สืบค้นงานวิจัย
ทรัพยากรประมงจากการประมงพื้นบ้านบริเวณอ่าวไทยตอนใน
อัญญานี แย้มรุ่งเรือง, วันทนา เจนกิจโกศล, อัญญานี แย้มรุ่งเรือง, วันทนา เจนกิจโกศล - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: ทรัพยากรประมงจากการประมงพื้นบ้านบริเวณอ่าวไทยตอนใน
ชื่อเรื่อง (EN): Fisheries Resources from Small-scale Fisheries in the Inner Gulf of Thailand
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ศึกษาทรัพยากรประมงจากการประมงพื้นบ้านบริเวณอ่าวไทยตอนใน โดยรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนมกราคม-ธันวาคม ปี 2556 พบเครื่องมือประมงที่ชาวประมงพื้นบ้านใช้หลักๆ ได้แก่ อวนจมปู ลอบปูแบบพับได้ อวนลอยกุ้งสามชั้น อวนติดตาปลาทู และอวนลอยปลาหลังเขียว มีแหล่งประมงกระจายทั่วไปทั้งฝั่งอ่าวไทยตะวันตก ตั้งแต่หน้าแม่กลองลงมาถึงหน้าชะอำ ที่ระดับน้ำลึก 4 - 16 เมตร ระยะห่างฝั่ง 3 - 16 กิโลเมตร และฝั่งอ่าวไทยตะวันออก ตั้งแต่หน้าชลบุรีลงมาถึงหน้าโรงโป๊ะ ที่ระดับน้ำลึก 3-15 เมตร ระยะห่างฝั่ง 3 - 10 กิโลเมตร สำหรับองค์ประกอบขนิดสัตว์น้ำ พบว่า อวนจมปู ประกอบด้วยปูม้า ร้อยละ 78.52 (เพศเมียร้อยละ 49 และเพศผู้ ร้อยละ 51) กลุ่มปลาหน้าดิน ร้อยละ 13.83 กลุ่มปลาผิวน้ำ กลุ่มหมึก และกลุ่มกั้ง ร้อยละ 1.16 1.25 และ 1.23 และอื่นๆ ร้อยละ 4.01 ลอบปูแบบพับได้ ประกอบด้วยปูม้า ร้อยละ 85.82 (เพศเมียร้อยละ 47 และเพศผู้ ร้อยละ 53) หอยหวาน ร้อยละ 7.16 กลุ่มปลาหน้าดิน และกลุ่มหมึก ร้อยละ 3.43 และ 3.20 และสัตว์น้ำอื่นๆ ร้อยละ 0.39 อวนลอยกุ้งสามชั้น ประกอบด้วยกลุ่มกุ้ง ร้อยละ 28.9 (กุ้งแชบ๊วย ร้อยละ 81.5 และกุ้งโอคัก ร้อยละ 16.6 และกุ้งอื่นๆ ร้อยละ 1.9) กลุ่มปลาหน้าดิน ร้อยละ 31 กลุ่มปลาผิวน้ำ ร้อยละ 18.76 กลุ่มหมึก ร้อยละ 7.95 กลุ่มปู ร้อยละ 7.16 และสัตว์น้ำอื่นๆ ร้อยละ 3.84 อวนติดตาปลาทู มีกลุ่มปลาผิวน้ำเป็นองค์ประกอบหลัก ร้อยละ 88.54 กลุ่มปลาหน้าดิน ร้อยละ 9.05 และที่เหลือเป็นกลุ่มสัตว์น้ำอื่นๆ ร้อยละ 2.41 อวนลอยปลาหลังเขียว ประกอบด้วยกลุ่มปลาผิวน้ำ ร้อยละ 93.26 รองลงมาเป็นกลุ่มปลาหน้าดิน ร้อยละ 2.14 และสัตว์น้ำอื่นๆ ร้อยละ 4.6 ส่วนอัตราการจับสัตว์น้ำจากเครื่องมือประมงพื้นบ้าน พบว่า อวนจมปู 13.92 กิโลกรัม/วัน ลอบปูแบบพับได้ 15.13 กิโลกรัม/วัน อวนลอยกุ้งสามชั้น 11.96 กิโลกรัม/วัน อวนติดตาปลาทู 270.65 กิโลกรัม/วัน และอวนลอยปลาหลังเขียว 318.43 กิโลกรัม/วัน สำหรับขนาดความยาวของชนิดสัตว์น้ำหลัก พบว่า อวนจมปู ปูม้าเพศผู้ มีขนาดความยาวกระดองระหว่าง 4.5 – 17.0 ซม. เฉลี่ยเท่ากับ 9.88?0.23 ซม. และเพศเมีย มีขนาดความยาวกระดองระหว่าง 4.0 – 15.5 ซม. เฉลี่ยเท่ากับ 9.31?0.19 ซม. ลอบปูแบบพับได้ ปูม้าเพศผู้ มีขนาดความยาวกระดองระหว่าง 8.5 – 15 ซม. เฉลี่ยเท่ากับ 11.47?0.25 ซม. และเพศเมีย มีขนาดความยาวกระดองระหว่าง 4 – 16.5 ซม. เฉลี่ยเท่ากับ 11.44?0.66 ซม. อวนลอยกุ้งสามชั้น กุ้งแชบ๊วยเพศผู้ มีขนาดความยาวจากปลายกรีถึงปลายหาง ระหว่าง 12 – 21 ซม. เฉลี่ยเท่ากับ 16.46?1.40 ซม. และเพศเมีย มีขนาดความยาวจากปลายกรีถึงปลายหาง ระหว่าง 11.5 – 23.5 ซม. เฉลี่ยเท่ากับ 18.58?2.09 ซม. กุ้งโอคักเพศผู้ มีขนาดความยาวจากปลายกรีถึงปลายหาง ระหว่าง 7.5 - 13 ซม. เฉลี่ยเท่ากับ 10.14?1.19 ซม. และเพศเมีย มีขนาดความยาวจากปลายกรีถึงปลายหาง ระหว่าง 8 – 14 ซม. เฉลี่ยเท่ากับ 11.32?1.29 ซม. อวนติดตาปลาทู ปลาทู มีขนาดความยาวลำตัวระหว่าง 11.5 – 21.5 ซม. เฉลี่ยเท่ากับ 15.75?0.24 ซม. และปลาลัง มีขนาดความยาวลำตัวระหว่าง 16.0 – 22.5 ซม. เฉลี่ยเท่ากับ 18.29?0.51 ซม. และอวนลอยปลาหลังเขียว ปลาหลังเขียวชนิด Sardinella jibbosa มีขนาดความยาวลำตัวระหว่าง 3.0-15.0 ซม. เฉลี่ยเท่ากับ 11.96?0.27 ซม. ส่วนการลงแรงประมง อวนจมปู ทำการประมง 1 วัน/เที่ยว ประมาณ 28 เที่ยว/เดือน ใช้อวนเฉลี่ย 7 ห่อ/ลำ จำนวนเฉลี่ย 6 ผืน/ห่อ จำนวนผืนที่ใช้เฉลี่ย 42 ผืน/ลำ ความยาวอวนที่ใช้ทำประมงแต่ละเที่ยวเฉลี่ย 3,277 เมตร ลอบปูแบบพับได้ ทำการประมง 1 วัน/เที่ยว กู้ลอบวันละ1 ครั้ง ทำการประมงเฉลี่ย 27 เที่ยว/เดือน จำนวนลอบที่ใช้ทำประมงแต่ละเที่ยว มีค่าเฉลี่ย 495 ลูก อวนลอยกุ้งสามชั้น ทำการประมง 1 วัน/เที่ยว ประมาณ 22 เที่ยว/เดือน ใช้อวนเฉลี่ย 4 ห่อ/ลำ จำนวนเฉลี่ย 9 ผืน/ห่อ จำนวนผืนที่ใช้เฉลี่ย 28 ผืน/ลำ ความยาวอวนที่ใช้ทำประมงแต่ละเที่ยวเฉลี่ย 930 เมตร อวนติดตาปลาทู ทำการประมงเฉลี่ย 1 วัน/เที่ยว ประมาณ 20 เที่ยว/เดือน ใช้อวนเฉลี่ย 4 ห่อ/ลำ จำนวนเฉลี่ย 5 ผืน/ห่อ จำนวนผืนที่ใช้โดยเฉลี่ย 20 ผืน/ลำ ความยาวอวนที่ใช้ทำประมงแต่ละเที่ยวเฉลี่ย 1,366 เมตร อวนลอยปลาหลังเขียว ทำการประมงเฉลี่ย 1 วัน/เที่ยว ประมาณ 23 เที่ยว/เดือน ใช้อวนเฉลี่ย 3 ห่อ/ลำ จำนวนเฉลี่ย 5 ผืน/ห่อ จำนวนผืนที่ใช้ทั้งหมดโดยเฉลี่ย 15 ผืน/ลำ ความยาวอวนที่ใช้ทำประมงแต่ละเที่ยว 967 เมตร
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-07-31
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ทรัพยากรประมงจากการประมงพื้นบ้านบริเวณอ่าวไทยตอนใน
กรมประมง
31 กรกฎาคม 2557
กรมประมง
ทรัพยากรประมงจากการประมงพื้นบ้านบริเวณอ่าวไทยตอนใน การเปลี่ยนแปลงสภาวะทรัพยากรประมงบริเวณอ่าวไทยตอนใน สภาวะทรัพยากรและการประมงปลาโอในอ่าวไทย ทรัพยากรประมงจากเรืออวนดำบริเวณอ่าวไทยตอนใน ทรัพยากรประมงจากเรือสำรวจประมง 2 ในพื้นที่ปิดอ่าวไทยตอนใน การประมงลอบหมึกบริเวณอ่าวไทยตอนใน สภาวะการทำประมงพื้นบ้านในบริเวณแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล บริเวณอ่าวไทยตอนล่าง การประมงหมึกกล้วยในอ่าวไทย ทรัพยากรประมงจากเรืออวนล้อมจับปลากะตักบริเวณอ่าวไทยตอนใน การประมงพื้นบ้านในอ่าวพังงา

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก