลิตลูก มีต้นทุนการผลิตเป็นค่าอาหารหยาบสูงที่สุด ส่วนการเลี้ยงโครุ่นและโคขุน จะมีต้นทุนค่าพันธุ์สูงที่สุด ส่วนจุดคุ้มทุนในการเลี้ยงโคเนื้อ 3 ประเภทอยู่ที่ 1 ตัว จากการศึกษาครั้งนี้บอกเป็นนัยว่า การเลี้ยงโคขุนมีกำไรสุทธิสูงกว่าการเลี้ยงแบบแม่โคเพื่อผลิตลูก และโครุ่น ตามลำดับ ซึ่งอย่างไรก็ตามการเลี้ยงแต่ละประเภทควรพิจารณาถึงต้นทุน งบประมาณ และระยะเวลาที่เลี้ยงให้มีความเหมาะสมกับเกษตรกร
บทคัดย่อ (EN): The objectives of this study were 1) to study the current status 2) to estimate production cost and return of beef production of small scale farmers in Wat Bot and PhromPhiram District, Phitsanulok Province from 214 farms. The statistics used in the data analysis were arithmetic mean, percentage, minimum, maximum and standard deviation. Statistic calculation was applied in the forms for total cost and income. The findings revealed that most farmers were male and had primary school education. The main income of farmers was from rice. Most of them used own land, working labour were the members of their families and funding by themselves for beef production. The most of beef breeds in these farms was Brahman crossbreds, used concentrate and prepared pastures for grazing. Most farms preferred to use artificial insemination serviced by the government. Most problems and obstacles in this study were lack of systematic training and continuous support by the government officer for beef production. For total cost, income and net cash profit were 18,898.45, 28,440.23 and 9,541.78 baht per head for raising cows to produce calves, 35,718.31, 36,148.03 and 429.72 baht per head for growing cow, and 36,082.86, 50,725.00 and 14,642.14 baht per head for fattening cattle, respectively. For raising cows to produce calves had the highest of feed cost but for growing cow and fattening cattle had the highest of breed cost. Farmers can raise 1 head for break even point in all type of beef cattle. These results implied that fattening cattle was higher profit than raising cows to produce calves and growing cow, respectively. However, farmers should consider for cost, budget, and time period for raising beef cattle to suitable with themselves.
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนในการผลิตโคเนื้อของเกษตรกรรายย่อยในจังหวัดพิษณุโลก
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
30 กันยายน 2558
ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตโคเนื้อของเกษตรกรในอำเภอวัดโบสถ์ และอำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก การพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตโคเนื้อของเกษตรกรรายย่อยในกลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อ ตำบลบ้านดง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกยางพาราในจังหวัดเพชรบูรณ์ ปัจจัยที่มีผลต่อ ต้นทุนการผลิต ผลผลิต และผลตอบแทน จากการปลูกมันสำปะหลังของเกษตรกรในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ การศึกษาสมการการผลิตและต้นทุนผลตอบแทนจาก การปลูกยางพาราในจังหวัดสุราษฎร์ธานี สมการการผลิต ต้นทุน และผลตอบแทนจากการปลูกยางพาราของเกษตรกร จังหวัดสุราษฎร์ธานี การสำรวจต้นทุนและผลตอบแทนจากการผลิตเมล็ดพันธุ์พืชอาหารสัตว์ ของเกษตรกร ปีเพาะปลูก 2546/2547 การเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตข้าวในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก การเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนในการผลิตผักปลอดสารพิษกับการผลิตผักโดยใช้สารเคมีของเกษตรกรชุมชนวังตะกอ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร เทคโนโลยีที่เหมาะสม ต้นทุนและผลตอบแทนในการผลิตข้าวโพดหวานในภาคตะวันออก

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก